วัดอรุณ กรุงเทพฯ

511_696

ครั้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์จนเสร็จสมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
แม้จะมีการปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้งหนึ่งในสมัย รัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน
แต่ก็ยังคงความสวยงามในสภาพเดิมไว้ทุกประการ ตามที่รัชกาลที่ ๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ไว้ดังนี้

พระปรางค์องค์ใหญ่ตั้งอยู่ภายในรั้วล้อมทั้ง ๔ ด้าน
คือด้านตะวันออก ตะวันตก เหนือ และใต้
ตอนล่างเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนเตี้ยๆ ทาด้วยน้ำปูนสีขาว
ตอนบนเป็น รั้วลูกกรงเหล็กทาสีแดง มีรูปครุฑจับนาค
อันเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ในรัชกาลที่ ๒
ทำด้วยเหล็ก ติดอยู่ตอนบนที่รั้วลูกกรงเหล็กทาสีแดงทุกช่อง
แต่ละช่องกั้นด้วยเสาก่ออิฐถือปูนเหมือนกำแพง
Read more »

ศาสนสถานและศาสนวัตถุอันงดงามล้ำค่า วัดอรุณ

paragraph_12_166

สิ่งสำคัญที่น่าสนใจในวัดอรุณราชวรารามนั้น มีมากมายนับตั้งแต่

• พระปรางค์ใหญ่

พระปรางค์ใหญ่วัดอรุณราชวราราม เป็น พระเจดีย์ทรงปรางค์
ซึ่งดัดแปลงมาจากพระปรางค์ แต่เดิมเป็นสถาปัตยกรรม
ที่สร้างขึ้นเพื่อสักการบูชาในศาสนาพราหมณ์และฮินดู
แต่สำหรับพระปรางค์ใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสืบเนื่องมาจาก
ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาผสมผสานไปกับศิลปกรรมแบบฮินดู
วัตถุประสงค์หลักนั้นสร้างด้วยความศรัทธาในคตินิยมของพุทธศาสนา
จึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งของพระปรางค์ใหญ่ว่าเป็น พระพุทธปรางค์

Read more »

ประวัติของวัดอรุณราชวราราม

10_681

วัดประจำรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
คือ “วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดแจ้ง”
เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ ๑
ที่ประทับของท่านจะอยู่ที่พระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี และวัดที่อยู่ใกล้กับ
พระราชวังเดิมที่สุดก็คือวัดอรุณราชวราราม พระองค์ท่านจึงได้โปรดเกล้าฯ
ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ และยังได้ทรงลงมือปั้นหุ่นพระพักตร์
“พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก”
พระประธานในพระอุโบสถ ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองอีกด้วย
และเมื่อพระองค์ท่านทรงเสด็จสวรรคต พระบรมอัฐิของพระองค์
ก็ถูกนำมาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามแห่งนี้

Read more »

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ” ไหว้พระวัดอรุณ ชีวิตรุ่งเรืองทุกคืนวัน”

arun1

วัดอรุณราชวรรามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ๑ ใน ๖ ของไทย

วัดอรุณฯ เดิมชื่อ ” วัดมะกอก” สร้างในสมัยอยุธยา ต่อมา สมเด็จพระเจ้าตากสิน โปรดให้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ” วัดแจ้ง” ล่วงถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของรัชกาลที่ ๒ มาบรรจุที่พุทธอาสน์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในอุโบสถ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า ” วัดอรุณราชวราราม” จึงได้ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๒

วัดอรุณฯ มีสิ่งที่โดดเด่นคือพระปรางองค์ใหญ่ สูงประมาณ 70 เมตร ถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของกรุงเทพฯ องค์พระปรางประกอบด้วยกระเบื้องเคลือบด้วยสีต่างๆ หลากลวดลายนับล้านชิ้น สอดสลับไว้อย่างเป็นระเบียบ ตั้งตระหง่านหันหน้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา

ขอขอบคุณ http://www.lib.ru.ac.th/

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

d006aec8-78d1-0482-a94b-52492b2b4dc1

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาล สงวนไว้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐินเป็นประจำทุกปี และมีการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนทางชลมารคด้วยเรือพระราชพิธีที่งดงามยิ่ง นอกจากนี้ยังถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ด้วยพระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และทรงผูกพันอยู่กับวัดนี้มาก

ส่วนความเป็นมาของวัดอรุณนั้น เดิมมีชื่อว่า “วัดมะกอก” เล่ากันว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งที่ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาได้นั้น ทรงมีเสด็จกรีฑาทัพล่องมาทางชลมารค เมื่อมาถึงที่หน้าวัดมะกอก ก็เป็นเมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี และทรงโปรดให้เทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำเสด็จขึ้นไปทรงสักการะพระมหาธาตุ ที่ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ต่อมาได้โปรดฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ และเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดแจ้ง” เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิต ที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง ต่อมาเมื่อการบูรณะปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอรุณราชธาราม” ในสมัยรัชกาลที่ 2 และเปลี่ยนอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นชื่อ “วัดอรุณราชวราราม” ดังที่เรียกกันในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://www.thetrippacker.com/

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

WArunB09opWArunB10op

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ถนนอรุณอัมรินทร์ เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดแจ้ง ต่อมาเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีย้ายพระราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้งอยู่ ณ กรุงธนบุรี ได้โปรดฯ ให้กำหนดเอาวัดแจ้งเป็นวัดในเขตพระราชฐาน ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 เมื่อบูรณะแล้วเสร็จได้พระราชทานนามว่า “วัดอรุณราชธาราม” หรือ “วัดแจ้ง” มีจุดเด่นที่น่าสนใจ คือ พระปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งมีความสูง 82 เมตร กว้าง 234 เมตร เริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอรุณราชวราราม” จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นวรมหาวิหาร เรียกชื่อเต็มว่า “วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร”

Read more »

เที่ยววัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

CpJCTOCNut_ceaswAPSVDUMpLcQsiQ9DfuH1JqJpA_E

วัดอรุณ มีชื่อต็มว่า ” วัดอรุณราชวราราม มหาราชวรวิหาร ”
เป็นวัดที่สวยโดดเด่นริมน้ำเจ้าพระยา มีพระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ความสูงของพระปรางค์ในอดีตนั้นสูงประมาณ 8 วา ต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายกรุงศรีอยุธยาราชธานีมาที่ กรุงธนบุรีภายหลังเสร็จภาระกิจจากการกอบกู้เอกราชเมื่อปี 2310 จึงได้เสด็จมาทางชลมารค เพื่อหาทำเลที่ตั้งราชธานีใหม่ จนมาถึงเวลารุ่งแจ้งที่วัดนี้ จึงได้ทรงเปลี่ยนชื่อว่า”วัดแจ้ง” ซึ่งมีความหมายว่าอรุณรุ่ง อันเป็นนิมิตหมายแห่งมงคลฤกษ์ ในการย้ายราชธานีมาตั้งยังกรุงธนบุรี ณ บริเวณวัดแจ้งแห่งนี้

ไปเที่ยววัดอรุณฯ
วัดอรุณฯ ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอัมรินทร์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) การเดินทาง ขอเริ่มจากสนามหลวง ผ่านถนนหน้าพระลานทางประตูทางเข้าด้านหน้าของวัดพระแก้ว ให้เลี้ยวซ้ายทางที่จะไปยังวัดโพธิ์ ก่อนถึงวัดโพธิ์เล็กน้อยฝั่งตรงข้ามจะมีซอยเข้าไปยังท่าเตียนสำหรับลงเรือ ข้ามฟาก
ไปยังวัดอรุณฯ (สังเกตป้าย Exchange ของธนาคารกรุงเทพหน้าซอย) ถึงท่าเรือให้เข้าทางช่องซ้ายเพื่อขึ้นเรือข้ามฟาก (ช่องขวาเป็นท่าเรือด่วน) เสียค่าเรือคนละ 3 บาทเท่านั้น ลงเรือกันเลย.

Read more »

วัดประจำรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย คือ “วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดแจ้ง” เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ ๑ ที่ประทับของท่านจะอยู่ที่พระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี และวัดที่อยู่ใกล้กับ พระราชวังเดิมที่สุดก็คือวัดอรุณราชวราราม พระองค์ท่านจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ และยังได้ทรงลงมือปั้นหุ่นพระพักตร์ ‘พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก’ พระประธานในพระอุโบสถ ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองอีกด้วย และเมื่อพระองค์ท่านทรงเสด็จสวรรคต พระบรมอัฐิของพระองค์ ก็ถูกนำมาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามแห่งนี้

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัดในสมัยโบราณ ตามหลักฐานเท่าที่ปรากฏมีเพียงว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีมาก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช ๒๑๙๙-๒๒๓๑) เพราะมีแผนที่เมืองธนบุรีซึ่งเรือเอก เดอ ฟอร์บัง (Claude de Forbin) กับนายช่าง เดอ ลามาร์ (de Lamare) ชาวฝรั่งเศส ทำขึ้นไว้เป็นหลักฐานในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อีกทั้งวัดแห่งนี้ยังมีพระอุโบสถและพระวิหารของเก่าที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณหน้าพระปรางค์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยา

Read more »

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๒

watarun1

วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น “วัดมะกอกนอก” เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่ อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ “วัดมะกอกใน” ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น “วัดแจ้ง” เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัด นี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง

เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น ราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้าน คู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จ พระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้ อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒โดยโปรดให้อัญเชิญ พระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐาน

Read more »

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

200px-Wat_Arun_from_Chao_Phraya_River

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327

Read more »

วัดเบญจมบพิตร

วัดเบญจมบพิตร หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็นิยมมานมัสการ ไหว้พระทำบุญ รวมถึงเที่ยวชมความงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถหินอ่อน เมื่อกล่าวถึงพระอุโบสถหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์สวยงามแน่นอนว่าพระอุโบสถแห่งนี้อยู่ในวัดเบญจมบพิตร เพราะเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสิ่งสวยงามอีกมากมายที่ควรรู้จักอีกด้วย

เรามาทราบประวัติความเป็นมาของวัดเบญจมบพิตรกันก่อน แต่เดิมเป็นเพียงวัดเล็ก ๆ มีชื่อว่า “ วัดแหลม ” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “ วัดไทรทอง ” ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยาเขตดุสิต เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณที่มีความวิจิตรงดงามและเป็นระเบียบ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง ทั้งยังประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในชื่อ “Marble Temple”

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

cover-sadoodta_1589

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรม

พระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ ที่มีความวิจิตรงดงามและเป็นระเบียบ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง

ทั้งยังประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในชื่อ “Marble Temple” พระประธานของวัดจำลองมาจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก บริเวณพระระเบียงด้านหลังพระอุโบสถ เรียงรายด้วยพระพุทธรูปโบราณปางต่างๆ ๕๒ องค์ ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมมาจากหัวเมืองต่าง ๆ และต่างประเทศ

ขอขอบคุณ : http://www.sadoodta.com

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดเบญจมบพิตร

Benja_32

ศูนย์ ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดเบญจมบพิตร ได้เปิดทำการสอนมาตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๗ ตรงกับวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ เป็นโรงเรียนที่ ดำเนินการบริหารโดยคณะสงฆ์วัดเบญจมบพิตรซึ่งมีพระเดชพระคุณ พระพุทธิวงศ์มุนี เจ้าอาวาสเป็นผู้อำนวยการ ทั้งนี้โดยการริเริ่มประสานงานของพระเดชพระคุณพระเทพวิมลโมลีและพระเดชพระคุณพระ อุดรคณาธิการ(อาจารย์ชวินทร์ สระคำ) ปัจจุบันได้ดำเนินการสอนโดยคณะสงฆ์วัดเบญมบพิตร โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อปลูกฝังศีลธรรมแก่เยาชนของชาติ
๒.เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาควรแก่วัย
๓.เพื่อให้เยาวชนได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
๔.เพื่อให้เยาวชนได้รู้ธรรมภาคอังกฤษ
๕.เพื่อให้เยาวชนปฏิบัติตนในหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนให้ถูกต้อง
๖.เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา

Read more »

วัดเบญจมบพิตร…มีหลายสิ่งที่น่าสนใจและน่าภาคภูมิใจ

Benja_uposatha15

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า “The Marble Temple” เพราะพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี ประกอบกับเป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเข้าชมจำนวนมากทุกวัน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เดิมเป็นวัดโบราณ มีชื่อว่า “วัดแหลม”หรือ “วัดไทรทอง”ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ หรือวัดที่เจ้านาย ๕ พระองค์คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินี พระขนิษฐภคินี และพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาอีก ๔ พระองค์ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตนารามราชวรวิหาร

6 2

เมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างพระราชวังสวนดุสิตได้ทรงใช้พื้นที่วัดดุสิตและวัดร้างอีกแห่งเป็นที่สร้างพลับพลาและตัดถนน ซึ่งตามประเพณีจะต้องสร้างวัดขึ้นทดแทน แต่ทรงมีพระราชดำริว่าการสร้างวัดใหม่หลายแห่งยากต่อการบำรุงรักษา แต่ถ้าทำวัดใหญ่เพียงแห่งเดียวด้วยฝีมือประเพณีนั้นจะดีกว่า จึงรงเลือกสถาปนาวัดเบญจบพิตรและโปรดเกล้าฯ ให้ “สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์” ออกแบบจากนั้นโปรดให้แก้ชื่อเป็น “วัดเบญจมบพิตร” ซึ่งแปลว่า “วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕”
พระอุโบสถ ถือเป็น “สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย” สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี เป็นทรงจัตุรมุข หลังคาซ้อน ๔ ชั้น มีพระระเบียงรอบด้านหลัง
พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารรัชกาลที่ ๕

พระอุโบสถ ถือเป็น “สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย” สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี เป็นทรงจัตุรมุข หลังคาซ้อน ๔ ชั้น มีพระระเบียงรอบด้านหลัง

พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารรัชกาลที่ ๕

ขอขอบคุณ http://www.tripsthailand.com/

. . . . . . .
. . . . . . .