Archive for the ‘พระเจดีย์ พระธาตุเจดีย์ พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระปรางค์ การไหว้พระธาตุ’ Category

ประวัติความเป็นมาวัดปรมัยยิกาวาส

paramai

วัดปรมัยยิกาวาส เดิมเป็นวัดราษฎร์ของชาวรามัญซึ่งอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แต่สมัยก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เรียกตามภาษารามัญว่า (เกี่ยวมุ๊เกี๊ยะเติ้ง) ปัจจุบันเพี้ยนเป็น(เกี่ยเมิ้งฮะเติ้ง) แปลว่า วัดหัวแหลม ไทยเรียกวัดปากอ่าว

วัดปากอ่าว เป็นวัดรามัญมาแต่โบราณ มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี ก่อนจะได้รับการปฏิสังขรณ์ ใน พ.ศ.๒๔๑๗ นั้น วัดปากอ่าวมีเสนาสนะที่น่าศึกษาคือ

๑.ศาลาเปรียญทรงมอญ ยกพื้นสูงจากดิน ๒ ศอก ไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องดินเผาขนาดกว้างยาวเท่าไรหาหลักฐานไม่พบ สูงจากพื้นถึงเพดานเท่ากับความสูงของบุษบกปัจจุบัน ปลูกไว้บริเวณลานดินตรงต้นหว้าหน้าพระอุโบสถในปัจจุบัน

๒.พระอุโบสถ ตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน ขื่อกว้าง ๓ วา ยาว ๗ วา ๓ ห้อง ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคาชั้นเดียว มุงกระเบื้องดินเผา มีพะหน้าหลัง เช่นเดียวกับวัดรามัญทั่วไป ภายในมีพระประธานและพระอัครสาวกนั่งคุกเข่าอย่างรามัญทั่วไป เป็นปูนปั้นทั้ง ๓ องค์

๓.วิหารพระพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน ขื่อกว้าง ๔ วา ๒ ศอก ยาว ๕ วา ๓ ศอก สูง ๓ วา เครื่องบนไม้สัก มุงกระเบื้องดินเผา ภายในมีพระพุทธไสยาสน์ขนาดยาว ๔ วา ๓ ศอก มีพะหน้าหลัง

Read more »

วัดปรมัยยิกาวาส

cover-sadoodta_752

วัดปรมัยยิกาวาส เดิมชื่อ “วัดปากอ่าว ” มีชื่อในภาษามอญว่า ” เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง ” หมายความว่า วัดหัวแหลม เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ดังปรากฎพระเจดีย์มุเตาซึ่งเป็นเจดีย์ทรงมอญ ปัจจุบันอยู่ติดริมแม่น้ำกระแสน้ำกัดเซาะฐานราก ทำให้เจดีย์มีลักษณะเอียง อันเป้นสัญลักษณ์ของวัดมาแต่โบราณ ต่อมาสมัยธนบุรี และต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีชาวมอญ ที่อพยพเข้ามาตั้งบ้าน เรือนที่เกาะมากขึ้น วัดแห่งนี้จึงเป็นศูนย์กลางของชุมชน และสถานที่จัดงานประเพณีพิธีกรรมของชาว มอญบนเกาะเกร็ด และที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่ ภายในวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวได้แก่

พระอุโบสถ มีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากประเทศอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้พระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริมการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันที่นี่เป็นวัดเดียว ที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์พระองค์เจ้าประดิษฐว รการ ผู้สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้ งามด้วยพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง เอกลักษณ์ของมอญอีกอย่างหนึ่งในวัดนี้คือ เจดีย์ทรงรามัญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุเจดีย์มุเตา เมืองหงสาวดี ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งคนมอญนับถือมาก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

Read more »

ประวัติวัดปรมัยยิกาวาส

15220a33b

วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า “เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง”

ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพระยาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของพระบรมอัยยิกา”

Read more »

วัดปรมัยยิกาวาส จ.นนทบุรี

วัดปรมัยยิกาวาส ชาวบ้านมักเรียกว่าวัดปากอ่าว เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงเพียงวัดเดียวบนเกาะเกร็ด มีชื่อในภาษามอญว่า “เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง” แปลว่า วัดหัวแหลม ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัด ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่ ส่วนพระอุโบสถในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลสนองพระคุณสมเด็จพระเจ้าบรมอัยยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และพระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส มีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่กระนั้นพระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันนี้ ที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ ๕ ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยฝีพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง ด้านหลังพระอุโบสถ มีพระมหารามัญเจดีย์ จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง ของพม่า

ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดปรมัยยิกาวาสสำหรับชาวนนทบุรีก็คือ เป็นที่ประดิษฐาน พระนนทมุนินท์ พระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดปรมัยยิกาวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิด ราชวรวิหาร

watporamai

วัดปรมัยยิกาวาส ตั้งอยู่ที่ตำลบลเกาะเกร็ด เยื้องท่าเรือสุขาภิบาลปากเกร็ดไปทางใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่ตรงข้ามกับท่าเรือวัดสนามเหนือ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างแบบรามัญ เดิมวัดนี้เป็นวัดเก่า ชื่อวัดปากอ่าว

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด และโปรดให้สร้างพระเจดีย์รามัญ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระราชทานนาม “วัดปรมัยยิกาวาส” เนื่องจาก ศิลปะการสร้างมีลักษณะแบบมอญ พระเจดีย์ทุกองค์สร้างแบบมอญ และพระพุทธรูปพระประธาน ในโบสถ์ สลักด้วยหินอ่อนแบบมอญด้วย จึงเรียกกันว่า “วัดมอญ” ภายในวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง และบานประตู หน้าต่างโบสถ์ประดับลายปูนปั้นสวยงาม

วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฎกภาษามอญไว้ ถือเป็นวัดศูนย์กลางของชุมชนชาวมอญ และมีโบราณวัตถุสมัยอยุธยาตอนปลาย

ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org/

วัดปรมัยยิกาวาส

300px-Ko_Kret_leaning_chedi

วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า “เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง”

ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพระยาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของพระบรมอัยยิกา”

Read more »

ทริปไหว้พระ 9 วัด ในจังหวัดสมุทรปราการ

วัดที่จะไปไหว้มีดังนี้
1)วัดบางพลีใหญ่กลาง (วัดพระนอนใหญ่)
2) วัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต)
3) วัดน้อยสุวรรณาราม
4) วัดตำหรุ
5) วัดหงษ์ทอง
6) วัดสว่างอารมณ์
7) วัดมงคลโคธาวาส (หลวงพ่อปานคลองด่าน)
8) วัดราษฎร์บำรุง
9) วัดอโศการาม (หลวงพ่อลี)
4. เวลาและเส้นทางที่จะใช้มีดังนี้
7.30 น. ออกสต๊าทที่โรงเรียนอรรถวิทย์ ถนนสรรพาวุธ บางนา ผ่านสี่แยกบางนาไปตามถนนบางนา-ตราด ยูเทรินกลับรถที่ อ.บางพลี เลี้ยวซ้ายเข้าเส้น บางพลี-กิ่งแก้ว เลี้ยวซ้ายเข้าทาง วัดบางพลีใหญ่กลาง
8.00 น. ถึงวัดบางพลีใหญ่กลาง
8.30 น. ถึงวัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต) ให้เวลาสักการะ ทานอาหารเช้าตามอัธยาศัยและเดินเที่ยวซื้อของที่ตลาด โบราณ 110 ปี ประมาณ 2 ชั่วโมง
10.30 น. ออกจากวัดบางพลีใหญ่ ใช้เส้นทางออกหน้าวัดเลี้ยวขวาเข้าถนนเทพารักษ์ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนคลองขุด
11.00 น. ถึงวัดน้อยสุวรรณาราม (กราบสักการะพระและแม่นางกวักองค์ใหญ่ และถ่ายรูปรถ)
11.30 น. ถึงวัดตำหรุ
11.45 น. ออกจากวัดตำหรุ เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นสุขุมวิทสายเก่า มุ่งหน้าไปทางคลองด่าน ผ่านคลองด่าน ผ่านแยกบางบ่อ เลี้ยวขวาเข้าวัดหงษ์ทอง
12.00 น. ถึงวัดหงษ์ทอง (ก่อนเข้าวัดจอดถ่ายรูปรถบริเวณคันดินรอบบ่อเลี้ยงกุ ้ง) สักการะพระบรมสารีริกธาตุ , พระแก้วมรกต , ร.5 , กรมหลวงชุมพร , แม่พระคงคา, พระสีวรี , เจ้าแม่กวนอิม ฯลฯ และรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
Read more »

ไหว้พระ 9 วัด จังหวัดสมุทรปราการ

1. วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร

1210478436

ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เจ้านายและขุนนางนิยมสร้างวัดกันมาก หลายวัดได้กลายเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา วันนี้ก็สร้างขึ้นในยุคนี้เช่นกัน พระอุโบสถและวิหารได้รับอิทธิพลศิลปะจีนซึ่งเป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นและเครือ่งถ้วยชามลายครามอย่างจีน ฝีมือประณีตงดงามมาก
ตามความเห็นของผม ..คือที่วัดนี้ ที่อุโบสถและวิหาร ไม่มี ขี้นกพิราบ สะอาดน่านั่งพักสงบจิตใจร่มเย็นดีเหลือเกินเลยครับ..

ประวัติของวัดนี้มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพระ ราชพงศาวดารัชกาลที่ ๒
สมเด็จกรมพระยา ดำรงทรงพระนิพนธ์กล่าวถึงวัดนี้ว่า

“ในคราวเมื่อสร้างป้อมเมืองสมุทรปราการนั้น ทรงพระ ราชดำริว่าป้อมที่ได้สร้างขึ้นที่เมืองนคร เขื่อนขันธ์แต่ก่อน ยังคงค้างอยู่ไม่สำเร็จบริบูรณ์
จึงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิ พลเสพเป็นแม่กองทำการสร้างเมืองนครเขื่อน ขันธ์ที่ยังค้างอยู่
นอกจากนี้ยังได้สร้างป้อมขึ้นอีกป้อม หนึ่ง ชื่อ ป้อมเพชรหึง
และให้ขุดคลองลัดหลังเมือง นครเขื่อนขันธ์คลองหนึ่ง มาทะลุออกคลองตาลาว คลองลัดที่ขุดใหม่นี้เมื่อขุดนั้น กว้าง ๖ วา ลึก ๕ ศอกยาว ๕๐ เส้น
กรมหมื่นศักดิพล เสพ ทรงสร้างวัดขึ้นในคลองที่ขุดใหม่วัด หนึ่ง
พระราชทานนามว่า “วัดไพชยนต์พลเสพ ”
พระยาเพชรพิไชย (เกษ) ซึ่งเป็น นายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ สร้างวัดขึ้นอีก วัดหนึ่งตรงข้ามวัดไพชยนต์ฯ ชื่อ วัดโปรดเกศ เชษฐาราม
ยังเป็นอารามหลวงอยู่จนทุกวันนี้ ทั้ง ๒ วัด
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานเกี่ยว กับการตั้งชื่อวัดนี้ว่า ในรัชกาลที่ ๒ เห็นจะเรียกว่า “วัดกรมศักดิ์” หรือ “วัดปากลัด”

Read more »

วัดพิชยญาติการามวรวิหาร

DTHB391 Wat Phitchaya 2007

วัดพิชยญาติการามวรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหารเดิมเป็นวัดร้าง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัตบุนนาค) ครั้งดำรงยศเป็น พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ได้ปฏิสังขรณึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๔ ในรัชกาลที่ ๓ เนื่องจากท่านมี เรือกำปั่นค้าขายกับต่างประเทศอยู่หลายลำ จีงหาชี้อวัสตุก่อสร้างส่วนใหญมาจากจีน ถาวรวัตถุที่ก่อสร้างขี้นจีงมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน สิ่งสำคัญในพระอาราม มีพระอุโบสถขนาดย่อม หลังคาแบบเก๋งจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันทั้ง สองด้านเป็นลายปูนปั้นมังกรสอดสีประดับกระเบื้อง เพดานตามระเบียง เขียนลยดอกไม้สอดสี เสาพาไลเป็นศิลากลม ฐานของพาไลสลักศิลาเป็นรูปในเรื่องสามก๊กด้วยฝีมีองดงาม บานประตูหน้าพระอุโบสถเขียนลารดน้ำเป็นรูปเชี่ยวกางเหยียบสิงโต บานประตูกลางเป็นลายรดน้ำรูปเทวดาถือพระขรรค์เหยียบราชสีห์ ภายในพระอุโบสถฝาผนังและเสาภายในมีภาพจิตรกรรมรูปลายดอกไม้ ผนังบานกกหน้าต่างด้านนอกเขียนรูปต้นไม้สวรรค์ต่าง ๆ เช่น ต้นนารีผลและต้นกัลปพฤกษ์ หลังพระประธานเขียนเป็นรูปชุ้มเรือนแก้ว ลานหน้าพระอุโบสถปูด้วยแผ่นศิลาจากเมืองจีน เสมาสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นเสมาคู่ ชุ้มเสมาช่างไทย ออกแบบ และสั่งและสลักศิลาสำเร็จมาจากเมืองจีน พระประธาในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีพระนามว่า พระสิทธารถ

Read more »

วัดพระธาตุดอยจอมทอง ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย

วัดพระธาตุดอยทอง ตั้งอยู่ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ตามตำนานเล่าว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่มีก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะทรงสร้างเมืองเชียงราย โดยเล่าว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 สันนิษฐานว่า เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทองนั้น คงจะมีการบูรณะองค์พระธาตุใหม่พร้อมๆ กับการสร้างเมืองเชียงราย นอกจากนั้นตรงข้ามพระธาตุดอยทอง เป็นที่ตั้งของเสาสะดือเมือง 108 หลัก ซึ่งสร้างตามคติโบราณล้านนา คือจะใหญ่เท่าห้ากำมือ และสูงเท่าความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน เสาสะดือเมืองเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวง แทนสมมติจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ล้อมรอบด้วยน้ำห้าร่องแทนปัญจมหานที ขั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน เสาสะดือเมืองชาวเชียงรายได้ร่วมใจสร้างขึ้นเมืองปี พ.ศ 1531 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญาเม็งราย และได้มีการบูรณะในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขอขอบคุณ http://www.annaontour.com/

ชวนนมัสการไหว้พระธาตุ 9 จอม อันศักดิ์สิทธิ์ของเชียงราย–พระธาตุจอมทอง

jom-thong-x

ที่ตั้ง วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงรายมีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และ สร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

Read more »

วัดพระธาตุจอมทอง เชียงราย

วัดพระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญประดิษฐานพระธาตุจอมทอง อันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนเมืองพะเยามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล พระธาตุองค์นี้ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด เพียงแต่มีประวัติเกี่ยวกับพระธาตุจอมกิตติที่เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตามตำนานว่า พระเจ้ามังคราช เจ้าผู้ครองโยนกบุรีศรีเชียงแสนโปรดให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์นำมาจากลังกาทวีป และมอบให้พระยาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ พระองค์จึงสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวไว้บนดอยแห่งหนึ่งของเมืองพะเยา เรียกกันว่า พระธาตุจอมทอง

พระธาตุจอมทองมีลักษณะเป็นศิลปะแบบล้านนา ฐานย่อเป็น 8 เหลี่ยมด้านบนเป็นมาลัยเตา 3 ชั้น ต่อชั้นขึ้นไปเป็นหอระฆังและมีปล้องไฉนจนถึงฉัตรทองคำ ได้รับการบูรณะหลายครั้งจนอยู่ในสภาพดี นอกจากนี้ในวัดยังมีพระพุทธรูปศิลา เรียกว่า พระเจ้าทันใจ พระอุโบสถ และพระวิหาร ซึ่งมีความเก่าแก่เช่นเดียวกัน

Read more »

นมัสการพระธาตุเก่าแก่ และเสาสะดือเมือง 108 หลักที่วัดพระธาตุดอยจอมทอง

วัดพระธาตุดอยจอมทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง (หรือวัดพระธาตุดอยตอง ตามสำเนียงคนเชียงราย) เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งใน “เก้าจอม” ของสถานที่อันเป็นมงคลนามของจังหวัดเชียงราย โดยวัดพระธาตุดอยจอมทองนี้

วัดพระธาตุดอยจอมทอง เป็นปูชนียสถานสำคัญของเชียงราย ตั้งอยู่บนดอยจอมทองที่สามารถมองเห็นตัวเมืองเชียงรายได้อย่างชัดเจน ตามตำนานระบุว่าเป็นวัดเก่าแก่ก่อนที่พญามังรายจะมาตั้งเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ.1805 โดยพญามังรายทรงกำหนดให้ดอยจอมทองเป็นสะดือเมืองหรือใจกลางเมือง

ที่ตั้งและการเดินทาง ตั้งอยู่บนดอยทอง ต.เวียง

รถยนต์ส่วนตัว จากหอวัฒนธรรม ใช้ ถ.สิงหไคล ผ่าน รพ.โอเวอร์บรู๊ค เลี้ยวขวาเข้า ถ.ไกรสรสิทธิ์ ทางเดียวกับทางไปสะพานแม่ฟ้าหลวง ประมาณ 1 กม. จากนั้นมีแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกทางไปวัดดอยจอมทองตาม ถ.อาจอำนวย ซึ่งเป็นถนนแคบๆ ผ่านทางขึ้นวัดดอยจอมทองด้านขวามือ

Read more »

วัดพระธาตุดอยจอมทอง

ที่ตั้ง: รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย 57000
รายละเอียด : ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ตำนานกล่าวว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1483 ต่อมาเกิดแผ่นดินไหว ทำให้พระธาตุเจดีย์องค์เดิมพังทลายลงมา เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทอง จึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์องค์ใหม่ขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองและในบริเวณเดียวกันยังมีเสาหลักเมืองอีกด้วย เจดีย์องค์ปัจจุบันที่เห็นได้ถูกสร้างใหม่อีกครั้ง โทร. 0 5371 6055
การเดินทาง : “โดยทางอื่น ทาง จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เข้าถนนอุตรกิจไปจนถึงสี่แยกพหลโยธิน (สายใน) เลี้ยวขวาผ่านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหยือเขต ๒ ตรงไปจนถึงปากทางเข้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไตรรัตน์ ผ่านวัดพระแก้ว เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งขึ้นดอยทองผ่านวัดงำเมืองไปประมาร ๓๕o เมตร ก็จะถึงปากทางขึ้น”

ขอขอบคุณ http://www.zeekway.com/

 

พระธาตุดอยจอมทอง

image003
วัดพระธาตุดอยจอมทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง (หรือวัดพระธาตุดอยตอง ตามสำเนียงคนเชียงราย) เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งใน “เก้าจอม” ของสถานที่อันเป็นมงคลนามของจังหวัดเชียงราย

โดยวัดพระธาตุดอยจอมทองนี้ สันนิษฐานว่าสร้างก่อนที่พญามังรายมหาราชจะเสด็จมาพบพื้นที่บริเวณนี้ และโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายในปี พ.ศ. 1805 โดยตามประวัติที่มีการกล่าวถึงวัดพระธาตุดอยจอมทองระบุว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพญาเรือนแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยปัจจุบัน) นี พ.ศ. 1483 โดยในการสร้างวัดครั้งนั้น ได้มีการสร้างองค์พระเจดีย์ประธานของวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหาเถระชาวลังกาได้นำมาถวายแด่พญาพังคราชแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ ซึ่งพญาพังคราชได้โปรดให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 3 ส่วน และนำไปประดิษฐาน ณ พระบรมธาตุเจดีย์ที่สำคัญของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ได้แก่ พระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง พระธาตุจอมกิตติ และพระธาตุดอยจอมทองแห่งนี้

พระเจดีย์ประธานของวัดพระธาตุดอยจอมทอง มีลักษณะเป็นเจดีย์ล้านนาพุกาม องค์ประกอบของเจดีย์ส่วนฐานมีลักษณะเป็นฐานปัทม์หกเหลี่ยมยกสูง องค์เจดีย์มีลักษณะเป็นชั้นบัวถลารับองค์ระฆัง ส่วนยอดประกอบด้วยบัลลังก์ ปล้องไฉน ปลียอด และมีฉัตรอยู่ชั้นบนสุด องค์เจดีย์หุ้มด้วยทองจังโกฎิ เหมือนกับพระเจดีย์อื่นๆในภาคเหนือ ทำให้เกิดความสวยงามและยังสามารถป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำ และป้องกันการเกิดวัชพืชบนองค์เจดีย์ด้วย

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .