Archive for the ‘วัดในพระนครศรีอยุธยา’ Category

วัดบรมพุทธาราม และ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท

large_b1

ศุนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดตั้งขึ้นตามโครงการที่นักวิชาการไทยและนักวิชาการญี่ปุ่นปรับขยายมาจากข้อเสนอเดิมของสมาคมไทย-ญี่ปุ่นและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเคยเสนอปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นให้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น มาเป็นการเสนอให้จัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑสถานเกี่ยวกับราชอาณาจักรอยุธยาโดยรวม และได้รับงบประมาณช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงิน ๙๙๙ ล้านเยน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา และเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มิตรภาพระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับราชอาณาจักรไทยได้สถาวรยืนนานมาครบ ๑๐๐ ปี

วัดบรมพุทธาราม อยู่ภายในบริเวณสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” เพราะแต่เดิมนั้นพระอุโบสถมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียว วัดนี้สมเด็จพระเพทราชาทรงสร้างขึ้นที่บริเวณพระนิเวศน์เดิม

Read more »

วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยา

wat-boromphuttharam1

วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยาหรือ วัดกระเบื้องเคลือบ เป็นวัดเก่าที่ สมเด็จพระเพทราชา โปรด ฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2226 เมื่อครั้งยังรับราชการกรมช้าง ในบริเวณย่านป่าตอง อันเป็นนิวาสเดิมก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ โดยวัดได้มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา อีกทั้งยังเป็นที่จำพรรษาของพระราชาคณะ
ศาสนสถานที่สร้างขึ้นนั้น โปรด ฯ ให้หมื่นจันทรา ช่างเคลือบกระเบื้องสี มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่น อันเป็นที่มาของนามวัด
ต่อมารัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2295 โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด และโปรดให้ทำบานประตูประดับมุกสำหรับพระอุโบสถ ซึ่งบานประตูดังกล่าวปัจจุบันอยู่ ณ หอมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) คู่หนึ่ง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามคู่หนึ่ง ส่วนอีกคู่หนึ่งได้ถูกลักลอบตัดไปทำตู้หนังสือและติดตามคืนมาได้ ปัจจุบันได้เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

Read more »

วัดบรมพุทธาราม นิวาสถานเดิมสมเด็จพระเพทราชา

IMG_9400

วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หรือ วัดกระเบื้องเคลือบ เป็นวัดเก่าที่ สมเด็จพระเพทราชา โปรด ฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2226 เมื่อครั้งยังรับราชการกรมช้าง ในบริเวณย่านป่าตอง อันเป็นนิวาสเดิมก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ โดยวัดได้มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา อีกทั้งยังเป็นที่จำพรรษาของพระราชาคณะ

ศาสนสถานที่สร้างขึ้นนั้น โปรด ฯ ให้หมื่นจันทรา ช่างเคลือบกระเบื้องสี มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่น อันเป็นที่มาของนามวัด
ต่อมารัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2295 โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด และโปรดให้ทำบานประตูประดับมุกสำหรับพระอุโบสถ ซึ่งบานประตูดังกล่าวปัจจุบันอยู่ ณ หอมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) คู่หนึ่ง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามคู่หนึ่ง ส่วนอีกคู่หนึ่งได้ถูกลักลอบตัดไปทำตู้หนังสือและติดตามคืนมาได้ ปัจจุบันได้เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

Read more »

วัดบรมพุทธาราม อยุธยา

อยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ประมาณพ.ศ.2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ทรงโปรดฯให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุงหลังคาพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ และใช้ประดับเจดีย์และซุ้มประตู จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ครั้งใหญ่และให้ทำบานประตูมุกฝีมืองดงาม 3 คู่ บานประตูมุกนี้ปัจจุบัน คู่หนึ่งอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คู่หนึ่งอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และอีกคู่หนึ่งมีผู้ตัดไปทำตู้หนังสือซี่งขณะนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

ท่องเที่ยววัดบรมพุทธาราม

วัดบรมพุทธาราม
อยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ประมาณพ.ศ.2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ทรงโปรดฯให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุง หลังคาพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ และใช้ประดับเจดีย์และซุ้มประตู จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ครั้งใหญ่และให้ทำ บานประตูมุกฝีมืองดงาม 3 คู่ บานประตูมุกนี้ปัจจุบัน คู่หนึ่งอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คู่หนึ่งอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และอีกคู่หนึ่งมีผู้ตัดไปทำตู้หนังสือซี่งขณะนี้ตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

วัดบรมพุทธราม..”วัดเคียงคู่ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา”

large_b2

วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ในสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตก
เป็นวัดที่สมเด็จพระเพทราชากษัตริย์อยุธยาองค์ที่ 28 แห่งราชวงค์บ้านพลูหลวง
โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถาน(บ้าน)เดิม
วัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหารการเปรียญ
มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า
“วัดกระเบื้องเคลือบ”

การมุงหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวนี้ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้โปรดให้มุงหลังคา พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทในวังนารายณ์ราชนิเวศน์
และวิหารกลางในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อพระเพทราชารับราชการ
เป็นเจ้ากรมช้าง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยู่ที่วังนารายณ์ราชนิเวศน์
คงเห็นหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองสวยงามดี จึงได้ให้มุงหลังคากระเบื้องเคลือบ
ที่วัดบรมพุทธารามนี้บ้าง

Read more »

เสน่ห์แห่งศิลปะโบราณคดีที่ วัดบรมพุทธาราม

37_20101203102307.

วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ประมาณพ.ศ.2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือ

ด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ

วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ทรงโปรดฯให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุง หลังคาพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ และใช้ประดับเจดีย์และซุ้มประตู จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ

Read more »

วัดบรมพุทธาราม

วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ในสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตก
เป็นวัดที่สมเด็จพระเพทราชากษัตริย์อยุธยาองค์ที่ 28 แห่งราชวงค์บ้านพลูหลวง
โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถาน(บ้าน)เดิม
วัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหารการเปรียญ
มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า
“วัดกระเบื้องเคลือบ”

การมุงหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวนี้ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้โปรดให้มุงหลังคา พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทในวังนารายณ์ราชนิเวศน์
และวิหารกลางในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อพระเพทราชารับราชการ
เป็นเจ้ากรมช้าง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยู่ที่วังนารายณ์ราชนิเวศน์
คงเห็นหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองสวยงามดี จึงได้ให้มุงหลังคากระเบื้องเคลือบ
ที่วัดบรมพุทธารามนี้บ้าง

Read more »

ประวัติและความสำคัญของวัดบรมพุทธาราม

วัดบรมพุทธาราม เป็นวัดขนาดเล็กมีฐานะเป็นพระอารามหลวงฝ่ายคามวาสีครั้งกรุงศรีอยุธยา(๒) และเป็นที่สถิตของพระราชาคณะที่มีฐานานุศักดิ์เป็นพระญาณสมโพธิ์ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า สมเด็จพระเพทราชาโปรดฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๒(๓) โดยโปรดฯ ให้สถาปนากำแพงแก้ว พระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ เสนาสนะ กุฎี และให้หมื่นจันทราช่างเคลือบให้เคลือบกระเบื้องสีเหลืองมุงหลังคาพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ สร้างอยู่ ๒ ปี จึงเสร็จ ถวายนามพระอารามชื่อว่า “วัดบรมพุทธาราม” แล้วสมโภชฉลอง ๓ วัน ๓ คืน เจ้าอธิการซึ่งนิมนต์เข้ามาอยู่นั้นตั้งให้เป็นพระราชาคณะชื่อ “พระญาณสมโพธิ” ทรงพระราชูทิศเป็นพระรัตนตรัยบูชา พระราชกัลปนาส่วยขึ้นพระอารามเป็นอันมาก มีแห่พระยุหยาตรากฐินหลวง นาคหลวง สระสนาน ช้าง ม้า ที่มีเป็นการพิเศษ
เนื่องจากวัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” การมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวนี้ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้มุงหลังคาพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท ในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และวิหารหลวงในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อสมเด็จพระเพทราชาเป็นเจ้ากรมช้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอยู่ที่พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ คงเห็นหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองสวยงามดี จึงให้มุงหลังคากระเบื้องเคลือบที่วัดบรมพุทธารามนี้บ้าง
Read more »

วัดบรมพุทธาราม– ที่ตั้งโบราณสถาน

ปัจจุบันวัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(๑) ในเขตของสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา บนพื้นที่กึ่งกลางค่อนไปทางทิศใต้ของเกาะเมือง ริมถนนศรีสรรเพชญ์ (ถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง) ฟากตะวันออก ใกล้ประตูชัยซึ่งเป็นประตูใหญ่บนแนวกำแพงเมืองด้านใต้ ในบริเวณที่ตั้งวัดนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นย่านป่าตอง ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งนิวาสสถานของสมเด็จพระเพทราชามาก่อน เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วจึงได้สถาปนาขึ้นเป็นพระอาราม ทางด้านทิศตะวันออกของวัดติดกับคลองฉะไกรน้อย ซึ่งเป็นคลองที่ชักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเกาะเมืองเข้ามาสู่บึงพระรามทางด้านทิศเหนือ ในบริเวณคลองนี้มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจการค้า เพราะมีตลาดน้ำและตลาดบกที่สำคัญ คือ ตลาดป่าตอง ซึ่งแนวถนนและคลองดังกล่าวอาจจะมีส่วนทำให้แผนผังของวัดต้องวางตัวตามแนวเหนือ–ใต้ เพราะพื้นที่แคบไม่สามารถวางตัวตามแนวทิศตะวันออก–ตะวันตกได้

โดยสรุปอาณาเขตติดต่อของวัดบรมพุทธารามกับเขตอื่น ๆ ได้แก่
ทิศเหนือ ติดกับพื้นที่ว่าง ถัดขึ้นไปเป็นที่ตั้งอาคารเรียนของสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก ติดกับแนวคลองฉะไกรน้อย ถัดไปเป็นที่ตั้งของวัดสิงหาราม
ทิศใต้ ติดกับพื้นที่ว่างเปล่า ถัดลงไปเป็นที่ตั้งบ้านพักอาจารย์ของสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก ติดกับแนวถนนศรีสรรเพชญ์ (ถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง)

ขอขอบคุณ http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/

ไหว้พระเก้าวัด อยุธยา พระนอน ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เสริมสิริมงคลให้ชีวิต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไหว้พระ 9 วัด จ.อยุธยา

การไหว้พระ 9 วัด จ.อยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะ ให้ความสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวและไหว้พระตามวัดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น วัดพนัญเชิง วิหารพระมงคลบพิตร แต่ในครั้งนี้จะขอแนะแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดที่มี “พระนอน” หรือที่เรียกว่า “พระพุทธไสยาสน์” ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีอยู่ไม่น้อยกว่า 9 วัด มาให้เป็นที่รู้จักได้เลือกสักการะบูชา เพื่อเสริมสิริมงคลแก่ชีวิตพร้อมรับแต่สิ่งดี ๆ ให้แก่ชีวิตนี้ว่า “ไหว้พระนอนขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เสริมสิริมงคลให้ชีวิต” ที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเลือกสักการะบูชาวัดที่มีพระนอนได้ ดังนี้ … Read more »

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา

วัดมเหยงคณ์ อยุธยา แผนที่วัดมเหยงค์ การเดินทางไปวัดมเหยงค์

วัดมเหยงคณ์ เดิมเป็นพระอารามหลวง และกลายเป็นวัดร้างไปภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ วัดนี้ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๕ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่นอกเขตเมืองมาทางทิศตะวันออก ถ้าเดินมาจากถนนสายเอเชีย แยกเข้าสู่ถนนโรจนะเพื่อมุ่งเข้าเกาะเมือง พอมาถึงเจดีย์วัดสามปลื้มเลี้ยวขวาอ้อมวงเวียนมาตามถนนระยะทางประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ก็จะถึงทางเข้าวัดมเหยงคณ์ ท่านจะมองเห็นผนังอุโบสถก่อด้วยอิฐสีแดงตระหง่านแต่ไกล
ประวัติความเป็นมาของวัด มเหยงคณ์น่าสนใจ เพราะเป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญด้านจิตใจ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้าง ทะนุบำรุงพระอารามแห่งนี้สืบต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี
ปัจจุบันนี้กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนใดมเหยงคณ์เป็นโบราณวัตถุ โบราณสถานของชาติ ตั้งแต่วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .