ประวัติวัดหัวลำโพง

images (5)

วัดหัวลำโพง ตั้งอยู่เลขที่๗๒๘ ถนนพระราม๔ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดวัวลำพอง เป็นวัดราษฎร์ ใครเป็นคนสร้างและสร้างเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่คาดว่าคงสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ทั้งนี้โดยอาศัยการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและเจดีย์ด้านหลัง ซึ่งสร้างคู่กันมา

ความเป็นมาของวัดนี้ มีผู้รู้ประมวลไว้ โดยอาศัยจากการเล่าต่อๆ กันมาว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายเผาผลาญบ้านเมือง ตลอดวัดวาอารามจนในที่สุดได้เสียกรุงแก่ข้าศึก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๓๑๐ ซึ่งเป็นการเสียกรุงครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ การสงครามครั้งนี้ประชาชนเสียขวัญและได้รับความเดือดร้อน บางพวกไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ถิ่นเดิมต่อไปได้ จึงพากันอพยพครอบครัว ลงมาทางใต้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณวัดหัวลำโพงในปัจจุบันนี้เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะ ยังไม่มีเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ มีลำคลองเชื่อมโยงสะดวกต่อการสัญจรไปมา จึงได้ตั้งหลักฐานและจับจองที่ดิน นานปีเข้าต่างก็มีหลักฐานมั่นคงเป็นปึกแผ่นทั่วกัน

ต่อมาจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นตามวิสัยอันดีงามเช่น บรรพบุรุษชาวพุทธทั้งหลาย และให้ชื่อว่า วัดวัวลำพอง ตามความนิยมที่ชื่อของวัดจะพ้องกับชื่อหมู่บ้าน เพราะชาวบ้านกับวัดส่วนใหญ่ของไทยเรา มักมีชื่อเหมือนกัน หรือมีความหมายเดียวกัน
ปีรัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หรือที่ประชาชนทั่วประเทศพร้อมใจกันขนานพระนามพระองค์ท่านว่า สมเด็จพระปิยมหาราช ซึ่งเป็นยุคทองของการพัฒนาประเทศชาติในระบบใหม่ ได้ทรงสร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือจากสถานีกรุงเทพฯ ขึ้นไปบริเวณนอกเมืองใกล้กับคูเมืองชั้นนอกคือคลองผดุงเกษม พระราชทานนามว่า สถานีหัวลำโพง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพอง ประมาณ ๒ กิโลเมตร
Read more »

ทำบุญบริจาคโลงศพ วัดหัวลำโพง

hlp6 hlp7

ทำบุญสะที ชีวิตจะได้เจอเรื่องดีๆ ตลอดไป วันนี้เลยขอมา ทำบุญโลงศพ ที่ วัดหัวลำโพง เลยดีกว่า ขอให้กิจการรุ่งเรือง รุ่งเรือง สาธุ อิอิ แต่จริงๆ แล้วมาทำบ่อย เพราะทำแล้วรู้สึกถึงบุญกุศลได้จริงๆ ไม่เชื่อก็ลองมาทำกันดูบ้างนะจ้า แล้วคุณจะเชื่อให้สิ่งที่ทำ

ขับรถลงสะพานตากสินเข้าถนนสาธร ขับตรงอย่างเดียว เลี้ยวซ้ายตามป้ายไปหัวลำโพง เมื่อถึงแยกตรงสะพานไทย-เบลเยี่ยม จากนั้นก็ตรงมาเรื่อยๆ วัดตั้งอยู่ซ้ายมือก่อนถึง แยกสามย่าน หลังจากเลี้ยวรถเข้ามา ก็จะต้องรับบัตรจอดรถ ชั่วโมงละ 10 บาทจ้า แต่ถ้ามาทำกิจที่วัดก็ 10 บาทตลอดจ้า เข้ามาจอดรถได้เลย แล้วก็ขอไปไหว้พระกันก่อน เป็นการเริ่มต้นทำบุญที่ดี

ขอขอบคุณ http://www.ohomylife.com/

อิ่มบุญอิ่มท้อง ท่อง “สามย่าน” ทำบุญโลงศพ วัดหัวลำโพง

557000001375001

ความเชื่อในเรื่องการทำบุญสะเดาะเคราะห์ เป็นความเชื่อที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือเพื่อเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นดี ซึ่งก็มีเคล็ดต่างๆในการสะเดาะเคราะห์มากมาย ตัวอย่างเช่น การทำบุญโลงศพ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม เที่ยวตามย่านในครั้งนี้ เลยจะขอพามาเที่ยวพร้อมทำบุญสะเดาะเคราะห์กันที่ “ย่านสามย่าน” โดยเป็นที่ตั้งของ “วัดหัวลำโพง” สถานที่ทำบุญโลงศพที่ได้รับความนิยม อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ “ตลาดสามย่านใหม่” ศูนย์รวมร้านค้าร้านอาหารมากมาย ที่สามารถเลือกซื้อเลือกชิมกันอย่างเพลิดเพลิน

เริ่มต้นด้วยการทำบุญที่ “วัดหัวลำโพง” ซึ่งแต่เดิมนั้น วัดนี้ชื่อว่า “วัดวัวลำพอง” โดยประวัติการสร้างนั้น ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด แต่ได้มีการคาดคะเนว่า สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 โดยอาศัยการสันนิษฐานจากรูปทรงของพระอุโบสถหลังเก่า และจากการเล่าต่อๆ กันมาของผู้คนในพื้นที่ จนเมื่อในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระกฐินที่วัดแห่งนี้ และได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ โดยพระราชทานนามว่า “วัดหัวลำโพง” ซึ่งเป็นชื่อใหม่ที่ใช้เรียกวัดแห่งนี้จนถึงปัจจุบัน
หากมาวัดหัวลำโพงแล้ว ก่อนอื่นต้องขึ้นไปสักการะขอพร “หลวงพ่อพุทธมงคล” พระประธานในพระอุโบสถของวัดหัวลำโพงกันก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งภายในพระอุโบสถนั้นได้มีภาพเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังและเพดานที่งดงาม โดยเป็นลายวรรณคดีไทย ชาดก และประเพณีไทย ให้ได้ผู้เข้ามาได้ชม และบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ ยังมีจุดร่วมทำบุญด้วยการให้อาหารและร่วมบริจาคปัจจัยไถ่ชีวิตโค-กระบือ ให้ได้ร่วมทำบุญกันอีกด้วย
Read more »

ทำบุญทำทาน สุขกาย สบายใจ ที่ “วัดหัวลำโพง”

p17sophetn104dq85k3lbqn1guo5

วัดหัวลำโพง เดิมมีชื่อว่า “วัดวัวลำพอง” ค่ะ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐินที่วัดวัวลำพองนั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ พระราชทานนามว่า “วัดหัวลำโพง” และเราก็ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

วัดนี้คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ค่ะ เพราะอาศัยการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่า และเจดีย์ด้านหลัง ซึ่งสร้างคู่กันมา

นอกจากที่นี่จะได้ทำบุญ ไหว้พระเพื่อสิริมงคลกันแล้ว ยังได้ทำทานให้อาหาร ทำบุญร่วมไถ่ชีวิตโค-กระบือ อีกด้วย บริเวณโซนด้านหน้าวัดนั่นเองค่ะ และถ้าใครไม่มีเวลามาวัดตอนกลางวัน ก็สามารถมาร่วมทำบุญหลังเลิกงานในตอนกลางคืนได้ที่ “มูลนิธิร่วมกตัญญู” ที่อยู่ในบริเวณหน้าวัดหัวลำโพงนั่นเอง มูลนิธิแห่งนี้ เปิดให้เรามาทำบุญกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Read more »

ทำบุญโลงศพ เสริมดวงชะตาที่วัดหัวลำโพง

p1

วันนี้เราจะพาไปไหว้พระทำบุญกันครับ เพื่อเป็นสิริมงคลต่อชีวิต และให้กิจการหน้าที่การงานรุ่งเรืองก้าวหน้าครับ ทำบุญวันนี้เพื่อนๆอาจจะไม่คุ้นเคย หรือยังไม่เคยทำกัน นั่นก็คือการ ทำบุญโลงศพ ครับ มีไม่กี่ที่นักในกรุงเทพที่มีให้ทำบุญโลงศพ ซึ่งเชื่อกันว่า ทำบุญโลงศพ แล้วจะได้กุศลมากครับ เราจะไปทำบุญกันที่ วัดหัวลำโพง ซึ่งเป็นพระอารามหลวง วัดใหญ่ใจกลางเมืองกรุงเทพ

วัดหัวลำโพง นั้น เดินทางมาง่ายมากครับ ตั้งอยู่ตรงแยกสามย่าน ถนนพระราม 4 นี่เองครับ หากขับรถมาสามารถนำรถเข้ามาจอดในวัดได้เลยครับ หรือจะมารถไฟฟ้าใต้ดิน ก็ขึ้นทางออกตรงหน้าวัดได้เลยครับ ที่สถานีสามย่าน
เมื่อเข้ามาถึงภายในวัด เราก็สามารถจุดธูปไหว้พระกันได้ตั้งแต่ด้านล่างครับ ซึ่งจะมีทั้งพระพุทธรูปต่างๆให้ได้กราบไหว้บูชากันครับ
วัดหัวลำโพง นั้น เป็นวัดเก่าแก่โบราณ คู่บ้านคู่เมือง สร้างมาตั้งแต่ช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 และได้รับการโปรดเกล้าฯจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงครับ อุโบสถและวิหารของวัดนั้นมีความสวยงามมาก
Read more »

ประวัติความเป็นมาวัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น “วัดมะกอกนอก” เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ “วัดมะกอกใน” ต่อมาใน พ.ศ. 2310 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น “วัดแจ้ง” เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลางพระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทน์ได้ในปี พ.ศ. 2322 โดยโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐานไว้ในมณฑป และมีการสมโภชใหญ่ 7 คืน 7 วัน (ในปี พ.ศ. 2327 พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดพระราชทานคืนไปนครเวียงจันทน์)

Read more »

วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ

วัดอรุณราชวราราม04 วัดอรุณราชวราราม1 วัดอรุณราชวราราม011

ในสมัยที่ทีมงานเรายังเล็กเป็นเด็กน้อยถึงน้อยมาก ๆ รวมถึงหลาย ๆ ท่านที่ได้แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอมของเรา(ถ้าอายุยังไม่มากอาจจะไม่รู้จัก) ยังจำกันได้ถึงหนังยอดมนุษย์สมัยก่อนได้หรือไม่ที่มีสัตว์ประหลาดมาบุกประเทศไทย แล้วมียอดมนุษย์มาช่วยเหลือ และได้รับความร่วมมือจากเจ้าของพื้นที่อย่างยักษ์ที่เฝ้าประตูหน้าวัดไทย ทำให้สามารถขับไล่สัตว์ประหลาดไปได้ หรือภาพยนตร์ที่มีบางตอนเป็นเรื่องราวระหว่างผู้ดูแลซุ้มประตูวัดยักษ์จีน กับยักษ์ไทยที่มีให้ได้ชม แม้ความทรงจำที่มีอยู่จะเป็นภาพลางเลือนก็ตามที อาจจะจำผิดจำถูกบ้าง แต่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงและยังคงมีอยู่แน่นอนก็คือ ยักษ์ที่เฝ้าประตูวัดนั่นเอง ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกท่านไปเยี่ยมชมวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) ที่มี ยักษ์วัดแจ้งตัวโตอยู่
ประวัติความเป็นมาของวัดอรุณราชวรารามนั้น เริ่มต้นตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยาเป็นราชธานี เดิมชื่อวัดมะกอก แต่เมื่อมีวัดมาตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันจึงกลายเป็น วัดมะกอกนอก ส่วนอีกวัดชื่อวัดมะกอกใน เชื่อกันว่าชื่อวัดแจ้งนั้นได้มาในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จทางชลมารคถึงหน้าวัดเป็นเวลารุ่งอรุณพอดี จึงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดแจ้ง” และเป็นวัดที่มีความสำคัญในสมัยกรุงธนบุรี เป็นวัดที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกต ก่อนที่จะย้ายไปประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากนั้นได้รับพระเมตตาจากรัชกาลที่ 1 ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ต่อ และทรงได้ปั้นพระพักตร์หุ่นพระพุทธรูปด้วยพระองค์เองและหล่อขึ้นเป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” และได้รับการบูรณะเรื่อยมาทั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 และเมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดอรุณราชวราราม” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

Read more »

วัดอรุณ

147_758

ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอัมรินทร์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกับวัดโพธิ์ ข้ามเรือได้ที่ท่าเตียน เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดแจ้ง” ต่อมาเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรี ได้โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดเอาวัดแจ้งเป็นวัดในเขตพระราชฐานใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 2 จึงถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 เมื่อบูรณะเสร็จแล้วได้พระราชทานนามว่า “วัดอรุณราชธาราม” ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการก่อสร้าง พระปรางค์องค์ใหญ่ซึ่งมีความสูง 82 เมตร กว้าง 234 เมตร แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอรุณราชวราราม”

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่มากมาย อย่างเช่นพระปางค์ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณวัดอรุณราชวราราม ก็เป็นสถานที่สำคัญและสวยงามแห่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดีอยากทราบไหมว่าสถานที่แห่งนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ลองอ่านเรื่องราวกันต่อไปล่ะ

วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เดิมมีชื่อว่า “ วัดมะกอก ” ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีได้เปลี่ยนมาเรียกว่า “ วัดแจ้ง ” วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากวัดเล้ก ๆ จนเป็นวัดขนาดใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของพระบรมมหาราชวังในสมัยนั้น จึงยกเลิกไม่ให้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด วัดแจ้งจึงอยู่นอกพระราชวัง และทรงอนุญาตให้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเหมือนเดิมจนถึงปัจจุบันนี้
ทราบประวัติความเป็นมาของวัดแล้ว มาดูกันต่อว่าทีสิ่งสำคัญอะไรอยู่ภายในวัดนี้บ้าง

Read more »

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร : วัดแจ้ง

Wat_ArunA01

“วัดอรุณ” หรือที่ชื่อเต็มว่า “วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร … ปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดอรุณราชวราราม เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๔ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒

“วัดอรุณ” เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” และกลายเป็น “วัดมะกอกนอก” ในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก

ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดแจ้ง” นั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ปราบศัตรูที่อยุธยา และคนไทยมีอิสรภาพขึ้นดังเดิมแล้ว แต่ไม่สามารถจะยังคงอาศัยอยู่ ณ ราชธานีเดิม คือกรุงเก่าต่อมาได้เพราะบ้านเมืองเสียหายยับเยินเกินกว่าจะบูรณะขึ้นมาใหม่

Read more »

วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ

pic1_popular

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า “วัดแจ้ง” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณสร้าง ในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีก วัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึง เรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยาย การเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้าง ฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง หรือวัดในเขต พระราชฐานเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจาก เวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327

Read more »

ยักษ์ทศกัณฐ์และยักษ์สหัสเดชะ เทพผู้พิทักษ์รักษาประตู –วัดอรุณ

142_310

ด้านหลังทิศตะวันออกทางที่จะเข้าสู่บริเวณพระอุโบสถมี ประตูซุ้มยอดมงกุฎ
ซึ่งตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางพระระเบียงของพระอุโบสถด้านทิศตะวันออก
สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
เป็นประตูจตุรมุข หลังคา ๓ ชั้น เฉลียงรอบ มียอดเป็นทรงมงกุฎ
ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยสลับสี หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ
ช่อฟ้า ใบระกา หัวนาค และหางหงส์ เป็นปูนประดับกระเบื้องถ้วย
หน้าบันเป็นปูนประดับกระเบื้องถ้วย มีลวดลายเป็นใบไม้ ดอกไม้
เชิงกลอนคอสองประดับด้วยกระเบื้องถ้วยเช่นเดียวกัน
เสาในร่วมมุขหน้าใช้ไม้สักหน้า ๕.๑๑ นิ้ว ประกับรับสะพานด้านละ ๒ อัน ๔ ด้าน

Read more »

พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถ –วัดอรุณ

162_158

พระประธานในพระอุโบสถ มีนามว่า “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก”
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชทานนามให้
พระประธานองค์นี้เล่าขานกันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอกคืบหรือ ๑.๗๕ เมตร ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
ประดิษฐานเหนือแท่นไพทีบนฐานชุกชี พระพุทธรูปองค์นี้เดิมยังไม่มีพระนาม
เบื้องพระพักตร์มีรูปหล่อพระอัครสาวก ๒ องค์หันหน้าเข้าหาองค์พระประธาน
ระหว่างกลางรูปหล่อพระอัครสาวก ๒ องค์นั้น มี พัดยศพระประธาน (พัดแฉกใหญ่)
ตั้งอยู่เช่นเดียวกับ ‘พระพุทธเทวปฏิมากร’ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

Read more »

พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม สถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญอันสวยงามยิ่ง

_10_820

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัด เป็นสถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญ
ที่มีความสวยงามยิ่งชิ้นหนึ่งของฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๒
เป็นพระอุโบสถยกพื้นสูง หลังคาลด ๒ ชั้น
มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีทองและสีเขียวใบไม้
ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก
หน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังสลักด้วยไม้ลงรักปิดทอง
เป็นรูปเทวดายืนถือพระขรรค์ประทับในปราสาท
เป็นไม้แกะ มีสังข์ และคันโทน้ำวางอยู่บนพานข้างสะพาน
ประดับลายกระหนก ชื่อว่า ช่อกระหนกหางโต ลงรักปิดทอง
ตัวพระอุโบสถมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
มีเสาใหญ่รับเชิงชายทั้งด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีชานเดินได้
พื้นหน้ามุขและพื้นรอบพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อน บันได เสาบันไดเป็นหินทราย
ระหว่างเสาใหญ่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีกำแพงเตี้ยๆ ประดับด้วย
หินสลักรูปดอกไม้ ใบไม้ ที่หุ้มกลองด้านหน้าอยู่ระหว่างประตูทั้ง ๒ ข้าง

Read more »

พระปรางค์ทิศและพระมณฑปทิศ ที่วัดอรุณ

paragraph_1_680

พระปรางค์ใหญ่ ล้อมรอบด้วย พระปรางค์ทิศและพระมณฑปทิศ
พระปรางค์ทิศ เป็นพระปรางค์องค์เล็กๆ ตั้งอยู่บนมุมทักษิณชั้นล่าง
ของพระปรางค์องค์ใหญ่ มีอยู่ ๔ ทิศ ทิศละองค์ คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้
พระปรางค์ทิศทั้ง ๔ องค์มีขนาดและรูปทรงเหมือนกัน กล่าวคือ
ตอนฐานของพระปรางค์ทิศแต่ละพระปรางค์มี ช่องรูปกินรีและกินนร
สลับกันโดยรอบ ที่เชิงบาตรเหนือช่องมี รูปมารกับกระบี่แบกสลับกัน
เหนือขึ้นไปเป็น ซุ้มคูหารูปพระพายทรงม้า และเหนือขึ้นไปอีก
บนยอดพระปรางค์ทิศมี รูปครุฑจับนาคและเทพพนม อยู่เหนือซุ้มคูหา
องค์พระปรางค์ทิศก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับถ้วยกระเบื้องเคลือบสีลวดลายต่างๆ
แบบเดียวกับพระปรางค์องค์ใหญ่ และบนส่วนยอดสุดขององค์พระปรางค์ทิศ
เป็น ‘ยอดนภศูล’ ปิดทอง แต่ไม่มีมงกุฎปิดทองครอบอีกชั้นหนึ่ง
(มงกุฎปิดทองครอบยอดนภศูลจะมีเฉพาะพระปรางค์องค์ใหญ่เท่านั้น)

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .