ไหว้พระ 9 วัด นนทบุรี

1-45

1.วัดเสาธงหิน (วัดนี้หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิมากคะ*******)

วัดเสาธงหินตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ เดิมชื่อ “วัดสัก” เพราะทั่วบริเวณมีต้นสักและต้นยางมาก ซึ่งตาม ประวัติของวัดได้บันทึกไว้ว่า ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ.2310 เสียกรุงครั้งสุดท้าย สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้มาตั้งทัพเพื่อ เตรียมผู้คนที่วัดสักแห่งนี้สำหรับไปกู้บ้านเมืองที่อยุธยา เนื่องจากเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสม จึงได้นำธงประจำกองทัพ ปักไว้ แล้วเอาหินทับกับ เสาธงไม่ให้ล้ม ให้ทหารมองเห็นธงที่จะยกไป ต่อมาพระองค์ได้โปรดฯ ให้สร้างพระพุทธรูปเนื้อชินเงิน 3 องค์ คือ พระประธาน 10องค์ พระสาวก 2 องค์ เมื่อเสร็จจากศึกสงครามแล้ว พระองค์พร้อมด้วยผู้รอดชีวิต จากสงครามได้กลับมาช่วยกัน บูรณะวัดสัก และเปลี่ยนชื่อวัดสักเป็น “วัดเสาธงหิน”

ภายในวัดเสาธงหินมีวิหารหลวงพ่อโต เป็นอาคารทรงโล่งธรรมดา แต่ภายในวิหารนั้นมีพระพุทธรูป สมัยอยุธยา ตอนปลาย ทำด้วย หินทรายแดง กับพระพุทธรูปโลหะทรงเครื่องสมัยอยุธยา ปัจจุบันพระพุทธรูปโลหะได้สุญหายไป 6 องค์ เหลือเพียง พระพุทธรูป หลวงพ่อโต ทำด้วยหินทรายแดง และพระพุทธรูปเนื้อชินเงิน 3 องค์ ซึ่งขณะนี้ ทางวัดได้นำไปไว้บน อุโบสถ หลังใหม่ พระพุทธรูป ที่สำคัญในวิหารวัดเสาธงหินขณะนี้ คือ หลวงพ่อโต ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านเคารพนับถือกันมาก โดยชาวบ้านได้เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งน้ำเค็มได้ขึ้นถึงจังหวัดนนทบุรี แต่หน้าวัดเสาธงหินน้ำจืด ชาวบ้านจึงโจษขานกันไปทั่วและพากันตักไปดื่มกิน นอกเหนือจาก ความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว หลวงพ่อโตยังได้รับความเคารพบูชาจากชาวบ้านมาบนบานอยู่เสมอ และมักจะประสบความสำเร็จ จึงพากันมาสักการะบูชากันเป็นประจำ

การเดินทางไปวัดเสาธงหินสามารถเลือกใช้ได้ 2 เส้นทาง คือ
ทางบก
โดยรถยนต์ส่วนตัว จากถนนวงแหวน ไทรน้อย- ตลิ่งชัน ทางเข้าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนนทบุรี มาตามถนนซอย ถึงวัดเสาธงหิน ราว 1 กิโลเมตรเศษ
ทางน้ำ
จากที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ (เก่า) โดยเรือประจำทางถึงวัดเสาธงหิน ราว 1 กิโลเมตรเศษ

2.วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร (วัดนี้สวยงามและร่มรื่นมากคะ)

วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 3 ถนนท่าน้ำนนท์ –วัดโบสถ์ดอนพรหม ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2390 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2390 อาณาเขตของวัดแบ่งออกเป็น 3 เขตคือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตนอกกำแพงใหญ่

ประวัติ
มูลเหตุแห่งการสร้างวัดเริ่มเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นั้น พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิมแห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระบรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดเฉลิมพระเกียรติ เมื่อปี พ.ศ. 2390 วัดเฉลิมพระเกียรติเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเป็นวัดสุดท้ายในรัชกาลก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2394 การสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติน่าจะยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์ เพราะเมื่อพระองค์ใกล้จะเสด็จสรรรคต พระองค์ก็ยังตรัสถึงวัดต่างๆ ที่ยังสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ค้างไว้ว่า ” …ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็ดี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ 40,000 ชั่ง ขอสัก 1,000 ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขาขอเงินรายนี้ให้ช่วยทนุบำรุงวัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้น เสียให้แล้วด้วย…” เมื่อเป็นเช่นนี้ วัดเฉลิมพระเกียรติที่ยังสร้างค้างอยู่น่าจะเป็นวัดหนึ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยด้วย ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว พระองค์ก็ทรงรับเป็นพระราชภาระในการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติจนเสร็จเรียบร้อย โดยโปรดให้พระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) เป็นแม่กองการบูรณะจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2401 วัดเฉลิมพระเกียรติได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนา ในปี พ.ศ.2531 เป็นวัดอุทยานการศึกษากรมการศาสนา ปี พ.ศ.2538
จุดที่น่าสนใจ

1.องค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 6 ศอก สูงจรดพระเศียร 8 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว พระประทานองค์นี้มีตำนานเล่าว่า เมื่อรัชกาลที่ 3 โปรดให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึกในแขวงนครราชสีมาได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงลงมามาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแต่พระศาสนาก่อน จึงโปรด ให้หล่อพระพุทธรูป ซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดา กับวัดเฉลิมพระเกียรติ

2. พระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ระหว่างศาลาการเปรียญและพระวิหารหลวง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ (รวมทั้งเจดีย์ทางด้านทิศตะวันตกด้วย) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาคลังขึ้นไปเป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง กำหนดฤกษ์ก่อสร้างพระอุโบสถในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 11 ตรงกับวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2390 ปีมะแม เวลา 1 โมงเช้ากับ 4 บาท

อุโบสถหลังนี้มีความสวยงามมากสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยปนจีน กล่าวคือ หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบจีน หน้าบันทั้งทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสดจากประเทศจีน ปั้นและประดับตกแต่งสีให้เป็นรูปใบและดอกพุดตาน (ดอกเบญจมาศ) โตโต เห็นได้ชัดเจนสวยงามมาก ส่วนกระจังฐานพระ ช่อฟ้า ลำยอง ใบระกาและหัวนาค ปั้นทำเป็นหินอ่อน พื้นรอบนอกปูด้วยกระเบื้องหน้าวัวดินเผา ผนังภายในพระอุโบสถเขียนตกแต่งรายสีชนิดดอกไม้ร่วง บานหน้าต่างและบานประตูเขียนลายทองลดน้ำซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างประดับลายปูนปั้นยกดอก เป็นดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก ส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำฐานพระอุโบสถเป็นฐานสิงห์ก่ออิฐถือปูน บันไดและขั้นบันไดปูด้วยศิลาทรายสีเขียว ชั้นทักษิณ พระอุโบสถทำเป็นฐานปัทม์ก่ออิฐถือปูน ปูกระเบื้องซีเม็นต์ บันไดตรงพนักเชื่องกับเสาทำเป็นเสาประทีปแปดเหลี่ยมแทนเสาเม็ดมุมฐานทักษิณ และช่องกลางฐานทักษิณ ทำเป็นย่อเก็จก่อเป็นเรือนซุ้มเสมากับพนักทักษิณ บันไดชั้นทักษิณทำชั้นด้วยศิลาเขียวกับบันไดขึ้นอุโบสถ

3. พระวิหารหลวงวัดเฉลิมพระเกียรติ มักเรียกกันว่าวิหารพระศิลาขาว อยู่ทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ มีกำแพงแก้วล้อมรอบต่อจากพระอุโบสถอีกชั้นหนึ่ง พระวิหารหลังนี้มีความกว้าง 14 เมตร ยาว 24 เมตร รวมเนื้อที่ทั้งหมด 360 ตารางเมตร วิหารพระศิลาขาวสร้างด้วยอิฐถือปูนเป็นสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระอุโบสถ

4.พระเจดีย์วัดเฉลิมพระเกียรติเป็นแบบพระเจดีย์แบบลังกาองค์เจดีย์เป็นรูปทรงกลมมีฐานแปดเหลี่ยมสองชั้น ฐานกว้างทั้งหมด 30 เมตรสูงจากพื้นถึงยอดประมาณ 45 เมตร พระเจดีย์นี้อยู่ทางด้านหลัง (ทิศตะวันตก) ในเขตแนวกำแพงแก้วเดียวกันกับพระอุโบสถตามหลักฐานที่ปรากฎเข้าใจว่าพระเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฎในพระราชพงศวดาร รัชกาลที่ 4 ว่า “ครั้นสิ้นแผ่นดิน วัดนั้นยังค้าง อยู่บ้างเล็กน้อย จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี จ้างช่างไปเขียนผนัง พระอุโบสถ วิหารการเปรียญและเขียนเพดานประตูหน้าต่าง เขียนเป็นลายรถน้ำมีปราสาทตราแผ่นดินและเขียนเป็นดวงจันทร์เต็มบริบูรณ์ คือ พระชนกชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาไลน์ท่านทรง พระนามว่า เพ็งองค์ 1 จันทร์องค์1 เบื้องต่ำเขียนเป็นเครื่องยศหญิงบาน 1ชายบาน 1 ตือ ท่านผู้ได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรี แล้วให้แก้ไขพระเจดีย์เสียใหม่ให้ต้องตามแบบอย่างกรุงเก่า แล้วถวยพระนามประทานว่า พระพุทธไตรรัตนโลกภินันทปฎิมาหรือพระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา”
3.วัดสังฆทาน
กราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุเพื่อเป็นสิริมงคล และรับพระบรมสารีริกธาตุมาบูชาที่บ้าน
4.วัดชมภูเวก

ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บ้านบางกะสอ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๐ ครั้งชาวมอญ อพยพหนีพม่ามาอยู่ในบริเวณนี้ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้พบซากโบราณสถานที่มีมาอยู่ก่อน จึงได้ร่วมกันสร้าง พระมุเตา คือพระเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากเมืองมอญ เป็นที่สักการบูชาต่อมาจึงได้สร้างวัดชื่อ วัดชมภูเวก ซึ่งมีความหมายว่าขอสรรเสริญเนินสูงที่มีความวิเวก ต่อมาได้กร่อนเป็นวัดชมพูเวก

พ ระอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ด้านหลังพระมุเตา มีขนาดสามห้องไม่ยกพื้น รูปทรงแบบมหาอุดใช้ผนังรับน้ำหนัก ปลายผนังสอบเข้าเล็กน้อยไม่มีเสา มีแต่เสารับชายคาพาไล ด้านหน้ามีพาไล หน้าบันปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษาดอกพุดตาน ประดับกลางดอกด้วยเครื่องถ้วยลายคราม และเบญจรงค์ มีประตูเข้าด้านหน้าเพียงประตูเดียวอยู่ตรงกลาง มีหน้าต่างด้านละสามบาน ซุ้มประตูหน้าต่างปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษา ผนังด้านหลังทึบ ฝาผนังด้านในทั้งสี่ด้าน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสกุลนนทบุรี เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว ตามแบบอยุธยาตอนกลาง
ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพมารผจญ มีรูปพระแม่ธรณีประทับนั่งบีบมวยผมอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม
ลวดลายอ่อนช้อยเหมือนลอยตัว เป็นที่ยกย่องกันว่าเป็นภาพแม่พระธรณีที่งามที่สุดในประเทศไทย
ผนังด้านหลังเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าสองพระองค์ ประทับนั่งสมาธิผนังด้านข้างทั้งสองด้าน ตอนบนเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าประทับบนแท่นบัลลังก์ มีสาวกเฝ้าอยู่สองข้าง ผนังระหว่างช่องประตูกับหน้าต่างเป็นภาพทศชาติ พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น

พระมุเตา (เจดีย์) ตั้งอยู่ตรงประตูทางเข้าวัดด้านหน้า รูปทรงของเจดีย์เป็นแบบเจดีย์ที่เมืองหงสาวดี สร้างขึ้นก่อนสร้างวัดบนเนินอิฐเก่า สันนิษฐานว่า อาจมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ด้วย
5.วัดปรางค์หลวง

ที่ตั้ง : อำเภอ บางใหญ่ จังหวัด นนทบุรี

วัดปรางค์หลวง สันนิษฐานว่าสร้างในปีพ.ศ.1904 ในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาเห็นองค์พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดปรางค์หลวง” ปูชนียวัตถุภายในวัดประกอบด้วยพระประธานในอุโบสถ นามว่า “หลวงพ่ออู่ทอง” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก 9 คืบ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบ้านนิยมมาสักการะบูชา

6.วัดอัมพวัน

เดิมชื่อ วัดบางม่วง เป็นวัดสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายประมาณรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ตั้งอยู่ริมคลองแม่น้ำอ้อม ตำบลบางม่วง

สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้ คือ หอไตรกลาง-น้ำ เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นเรือนไม้ตั้งอยู่ในสระน้ำขนาดเล็ก ตัวหอเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างโล่งไม่มีพื้นและฝา ชั้นบนเป็นตัวหอขนาด 2 ห้อง ช่วงล่างเป็นลูกฟักกระดานดุน ตอนบนเป็นซี่ลูกกรงไม้กลึงเสากรอบประตูเป็นเสาหัวเม็ด ประตูหูข้าง เครื่องลำยองเป็นไม้จำหลัก หลังคาซ้อน 2 ชั้น มีปีกนก 1 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาใต้เชิงชาย และหน้าบันประดับไม้สลักลายรดน้ำ ฝาผนังด้านนอกทาสีลูกฟักด้วยสีแดง ขอบขาวตัวไม้เครื่องบันอื่นๆ ทาสีขาว ตัดเหลี่ยมสีแดง เสาลงพื้นสีขาวเขียนลายแดง หน้าบาน ประตูเข้าในหอไตรเป็นบานไม้ลงรักปิดทองลายพุ่มข้าว-บิณฑ์ และประจำยามก้านแย่ง อกเลาเป็นไม้จำหลักลายดอกพุดตานลูกฟัก เหนือประตูเป็นภาพนกข้างละตัว เหนือขึ้นไปเป็นภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในห้องสะกัดท้ายหอไตรเป็นที่เก็บพานตะลุ่ม และ ฐานพระพุทธรูปไม้จำหลักเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังมีมณฑปพระพุทธบาท ภายในมีพระพุทธบาทจำลองทำด้วยโลหะประดิษฐานอยู่บนฐานปูน และศาลาท่าน้ำที่งดงามมาก

การเดินทางเข้าถึงวัดอัมพวัน สามารถเดินทาง ได้ทั้งทางน้ำและทางบก ดังนี้ ทางน้ำ โดยนั่งเรือโดยสารเป็นเรือหางยาว จากท่าเรือบริเวณ หน้าที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ค่าโดยสาร คนละ 5 บาท ทางรถ โดยใช้เส้นทางถนนวงแหวนรอบนอกบางบัวทอง-ตลิ่งชัน แยกซ้ายมือที่ตำบลบางม่วง

อุโบสถหลังใหม่ยังไม่ได้ใช้เนื่องจากยังไม่มีพิธีทำบุญฝังลูกนิมิต กิจของสงฆ์จึงกระทำกันที่เต้นท์สีส้มนี้ละคะ
.วัดเขมาภิรตาราม

วัดเขมาภิรตารามเป็นวัดโบราณ สร้างสมัยอยุธยาหรือก่อนสมัยอยุธยา พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง เป็นวัดหลวงในสมัยอยุธยาราวปี พ.ศ. 1893 ในสมัยรัตนโกสินทร์ วัดเขมาภิรตารามเป็นวัดที่อยู่ในสังกัดบัญชีกฐินหลวงของสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ในรัชกาลที่ 2 เดิมเรียกว่า วัดเขมา บางครั้งเรียกว่า วัดเข็นมา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรสซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เพื่อกราบทูลขอวัดเขมาเป็นวัดสำหรับกฐินในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี จากนั้นได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์วัดเขมาและมีการฉลองใน พ.ศ. 2371 ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อฉลองพระคุณสมเด็จพระบรมราชชนนี แล้วพระราชทานนามเพิ่มว่า วัดเขมาภิรตาราม

วัดเขมาภิรตาราม อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระอารามหลวงที่เก่าแก่ยิ่งของเมืองนนทบุรี สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า “วัดเขมา” ในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ทรงปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่งพร้อมกับอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อเก่าแก่จากวังจันทรเกษมที่ อยุธยามาประดิษฐาน เป็นพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดพระราชทานสร้อยนามว่าวัดเขมาภิรตาราม และที่วัดนี้เองที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เคยเรียนหนังสือในสมัยเด็ก

ขอขอบคุณ http://mayaknight07.exteen.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .