วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ สักการะพระธาตุดอยสุเทพ แผนที่ การเดินทาง แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุประจำคนเกิดปีมะแม
สักการะพระธาตุดอยสุเทพ แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่ ขอพรพระธาตุพระเจดีย์ประจำปีมะแม

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ

ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร เป็นวัดที่ดังมาก

การบูรณะวัดพระธาตุดอยสุเทพ
การบูรณะครั้งแรก
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างโดยพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ในปี พ.ศ.1916 (ค.ศ.1373) วัดนี้ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีจากกษัตริย์ไนราชวงศ์เม็งรายทุกพระองค์ ในแต่ละสมัยมีการซ่อมแซมอยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุที่พระเจดีย์มีอายุถึง 15 ปี สมควรที่จะทำการสร้าง และปรับปรุงเสียใหม่ ดังนั้นในปี พ.ศ.2068 (ค.ศ.1525) พระเจ้าเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์เม็งราย ได้ไปนิมนต์พระเถระรูปหนึ่งอยู่ที่วัดอโศการาม (วัดกู่มะลัก) จังหวัดลำพูนซึ่งเป็นพระที่ประชาชนเคารพนับถือมากองค์หนึ่ง ชื่อว่าพระมหาญาณมงคลโพธิ มาเป็นประธานในการบูรณะ ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์โดยการขยายพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมคือจากเดิม สูง 5 วา กว้าง 1-43 วา เป็นสูง 11 วา กว้าง 6 วา ซึ่งเป็นขนาดที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

การก่อสร้างเพิ่มเติม
นับจากที่ได้บูรณะครั้งแรกมาได้ 13 ปี คือ พ.ศ.2081 (ค.ศ.1538) พระเจ้าชายคำ พระโอรสของพระเจ้าเกษเกล้า ได้ขึ้นครองราชย์เมืองเชียงใหม่ ได้ไปนิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิองค์เดิมมาเป็นประธานในการก่อสร้างอีกครั้ง หนึ่ง โดยพระองค์ได้พระราชทานทองคำหนักประมาณ 1,700 บาท ให้ช่างทำเป็นแผ่นทองคำจังโกปิดทั่วองค์พระเจดีย์ และพระองค์ยังได้พระราชทานเงินสดอีก 6,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพระวิหารด้านหน้า และด้านหลัง ศาลาระเบียงรอบองค์พระเจดีย์ทั้ง 4 ด้านและจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้
ในปี พ.ศ.2100 (ค.ศ.1557) พระมหาญาณมงคลโพธิ แม้ท่านจะมีอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังแข็งแรงดีและพร้อมที่จะทำงาน ท่านได้เป็นประธานก่อสร้างบันไดพญานาค ขนาดความยาว 306 ขั้น จากล่างถึงบน ท่านทำหน้าที่ควบคมงานก่อสร้างด้วยตนเอง ตัวพญานาคทั้ง 2 ข้าง ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งอย่างปราณีต พญานาคแต่ละตัวมี 7 หัว บันไดนาคนี้สร้างมานานกว่า 400ปี มีการชำรุดไปบ้างแต่ก็ได้รับการบำรุงซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา จนทำให้พวกเราทุกคนได้เห็นบันไดนาคอยู่ในสภาพเดิมตราบเท่าทุกวันนี้

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวัด พระธาตุดอยสุเทพเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุองค์หนึ่ง เหมือนกับพระเจดีย์ทั่วๆ ไป ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัด มีฐานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์เท่านั้น ต่อมาในสมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 พ.ศ.2494 (พระครูญาณลังกา) พระธาตุดอยสุเทพ ได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นวัดราษฎร์จากกรมการศาสนาอย่างถูกต้องโดยให้ชื่อว่า วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
จากการที่ได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นวัดราษฎร์อย่างถูกต้องแล้ว ต่อมาอีก 12 ปี คือ ปี พ.ศ.2506 วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารก็ได้รับคัดเลือกให้ยกฐานะจากวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร

ดอยสุเทพ เดิมชื่อว่า “ดอยอ้อยช้าง” ส่วนชื่อดอยสุเทพที่เรียกกันในปัจจุบันนี้เป็นชื่อที่ได้มาจาก “พระฤาษีวาสุเทพ” ซึ่งเคยบำเพ็ญตบะอยู่ที่เขาลูกนี้เมื่อพันกว่าปีมาแล้ว วัดพระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัติสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ

ในสมัยก่อน การขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก ไม่มีถนนเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบ ต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขา ต้องใช้เวลายาวนานถึง 5ชั่วโมงกว่า จนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย มาจากวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น เป็นผู้เริ่มขุดดินด้วยจอบเป็นปฐมฤกษ์ ตรงที่หน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ปัจจุบัน ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกห้วยแก้ว โดยเริ่มสร้างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากที่การสร้าง ถนนบนภูเขายาวถึง 11 กิโลเมตร ใช้เวลาเพียง 5 เดือนกับอีก 22 วัน ทั้งๆ ที่อุปกรณ์การสร้างทางมี เพียงจอบ และเสียม เท่านั้น พิธีเปิดใช้ถนนใหม่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2478 โดยท่านครูบาศรีวิชัย เป็นคนแรกที่นั่งรถยนต์ขึ้นดอยสุเทพตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ขอขอบคุณ เนื้อหาจาก
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
siamfreestyle.com
วิกิพีเดีย dhammathai.org

 

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่โบราณกาล นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ ตามประวัติแห่งดอยสุเทพนั้นเชื่อกันว่า เดิมภูเขาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของฤาษีนามว่า “สุเทวะ” ซึ่งตรงกับคำว่าสุเทพอันเป็นที่มาของชื่อดอยสูงแห่งนี้ โดยวัดพระธาตุดอยสุเทพนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 6 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองศรีสัชนาลัย

ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงแยกพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นสองส่วน โดยอัญเชิญองค์หนึ่งบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนอีกองค์หนึ่งได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างมงคล โดยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทายว่าหากช้างเชือกนั้นหยุดลงตรงที่ใดก็จะให้สร้างพระธาตุขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ซึ่งช้างเชือกดังกล่าวได้มาหยุดลงตรงยอดดอยสุเทพแห่งนี้ โดยทำทักษิณาวรรตสามรอบก่อนที่จะล้มลง (ตาย) ดังนั้นพระเจ้ากือนาธรรมิกราชจึงทรงรับสั่งให้สร้างพระบรมธาตุอันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ ณ ยอดดอยสุเทพ อยู่คู่ฟ้าคู่ดินเชียงใหม่มานับแต่นั้น วัดพระธาตุดอยสุเทพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ ผู้ที่เดินทางมาสักการะที่วัดแห่งนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ได้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดนาคไป 300 ขั้น เพื่อไปยังวัด หรือใช้บริการรถกระเช้าขึ้น-ลงดอยสุเทพได้ ระหว่างเวลา 05.30-19.30 น.

งานประเพณีเตียวขึ้นดอยเพื่อสักการะพระธาตุดอยสุเทพจัดเป็นประจำทุกปี โดยมีขึ้นก่อนหน้าวันวิสาขบูชา 1 คืน ในงานจะมีขบวนแห่น้ำสำหรับสรงพระธาตุโดยมีพระสงฆ์ สามเณร และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่าง ๆ มาร่วมขบวนแห่ขึ้นดอยเป็นจำนวนมาก

ความเชื่อและวิธีการบูชา เชื่อกันว่าหากมาสักการะและอธิษฐานขอพรพระธาตุดอยสุเทพ จะมีแต่ความสำเร็จสมหวังดังปรารถนา แคล้วคลาด ผ่านอุปสรรคนานาไปได้ ในการสักการะพระธาตุนั้น ควรเตรียมข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียนแล้วเดินเวียนขวา 3 รอบ พร้อมกล่าวคำนมัสการพระธาตุ โดยตั้งจิตอธิษฐานขอให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และควรไหว้พระธาตุให้ครบทั้ง 4 ทิศ ซึ่งให้อานิสงส์ที่ต่างกัน คือ ทิศเหนือขอให้มีปัญญาดุจพระจัทร์เพ็ญ ทิศใต้ ขอให้ได้เป็นพระภิกษุสงฆ์ได้บวชในบวรพุทธศาสนา ทิศตะวันออกขอให้ได้ขึ้นสวรรค์ ทิศตะวันตกเป็นการเคารพบูชาสูงสุดต่อพระธาตุ

สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อได้มานมัสการพระธาตุดอยสุเทพแล้ว ควรมากราบอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ที่ประดิษฐานอยู่ตรงเชิงดอยสุเทพเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย

การเดินทาง จากตัวเมืองสามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางผ่านหน้ามหาวิทยาลัยและสวนสัตว์เชียงใหม่ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่มีรถส่วนตัวสามารถเดินทางมาที่วัดโดยรถสองแถวประจำทางจากบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านถนนห้วยแก้ว ซึ่งบริการระหว่างเวลาประมาณ 05.00-17.00 น.
ข้อมูลจาก touronthai.com

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .