Archive for the ‘วัดพระธาตุประจำปีเกิด ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด’ Category

เที่ยว พะเยา สักการะพระมหาเจดีย์พระพุทธคยา พระธาตุประจำปีมะเส็ง ณ.วัดอนาลโยทิพยาราม

DSC08954

พะเยาเป็นจังหวัดเงียบๆที่น่าอยู่ ที่นี่มีพระธาตุประจำปีมะเส็งอยู่ครับพูดแบบนี้คงพอจะเดาได้แล้วใช่ไหมครับว่าวันนี้จะพาไปเที่ยวที่ไหน

วัดอนาลโยทิพยาราม หรือเรียกสั้นๆว่า วัดอนาลโย ดอยบุษราคัม ตั้งอยู่ที่ ม.สันป่าบง ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา มีพื้นที่ทั้งหมด ๒๕๐๐ ไร่ ได้เริ่มก่อสร้างโดย พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล ขณะท่านอยู่วัดรัตนวนาราม ท่านเห็นแสงของทรายทองอยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยาซึ่งเป็นดอยบุษราคัมนั่นเอง หลังจากนั้นก็ได้สร้างเป็นที่พักปฏิบัติธรรม และสร้างสิ่งต่างเพิ่มขึ้นมา

แต่ต่อมาก็มีปัญหาสำคัญคือการขาดแคลนน้ำ ต่อมาท่านพระอาจารย์ไพบูลย์ได้รับอาราธนานิมนต์ไปเจริญพระพุทธมนต์ ณ พระบรมมหาราชวัง ในหลวงท่านได้ให้กรมชลประทานเข้าช่วยเหลือ กรมชลประทานได้สร้างอ่างเก็บน้ำแม่ต๋อมและอ่างเก็บน้ำห้วยทับช้าง เผื่อไว้ใช้ในสำนักสงฆ์และให้ชาวบ้านในระแวกนั้นได้ใช้ ซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นที่สุดในวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๐ กระทรวงศึกษาธิดารและมหาเถรสมาคมได้อนาญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์

Read more »

ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด วัดพระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีวอก

wat_pra_that_phanom001

พระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ตามพุทธพยากรณ์ โดยก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (จังหวัดลำพูน)

องค์พระธาตุหริภุญชัย ตั้งอยู่ ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๑๔๔๐ ในรัชสมัยของ
พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์ผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๓๓ นับจากพระนางจามเทวี
องค์ปฐมกษัตริย์ ปัจจุบันพระธาตุหริภุญชัยมีอายุล่วงเลยถึง ๑๑๐๕ ปีนับเป็น
จอมเจดีย์หนึ่งในแปดองค์ของประเทศไทยที่มีอายุมากกว่า ๑,๐๐๐ ปี

Read more »

วัดหริภุญชัย จังหวัดลำพูน

เป็นวัดที่สำคัญที่สุดของจังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แวดล้อมด้วยแหล่งที่กินที่เที่ยวทางวัฒนธรรมอื่น ๆ เป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในตัวเมืองลำพูน และเป็นจุดเริ่มเดินเที่ยวชมตัวเมืองลำพูนย่าน ถ.อินทยงยศ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย ขัวมุงท่าสิงห์ ย่านทอผ้าเวียงยอง เป็นต้น
ภายในกำแพงแก้วของวัดมีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่เศษ ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างดั้งเดิมและวิหารที่สร้างในยุคหลังมากมาย รวมถึงพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระเสตังคมณีศรีหริภุญไชย

สถานที่ตั้ง และการเดินทาง
ที่ตั้ง :
ต.ในเมือง อ.เมือง
รถยนต์ส่วนตัว :
จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวใช้ ถ.รอบเมือง ไปทางประตูท่านางประมาณ 100 ม. วัดพระธาตุฯ อยู่ทางซ้ายมือ
รถรับจ้าง :
ขึ้นสามล้อถีบจากตัวเมือง Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จ.ลำพูน

พระธาตุหริภุญชัย พระธาตุประจำปีเกิด วัดพระธาตุประจำคนเกิดปีระกา (คนเกิดปีไก่)

วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี ทิศตะวันออก จรดประตูท่าสิงห์ ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าวโบราณสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุหริ ภุญชัยวรมหาวิหาร

1. พระธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่พญาอาทิตยราชเป็นผู้สถาปนาขึ้นใน ราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนาน พระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาท สี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ใน เมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่อง ทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่ และสูง พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่ เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาล ตราบเท่าทุกวันนี้ Read more »

ประวัติเมือง “หริภุญชัย” และตำนานเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัย

พระธาตุหริภุญชัย

“ลำพูน” หรือ “หละปูน” หรือชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณกาลว่า “หริภุญชัย” เป็นเมืองที่สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1200 โดย “วาสุเทพฤาษี” ได้เกณฑ์พวก “เมงคบุตร” เชื้อสายมอญมาสร้างบนผืนแผ่นดินระหว่าง “แม่น้ำปิง” และ “แม่น้ำกวง”

เมื่อสร้างเมือง “หริภุญชัย” เสร็จ เนื่องจาก “วาสุเทพฤาษี” เป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติ (การเข้าฌาน) จึงได้ไปเชิญหน่อกษัตริย์จากเมือง “ละโว้” มาปกครองเมืองแทน

“พระยาจักวัติ” ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเมืองละโว้ในขณะนั้นไม่ทรงมีราชโอรส จึงได้ส่งราชธิดา คือ “พระนางจามเทวี” มาแทน พระนางจึงเป็นกษัตริย์ครองเมือง “หริภุญชัย” เป็นองค์แรก ซึ่งบ้านเมืองได้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง และมีกษัตริย์ปกครองเมืองสืบต่อมาอีกหลายราชวงศ์

จำเนียรกาลผ่านไป ล่วงมาถึงปีพุทธศักราช 1440 กษัตริย์ผู้ครองเมือง “หริภุญชัย” ลำดับที่ 33 คือ “พระยาอาทิตยราช” แห่งราชวงศ์รามัญ โดยมี “พระนางปทุมวดี” เป็นอัครมเหสี บ้านเมืองได้เกิดศึกสงครามหลายครั้งหลายครา แต่ด้วยพระบรมเดชานุภาพ จึงทำให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปทุกคราว Read more »

งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย ประจำปี 2557

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย_1

จังหวัดลำพูน ขอเชิญเที่ยว “งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย ประจำปี 2557” ระหว่างวันที่ 6-13 พฤษภาคม 2557 ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน

พระบรมธาตุหริภุญชัย นับเป็นจอมเจดีย์องค์หนึ่งในจำนวนจอมเจดีย์ 8 องค์ของประเทศไทยที่มีอายุเกินหนึ่งพันปี ปัจจุบันองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยมีอายุ 1,115 ปี และเป็นพระราชประเพณีอันสืบมาแต่โบราณกาลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานน้ำสรงและผ้าห่มพร้อมด้วยเครื่องราชสักการะ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาประจำทุกปี Read more »

ประวัติพระธาตุหริภุญชัย พระธาตุประจำปีระกา

original_พระธาตุปีระกา

พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน เป็นปูชยสถานที่สำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งของดินแดนล้านนาไทย มาแต่โบราณกาล ประมาณหนึ่งพันปีมาแล้ว บรรดาเจ้านครต่าง ๆ ในดินแดนส่วนนี้ได้มีความเคารพนับถือและศรัทธา ได้รับภาระในการปฏิสังขรณ์กันต่อมาจนถึงทุกวันนี้ องค์พระธาตุเป็นรูปทรงแบบลังกา ฝีมือประนีต และมีความคงทนถาวรมาก

ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๔๐ พระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์วงค์รามัญผู้ครองนครลำพูน เป็นลำดับที่ ๓๓ มีศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ได้ทรงรับเอาพระพุทธศาสนาจากเมืองมอญ มาประดิษฐานที่นครลำพูน และได้ทรงสร้างพระมณฑป เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุ สูงสามวา มีซุ้มทั้งสี่ด้าน ครอบโกศสูงสามศอก แล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน ดังนั้นจึงเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า บรรดาบ้านเรือนในนครลำพูน จะต้องสร้างไม่ให้สูงเกินสามศอก เพื่อให้สูงกว่าองค์พระบรมธาตุ Read more »

พระธาตุหริภุญชัย : พระธาตุประจำปีเกิดปีระกา

DSCN0410

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. ชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม 20 บาท ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ซุ้มประตู ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด จะผ่านซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงพระราชให้เป็นสังฆาราม
วิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้ว จะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า “วิหารหลวง” เป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2458 วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ 3 องค์ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองบนแท่นแก้วและยังมีพระพุทธปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้นและชั้นกลางอีกหลายองค์ Read more »

วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง

พระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน วัดพระบรมธาตุแช่แห้งตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบล ม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปราว 2กม. เส้นทางสายน่าน-แม่จริม สันนิษฐานว่ามี อายุราว 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจาก กรุงสุโขทัย องค์พระธาตุมีีความสูง55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร บุด้วยทอง เหลืองหมดทั้งองค์ เป็นโบราณสถาน ที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุแช่แห้ง ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 6 ทางเหนือ ซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกปี พระบรมธาตุแช่แห้งปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่าพญาการ เมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้ง ที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมสกุลช่างน่าน
พระบรมธาตุแช่แห้งเป็นศิลปะการก่อสร้าง ที่มีความวิจิตรงดงาม อีกแห่งหนึ่ง ของภาคเหนือ ที่เป็นศิลปะ การก่อสร้าง ที่ได้รับอิทธิพล การก่อสร้างมาจากเจดีย์พระธาตุหริภุณไชย โดยมีลักษณะโดยรอบๆ ของ องค์พระธาตุ คือจะมี การบุรอบองค์ด้วยทองจังโก ในส่วนของทางเดิน ขึ้นสู่งองค์พระธาตุนั้น จะเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าลักษณะของการปันจะเป็นลายนาคเกี้ยว ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ช่างฝีมือและของ ศิลปะ ของจังหวัดน่านโดยแท้จริง ี่ชาวเมือง ล้านนามีความ เชื่อกันว่า การได้เดินทางไปสักการบูชา กราบไหว้ นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้ง หรือชาวล้านนาจะเรียกกันว่า การชุธาตุ แล้วนั้นจะทำได้รับอานิสงค์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดีมีสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ มาเบียดเบียน หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เป็นต้น และหากใครที่จะ เดินทางได้ นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้งนั้น สามารถเดินทางไปได้ทุกวัน ซึ่งจะเปิดให้เข้านมัสการ ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง อ.ภูเพียง

วัดพระธาตุแช่แห้ง มาถึงเมืองน่านไม่ได้มานมัสการ ถือว่ามาไม่ถึงเมืองน่าน

ปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่า พญาการเมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ ของวัดพระธาตุแช่แห้งที่สำคัญ และแสดงให้เห็น ถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมสกุลช่างน่าน แยกออกเป็น 2 แห่ง ได้แก่

วิหารหลวง อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไป ทางด้านหน้า 2 ห้องและด้านหลัง 1 ห้อง ดังนั้นหากดูจากภายนอก จะมองเห็นเป็นอาคาร ขนาดใหญ่ หลังคาลาดต่ำลงมาเป็นชั้นซ้อน ด้านละ 3 ชั้น และมีชั้นลดด้านหน้า 2 ชั้น ด้านหลัง 1 ชั้น มีประตูทางด้านหน้า และด้านข้างตรงกลาง ที่น่าสนใจคือ ตรงกลางสันหลังคา ทำเป็นส่วนหางของนาคสองตัว เกี่ยวกระหวัดกันขึ้นไปเป็นสามชั้น เป็นศิลปกรรม ที่งดงามและหาดูได้ยาก Read more »

แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวัฒนธรรม –วัดพระธาตุแช่แห้ง

RTEmagicC_93a7a4ac82_jpg

ปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่า พญาการเมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้วที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสกุลช่างน่าน กิ่งอำเภอ ภูเพียง

วิหารหลวง อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไปทางด้านหน้า 2 ห้องและด้านหลัง 1 ห้อง ดังนั้นหากดูจากภายนอกจะมองเห็นเป็นอาคารขนาดใหญ่ หลังคาลาดต่ำลงมาเป็นชั้นซ้อนด้านละ 3 ชั้น และมีชั้นลดด้านหน้า 2 ชั้น ด้านหลัง 1 ชั้น มีประตูทางด้านหน้าและด้านข้างตรงกลาง

วิหารพระนอน อยู่ทางด้านหน้านอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุ วิหารก่อสร้างตามแนวยางขององค์พระ มีประตูทางเข้าด้านหลังคือ
ทิศใต้ Read more »

ความเป็นมาของพระเจ้าแช่แห้ง

วัดพระธาตุแช่แห้ง
• ความเป็นมา ตามพงศาวดารเมืองน่านเล่าว่า พระมหาธาตุเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1896 ในสมัยพญาการเมือง เจ้าผู้ครองเมืองวรนคร (อ.ปัว ในปัจจุบัน) ได้เสด็จไปร่วมพระราชกุศลกับพระมหาธรรมราชาลิไท ในการสร้างวัดหลวงอภัยขึ้นที่เมืองสุโขทัย เมื่อทรงสร้างเสร็จ พระเจ้ากรุงสุโขทัยได้ถวายพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ ลักษณะเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีวรรณสุกใสดั่งแก้ว 2 พระองค์ มีวรรณดั่งมุก 3 พระองค์ และมีลักษณะเท่าเมล็ดงาวรรณดั่งทองคำ 2 พระองค์ พระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ (ทองคำ) อีกอย่างละ 20 องค์ ให้แก่พญาการเมือง พญาท้าวมีความปิติเป็นอย่างมาก จึงได้อัญเชิญพระมหาชินธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ มายังดอยภูเพียงแช่แห้งประจุลงในเต้าปูนทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย (ปูนขาวผสมยางไม้) กลเหมือนก้อนศิลา ขุดหลุมลึก 1 วา แล้วอาราธนาพระมหาชินธาตุเจ้าประดิษฐานในหลุมนั้น ก่อเจดีย์สูง 1 วา ทับไว้อีกชั้นหนึ่ง
• การต่อมาหลังจากพญาการเมืองเสวยราชสมบัติที่เมืองวรนครได้อีก 6 ปี จึงได้ย้ายเมืองจาก วรนคร มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และได้ปกครองอยู่ตราบสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พญาผากองโอรสของพญาการเมือง ทรงขึ้นครองราชย์แทนและได้ย้ายเมืองจากดอยภูเพียงแช่แห้ง ข้ามฝั่งแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ขึ้นจวบจนถึงปัจจุบันนี้
• อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุข้อพระหัตถ์ซ้ายและเศษสรีรังคารธาตุ มาประดิษฐานไว้บนดอยภูเพียง เพื่อให้มนุษย์และเทวดาได้สักการบูชาตราบเท่า 5,000 พระวัสสา นอกจากนี้พระธาตุแช่แห้งมีความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นพระธาตุประจำปีนักษัตรปีเถาะหรือปีกระต่าย ซึ่งผู้คนที่เกิดปีเถาะหรือผู้ที่นับถือจะมานมัสการพระธาตุแช่แห้งเพื่อความเป็นสิริมงคล Read more »

คำนมัสการพระธาตุแช่แห้ง

55256855

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)
ยา ธาตุภูตาอะตุลานุภาวา จิรังปะติฏฐิตา
นันทะกัปปะเก ปุเรเทเวนะ คุตตาวะระพุทธะธาตุง จิรัง
วันทามิหันตังชินะธาตุโย โสตะถาคะตัง
อะหัง วันทามิสัพพะทา อะหัง วันทามิ ทูระโต

ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th/

ตำนานพระธาตุแช่แห้ง ปรากฎในธรรมพระเจ้าเลียบโลกทรงพระพุทธทำนาย

ff1

ปรากฏในอดีตกาลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเสด็จประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหารถึงพรรษาที่ ๒๕ พรรษา วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่งพระองค์ทรงเล็งเห็นด้วยพระญาณว่า เราตถาคตเมื่อตรัสรู้แล้ว บัดนี้อายุเราได้ ๖๐ ปี เมื่ออายุแห่งเราได้ ๘๐ ปีเราก็จะดับขันธ์ปรินิพพาน ยังเหลือเวลาอีก ๒๐ ปีที่เราตถาคตจะดำเนินไปโปรดเทศนาสั่งสอนเทวดา มนุษย์และเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อพระองค์ทรงเล็งเห็นดังนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตนมีพระมหากรุณาจะเสด็จจึงเรียกเอาพระอรหันต์สาวกมีพระอานนท์เป็นผู้ถือบาตร พระรัตนเถร พระโสภณเถร พญาเมืองกุสินารามีพระนามพญาอโศกถือรองเท้าและไม้เท้าเสด็จตามพระพุทธเจ้าตามอุปฏฐาก ส่วนพญาอินทร์ก็ลงมาถือฉัตรกันแดดกันฝนให้พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ได้โปรดเทศนาชาวเมืองกุสินาราเป็นปฐมฤกษ์ พระก็เสด็จออกจากเชตวนอาราม ในวันเดือนเกี๋ยง แรม ๑ ค่ำ ไปยังเมืองคูลวา เมืองแกว เมืองลังกา เมืองสวนตาล เมืองจีน เมืองฮ่อ เมืองลื้อ เมืองเขิน เมืองพระยาก เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย ดอยนภยาว ไปจอมแว ดอยคระชาว เมืองลำปาง เมืองแพร่แล้วเสด็จมาถึงยังเมืองนันทบุรีเสด็จประทับอยู่ที่ริมน้ำห้วยไคร้ Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .