Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคตะวันออก’ Category

ไหว้ซำปอกง เสริมมงคลรับปีใหม่

ปีใหม่ หลายคนถือเป็นฤกษ์งามยามดีในการทำสิ่งใหม่ๆและเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่าง สำหรับปีใหม่นี้ ฉันขอถือฤกษ์งามยามดีในปีเสือเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเล็กๆน้อยๆบ้าง นั่นก็คือการปรับเปลี่ยนคอลัมน์จาก”ลุยกรุง” เป็น “ลุยกรุง&รอบกรุง” เพื่อขยายขอบเขตในการท่องเที่ยวให้กว้างมากขึ้น โดยมีกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียงรอบๆกรุงฯ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนเมืองหลวงและจังหวัดใกล้เคียงที่ต้องการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์แบบไปเช้า-เย็นกลับ หรือพักค้าง 1-2 คืน ควบคู่ไปกับการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจต่างๆในกรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร(เหมือนเดิม)

อย่างไรก็ตามแม้ชื่อคอลัมน์กับเนื้อหาจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ถึงอย่างไรฉันก็ยังเป็น”หนุ่มลูกทุ่ง”คนเดิมคร้าบพี่น้อง

เอาล่ะหลังถือฤกษ์ดีมีชัยในช่วงขึ้นปีใหม่กันไปแล้ว เพื่อเป็นการเสริมฤกษ์เสริมมงคลรับปีใหม่ ทริปนี้ฉันขอพาไปไหว้พระรับพรกับพระพุทธรูปชื่อดัง ที่ขึ้นชื่อในเรื่องความขลังความศักดิ์สิทธ์ในอันดับต้นๆของเมืองไทย และมีอยู่ทั้งในกทม.และจังหวัดข้างเคียง สำหรับพระพุทธรูปองค์นั้นก็คือ”หลวงพ่อโต” หรือ”ซำปอกง”นั่นเอง

ซำปอกงเป็นหนึ่งในวีรบุรุษของจีน เดิมชื่อ”หม่า เหอ” เมื่อวัยเพียง 11 ปี เขาตกเป็นเชลยศึกในสงครามกวาดล้างกองกำลังมองโกลที่ปักหลักอยู่ในแถบยูนนาน และถูกส่งตัวเข้ามาเป็นขันที ทำงานรับใช้กองทัพในสมรภูมิรบหลายปี จนได้มารับใช้ เอี้ยนหวังจูตี้ องค์ชายสี่แห่งราชวงศ์หมิงที่ปักกิ่ง นับตั้งแต่นั้นมาก็ หม่า เหอ ก็ได้ติดตามข้างกายจูตี้ตลอดมาจนได้รับความไว้วางใจเป็นอย่างมาก

Read more »

หลวงพ่อโต ซำปอกง วัดอุภัยภาติการาม

452777

หลวงพ่อโต ซำปอกง วัดอุภัยภาติการาม เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๖.๕๐ เมตร สูงประมาณ ๑๒ เมตร รูปแบบจำลองมาจากหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยา

หลวงพ่อโต ซำปอกง วัดอุภัยภาติการาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) ซึ่งเป็นช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีเศรษฐี ๒ พ่อลูก ซึ่งเป็นชาวบ้านใหม่ล่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่หลวงจู๊ฮี้ (พ่อ) และหลวงจู๊แดง (ลูก) ได้ร่วมกันสละทรัพย์สร้างพระซำปอกง ขึ้นไว้กราบไหว้บูชา และหลวงจู๊แดง(ซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนพิพิธพานิชกรรม”) ได้สละที่ดินบริเวณ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองสร้างวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขึ้น

ในปี ร.ศ. ๑๒๖ (ปี พ.ศ. ๒๔๕๐) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมายังวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปทรงมีพระราชศรัทธาบริจาคเงิน ๒๐๐ บาท พระราชทานสมทบในการสร้างอาราม และปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป(ซำปอกงแปดริ้ว) กับพระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดอุภัยภาติการาม” และพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” เช่นเดียวกับ ซำปอกงที่อยุธยา และฝั่งธนบุรี (วัดกัลป์ญาณมิตร)

ประชาชนชาวไทย และชาวจีน นิยมไปกราบไหว้บูชา หลวงพ่อโต ซำปอกง เพราะมีความเชื่อ ความศรัทธาว่า พระพุทธรูปโบราณองค์นี้ สามารถนำโชคดีมาสู่ตนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนค้าขาย หากบูชาดี ๆ ตั้งใจอธิษฐานอย่างแน่วแน่ ย่อมประสบผลสำเร็จ กิจการรุ่งเรือง ใหญ่โต เหมือนองค์ท่าน

งานประเพณีปิดทองหลวงพ่อโต ซำปอกง วัดอุภัยภาติการาม กำหนดจัดในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดอุภัยภาติการาม(วัดซำปอกง)

wataupai

ตั้งอยู่ที่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนปัจจุบัน แปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก)หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เจ้าพ่อซำปอกง” ในประเทศไทยมี ๓ องค์เท่านั้นคือ ประดิษฐานอยูที่วัดกัลยาณมิตรฝั่งธนบุรี วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดอุภัยภาติการามจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน มานมัสการเป็นจำนวนมาก

Wat U-phaiphatikaram (Wat Sampokong)

This monastery is situated at Suphakit Road, near the new market vicinity. It was previously a Chinese temple but nowadays has been changed to Vietnamese in Maha Yana Buddhism, within the monastery, there is a viharn, of Chinese shrine feature, the establishment place of Luang Pho To (Phra Trairatananayok) called by Chinese people that “Chao Pho Sampokong”. There are only 3 such Buddha images in Thailand, one is at Wat Kalayanamit, Thonburi, Wat Phananchoeng, Phra Nakhon Si Ayutthaya and Wat Uphaiphatikaram, Chachoengsao Province. On weekend, there are many tourists from Hong Kong, Singapore and Taiwan visiting to pay homage to this Buddha image.
โทร./Tel. 0-3851-1198

ขอขอบคุณ http://www.province.chachoengsao.go.th/

“พระพุทธไตรรัตนนายก” หลวงพ่อโต (ซำปอกง) หนึ่งในสามของไทย

หลวงพ่อโต หรือ ซำปอกงของวัดอุภัยภาติการาม เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 6.50 เมตร สูงประมาณ 12 เมตร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยในอดีตนั้นมีเศรษฐีชื่อหลงจู๊ฮี้และหลงจู๊แดงมีความศรัทธาต่อหลวงพ่อโตที่วัดพนัญเชิงที่อยุธยามาก ในเวลาต่อมาจึงสละที่ดินเพื่อสร้างเป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปซำปอกงที่ให้ช่างจำลองแบบมาจากหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง

ซำปอกงในเมืองไทยมีด้วยกัน 3 แห่งคือ
1. ซำปอกง ที่วัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยา เป็นซำปอกงองค์แรกหรือองค์โต สร้างขึ้นก่อนสถาปนากรุงศรีอุยธยา
2. ซำปอกง ที่วัดกัลยาณ์ ฝั่งธนบุรี กทม. เป็นซำปอกงองค์กลาง สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3
3. ซำปอกง ที่วัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นซำปอกงองค์เล็กสุด สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5

ในปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จจังหวัดฉะเชิงเทรา พระราชทานนามซำปอกงแปดริ้วว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” ให้สอดคล้องกับซำปอกงที่อื่นๆ และพระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดอุภัยภาติการาม” เนื่องจากวัดนี้ประสบความเสียหายจากน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ

ปัจจุบันมีงานประเพณีปิดทองหลวงพ่อโต ซำปอกง วัดอุภัยภาติการาม กำหนดจัดในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี

ขอขอบคุณ http://www.zthailand.com/

วัดอุภัยภาติการาม (ซำปอกง) ฉะเชิงเทรา

แหล่งท่องเที่ยวฉะเชิงเทรา : วัดอุภัยภาติการาม (ซำปอกง)

wat-sompokong-chachoengsao-01

วัดอุภัยภาติการาม (ซำปอกง) เป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ซึ่งรับเอาพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจากประเทศจีน มี “ซำปอกง” หรือที่คนไทยเรียกว่า “หลวงพ่อโต” ประดิษฐานอยู่เป็นพระประธานประจำวัด ซึ่งในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น คือที่ วัดพนัญเชิง อยุธยา วัดกัลยาณ์ ฝั่งธนบุรี และวัดอุภัยภาติการาม (ซำปอกง) แห่งนี้ หลวงพ่อโตแปดริ้วนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามซำปอกงแปดริ้วว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” ในคราวที่เสด็จจังหวัดฉะเชิงเทรา

หลวงพ่อโตของวัดอุภัยภาติการาม (ซำปอกง) นี้มีความศักดิ์สิทธิ์ในการนำโชคดีมาให้ และให้คุณแก่คนทำมาค้าขาย ในเรื่องบนบานศาลกล่าว มีเชื่อเสียงด้านการค้าขายที่ดิน โชคลาภ และการเจ็บไข้ได้ป่วย ผู้ที่มาขอพรจะแก้บนด้วยเทียนคู่เล่มใหญ่ ในช่วงวันหยุดจะมีชาวต่างชาติที่นับถือพุทธแบบจีนอย่างเช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน มานมัสการอยู่เป็นประจำ นอกจากนั้นภายในวัดอุภัยภาติการาม (ซำปอกง) ภายในอุโบสถยังมีพระโพธิสัตว์กวนอิม พระอรหันต์ ตลอดจนเทพเจ้าองค์ต่างๆตามความเชื่อของวัดจีนหรือวัดญวณ

ขอขอบคุณ http://www.zthailand.com/

วัดอุภัยภาติการาม

somporkong044_zps4b09d5d2

วัดอุภัยภาติการาม หรือที่ชาวจีนที่เรียกว่า “วัดซำปอกง” ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากวัดจีนประชาสโมสรราว 1 กิโลเมตร ซึ่งปรากฏประวัติว่าสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขุนพิพิธพานิชกรรมได้สละที่ดินบริเวณนี้สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขึ้น
ใน พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อเปิดเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา และได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมายังวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปด้วย และทรงบริจาคเงิน 200 บาท พระราชทานสมทบในการสร้างพระอารามและปฏิสังขรณ์พระพุทธศาสนากับได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดอุภัยภาติการาม” ส่วนพระพุทธรูปพระราชทานนามว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก”
Wat U-phaiphatikaram Or the Chinese called “stripping the repeated measure” is located in Tambon Ban Mai Muang Chachoengsao Away from the Chinese public club measure approximately 1 km, which appear in the history that created kingship Prabat King Hulhameklga you are heading. The fat Panich be taking land area of the sanctuary building Buddha is enshrined.

Read more »

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เจ้าพ่อซำปอกง” ในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร (ฝั่งธนบุรี) จังหวัดกรุงเทพฯ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน มานมัสการอยู่เป็นประจำความเป็นมาหลวงพ่อโต ซำปอกง วัดอุภัยภาติการาม
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่เมืองแปดริ้ว หรือ จ.ฉะเชิงเทรา มีเศรษฐี ๒ พ่อลูก ซึ่งเป็นชาวตลาดบ้านใหม่ล่าง คือ หลงจู๊ฮี้ (พ่อ) กับ หลงจู๊แดง (ลูก) มีใจศรัทธาต่อ หลวงพ่อโต ที่วัดพนัญเชิง อยุธยา มาก เวลานั้นเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากในหมู่ชาวจีนในเมืองไทย นิยมไปกราบไหว้บูชา หลวงพ่อโต หรือ ซำปอกง ที่อยุธยา เพราะถือว่ามงคลยิ่งนัก พระพุทธรูปโบราณองค์นี้ ประชาชนชาวไทย และชาวจีน เคารพนับถือกันมาก เชื่อว่าสามารถนำโชคดีมาสู่ตนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนค้าขาย หากบูชาดีๆ ตั้งใจอธิษฐานอย่างแน่วแน่ ย่อมประสบผลสำเร็จ กิจการรุ่งเรือง ใหญ่โต เหมือนองค์ท่านดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) หลงจู๊ฮี้ และหลงจู๊แดง (ซึ่งเวลาต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนพิพิธพานิชกรรม”) ได้ช่วยกันสละทรัพย์สร้าง พระซำปอกง ขึ้นไว้กราบไหว้บูชา โดยให้ช่างปั้นไปจำลองมาจากวัดพนัญเชิง อยุธยา ขณะเดียวกันหลงจู๊แดง หรือ ขุนพิพิธพานิชกรรม ได้สละที่ดิน ต.บ้านใหม่ อ.เมือง สร้างวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขึ้น

Read more »

วัดอุภัยภาติการาม ฉะเชิงเทรา

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า”เจ้าพ่อซำปอกง”ในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร (ฝั่งธนบุรี) จังหวัดกรุงเทพฯ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน มานมัสการอยู่เป็นประจำ

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

ef4f81c3ec9dc3be22ed3f3280c494_178_196_fit

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เจ้าพ่อซำปอกง” ในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร(ฝั่งธนบุรี) จังหวัดกรุงเทพฯ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและวัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน มานมัสการอยู่เป็นประจำ

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

buddha

ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เจ้าพ่อซำปอกง” ในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร (ฝั่งธนบุรี) จังหวัดกรุงเทพฯ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน มานมัสการอยู่เป็นประจำ

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

วัดหัวสวน(ละม่อมประาชาสวรรค์,ฉะเชิงเทรา)

4c36bc98417e46d5bccd563b8f8cf5ec

รายละเอียด : โบสถ์สีเงินเงาระยับที่ถูกตกแต่งด้วยสเตนเลสทั้งหลัง ซึ่งดูสวยงามแปลกตาไม่น้อยเลยทีเดียว ยิ่งด้านในโบสถ์ที่มี พระพุทธมหาลาภ ประดับตกแต่งด้วยเพชรพลอย อัญมณีต่าง ๆ จากประเทศออสเตรเลีย แอฟริกา และ พม่า ตลอดจนความสวยงามของภาพชาดก 10 ชาติของพระพุทธเจ้าบนฝาผนัง ที่มีสีสันสดใสจากเทคนิคการพ่นแอร์บรัช นอกจากนั้นยังสามารถปิดทองพระอรหันต์ทั้ง 8 ทิศ ซึ่งอยู่รอบ ๆ โบสถ์ ไปพร้อมกับการชมศิลปะการแกะสเตนเลสเป็นลายพระอรหันต์ 80 องค์ ความสวยงามสะดุดตาแบบนี้พลาดไม่ได้ที่ต้องแวะมาชมกัรสักครั้ง
การเดินทาง : ใช้เส้นทางถนนสาย 304 มุ่งหน้าไปทาง อ.บางคล้า เส้นทางเดียวกับทางไปวัดสมานรัตนาราม ผ่านปาททางเข้าวัดสมานไปประมาณ 1.3 กิโลเมตร จะเห็นทางเข้าวัดหัวสวนอยู่ทางซ้ายมือ ตรงเข้าไปในซอยเล็กจะเจอทางเข้าวัดอยู่สุดถนนตรงทางโค้งพอดี

ขอขอบคุณ http://www.zeekway.com/

โบสถ์สแตนเลส วัดหัวสวน / Wathuasuan

IMG_6345

โบสถ์สเตนเลส วัดหัวสวน ตั้งอยู่ที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา สร้างด้วยสแตนเลสทั้งหลัง โดยมีจุดประสงค์หลักคือ ต้องการให้โบสถ์มีอายุยาวเป็นพันปี และยังเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยว Unseen Thailand ของททท. ซึ่งถือว่าสวยงามและแปลกตากว่าวัดอื่นๆ นั่นเองค่ะ เดี๋ยววันนี้พวกเราจะได้ไปดูกันแล้วว่าโบสถ์สเตนเลสที่เคยเห็นแต่ในภาพนั้น ไปดูของจริงจะสวยแค่ไหนน๊าาาา… (พิกัด GPS: 13.659024, 101.142099)

การสร้างอุโบสถสแตนเลส มาจากความคิดของพระครูภาวนาจริยกุล ท่านเจ้าอาวาสวัดหัวสวน ที่เห็นว่า โบสถ์หลังเก่ามีความชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว จึงอยากจะสร้างขึ้นใหม่ ให้คงอยู่ยาวนานขึ้นกว่าที่ผ่านมา ท่านได้ศึกษาข้อมูลและพบว่า สแตนเลส (Stainless) เป็นวัสดุที่สามารถอยู่ได้เป็นพันปี ในขณะที่ปูนจะมีอายุแค่ประมาณร้อยปีเท่านั้น ท่านจึงตัดสินใจออกแบบโบสถ์สแตนเลสขึ้นมา พร้อมหาบริษัทรับเหมา และเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนเมษายน ปี 2552 และเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม 2553 โดยเจ้าอาวาสเป็นทั้งผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างเองอย่างใกล้ชิด ใช้งบประมาณทั้งหมด 50 ล้านบาท โดยอุโบสถมีความกว้าง 7.50 เมตร ความยาว 18 เมตร และความสูง 6.50 เมตร.

โบสถ์หลังนี้มีประตูเข้าทั้งด้านหน้า และ ด้านหลัง ซึ่งด้านหน้ามีพระสีวลีประดิษฐานอยู่ ตามภาพที่เห็นด้านล่างนี้

Read more »

โบสถ์สแตนเลส … อลังการงานสร้าง

“โบสถ์สแตนเลส วัดหัวสวน” ตั้งอยูใน ต.เสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา สร้างด้วยสแตนเลสทั้งหลัง โดยพระครูภาวนาจริยกุลท่านเจ้าอาวาสวัด เห็นว่าโบสถ์หลังเก่ามีความชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว อยากจะสร้างขึ้นมาใหม่ให้คงอยู่ยาวนาน จากการศึกษาพบว่าสแตนเลส เป็นวัสดุที่สามารถอยู่ได้เป็นพันปี ในขณะที่ปูนจะมีอายุอยู่เป็นร้อยปี …..

ท่านจึงตัดสินใจออกแบบโบสถ์สแตนเลสขึ้นมา เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนเมษายน 2552 เสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม 2553 โดยเจ้าอาวาสเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเองอย่างใกล้ชิด ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท ตัวโบสถ์กว้าง 7.50 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 6.50 เมตร …..

โบสถ์แห่งนี้ จะตั้งอยู่บนฐานคอนกรีตสูงจากพื้นดิน สร้างด้วยฝีมือและแรงงานของพระลูกวัด รอบตัวโบสถ์มีรั้วสแตนเลสประดับลายธรรมจักร และมีเสาหงส์คาบโคมไฟอยู่โดยรอบ ตัวโบสถ์สร้างจากสแตนเลสทั้งหลัง ยกเว้นพื้นที่ปูด้วยหินแกรนิต ด้านหน้าประดิษฐานพระสิวลี ส่วนด้านหลังมีพระพุทธมหาลาภประดิษฐานอยู่ …..

ภายในโบสถ์มีพระประฐานแบบทรงเครื่องสีทอง ซึ่งตอนที่ผมไป ยังตกแต่งไม่แล้วเสร็จดี เพราะเห็นที่ส่วนฐานล่างขององค์พระประธานยังมีกระดาษหนังสือพิมพ์ปิดอยู่เลย ส่วนพื้นโบสถ์บางส่วนยังเป็นหลุมใหญ่ ซึ่งเตรียมไว้สำหรับฝังลูกนิมิตรในโอกาสต่อไป ภายในโบสถ์ อากาศเย็นสบาย มีลมพัดผ่านตลอดเวลา ไม่ร้อนอย่างที่คิดเลยครับ …..

Read more »

โบสถ์สแตนเลส วัดหัวสวน

โบสถ์สแตนเลส วัดหัวสวนตั้งอยู่ใน ม.๔ ต.เสม็ดใต้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา สร้างด้วยสแตนเลสชนิด ๓๐๔ ทั้งหลัง เพื่อหวังให้โบสถ์มีอายุยาวเป็นพันปี การสร้างอุโบสถสแตนเลสมาจากความคิดของพระครูภาวนาจริยคุณ ท่านเจ้าอาวาสวัดหัวสวนที่เห็นว่าโบสถ์หลังเก่ามีความชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว อยากจะสร้างขึ้นมาใหม่ให้คงอยู่ยาวนาน จากการศึกษาพบว่าสแตนเลสเป็นวัสดุที่สามารถอยู่ได้เป็นพันปี ในขณะที่ปูนจะมีอายุอยู่เป็นร้อยปี ท่านจึงตัดสินใจออกแบบโบสถ์สแตนเลสขึ้นมา พร้อมกับหาบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๒ เสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ โดยเจ้าอาวาสเป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างเองอย่างใกล้ชิด ใช้งบประมาณ ๕๐ ล้านบาท อุโบสถ กว้าง ๗.๕๐ เมตร ความยาว ๑๘ เมตร ความสูง ๖.๕๐ เมตร สร้างบนฐานคอนกรีตสูงจากพื้นดิน ด้วยฝีมือและแรงงานของพระลูกวัด มีรั้วสแตนเลสลายธรรมจักรประดับเสาหงส์คาบโคมไฟโดยรอบ พื้นปูด้วยหินแกรนิต ด้านหน้ามีพระสิวลีประดิษฐานอยู่ ส่วนด้านในมีพระพุทธมหาลาภประดิษฐานเป็นประธาน ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ทำจาก สแตนเลส ขึ้นรูป และอ็อคอาร์กอน หน้าบันและหน้าต่างเป็นรูปพระพุทธเจ้า และเทวดา ต่างๆ ด้วยเทคนิคกัดกรดและลงสีเหลือง ส่วนด้านนอกรอบอุโบสถแกะลายสแตนเลส เป็นรูปพระอรหันต์ ๘๐ องค์ ชายล่างเป็นภาพแสดงเสวยชาติของพระพุทธเจ้า โดยวิธีพ่นแอร์บรัช เช่นเดียวกับภาพชาดก ๑๐ ชาติของพระพุทธเจ้าในอุโบสถ มีประตูเข้าทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ ๒ ช่อง เหนือช่องประตูเป็น ภาพพระพุทธโสธรอุโบสถสแตนเลสหลังนี้ ถือว่าสำเร็จได้ด้วยแรงศรัทธาของ พุทธศาสนิกชน ซึ่งมาบริจาคเงินโดย ทางวัดไม่ได้ บอก บุญเรี่ยไร ใดๆ ทั้งสิ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ กำหนดเขต กว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๓๒ เมตร (ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่มที่ ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓)

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

ชมโบสถ์แสตนเลสแปดริ้ว สวยงามแปลกตา ภาพฝาผนังแอร์บรัช

wat-hua-suan-temple-chachoengsao-01

วัดหัวสวน ตั้งอยู่ที่ตำบลเสม็ดเหนือ อำเภอบางคล้า วัดหัวสวนเริ่มกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นิยมของจังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างโบสถ์สเตนเลส หรือ อุโบสถแตนเลส ซึ่งเริ่มมาจากแนวคิดของเจ้าอาวาสวัดหัวสวนที่ว่า โบสถ์ทั่วไปที่ที่ทำจากปูนมีอายุไม่ยืนนาน จึงต้องการที่จะสร้างโบสถ์ที่ใช้วัสดุที่มีความคงทน และพบว่าแสตนเลสชนิด 304 สามารถสร้างโบสถ์ที่คงทนได้นับพันปี จึงได้เริ่มสร้างอุโบสถจากแสตนเลสทั้งหลัง ก่อสร้างด้วยด้วยฝีมือและแรงงานของพระลูกวัด มีมูลค่า 50 ล้านบาท โบสถ์แสตนเลสวัดหัวสวน สำเร็จได้ด้วยแรงศรัทธาของ พุทธศาสนิกชน ซึ่งมาบริจาคเงินโดย ทางวัดไม่ได้บอกบุญเรี่ยไรใดๆ
โบสถ์แสตนเลสวัดหัวสวนนี้ มีขนาดกว้าง 7.5 เมตร ความยาว 18 เมตร ความสูง 6.50 เมตร มีรั้วสแตนเลสลายธรรมจักรประดับเสาหงส์คาบโคมไฟโดยรอบ พื้นปูด้วยหินแกรนิต ด้านหน้ามีพระสิวลีประดิษฐานอยู่ ส่วนด้านในมีพระพุทธมหาลาภประดิษฐานเป็นประธาน ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ทำจาก สแตนเลส ขึ้นรูป และอ็อคอาร์กอน หน้าบันและหน้าต่างเป็นรูปพระพุทธเจ้า และเทวดา ต่างๆ ด้วยเทคนิคกัดกรดและลงสีเหลือง ส่วนด้านนอกรอบอุโบสถแกะลายสแตนเลส เป็นรูปพระอรหันต์ 80 องค์ ชายล่างเป็นภาพแสดงเสวยชาติของพระพุทธเจ้า โดยวิธีพ่นแอร์บรัช เช่นเดียวกับภาพชาดก 10 ชาติของพระพุทธเจ้าในอุโบสถ มีประตูเข้าทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ 2 ช่อง เหนือช่องประตูเป็น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2553

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .