หลวงพ่อวัดบ้านแหลม

1477

เมื่อ พ.ศ. 2370 สุนทรภู่เดินทางไปเพชรบุรีผ่านทางแม่กลองได้แต่งนิราศเมืองเพชรบุรี ก็ไม่เห็นกล่าวถึงหลวงพ่อบ้านแหลม แต่กลับกล่าวถึงหลวงพ่อวัดเขาตะเคราว่า “เขานับถือลืออยู่แต่บูราณ ใครบนบานพระรับช่วยดับร้อน” แสดงว่าในรัชกาลที่ 3 หลวงพ่อบ้านแหลมยังเป็นที่รู้จักเลื่องลือนัก สุนทรภู่จึงไม่รู้จัก ไปรู้จักหลวงพ่อวัดเขาตะเครา ซึ่งอยู่ไกลกว่า

เมื่อ พ.ศ. 2411 พระมหามนตรี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) ไปประจวบฯคราวตามเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ ได้แต่งนิราศเกาะจานไว้ผ่านมาทางแม่กลองก็ไม่กล่าวถึงหลวงพ่อบ้านแหลม แต่กล่าวถึงหลวงพ่อวัดเขาตะเครา แสดงว่าจนรัชกาลที่ 4 หลวงพ่อบ้านแหลมก็ยังไม่โด่งดัง

เมื่อ พ.ศ. 2461 เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่าง ๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ผู้คนล้มตายกันมาก กล่าวกันว่าบ้านเมืองเงียบเหงาจนคนไม่อยากออกจากบ้าน และไมมีใครเผาศพใครด้วยยังเข้าใจกันว่าเป็นโรคฝีโรคห่า

ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณสนิท สมณคุณ (เนตร) เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม ฝันไปว่า หลวงพ่อบ้านแหลมมาเข้าฝันบอกคาถากันโรคห่าให้บทหนึ่งให้ไปดูที่พระหัตถ์ของหลวงพ่อบ้านแหลมในโบสถ์ ท่านเจ้าคุณจึงชวนขุนประชานิยม (อ่อง ประชานิยม) ซึ่งขณะนั้นเป็นเด็กวัดอยู่เข้าไปดูคาถาหลวงพ่อบ้านแหลมในโบสถ์กลางดึกปรากฏมีคาถาว่า “นะ มะ ระ อะ” อยู่ที่พระหัตถ์ขวา “นะ เท วะ อะ” อยู่ที่พระหัตถ์ข้างซ้าย จึงจดเอามาทำน้ำมนต์ให้ชาวบ้านเอไปกินไปอาบปรากฏว่าไข้อหิวาตกโรคก็สงบตั้งแต่บัดนั้นมา ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อบ้านแหลมจึงเกิดเลื่องลือขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2461 เป็นต้นมา

ขอขขอบคุณ http://www.amulet.in.th

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .