เมื่อกล่าวถึง คนไทยเชื้อสายจีนในเมืองไทย เป็นเชื้อสายใดมากที่สุด คงไม่พ้น จีนแต้จิ๋ว ชาวแต้จิ๋วเข้ามาอยู่ในประเทศไทยช้านานและมีเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้คำเรียกชื่อต่างๆ รวมทั้งชื่อตัวละครในวรรณกรรมจีนที่แปลตั้งแต่ครั้งต้นกรุงถอดเสียงด้วยสำเนียงแต้จิ๋วก็มาก
ชาวไทยเชื้อสายจีน ส่วนมากบรรพบุรษจะมาจาก นอกจากจังหวัดแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน ที่พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมินหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ เป็นชาวจีนอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองด้วยสำเนียงตนว่า “ฮากกา” หรือที่จีนกลางออกเสียงว่า “เค่อเจีย” เมื่อเจอสำเนียงแต้จิ๋วเรียกทับเข้าไป คนไทยเราเลยรู้จักชาวจีนกลุ่มนี้ว่า “จีนแคะ” ในเขตสัมพันธวงศ์ ชุมชนที่คนไทยเชื้อสายจีนรวมตัวกันอยู่มากที่สุด มีถนนเล็กๆ เส้นหนึ่งปูคอนกรีตบล็อก กว้างพอที่รถยนต์สวนทางกันได้ ชื่อว่าถนนพาดสาย
ถนนพาดสายเป็นถนนเส้นสั้นๆ ขนานอยู่กับถนนเยาวราช สองข้างทางของถนนเส้นนี้เป็นอาคารพาณิชย์จำพวกค้าส่งและเป็นที่ตั้งของบริษัทมากกว่าจะเปิดหน้าร้านขายปลีก
ตรงบริเวณสถานีตำรวจพลับพลาไชย ย่านที่มีศาลเจ้าจีนตั้งอยู่ล้อมรอบมากมายนั้น มีศาลเจ้าหลายแห่งสร้างมาแล้วราวร้อยปี และมีศาลเจ้าแห่งหนึ่งที่ตั้งเยื้องกับสถานีตำรวจพลับพลาไชย ก็คือ ศาลเจ้าหลีตี่เมื่ยว ที่มีอายุร้อยกว่าปีในปี พ.ศ. ศาลเจ้า115 ปีนี้ เป็นศาลเจ้าแบบลัทธิเต๋า ที่สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชาวจีนแคะ ที่อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับราชวงศ์สุดท้ายของจีนคือ ราชวงศ์ ชิง
สร้างเมื่อ : พ.ศ.2445 ศาลเจ้าลัทธิเต๋านี้ หลังจากที่สร้างเสร็จมาได้กว่า 80 ปี ศาลเจ้าก็เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ ทำให้สมาคมจีนแคะต้องพากันเรี่ยไรเงินสร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จในอีก 4 ปีถัดมา โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาวางศิลาฤกษ์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2533 หลังจากที่มีการสร้างศาลเจ้าใหม่ในปี พ.ศ.2431 แล้ว อาคารสร้างใหม่จึงสร้างแบบผสมผสานระหว่างศาลเจ้าจีนและพระราชวัง โดยทางที่จะขึ้นไปยังศาลนั้น จะต้องขึ้นบันไดสูงแบบพระราชวังจีน ประตูใหญ่หน้าโบสถ์ก็ทำเป็นซุ้มอนุสาวรีย์ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องที่มีรูปมังกรปูนปั้นหันหน้าเข้าหากัน และป้ายประตูสลักอักษรจีนว่า หลี่ตี้เมี้ยว ตามภาษาจีนแคะ ศาลเจ้านี้ นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นศาลเจ้าแบบลัทธิเต๋าที่เคร่งครัดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อทางด้านความศักดิ์สิทธิ์ คือเจ้าแม่กวนอิมปางประทานพร ซึ่งหนุ่มสาวหลายคนมักมาบนบานศาลกล่าวเพื่อขอพรในเรื่องความรัก และขอบุตร โดยทางซ้ายมือของศาลเจ้าจะมีรูปปั้นของเจ้าแม่กวนอิมอยู่กลางสระน้ำเล็กๆ ให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้าไปกราบไหว้บูชาและขอพระได้
นอกจากความศักดิ์สิทธิ์ด้านความรักแล้ว ศาลเจ้านี้ยังเป็นที่จ่ายยาให้แก่ผู้มาสักการะด้วย โดยตั้งอยู่ด้านขวาของศาลเจ้า และยังเป็นที่ประดิษฐานของ ฮก ลก ซิ่ว เทพแห่งความมั่งมี ศรีสุข ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 3 ของโบสถ์สร้างใหม่ด้วย
หลังจากที่อพยพมาตั้งรกรากในไทย ยังชุมชนพลับพลาไชยนี้ ชาวจีนแคะจึงรวมตัวกันสร้างศาลเจ้าลัทธิเต๋าขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวจีนแคะ และหวังจะได้เผยแผ่คำสั่งสอนของท่านเล่าจื้อ สืบต่อยังลูกหลานในภายภาคหน้าด้วย ศาลเจ้าหลื่อตี้เบี่ยนี้ แต่เดิมสร้างเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนผสมไม้ ตามแบบสถาปัตย์นิยมของชาวจีนในยุคปลายราชวงศ์ชิง เจ้าหลื่อตี้เบี่ย มีประตูใหญ่ทำเป็นซุ้มอนุสาวรีย์ เหนือประตูทำเป็นป้ายไม้หนาเขียนเป็นภาษาจีนว่า หลีตี้เมี่ยว หรือ หลื่อตี้เบี่ย ในภาษาจีนแคะ เป็นศาลเจ้าที่ชาวจีนจากที่ต่างๆ นิยมมากราบไหว้บูชา
หลังจากที่สร้างเสร็จมาได้กว่า 80 ปี ศาลเจ้าก็เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ ทำให้สมาคมจีนแคะต้องพากันเรี่ยไรเงินสร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จในอีก 4 ปีถัดมา โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาวางศิลาฤกษ์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2533 หลังจากที่มีการสร้างศาลเจ้าใหม่ในปี พ.ศ.2431 แล้ว อาคารสร้างใหม่จึงสร้างแบบผสมผสานระหว่างศาลเจ้าจีนและพระราชวัง โดยทางที่จะขึ้นไปยังศาลนั้น จะต้องขึ้นบันไดสูงแบบพระราชวังจีน ประตูใหญ่หน้าโบสถ์ก็ทำเป็นซุ้มอนุสาวรีย์ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องที่มีรูปมังกรปูนปั้นหันหน้าเข้าหากัน และป้ายประตูสลักอักษรจีนว่า หลี่ตี้เมี้ยว ตามภาษาจีนแคะ ศาลเจ้านี้ นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นศาลเจ้าแบบลัทธิเต๋าที่เคร่งครัดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อทางด้านความศักดิ์สิทธิ์ คือเจ้าแม่กวนอิมปางประทานพร ซึ่งหนุ่มสาวหลายคนมักมาบนบานศาลกล่าวเพื่อขอพรในเรื่องความรัก และขอบุตร โดยทางซ้ายมือของศาลเจ้าจะมีราปปั้นของเจ้าแม่กวนอิมอยู่กลางสระน้ำเล็กๆ ให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้าไปกราบไหว้บูชาและขอพระได้ นอกจากความศักดิ์สิทธิ์ด้านความรักแล้ว ศาลเจ้านี้ยังเป็นที่จ่ายยาให้แก่ผู้มาสักการะด้วย โดยตั้งอยู่ด้านขวาของศาลเจ้า และยังเป็นที่ประดิษฐานของ ฮก ลก ซิ่ว เทพแห่งความมั่งมี ศรีสุข ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 3 ของโบสถ์สร้างใหม่ด้วย
เป็นศาลเจ้าจีนแคะที่ไม่ใช่ศาลเจ้าชั้นเดียว แต่สามารถสร้างขึ้นไปเหมือนเป็นตึกแถว แล้วตั้งแท่นบูชาเทพเจ้า
เดินทัศนจร จากแยกแปลงนามเดินเดินไปตามถนนพลับพลาไชย ประมาณ 200 เมตร ก็พบกับศาลเจ้า แบบสามชั้น และที่นี่มีมรดกทางวัฒนธรรมแห่งความเป็นมา ที่สร้างจากแรงศรัทธาและมีเซียมซีที่แปลกที่สุดมนโลกก็ว่าได้ เป็นเซียมซีเกี่ยวกับยา นอกเหนือจาก ฮั่วท้อเซียนซือ ที่วัดเล่งเน่ยยี่ คุณจิตรา ก่อนันทเกียรติ เคยเขียนบทความในเนชั่นสุดสัปดาห์ว่า ได้เห็นศาลเจ้าที่มีเซียมซียาอีกที่ศาลเจ้าปุดจ้อ ภูเก็ต ที่เป็นทำนองเดียวกันว่ามีเซียมซียา ทั้งยาบุรุษ เซียมซียาสตรี เซียมซีเด็ก เซียมซีหูตาคอจมูก ซึ่งคนที่มีความเชื่อในการรักษาด้วยยาจีน และความแม่นต่อโรคอย่างไม่น่าเชื่อจากการมาเสี่ยงเซียมซีก็ยังมีอยู่ และพบว่าที่ศาลเจ้าหลี่ตี่เมี้ยว ก็มีเซียมซียาครบชุด ทั้งเซียมซียาบุรุษ เซียมซียาสุภาพสตรี เซียมซียาเด็ก เซียมซียาหูตาคอจมูก ก็ไป สำรวจอยู่จนมีน้องคนหนึ่งขอเสี่ยงเซียมซี เพราะมีปัญหาเรื่องสายตา ต้องเสี่ยงเซียมซีแบบยาสตรีได้เลขที่ 100(สมมุติ)จากนั้นก็ได้นำใบเซียมซีไปที่ห้องจ่ายยา
ขอขอบคุณ http://www.oknation.net/