วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวงแห่งจังหวัดแพร่

1_2-8-56(500)

วัดพระธาตุช่อแฮ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้เกิดปีเสือ (ปีขาล) ตั้งอยู่บน
เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร บนเนื้อที่ 175 ไร่ ณ เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัว
เมืองจังหวัดแพร่เป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระธาตุช่อแฮเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และได้
ประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถานลงวันที่ 14 ตุลาคม 2523
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นพระอาราม
หลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ในปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้มวลสารจากพระธาตุช่อแฮ
ทำพระสมเด็จจิตรลดา

ตำนานพระธาตุช่อแฮ (จากข้อมูลประชาสัมพันธ์ของทางวัดพระธาตุช่อแฮ)
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงเมืองพล (เมืองแพร่) ได้ประทับ ณ ดอยโกสัยธชัคคะบรรพต และได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้
หัวหน้าชาวลัวะนามว่า ขุนลัวะอ้ายก้อม เห็นในขณะที่เขาได้มากราบไหว้พระองค์ที่บนดอยนี้
เนื่องจากสถานที่นี้เป็นที่ร่มรื่น เหมาะสมที่จะตั้งไว้เป็นสถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทาน
พระบรมสารีริกธาตุที่ระลึก โดยเอาเส้นพระเกศาเส้นหนึ่งให้แก่ขุนลัวะอ้ายก้อมไว้ มีรับสั่งให้เอาเส้นพระเกศานี้ไปไว้ในถ้ำที่อยู่ใกล้ ๆ พร้อม
ทั้งมีรับสั่งอีกว่า เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ให้เอาพระบรมสารีริกธาตุพระศอกข้างซ้ายมาบรรจุไว้ ณ สถานที่นี้ด้วย และต่อไป
ภายหน้าจะได้ชื่อว่าเมืองแพร่ จะเป็นเมืองใหญ่ซึ่งพระองค์เคยเสด็จประทับนั่ง ณ ใต้ต้นหมากนี้ เมื่อทรงทำนายแล้วก็เสด็จจาริกไปยังเมือง
ต่าง ๆ ที่ทรงเห็นว่าควรจะเป็นที่ตั้งพระธาตุได้ จากนั้นจึงเสด็จกลับไปยังพระเชตวันอาราม
หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว 218 ปี (ตรงกับสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช) พระเจ้าอโศกมหาราชและ
พระอรหันต์ทั้งปวงได้ร่วมกันอธิษฐานว่า เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น เคยเสด็จไปยังถิ่นฐานบ้านเมืองหลายแห่ง
แล้วทรงหมายสถานที่ที่ควรจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ จึงขออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ได้บรรจุในโกศที่เตรียมไว้นั้นไปสถิตอยู่ใน
สถานที่ซึ่งพระองค์ได้ทรงหมายไว้นั้นเถิด
หลังจากการอธิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายก็เสด็จออกจากโกศโดยทางอากาศ ไปตั้งอยู่ที่แห่งนั้นๆ ทุกแห่ง ส่วนพระบรม
สารีริกธาตุที่เหลืออยู่ พระอรหันต์ทั้งปวงก็อัญเชิญไปบรรจุในพระเจดีย์ 84,000 องค์ แล้วประกาศแก่เทวดาทั้งหลายให้พิทักษ์รักษาตลอดไป
จนกว่าจะหมดอายุแห่งพระพุทธศาสนา 5,000 พระวัสสา
ชื่อพระธาตุช่อแฮมาจากความเชื่อว่า ขุนลัวะอ้ายก้อมได้นำผ้าแพรมาถวายพระพุทธเจ้า หรือชาวบ้านได้นำผ้าแพรชั้นดีทอจากสิบสอง
ปันนามาผูกบูชาพระธาตุ คำว่า “แฮ” เพี้ยนมาจากคำว่า “แพร” แปลว่าผ้าแพร

สิ่งสำคัญภายในวัด
องค์พระธาตุช่อแฮ

เป็นเจดีย์ศิลปะแบบเชียงแสน ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายและพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์
พระธาตุสูง 33 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูน หุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น กว้างด้านละ 11 เมตร ถัดขึ้น
ไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม 3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำและชุดท้องไม้แปดเหลี่ยม ซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัว
ระฆัง 1 ชั้นและหน้ากระดานหนึ่งชั้น จนถึงองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉน ยอดฉัตรประดับตกแต่ง
ด้วยเครื่องบนแบบล้านนา มีรั้วเหล็กรอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูมีซุ้มแบบปราสาทล้านนา สวยงามมาก
หลวงพ่อช่อแฮ เป็นพระประธานประดิษฐานในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา เชียงแสน สุโขทัย หน้าตักกว้าง 3.80 เมตร สูง 4.50 เมตร
ก่อสร้างด้วยอิฐโบกปูน ลงรักปิดทอง มีอายุหลายร้อยปี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากสร้างองค์พระธาตุช่อแฮแล้ว
พระเจ้าทันใจและไม้เสี่ยงทาย พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิปูนปั้น ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 80 ซม. สูง 120 ซม เป็นพระพุทธรูปองค์ใหม่ที่ชาวไทยใหญ่ (เงี้ยว) สร้างขี้นเมื่อปี พ.ศ. 2465 แทนพระพุทธรูปองค์เดิมที่หล่อด้วยตะกั่วที่ถูกลักไป
พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีผู้นิยมมากราบไหว้บนบานศาลกล่าวอยู่เสมอ เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่ใคร
มาขอพรแล้ว จะได้สิ่งนั้นอย่างสมประสงค์ ด้านหลังซุ้มพระเจ้าทันใจมีไม้เสี่ยงทายทำด้วยไม้รวกหรือไม้สัก มีความยาวเกิน 1 วา คาดว่าใช้
แทนไม้เซียมซี ผู้ที่ต้องการเสี่ยงทายสิ่งใดจะนำไม้ดังกล่าวมาทาบกับช่วงแขนที่กางเหยียดตรง ไปจนสุดแขนทั้งสองข้าง ความยาวของวาอยู่
ตรงจุดใดของไม้ ก็จะทำเครื่องหมายไว้ แล้วนำไม้มาอธิษฐานเบื้องหน้าพระเจ้าทันใจว่า สิ่งที่ตนประสงค์นั้นจะสำเร็จหรือไม่ หากสำเร็จก็ขอให้
ความยาวของวาครั้งใหม่เลยจุดที่ทำเครื่องหมายไว้ออกไป เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้ว ก็นำไม้เสี่ยงทายขึ้นมาวาอีกครั้งหนึ่ง

พระพุทธโลกนารถบพิตร และวิหารศิลปะล้านนาประยุกต์
เป็นพระพุทธรูปปางพระนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 3.60 เมตร สูง 7 เมตร สร้างด้วยโลหะทองเหลือง ลงรักปิดทอง ประดิษฐานอยู่ใน
วิหารศิลปะล้านนาประยุกต์ ภายในมีภาพจิตกรรมฝาผนังอย่างสวยงาม สร้างขึ้นในปี 2534 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ฟื้น ชุตินฺธโร ป.ธ.9) เป็นประธานเททองหล่อและเบิกพระเนตร
พระเจ้าไม้สัก สร้างด้วยไม้สักทอง หน้าตักกว้าง 33 นิ้ว สูง 87 นิ้ว เป็นศิลปะสมัยล้านนา

พระเจ้านอน เป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดแพร่เคารพนับถือมาก ก่อนจะขึ้นไหว้องค์พระธาตุช่อแฮ ชาวบ้านมักจะแวะไหว้พระเจ้านอนก่อน
เสมอ สร้างเมื่อขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 2459 เป็นพระเจ้านอนศิลปะพม่า ขนาดยาว 3.70 เมตร สูง 1.35 เมตรก่อสร้างด้วยอิฐโบกปูน
ลงรักปิดทอง

ธรรมมาสน์โบราณ มีความสวยงามวิจิตรบรรจง ลวดลายไทยผสมศิลปะล้านนา ก่อสร้างด้วยไม้สักแกะสลัก ลงรักปิดทอง

กรุอัฐิครูบาศรีวิชัย บรรจุอัฐิธาตุส่วนที่ 5 จากจำนวน 7 ส่วนของครูบาศรีวิชัย สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในบุญคุณของท่านที่ได้ทะนุบำรุง
พระพุทธศาสนา

บันไดนาคโบราณ ภายในวัดพระธาตุช่อแฮมีบันไดนาคอยู่ 4 ด้าน และบันไดสิงห์ 1 ด้าน แต่ละบันไดมีความยาวและจำนวนขั้นไม่เท่ากัน

แผ่นศิลาจารึก ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระเจ้าทันใจ จารึกเรื่องราวการสร้างบันไดด้านทิศตะวันตก

สวนรุกขชาติช่อแฮ ตั้งอยู่บนที่ดินของวัด มีพื้นที่ 52 ไร่ เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาพันธุ์ไม้ มีต้นไม้นานาพันธุ์กว่า
1,000 ชนิด

ประเพณีการไหว้พระธาตุช่อแฮ
การนมัสการพระธาตุช่อแฮเป็นความเชื่อที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า การได้กราบไหว้บูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จะเป็นสิริมงคลแก่ตัว ทำให้มี
ความสุขความเจริญ บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่ จะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มา
นมัสการพระธาตุช่อแฮ ก็เหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่
ประเพณีการไหว้พระธาตุช่อแฮเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เดิมจัด 5 วัน 5 คืน ในปี พ.ศ. 2536 ได้เปลี่ยนมาเป็น 7 วัน
7 คืน วันแรกของงานจะเริ่มในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 เหนือ เดือน 4 ไต้ (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปีเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งในจังหวัด
และต่างจังหวัดขึ้นไปนมัสการพระธาตุทั้งกลางวันและกลางคืน มีการทำบุญซื้อดอกไม้ธูปเทียนไหว้องค์พระธาตุ ไหว้พระเจ้าทันใจ และเสี่ยง
เซียมซี
ในการจัดงานมีขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ ประกอบไปด้วยริ้วขบวนแห่และการฟ้อนรำของทุกอำเภอ มีขบวนช้างเจ้าหลวง ขบวนตุงหลวง ขบวน
ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศี ขบวนกังสดาล ขบวนหมากเป็ง และขบวนข้าวตอกดอกไม้ มีการเทศน์และฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก
ทั้งกลางวันและกลางคืน สำหรับกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดงาน
ในรุ่งเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ (ตรงกับวันมาฆบูชา) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงาน พุทธศาสนิกชนต่างร่วมใจกันนำอาหารไปทำบุญตักบาตร ถวาย
ภัตตาหารแด่พระสงฆ์บริเวณลานพระธาตุ ตอนสายๆ กลุ่มผู้คนที่มาทำบุญตักบาตรบางส่วนอาจเดินทางไปที่พระธาตุดอยเล็ง (อยู่ทางทิศตะวัน
ออกเฉียงใต้ของพระธาตุช่อแฮ ประมาณ 3 กิโลเมตร) เพื่อกราบไหว้บูชาพระธาตุ และชมทัศนียภาพบ้านเมืองที่เรียงรายสวยงาม ตอนกลาง
คืนประชาชนจะไปร่วมกันเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุช่อแฮและวิหาร

การเดินทางมานมัสการวัดพระธาตุช่อแฮ
ใช้ถนนสายหลักคือถนนช่อแฮ เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง (สี่แยกใจกลางเมือง) อำเภอเมืองแพร่ ตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาล
แพร่ สนามบินจังหวัดแพร่ หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแต (กวีรัตน์) และหมู่บ้านมุ้ง ตรงไปสู่วัดพระธาตุช่อแฮ

ขอขอบคุณ http://www.stou.ac.th/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .