วัดอโศการาม มีที่ตั้ง ประมาณ ๕๓ ไร่ และเป็นที่ที่เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๗ – พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นปีที่ท่านพ่อลี เริ่มก่อตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นภิกษุส่วนมากที่อยู่ตามป่าจะอยู่ในการดูแลของท่านพ่อลี และยึดแนววัตรปฏิบัติของท่านพ่อลี นาแม่ขาว เป็นชือตำบลเป็นที่ตั้งของวัดอโศการามปัจจุบัน ตามประวัติที่กล่าวไว้ในหนังสือชีวประวัติ พระสุทธธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลีธมฺมธโร) ความว่า” ที่ตั้งวัดอโศการามปัจจุบันนี้ เดิมเรียกว่า “นาแม่ขาว” เจ้าของที่ดินคือ นางกิมหงษ์ และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินให้สร้างวัดเนื้อที่ประมาณ ๕๓ ไร่ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้เริ่มตั้งสำนักขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้พระลูกศิษย์ คือพระครูใบฎีกาทัศน์ มาเฝ้าสำนักแทน พร้อมกับลูกศิษย์อีก ๕ รูป รวมมีพระที่สำนักนี้ในครั้งเริ่มตั้ง จำนวน ๖ รูป” เมื่อออกพรรษาและได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯ เรียบร้อยแล้ว เป็นปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านพ่อลี จึงได้ออกไปจำพรรษาที่วัดอโศการาม
ในระหว่างนี้ได้เริ่มคิดดำริจัดงานฉลองสมโภช ๒๕ พุทธศตวรรษ ในปีพ.ศ.๒๕๐๐ การดำริในเรื่องนี้ ท่านได้ดำริมานานปีแล้ว คือเริ่มดำริตั้งแต่ปีที่ได้เดินทาง ออกมาจากดงบ้านผาแด่นแสนกันดาร( เชียงใหม่) วัดอโศการาม ได้รับการพัฒนาสืบเนืองมาโดยลำดับ แม้หลังท่านพ่อลีได้มรณะภาพไปแล้ว ( ปี พ.ศ.๒๕๐๔)ได้มีการขยายพื้นที่ออกไป ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของวิหารสุทธิธรรมรังสีในปัจจุบัน พร้อมกันนั้นก็ได้ทำการสร้างพระธุตังคเจดีย์ ที่ท่านพ่อได้วางแบบเอาไว้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เป็นปูชนียสถานประดิษฐานพระบรมสารีริธาตุ ไว้เป็นที่สักการะของเหล่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายชือว่า ” ธุตังคเจดีย์” เป็นเจดีย์หมู่ ๑๓ องค์วัดอโศการาม เป็นสถานที่ปฏิบ้ติธรรมกัมมัฏฐานภาวนา ที่ท่านพ่อลี ได้วางรากฐานไว้ เหล่าศิษยานุศิษย์ได้ปฏิบัติสืบไป
จากหมายเหตุที่ท่านพ่อได้ปรารภไว้ใน หนังสือชีวประวัติของท่าน ความว่า การตั้งชื่อวัดอโศการามนี้ มิใช่ได้คิดขึ้น ในคราวที่ตั้งได้คิดชื่อนี้ขึ้น ตั้งแต่ปีจำพรรษาอยู่ที่ตำบลสารนารถ เมืองพาราณสี ได้เอานามของท่านผู้มีคุณวุฒิ เป็นฉายาลักษณ์ของผู้ทรงคุณ ฉะนั้นจึงได้สร้างพระรูปนี้ขึ้นประกอบในนามของวัด เพื่อเป็นสวัสดิมงคลสืบต่อไป แต่ที่จริงชื่อวัดอันนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์เคยรับสั่งเล่าให้ฟัง อันเป็นสิ่งที่น่ากลัวจะไม่สำเร็จในงานอันนั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ได้ทำรายงานยืน ไปตามระเบียบการคณะสงฆ์ ก็ไม่มีท่านสังฆมนตรีองค์ใดองค์หนึ่งคัดค้าน ว่าไม่เหมาะสม เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็พอใจ
คำว่า “ อโศการาม ” เป็นคำสนธิเป็นคำ ๒ คำ คือ “ อโศก ” ที่แปลว่า “ ไร้ความเศร้า ” กับคำว่า “ อาราม ” ที่มีความหมายว่า “ แหล่งรื่นรมย์ ” เมื่อนำรวมกันแล้วจะได้ความหมายที่ดีคือ แหล่งรื่นรมย์ที่ไร้ความเศร้าหมอง ซึ่งเมื่อก้าวเท้าเข้าสู่ประตูแห่งธรรมะที่มีชื่ออย่าง “ วัดอโศกราม ” แห่งนี้แล้ว ก็คงต้องยอมรับว่าแหล่งนี้เป็น “ แหล่งรื่นรมย์ ” และ “ ร่มรื่น ” ไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดไม่ว่าจะเป็นป่าโกงกาง ไม้ลำพู หรือปลงทอง แต่ถึงอย่างไรก็ดี วัดอโศการามนี้ยังแสดงให้เห็นความแตกจ่างจากคำว่า “ อาราม ” จากวัดทั่วๆ ไป
เมื่อมองไปรอบๆ บริเวณวัดแล้ว ความแตกต่างอย่างหนึ่งได้ชัดเจน คือ วัดนี้ไม่มีเมรุเหมือนวัดอื่นๆ ที่จำต้องมีเพื่อจัดงานฌาปาณกิจให้กับประชาชนทั่วไป เพราะวัดแห่งนี้ไม่รับเผาศพหรือสวดพระอภิธรรมภายในวัดเท่านั้นที่จะได้รับการเผาแบบเชิงตะกอน เพื่อให้ผู้พบเห็นปลงกับสังขารอันไม่เที่ยงของมนุษย์และอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทางวัดจะจัดขึ้นเป็นประจำในวันที่ ๒๔ – ๒๖ เมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันมรณภาพของหลวงพ่อลี ธมมธโร เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดอโศการามและเป็นเรื่องแปลกตรงที่งานประจำปีนี้จะปราศจากงานรื่นเริง และมหรสพต่างๆ แต่สิ่งที่มาแทนที่ คือ การวิปัสสนาและการปฎิบัติธรรมของศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใส พิธีการ คือ จะมีการบวชพราหมณ์ในวันที่ 24 เมษายน ในตอนบ่ายโมง และจะมีการอบรมจนึงกลางคืน รุ่งเช้า วันที่ ๒๕ เมษายน จะมีการฉันท์เช้า มีการเทศน์ และทำบุญในโรงงานให้ประชาชนได้เข้ามาทานอาหารฟรีโดยที่ประชาชนในชุมชนได้เข้ามาทานฟรีโดยที่ประชาชนในชุมนจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือในการทำบุญ ในแต่ละปีนั้นจะมีการนิมนต์พระจากวัดต่างๆ มาให้เท่าอายุของหลวงพ่อลี
ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/