Archive for the ‘วัดในสิงห์บุรี’ Category

วัดอัมพวา

1

พระอารามหลวงที่งดงามเก่าแก่คู่เมืองอัมพวา เชื่อว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ร.1 ส่วนที่สวยจนชวนตะลึงคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามในพระอุโบสถ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเคยเป็นนิวาสสถานเก่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 สักการะพระรูปร.2 ไหว้พระทำบุญแล้ว จะเดินข้ามไปฝั่งตลาดนํ้ายามเย็นริมคลองอัมพวาก็อยู่ห่างกันแค่เอื้อมเท่านั้น

ที่ตั้ง อยู่ติดกับตลาดนํ้ายามเย็นอัมพวา
เปิด ทุกวัน 8.00-17.00 น.

ขอขอบคุณ http://www.chillpainai.com/

วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ทุกปัญหาแก้ได้ด้วยวิปัสสนา

ด้วยความเมตตาอันสูงส่งและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม พระภิกษุแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผู้มีประสบการณ์ปฏิบัติธรรมอย่างยาวนานจากหลายสำนัก นำมาสู่การพัฒนาวัดอัมพวันให้กลายเป็นสำนักปฏิบัติธรรมยอดนิยม ที่ผู้คนทั่วไทยและต่างประเทศต่างศรัทธาและพร้อมใจพร้อมกายกันมาปฏิบัติธรรม ณ วัดอัมพวันแห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย

วันนี้ แม้ว่าหลวงพ่อจรัญ จะอายุมากขึ้นตามวันเวลา สังขารท่านอาจไม่เหมือนเดิม แต่ท่านก็ยังคงสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพราะท่านถือว่า การปฏิบัติธรรมคือสิ่งสำคัญที่สุด เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตรงที่สุดสำหรับทุกชีวิต ถ้าโรงพยาบาลคือสถานรักษากาย วัดอัมพวันก็คือสถานรักษาใจ เป็นที่ให้ธรรมโอสถกับทุกชีวิต Read more »

วัดอัมพวัน Wat Amphawan

วัดอัมพวัน เป็นสถานที่อบรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่ง ภายในวัดมีสถานที่พัก โรงอาหาร ห้องน้ำ ตลอดจนบรรยากาศที่ร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จนได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง และมีผู้มาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก
ข้อมูลน่าสนใจ

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว
ตลอดปี

อาหารพื้นบ้าน
ปลาช่อนแม่ลา เป็นอาหารและของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี

ของฝาก
ประเภทอาหารได้แก่ ซาลาเปาแม่สายใจ,ขนมเปี๊ยะ,กระยาสารท,ปลาช่อนแม่ลา, กุนเชียง,หมูหยอง,เนื้อทุบและหมูทุบ ประเภทสินค้าหัตถกรรมได้แก่ เครื่องจักสาน เช่น ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ตะกร้า,ฝาชี,เครื่องประดับมุก เช่นตะลุ่มมุก กล่องใส่เครื่องประดับ เชี่ยนหมาก Read more »

วัดอัมพวัน

อยู่ติดกับอุทยาน ร. 2 เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระรูป ศิริโสภาค มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ หลังวัดนี้ก็เคยเป็นนิวาสสถานเก่า ของหลวงยกกระบัตร และคุณนาค เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันฯ เดิมเป็นเรือนที่คุณนาค ใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมา วัดอัมพวันฯ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุ ในวัดอัมพวันฯ นี้ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะ และสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนับเป็น พระอุโบสถที่มีความงดงามอยู่มาก

ขอขอบคุณ http://www.อัมพวา.net/

 

วัดอัมพวันเจติยาราม

วันเปิดทำการ : ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 – 16.00

อยู่ติดกับอุทยาน ร. 2 เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1

หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และ คุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมเป็นเรือนที่คุณนาคใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

วัดอัมพวันเจติยารามได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุในวัดนี้ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนับเป็นพระอุโบสถที่มีความงดงาม นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐาน Read more »

เมื่อข้าพเจ้าเป็นศิษย์หลวงพ่อวัดอัมพวัน

ข้าพเจ้ารู้จักวัดอัมพวั นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๖ เนื่องจากวิทยาลัยส่งมาเข้าร่วมอบรมปฏิบัติธรรมในโครงการ “สัปดาห์แห่งการปฏิบัติธรรมสำหรับข้าราชการ” ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๕ มิถุนายน ท่านเจ้าของโครงการคือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูภาวนาวิสุทธิ์ (สมณศักดิ์ในปัจจุบันเป็นท่านเจ้าคุณพระภาวนาวิสุทธิคุณ)

นับเป็นโอกาสอันดีที่ข้าพเจ้าได้มาเรียนรู้วิธีปฏิบัติธรรมอย่างเป็นแบบแผน มีครูอาจารย์ควบคุม ซึ่งดีกว่าอ่านจากตำราแล้วปฏิบัติเองดังที่ข้าพเจ้าเคยทำ ผู้เข้าอบรมในเวลานั้นมีเพียง ๑๓ คน ทั้งที่หลวงพ่อท่านมีหนังสือเชิญชวนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะสมัยนั้นคนยังไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติธรรม ตลอดเวลา ๗ วัน ที่พวกเราอยู่ที่วัด หลวงพ่อท่านเมตตาสอนด้วยตนเองทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีคุณแม่ยุพิน บำเรอจิต เป็นผู้ช่วย ข้าพเจ้าปฏิบัติได้พอสมควร ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างเต็มที่เพราะมีความกังวลห่วงลูกชายซึ่งขณะนั้นอายุเพิ่งจะ ๔ เดือนเศษ แต่ข้าพเจ้าก็อยู่ปฏิบัติจนครบกำหนด และนั่นเป็นนิมิตอันดีสำหรับข้าพเจ้า เพราะหลังจากนั้นชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะอำนาจแห่งรสพระธรรมและความเมตตาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อนั่นเอง Read more »

เมื่อฉันไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน

1330950669

ถ้าไม่ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ ฉันคงมีสิ่งค้างคาใจอีกเรื่องหนึ่ง อย่ากระนั้นเลย มีคำกล่าวว่า “การผัดวันประกันพรุ่ง เป็นการขโมยเวลา” เพราะฉะนั้น ถ้าไม่อยากให้เวลาสูญหายไปโดยเปล่าประโยชน์ ต้องรีบเขียนเสียก่อนที่จะหมดไฟ เหมือนตอนไปปฏิบัติธรรมที่ธรรมาศรมธรรมมาตา ตอนแรกกะจะเขียนละเอียดยิบว่าระหว่างปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไรบ้าง ฉันเขียนได้แค่การเดินทางแล้วก็สรุปจบ ไม่ได้รายละเอียดของบรรยากาศจริง ๆ ระหว่างถือศีลแปดอยู่ที่นั่นเลย

หนนี้ฉันไปวัดอัมพวัน (วัดอัมพวันเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในชื่อวัดของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) ซึ่งเป็นวัดที่ฉันไม่นึกอยากจะไปมาก่อน เพราะทราบมาว่ามีผู้ไปปฏิบัติธรรมเยอะมาก ฉันไม่ชอบสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านไม่ว่าจะเป็นที่ใด แต่ด้วยความอยากหลีกหนีจากบ้านที่อาศัยอยู่ชั่วคราว ฉันเลยต้องตัดสินใจอย่างกะทันหัน ดูจากเว็บไซต์ของวัดแล้ว แทบไม่ต้องเอาอะไรไปเลย นอกจากของใช้ส่วนตัวจริง ๆ เพราะมีชุดขาวให้ยืมใส่ปฏิบัติด้วย ทั้งยังไม่ต้องมีการแจ้งล่วงหน้าเหมือนสถานปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ ที่วัดอัมพวันแม้จะมีกำหนดว่าหากต้องการปฏิบัติธรรมแค่ 3 วัน ก็ไปวันศุกร์กลับวันอาทิตย์ หากต้องการปฏิบัติธรรม 7 วัน ให้ไปวันโกน แล้วลาศีลวันโกนถัดมา แต่เอาเข้าจริง ๆ ฉันเห็นไปวันไหนก็ได้ เพราะเวลาเข้าคอร์สปฏิบัติ ก็จะเหมือน ๆ กันอยู่แล้ว คือ เดินจงกรม กับนั่งสมาธิ

Read more »

วัดอัมพวัน อ. พรหมบุรี จ. สิงห์บุรี

แผนที่การเดินทาง
การเดินทางโดยรถประจำทาง
การเดินทางไปวัดโดยรถประจำทางนั้นสามารถขึ้นรถได้หลายจุดครับ
· ๑. หมอชิตใหม่
· ๒. แถวสวนจตุจักรป้ายลาดพร้าว (ตรงข้ามเซ็นทรัลลาดพร้าว) เส้นวิภาวดีรังสิต
· ๓. ป้ายรถเมล์หน้าวัดดอนเมือง ตรงที่มีทางเบี่ยงเข้าไปสำหรับรถประจำทางจอด
· ๔. ป้ายรังสิต ตรงข้ามศูนย์การค้าใหญ่ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต (ฝั่งโรบินสัน)
๑. หมอชิตใหม่ สามารถไปซื้อตั๋วได้ที่ช่อง ๑๓ รถสิงห์บุรีครับ ราคา ๙๐ บาท หากซื้อไปกลับก็จะราคาเที่ยวละ ๗๐ บาท ครับ ไปกลับรวมเป็น ๑๔๐ บาท โดยตั๋วจะมีอายุ ๗ วัน ซื้อตั๋วได้เฉพาะที่ท่ารถสิงห์บุรีและกรุงเทพฯเท่านั้น ตอนกลับเราสามารถโทรไปบอกที่ท่ารถ ให้เขาจองที่นั่งไว้ให้ได้ พอมารับที่หน้าวัดก็จะมีที่นั่งให้ครับ โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ๐-๒๙๓๖-๓๖๖๐, ๐-๒๙๓๖-๓๖๖๖
รถสิงห์บุรีจะออกทุก ๔๐ นาที มีรถตั้งแต่ ตี ๕ ครับ หากจะไปให้ทันลงทะเบียนให้ทัน ควรขึ้นรถจากหมอชิตก่อนบ่าย ๒ ครับ สำหรับขากลับรถออกจากสิงห์บุรีรอบสุดท้ายประมาณ ๖ โมงเย็น มาถึงหน้าวัดประมาณ ๖.๓๐ น. ครับ
๒. หากขึ้นรถที่ลาดพร้าว, ดอนเมือง, รังสิต หรือระหว่างทาง รถโดยสารที่สามารถขึ้นได้ก็จะเป็น สิงห์บุรี ชัยนาท ตาคลี อุทัย บางคันก็จะมีป้ายวัดอัมพวันติดไว้ที่หน้ารถเลยครับ ค่าโดยสารจะอยู่ระหว่าง ๖๐-๘๐ บาท สามารถบอกคนเก็บเงินได้เลยครับว่าจะไปวัดอัมพวัน
การเดินทางโดยรถตู้
สามารถขึ้นรถตู้สายกรุงเทพฯ-อุทัยธานี รถจะจอดอยู่บริเวณใต้ทางด่วนด้านพหลโยธินฝั่งสถานีโทรทัศน์ช่อง ๕ และอีกฝั่งหนึ่ง บริเวณใต้ทางด่วนฝั่งโรงพยาบาลพญาไท ซึ่งให้แจ้งว่าจะลงที่วัดอัมพวัน รถตู้ก็จะจอดที่เดียวกับรถประจำทาง ค่าโดยสารประมาณ ๑๖๐ บาท รถตู้เที่ยวแรกจะออกเวลา ๙ โมงเช้า Read more »

วัดอัมพวัน

วัดอัมพวัน::

เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก สภาพทั่วไปนั้น มีต้นไม้ประมาณ ๓๐๐ ต้น เป็นไม้ดอก – ไม้ใบ ที่ปลูกใหม่ เดิมสภาพพื้นที่จะเป็นที่ที่น้ำท่วมถึง มาบัดนี้ทางวัดได้ทำถนน – คูกั้นน้ำ จึงสามารถป้องกันน้ำไว้ได้ จึงได้มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น

หลักฐานการตั้งวัด

จากการสำรวจทางราชการประมาณกาลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๗๕ การสร้างอุโบสถ ผูกพัทธสีมา มาแล้ว ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อรัชกาลที่ ๓ ครั้งที่ ๒ นี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร และได้ผูกพัทธสีมา วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓

ประวัติความเป็นมาของวัด

วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าจารึกเป็นภาษาจีนว่า คนจีนได้สร้างอุโบสถวัดอัมพวัน สมัยเหม็งเชี้ยว คนจีนได้นำเรือกำปั่นมาทำการค้าขายกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับฝรั่งชาติฮอลันดา จอดหน้าวัดอัมพวัน ได้สร้างโบสถ์วัดอัมพวัน สมัยเจ้าอาวาสวัดอัมพวันชื่อ พระครูญาณสังวร อายุ ๙๙ ปี สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว ฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทาน พระหน้าปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไว้ในโบสถ์ จนถึงการสร้างโบสถ์หลังใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

อุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดและพังลง เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำเดือน ๓ ปีจอ เวลา ๐๙.๔๕ น. Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .