วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ หรือ วัดเมืองตั้งอยู่เลขที่ 156 บนถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นวัดเก่าแก่เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ.2377ภายในวัดมีสถานที่สำคัญคือ หอระฆัง เริ่มก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2478 โดยนางปุย กับ นางสาวแฝง ที่ได้รับการบริจาค และเพื่ออุทิศให้พระอินทราสา ซึ่งเป็นอดีตเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา และ ศาลกรมหลวงรักษ์รณเรศ เป็นศาลเจ้าเล็กที่มีศิลปะแบบจีน ที่ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2534 ในวัดมีพระอุโบสถหลังเก่า มี้ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 8 เมตร ในพระอุโบสถ พระอุโบสถได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่ติดกับแม่น้ำบางปะกง ส่วนพระวิหาร มีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร ฐานอยู่สูงกว่าระดับฐานพระอุโบสถประมาณ 0.90 เมตรอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ พระวิหารมีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลด 2 ชั้น ภายในวิหารมีพระประทานและพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอกเศษ จำนวน 4 องค์ และมีรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด มีภาพมงคล 108 หล่อในสมัย รัชกาลที่ 3
ประวัติ
สร้างโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 และพร้อมๆ กับการสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา โดยฝีมือช่างปั้นจากเมืองหลวง วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพมหานคร วัดเดิมนี้ใช้เรียกว่าวัดเมือง แล้วในปี พ.ศ. 2451 ในสมัย รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระพาสเมืองฉะเชิงเทรา และทำการบูรณะวัดขึ้น ใหม่พระองค์ได้สถาปนาชื่อใหม่ว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” ซึ่งมีความหมายกับชื่อว่า วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง และได้ชื่อมาจนถึงปัจจุบันนี้
ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/