วัดอโศการาม

ตั้งอยู่เทศบาลบางปูซอย 60 ถนนสุขุมวิทสายเก่า ตำบลท้ายบ้าน ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร (เข้ามาจากถนนสุขุมวิทประมาณ 1 กิโลเมตร) สร้างเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2505 ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง และเป็นสถานที่สำหรับวิปัสสนากรรมฐาน มีสิ่งที่น่าชม เช่น พระธุตังคเจดีย์ เป็นพระเจดีย์หมู่รวม 13 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร 13 ประการ และวิหารวิสุทธิธรรมรังสี อาคารจตุรมุข 3 ชั้นส่วนยอดเป็นมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ภายในวิหารประดิษฐานสรีระท่านอาจารย์ลี
การเดินทาง จากสามแยกสมุทรปราการเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ทางไปบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 31 ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเทศบาลบางปู 60 ประมาณ 1 กิโลเมตร วัดอโศการามอยู่ทางซ้ายมือ สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ขสมก.สาย 25, 102, 142, 145, 507, 508, 511 และ 536 รถโดยสารประจำทางธรรมดาสาย 25, 102 และ 145 ไปยังตลาดปากน้ำแล้วต่อรถสองแถวปากน้ำ-วัดตำหรุ, ปากน้ำ-นิคมอุตสาหกรรมบางปู และปากน้ำคลองด่านก็สามารถไปได้

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

วัดอโศการาม อำเภอเมือง จ.สมุทรปราการ

37_20080225153706.

ตั้งอยู่เทศบาลบางปูซอย 60 ถนนสุขุมวิทสายเก่า ตำบลท้ายบ้าน ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร (เข้ามาจากถนนสุขุมวิทประมาณ 1 กิโลเมตร) สร้างเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2505 ฝ่ายธรรมยุตินิกาย โดยพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง และเป็นสถานที่สำหรับวิปัสสนากรรมฐาน มีสิ่งที่น่าชม เช่น พระธุตังคเจดีย์ เป็นพระเจดีย์หมู่รวม 13 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร 13 ประการ และวิหารวิสุทธิธรรมรังสี อาคารจตุรมุข 3 ชั้นส่วนยอดเป็นมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ภายในวิหารประดิษฐานสรีระท่านอาจารย์ลี ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ 0 2395 0003

การเดินทาง
จากสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 31 ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเทศบาลบางปู 60 ประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบวัดอโศการามอยู่ทางซ้ายมือ สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ขสมก. สาย 25, 102, 142, 145, 507, 508, 511 และ 536 รถโดยสารประจำทางธรรมดาสาย 25, 102 และ 145 ไปยังตลาดปากน้ำ แล้วต่อรถสองแถว ปากน้ำ-วัดตำหรุ, ปากน้ำ-นิคมฯบางปู และปากน้ำ-คลองด่าน ก็สามารถไปถึงได้

ขอขอบคุณ http://travel.thaiza.com/

พระธุตังคเจดีย์–วัดอโศการาม

พระธุตังคเจดีย์

a24d9fac9806d33fc0279e788c1fc01a
พระธุตังคเจดีย์ได้สร้างตามแบบที่ท่านพ่อลีกำหนดไว้ทุกปราการ คือ เจดีย์หมู่รวมเจดีย์ 13 องค์ เป็นสัญลักษณ์แห่ง “ธุดงควัตร 13 ข้อ” ตั้งอยู่บนพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส ชันบนตรงกลางเป็นพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งเป็นองค์ประธาน พระเจดีย์ทุกองค์มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในผอบทอง เงิน นาก พระเจดีย์องค์ประธานล้อมรอบ ด้วยบริวาร 3 ชั้น ชั้นละ 4 องค์ มีความหมายถึง

สมาธิจิต เมื่อเป็นตามอรนิยมรรคโดยถูกต้องครบถ้วนแล้วจุเกิดญาณหยั่งรู้สังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง พระธุตังคเจดีย์ มีฐานสี่เหลี่ยมเปรียบด้วยมหาสติปัฎฐาน 4 กว้าง 3 วา หมายถึง ไตรสิกขา สูง 13 วา หมายถึง ธุดงควัตร 13 ประการ เมื่อมองประสานตรง ๆ จะเห็นเจดีย์ล้อมวงเป็นคู่ หมายถึง พระธรรมกับพระวินัย อันเป็นหลักของพระพุทธศาสนา แต่ถ้าดูแนวเฉียงจะได้พระเจดีย์ 7 องค์ หมายถึง โพชฌงค์ 7 ประการ
พระธุตังคเจดีย์ เป็นเจดีย์หมู่ 13 องค์ 3 ชั้น แห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็นสัญลักษณ์และมีความหมายใน ธุดงควัตร 13 ข้อ ในพระพุทธสาสนาของกรรมฐาน พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพื่อพวกเราทั้งหลายปฏิบัติ เพื่อสละโลกามิส ไม่ติดอยู่ในบ่วงของโลก คือ บุตร ภรรยา สามี ทรัพย์สมบัติ ยศศักดิ์ ชื่อเสียง อันเป็นเครื่องยึดถือ หน่วงเหนี่ยวใจให้หลงทาง และก็ทะนงตนว่าสมบุรณ์ ฉลาดดี
การปฏิบัติธุดงค์ ต้องไม่อาลัยเสียดายในชีวิต ต้องปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จเพียงเท่านั้นเป็นที่หมาย ต้องมีสัจจะ และมีปัญญาในการเลือกปฏิบัติ เราไม่ต้องปฏิบัติทั้งหมด แต่เลือกเฉพาะข้อที่เห็นว่าเหมาะแก่กาล สถานที่ บุคคล และประกอบไปด้วยประโยชน์
ข้อปฏิบัตินี้ ดับความขี้เกียจได้ชะงัดนัก ตัดเครื่องผูกพันใจ เนื่องในความสุขในการนอน สุข ในการเอกเขนก สุขในความหลับ เมื่อไม่นอนย่อมสะดวกในการประกอบกรรมฐานทั้งปวง มีอิริยาบถอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส เหมาะสมที่จะทำความเพียร และความเพียรเพิ่มพูนดี

Read more »

ศาลาการเปรียญ–วัดอโศการาม

ศาลาการเปรียญ (ศาลาหลวงพ่อทรงธรรม)

a422799dc85ad68b31c719e5c8faece3
เดิมเป็นสถานที่ทำวัตรสวดมนต์ และอบรมสมาธิภาวนาของพระภิกษุสามเณร รวมทั้งอุบาสก-อุบาสิกา โดยมีการแสดงพระธรรมเทศนาทุกคืน และเป็นที่ฉันภัตตาหารของพระภิกษุและสามเณรทั้งวัด ทั้งได้ใช้เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านพ่อลีไว้อีกด้วย (สมัยนั้นยังไม่มีวิหาร)

ศาลาการเปรียญสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2499 มีขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 25 เมตร เป็นแบบทรงไทยพื้นบ้านภาคกลาง ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบ ภายในศาลาประดิษฐาน “หลวงพ่อทรงธรรม” เป็นพระประธานหล่อด้วยทองเหลือง ปิดทอง ปางมารวิชัย พุทธลักษณะแบบสุโขทัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก
ศาลาหลวงพ่อทรงธรรมเป็นศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อปี 2499 ภายในศาลา ประดิษฐาน พระพุทธรูป “หลวงพ่อทรงธรรม”

ขอขอบคุณ http://watasokaram.org/

พระเจ้าอโศกมหาราช–วัดอโศการาม

พระเจ้าอโศกมหาราช

309d1f92a2b53b74ad2bc013e2944fc0
พระเจ้าอโศกมหาราช หรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแห่งประเทศอินเดีย ในสมัยพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วสองร้อยปีเศษ พระองค์ทรงมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
พระอุปคุปต์มหาเถระได้พาพระเจ้าอโศกฯ เสด็จออกจากริกแสวงบุญสักการะบูชาสถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยเสด็จประทับทุกแห่ง พระเจ้าอโศกฯ ทรงสร้างอนุสรณ์สถานเป็นสัญลักษณ์พร้อมจารึกประวัติความเป็นมาให้อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึงมาจนทุกวันนี้

พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระเจ้าอโศกฯ ได้แผ่ขยายไปทั่วพระราชอาณาจักร คณะสงฆ์ได้รับราชูปถัมป์และอุปถัมป์จากพระเจ้าอโศกฯ และคหบดีเป็นอย่างดี
ลานอนุสาวรีย์พระเจ้าอโศกมหาราช ขนาดใหญ่กว่าองคจริง 2 เท่า สร้างเมื่อ พ.ศ.2538 “อโศการาม” เป็นชื่อที่ท่านพ่อลี ธมิมธโร เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดอโศการาม ได้นำชื่ออารามที่พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสร้างไว้ที่เมืองปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย มาเป็นชื่อของวัด

พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมริยะ ประเทศอินเดีย ครองราชเมื่อปี พ.ศ.273 ต่อจากพระเจ้าพินทุสารฯ พระราชบิดา ท่านเป็นจอมจักรพรรดิแห่งชมพูทวีป ส่วนทางศาสนจักร ทรงเป็นธรรมิกราชาเป็นเอกอัครพทธศาสนูปถัมภกที่สมควรยิ่งที่จะได้รับการเทิดพระเกียรติยกย่องเทิดทูนพระมหากรุณาธิคุณจากพุทธสาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงเผยแผ่พระพุทธสาสนามายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลให้พระพุทธศาสนามายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลให้พระพุทธศาสนาดำรงตั้งมั่นในดินแดนแห่งนี้ เกือบเป็นเวลากว่า 2500 ปี Read more »

พระอุโบสถ–วัดอโศการาม

พระอุโบสถ

6abdc6c6261a15bc1f22b9d317b96993

ได้สร้างตามแบบกรมศาสนาตามแปนของศิลปากร เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2502 ภายในอุโบสถประดษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ พุทธลักษณะแบบอินเดีย มีนามว่า “หลวงพ่อศรีสมุทร” เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลือง ปิดทองสวยงาม ขนาดหน้าตัดกว้าง 3 ศอก 1 คืบ สร้างถวายโดย นายกวงฮิ้ว แซ่เฮีย

ปัจจัยที่ใช้ในการสร้างอุบาสก มาจากปัจจัยที่เหลือจากงานฉลองสมโภช 25 พุทธศตวรรษ อุบาสถหลังนั้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีในปี พ.ศ.2053 ดังนั้นพ่อลีจึงได้จัดงานผูกพันธสีมา ฝังลูกนิมิตอุโบสถ วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2503
อุโบสถวัด สร้างเมื่อ พ.ศ.2501 ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ พุทธลักษณะแบบอินเดียมีนามว่า “หลวงพ่อศรีสมุทร”

ขอขอบคุณ http://watasokaram.org/

วิหารสุทธิธรรมรังสี–วัดอโศการาม

วิหารสุทธิธรรมรังสี

07804cba27d7be43771881cd405fe014
วิหารสุทธิธรรมรังสี สร้างปี พ.ศ.2527 แบบตึกจตุรมุก 3 ชั้น ยอดพระวิหารเป็นมณฑปปิดทองคำบริสุทธิ์ เมื่อ พ.ศ.2530 ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุบนยอดมณฑป โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จแทนพระองค์ในการประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2530 ภายในพระวิหารชั้น 3 ปริดิษฐานพระปรธาน คือ “พระพุทธชินราชจำลอง” รูปหล่อหลวงพ่อปู่มั่น ภูริทตฺโต และสริระ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

สิ่งที่ควรทำหลังจากที่ได้กราบสักการะพระธุตังคเจดีย์เสร็จแล้วก็คือ การไปกราบศพท่านพ่อลีซึ่งบรรจุเก็บไว้ภายในหีบทอง ตั้งอยู่บนแท่นประดับมุกอันสวยงาม บนชั้น 3 ของวิหารสุทธิธรรมรังสี มีพระพุทธชินราชจำลองเป็นพระประธานในวิหาร ทั้งยังมีพระพุทธรูป หุ่นรูปเหมือนครูบาอาจารย์ในสายพระป่ากรรมฐานอีกหลายรูป อาทิเช่น ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารสิงห์ ขนฺตฺยาคโม ตลอดจนรูปหล่อเหมือน สมเด็จพระพุฒาจาร (โต พฺรหฺมรงฺสี) เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์บริขารและหุ่นรูปเหมือนท่านพ่อลี จัดวางไว้ให้กราบไหว้บูชากันอีกด้วย
วิหารหลังนี้นับเป็นวิหารเอนกประสงค์ โดยชั้นล่างใช้เป็นสถานที่จัดจังหันของพระภิกษุสามเณร และสำนักงานประชาสัมพันธ์ของวัด
ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์บริขาร และที่ตั้งพระพุทธรูปกับหุ่นรูปเหมือนครูบาอาจารย์ไว้บูชา
ชั้นที่ 3 มีพระประธานคือ “พระพุทธชินราชจำลอง” ณ ที่นี้เป็นที่ทำวัตรและที่ประชุมสงฆ์ ที่ตั้งศพของท่านพ่อลี และสร้างหุ่นรูปเหมือนครูบาอาจารย์ พระเถระองค์สำคัญ

ขอขอบคุณ http://watasokaram.org/

ห้องสมุดวัดอโศการาม

ห้องสมุดวัดอโศการาม

90c280f6e9707fcef1b5c5ffbba655cc

เป็นห้องสมุดที่คุณล้วน ว่องวานิช สร้างขึ้นแต่ปี 2535 ปัจจุบันนี้มีหนังสือมากมายตลอดจนเทป ซีดี สำหรับใช้ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับด้านการศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนประวัติครูบาอาจารย์ของพระกรรมฐานจากทั่วประเทศและด้านอื่น ๆ นำมารวมไว้สำหรับศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับด้านการศาสนา

วัฒนธรรม ตลอดจนปรวัติครูบาอาจารย์ของพระกรรมฐานทั่วประเทศและด้านอื่น ๆ รวมทั้งพระกรรมฐานทั้ง 28 องค์ อาทิ องค์ปู่เสาร์ กนฺตสีโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ฝั้น อาจาดร หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ หลวงปู่แหวน สิจิณฺโน ฯลฯ ที่ประดิษฐานอยู่บนเจดีย์นำมารวมไว้สำหรับเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของพระเณรและศาสนิกชนทั่วไป

ขอขอบคุณ http://watasokaram.org/

วิหารหลวงพ่อเศียร–วัดอโศการาม

วิหารหลวงพ่อเศียร

f09a83b412a005f4dfcd5b0d7c59be14
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 7.80 เมตร ยาว 6.80 เมตร สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน “หลวงพ่อเศียร” เป็นพระพุทธรุปเฉพาะส่วน เศียร ที่ท่านพ่อลีได้ให้อาจารย์ประยูล จิตฺตสนฺโต ปั้นขึ้นเพื่อนำไปประกอบองค์พระที่สร้างขึ้น ณ วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล) จังหวัดลพบุรี

เม่อปั้นเสร็จจะเคลื่อนย้ายไป แกตเกิดขัดข้อง นำไปไม่ได้ ท่านพ่อลีจึงปรารถขึ้นว่า “เมื่อหลวงพ่อเศียรต้องการอยู่ที่วัดอโศการาม ก็ให้ท่านอยู่”จึงจัดสร้างวิหารขึ้นเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อเศียร

ขอขอบคุณ http://watasokaram.org/

ประวัติวัดอโศการาม

วัดอโศการามตั้งอยู่บนพื้นที่ “นาแม่ขาว” เจ้าของที่ดิน ชื่อ นางกิงหงษ์ และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินสร้างวัดประมาณ 53 ไร่ เมื่อปี พ.ศ.2497 จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้เริ่มตั้งสำนักขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้พระลูกศิษย์ คือพระครูใบฎีกาทัศน์ มาเฝ้าสำนักแทน พร้อมกับลูกศิษย์อีก ๕ รูป รวมมีพระที่สำนักนี้ในครั้งเริ่มตั้ง จำนวน ๖ รูป”

ท่านพ่อลีได้เริ่มก่อตั้งสำนักสงฆ์เน้นวัตรปฏิบัติใน ทางธุดงควัตรอันสืบเนื่องจากท่านได้มีนิมิตว่าเป็นบริเวณ ที่บรรจุพระบรมธาตุ การที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดอโศการาม เพราะท่านพ่อลีประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ของอินเดียที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนามายังแถบเอเชียโดยเฉพาะประเทศไทยท่านพ่อลีได้คิดตั้งชื่อวัดนี้ไว้ตั้งแต่ครั้งที่ท่านจำพรรษาอยู่ในตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี เมื่อออกพรรษาและได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯ เรียบร้อยแล้ว เป็นปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านพ่อลี จึงได้ออกไปจำพรรษาที่วัดอโศการาม ในระหว่างนี้ได้เริ่มคิดดำริจัดงานฉลองสมโภช ๒๕ พุทธศตวรรษ ในปีพ.ศ.๒๕๐๐ การดำริในเรื่องนี้ ท่านได้ดำริมานานปีแล้ว คือเริ่มดำริตั้งแต่ปีที่ได้เดินทาง ออกมาจากดงบ้านผาแด่นแสนกันดาร( เชียงใหม่) วัดอโศการาม ได้รับการพัฒนาสืบเนืองมาโดยลำดับ แม้หลังท่านพ่อลีได้มรณะภาพไปแล้ว ( ปี พ.ศ.๒๕๐๔)ได้มีการขยายพื้นที่ออกไป ทางด้านทิศตะวันออก Read more »

วัดกลางงวรวิหาร จ.สมุทรปราการ

20120426_78904121

อารามหลวงเก่าแก่สมัยปลายอยุธยาซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถที่งดงาม เช่นเดียวกับศาลาการเปรียญเรือนไทยหมู่ไม้สักแกะสลัก และพระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองที่สร้างขึ้นในชั้นหลัง

The Royal temple is established in the end of Ayuthaya era. There are mural paintings in the hall of temple. A beautiful Sermon hall in monastery, Thai style sculpture houses, Phra Mondop and imitate Buddha’s footprint is located at the back of the temple.

ขอขอบคุณ http://travel.truelife.com/

วัดกลางวรวิหาร สมุทรปราการ

ที่ตั้ง: ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
เวลาเปิด-ปิดบริการ : ทุกวัน 08.30-16.30 น.
รายละเอียด : วัดกลางวรวิหาร ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท เป็นวัดสมัยอยุธยา ตอนปลาย เดิมชื่อ วัดตะโกทอง วัดแห่งนี้พระอุโบสถได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ลักษณะหน้าบันมีลายปูนปั้นประดับเครื่องลายคราม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องปฐมสมโพธิกถา ต่อมาเมื่อพ.ศ.2449 มีการสร้างพระมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาท 4 รอย หน้าบันมีลายปูนปั้นเครื่องแถวประดับด้วยถ้วยจานเบญจรงค์ ยอดสุดแต่ละมุมมีปูนปั้นหน้าของท้าวจตุโลกบาล ตามเค้าโครงเรื่องไตรพระภูมิพระร่วง เบื้องบนของผนังภายในซุ้มพระพุทธรูปขนาดย่อมโดยรอบ ส่่วนศาลาการเปรียญนั้นมีลักษณะเป็นเรือนไทยแบบเรือนหมู่ไม้สักทั้งหลัง หน้าบันมีลวดลายไม้สลักละเอียดอ่อนสวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง
การเดินทาง : จากสามแยกสมุทรปราการตรงไปตามถนนประโคนชัย (เข้าตลาดปากน้ำ) จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายไปทางถนนศรีสมุทรจะพบวัดอยู่ในสุดของถนน
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสาย 25, 102, 142, 145, 507, 508 และ 511
รถโดยสารประจำทางธรรมดาสาย 25, 102 และ 145

ขอขอบคุณ http://www.zeekway.com/

ชวนครอบครัวไปทำบุญที่ ‘วัดกลางวรวิหาร’ ปากน้ำ

13-01

‘วัดกลางวรวิหาร’ วัดคู่เมืองสมุทรปราการ บริเวณวัดกลางวรวิหารกว้างขวาง ร่มรื่น ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้าง ที่น่าสนใจมากมายและสวยงาม ปัจจุบันวัดกลางวรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามและควรค่าต่อการอนุรักษ์มากจริงๆ

‘วัดกลางวรวิหาร’ เป็นวัดสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ ‘วัดตะโกทอง’ พระอุโบสถได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าบันมีลายปูนปั้นประดับเครื่องลายคราม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องปฐมสมโพธิกถา ต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๔๔๙ มีการสร้างพระมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาท ๔ รอย หน้าบันมีลายปูนปั้นเครื่องแถวประดับด้วยถ้วยจานเบญจรงค์ ยอดสุดแต่ละมุมมีปูนปั้นหน้าของท้าวจตุโลกบาล ตามเค้าโครงเรื่องไตรพระภูมิพระร่วง เบื้องบนของผนังภายในซุ้มพระพุทธรูปขนาดย่อมโดยรอบ ศาลาการเปรียญลักษณะเป็นเรือนไทยแบบเรือนหมู่ไม้สักทั้งหลัง หน้าบันมีลวดลายไม้สลักละเอียดอ่อนสวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง

Read more »

ความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม :วัดกลางวรวิหาร

วัดนี้ตั้งเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2299 ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ แห่งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดตะโกทอง ต่อมาชาวบ้านเรียกกัน ว่าวัดกลาง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอารามแล้วยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง

ในสมัยพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เสด็จถวายผ้าพระกฐินที่วัดนี้(ประมาณพ.ศ.2401)ในช่วงเวลานี้เองที่โปรดสร้างพระเจดีย์ครอบองค์พระพระสมุทรเจดีย์องค์เดิมซึ่งเป็นเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดให้ฟื้นฟูการศึกษาและการศาสนาขึ้นใหม่ทั่วพระราชอาณาจักร วัดกลางจึงเป็นศูนย์กลางส่งเสริมการศึกษาและการศาสนาประจำเมืองสมุทรปราการสืบต่อมาดดยลำดับ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2459) ได้กล่าวกันว่าได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงซํ้ากันกับรัชกาลที่ 3

Read more »

วัดกลางวรวิหาร Wat Klang Worawihan

วัดกลาง เป็นอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองปากน้ำเลข ๓๖๔
ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

86ce135a5131e5a66b673f1bb31e3db4

วัดกลาง เดิมชื่อว่า “วัดตะโกทอง” เพราะขุดพบแหวนทองคำโบราณใต้ต้นตะโกขณะทำการปรับพื้นที่สร้างวัด ต่อมาชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดกลาง” เพราะตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างวัดนอกคือวัดพิชัยสงคราม กับวัดในคือวัดในเดิมสองวิหาร ตั้งเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๒๙๙ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษแห่งกรุงศรีอยุธยาโดยอุบาสิกหม้ายชาวจังหวัดสมุทรปราการ ๓ คนและผู้มีจิตศรัทราร่วมกันสร้างวัดเพื่อถวายแก่พระอาจารย์ชู ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร ในระยะที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า วัดนี้กลายเป็นวัดร้างจนสมัยกรุงธนบุรี พระอาจารย์ดาได้ยกขึ้นเป็นวัดมีพระสงฆ์ ครั้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วัดนี้ก็ได้รับการทะนุบำรุงให้เจริญขึ้น จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ พระองค์โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามแล้วยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ในรัชกาลที่ ๕ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๑ พระองค์เสด็จถวายผ้าพระกฐินที่วัดนี้

ขอขอบคุณ http://samutprakan.mots.go.th/

. . . . . . .
. . . . . . .