ลักษณะทางสถาปัตยกรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

โบราณวัตถุที่สำคัญในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารดังนี้

1.พระบรมธาตุเจดีย์

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นทรงระฆังคว่ำ(โอคว่ำ) ปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆดังนี้

ส่วนประกอบของพระบรมธาตุเจดีย์

ความสูงของพื้นถึงยอด สูง 37 วา ฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 3 ศอก ฐานยาวด้านละ ยาว18 วา 1 ศอก 15 นิ้ว ยอดหุ้มด้วยทองคำหนัก 800 ชั่ง (600 กิโลกรัม) ส่วนที่หุ้มทองคำ สูง 6 วา 2 ศอก 1 คืบ ปล้องไฉน 52 ปล้อง หน้ากระดานปล้องไฉนมีพระเวียน 8 องค์ บัวคว่ำ บัวหงาย หุ้มด้วยทองคำแผ่น สูง6 วา 2 ศอก 1 คืบ ทองรูปพรรณหลายชนิด เช่น แหวน จำนวนมากกำไล ต่างหู ผูกแขวนบนปลียอดทองคำ บนยอดสุดมีบาตรน้ำมนต์ 1 ใบ รอบองค์เจดีย์ระฆังคว่ำ มีกำแพงแก้ว 4 ด้าน เท่ากัน กว้าง/ยาว 12 วา 2 ศอก รอบกำแพงแก้วมีใบเสมา และรั้วเหล็กรอบกำแพงแก้ว ฉัตร บังสูรย์ และกระดิ่งเป็นระฆัง ห้อย ฐานพระบรมธาตุเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหัวช้างยื่นออกจากฐาน 22 หัว
2. วิหารพระทรงม้า (พระวิหารมหาภิเนษกรมณ์)

ตั้งอยู่ติดกับพระบรมธาตุเจดีย์ทางด้านทิศเหนือความกว้าง5 วา 10 นิ้วยาว 15 วา 3 ศอก สูง 7 วา ฝาผนังภายในวิหารมีภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติ ตอนพระพุทธองค์ทรงม้า เสด็จออกบรรพชา ลักษณะเป็นศิลปะอยุธยาตอนกลาง โบราณวัตถุภายในวิหารพระม้ามีดังนี้

ลักษณะโบราณวัตถุ จำนวน

1. พระพุทธรูปสำคัญ คือรูปพระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ 3 องค์ พระโมคลาน และพระสารีบุตร

2. บันไดตรงกลางวิหาร ทางขึ้นไปยังลานประทักษิณ22 ขั้น

3. ยักษ์อยู่ตรงหัวบันได ด้านซ้ายคือท้าวเวกุราช ด้านขวา 2 ตน คือท้าวเวชสุวรรณ

4. พญาครุฑ อยู่ข้างบันได ด้านซ้าย คือท้าววิรุฬหก2 ตัว ด้านขวา คือท้าววิรุฬปักษ์

5. สิงห์ อยู่ราวข้างบันได ด้ายซ้ายและขวา 6 ตัว

6. พระพุทธสิหิงค์จำลอง อยู่ข้างราวบันไดเหนือสิงห์ 2 องค์ ทั้งข้างซ้ายและขวา

7. เทพ อยู่เหนือสุดราวบันได ด้ายซ้ายคือท้าวจัตุคาม 2 องค์ ด้านขวา คือท้าวรามเทพ

8. ประตูไม้ เปิดสู่ลานประทักษิณ ที่บานประตูมีภาพ 1 ประตู แกะสลักทั้งสองบาน ด้านซ้ายเป็นรูปพระพรหม ด้านขวาเป็นรูปพระอินทร์

9. ภาพปูนปั้นเป็นภาพเทวดาและสัตว์ในเทพนิยายอยู่ผนัง สองข้างบันได –

10. พญานาค อยู่ด้านหน้าของบันได ทั้งซ้ายและขวา 2 ตัว คือท้าวภุชงค์

11. พระพุทธรูป อยู่ฐานพระบรมธาตุเจดีย์ รูปประทับยืน 3 องค์ คือพระร่วงโรจน์ฤทธิ์อีก 2 องค์คือพระพุทธรูปปางลีลา และปางขัดสมาธิ

3. วิหารสามจอม

วิหารสามจอมอยู่ทางด้านตะวันออกของพระบรมธาตุเจดีย์ ภายในวิหารเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ซึ่งเชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้สร้าง พระบรมธาตุเจดีย์ด้านหลังของวิหารมีซุ้มสามช่องบรรจุพระพุทธรูปปางมารวิชัย และเป็นที่เก็บ อิฐเชื้อพระวงศ์และเจ้านายในเชื้อสายของพระเจ้ากรุงธนบุรีตากสินมหาราช และซุ้มประตูเป็น ภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติตอนทรงตัดเมาฬีเพื่อออกผนวช

4. วิหารทับเกษตร หรือพระระเบียง หรือวิหารคด

เป็นวิหารอยู่รอบฐานบริเวณภายในขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีประตู 2 ประตู ประตูด้านหน้า คือประตูเหมรังศรี ข้างประตูมีสิงห์โตหินตัวผู้และตัวเมีย หน้าจั่วซุ้มประตู ประดับแก้วสีเป็นรูปครุฑและนาคยึดเกี่ยวกัน ภายในวิหารมีพระพุทธรูปนั่งทั้งสี่ด้านของระเบียง จำนวน 137 องค์ เป็นฝีมือช่างอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ทุกด้านของวิหารมีธรรมาสน์ตั้งอยู่เพื่อ แสดงธรรมในสมัยก่อนมีชาวบ้านมาสวดหนังสือก่อนพระเทศน์เป็นประจำ แต่ปัจจุบันประเพณี สวดหนังสือ (สวดด้าน) ได้สูญหายไป

5. วิหารหลวง

ตั้งอยู่บริเวณนอกเขตพระระเบียง ทางด้านใต้ของพระบรมธาตุเจดีย์ สร้างใน สมัยสุโขทัย ได้มีการปฏิสังขรณ์มาเป็นระยะ ๆ จวบจนในปัจจุบัน สถาปัตยกรรมของวิหารหลวงเป็นแบบสุโขทัย มีความกว้างใหญ่และงดงาม มาก เสารอบนอก 40 ต้น เสาภายใน 24 ต้น ห้องระหว่างเสา 13 ต้นปลายเสาแบนราบเข้าหากัน แบบอยุธยา ทำให้ดูอ่อนช้อยงดงามมาก ด้านหน้าของวิหารแกะสลักไม้รูปพระอินทร์ทรงช้าง เอราวัณ เป็นภาพแกะสลักที่วิจิตรงดงามมาก ด้านหลังของวิหารแกะสลักเป็นพระนารายณ์ทรง ครุฑ เพดานเขียนลายไทยปิดทองมีลายดารกาเป็นแฉกงดงามมาก หลังคามีช่อฟ้าและใบระกา พระประธานเรียกว่า พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยการก่อ อิฐถือปูนลงรักปิดทองสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น ด้านข้างมีพระสาวกซ้ายและขวา คือพระโมคคั ลานะ และพระสารีบุตร และมีพระพุทธรูปยืนอีกหลายองค์
ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .