Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

ระเบียบการปฏิบัติธรรม ณ วัดพิชยญาติการาม

image007

พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม
ระเบียบการปฏิบัติธรรมและสนทนาธรรม

โดย แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
ณ วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม.

1. จะต้องมาบวชพราหมณ์ นุ่งขาวห่มขาว ที่วัด
(บวชเช้าวันเสาร์-สึกลาวันอาทิตย์)
2. กรอบใบสมัครและรับหมายเลขที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้
ในเช้าวันเสาร์ไม่เกินเวลา 06.30 น.
3. รับชุดขาวพร้อมหนังสือสวดมนต์ได้ที่โต๊ะลงทะเบียน
(สำหรับเครื่องนอนจะแจกหลังทำวัตรเย็น)
4. ของใช้ส่วนตัว กรุณาจัดเตรียมมาเอง
5. ห้ามส่งเสียงดัง และกรุณาปิดโทรศัพท์มือถือ
ในขณะสวดมนต์ และในขณะที่แม่ชีสอนธรรมะ
Read more »

วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร

pichayatikaram

วัดพิชยญาติการามวรวิหาร (วัดพิชัยญาติ) ตั้งอยู่ไม่ไกลพิชัยจากสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรี เดิมเป็นวัดร้าง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุญนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระราชทานนามว่า วัดพระยาญาติการาม แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดพิชัยญาติ

วัดพิชัยญาติเป็นวัดที่มีบริเวณสวยงาม พระอุโบสถเป็นศิลปะแบบจีน มีขนาดไม่ใหญ่นัก ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ด้านนอกพระอุโบสถมีเสาพาไลทำด้วยศิลากลม ที่ฐานเสาพาไลสลักเป็นเรื่องสามก๊ก สองข้างพระอุโบสถเป็นพระเจดีย์บนฐานสูงได้สัดส่วน

มีพระปรางค์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานสูงดูโดดเด่นแลเห็นแต่ไกล พระปรางค์ใหญ่มีความสูงถึง ๒๑ วาเศษ ด้านหน้ามีลานกว้าง ทำให้พระปรางค์ดูยิ่งใหญ่ สิ่งที่น่าชื่นชมอื่นๆ ได้แก่ หมู่กุฏิสงฆ์ ซึ่งสร้างแบบตะวันตก มีลายฉลุไม้และลายปูนปั้นที่สวยงาม แต่ชำรุดผุพังเสียมากแล้ว

ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org/

ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุที่สำคัญของวัดพิชยญาติการามวรวิหาร

S5000088re

พระอุโบสถ สร้างเป็นศิลปะแบบจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา เนื่องจากสมัยก่อนเป็นวัดอยู่ในสวน จึงสร้างเพื่อหลบบรรดากิ่งไม้ ผลไม้ที่จะหล่นหรือหักไปกระทบหลังคาพระอุโบสถได้ องค์พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปั้น ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปโบราณรุ่นเดียวกับพระพุทธชินราชชินศรี โดยอัญเชิญมาจากวัดพระวิหาร หลวงเมืองพิษณุโลก นามว่า “พระสิทธารถ” หรือที่ชาวบ้านทั่วไปจะเรียกท่านว่า “หลวงพ่อสมปรารถนา” ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก พระพุทธรูปประดิษฐานหน้าองค์พระประธาน เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย โดยสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงหล่อเมื่อ พ.ศ. 2465 นามว่า พระวรวินายก พระปรางค์องค์ใหญ่ วัดโดยรอบ 33 วา 2 ศอก ส่วนสูงตลอดยอดนภศูล 21 วา 1 ศอก 10 นิ้ว เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปั้น 4 องค์ หันพระพักตร์ไปสู่สี่ทิศ มีพระปรางค์องค์เล็ก 2 องค์ ขนาดวัดโดยรอบ 15 วา ส่วนสูงตลอดนภศูล 11 วา 1 ศอก 1 คืบ 2 กระเบียด ทิศตะวันออกเป็นที่ ประดิษฐานพระโพธิสัตว์พระศรีอาริย์ องค์ทิศตะวันตกเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง 4 รอย จำหลักด้วยแผ่นศิลา สัณนิฐานกันว่าเป็นของเก่า แต่ไม่ทราบว่านำมาจากที่ไหน

Read more »

วัดพิชยญาติการามวรวิหาร

วัดพิชยญาติการามวรวิหาร หรือ วัดพิชัยญาติ ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ บริเวณที่เดิมเรียกว่าวงเวียนเล็ก ในแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน เดิมเป็นวัดร้าง แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ประมาณ พ.ศ. 2372 – 2375 ในรัชกาลที่ 3 เนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยขณะนั้นเป็นจางวางพระคลังสินค้า มีเรือสำเภาค้าขายกับจีน จึงได้นำอับเฉาเรือ กระเบื้องสี และหินมาจากจีน สถาปัตยกรรมวัดนี้มีลักษณะแบบไทยผสมจีน ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยนั้น เมื่อบูรณะวัดเสร็จแล้ว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า “วัดพระยาญาติการาม” ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดพิชยญาติการาม” หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า “วัดพิชัยญาติ”

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

องค์อุปถัมภ์ วัดพิชยญาติการาม

King5-219x300

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปิยมหาราช)
น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ทุกศาสนา ในส่วนศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาประจำชาตินั้นทรงยึดมั่นและเลื่อมใสอย่างลึกซึ้ง ดังพระราชหัตถเลขาถึงเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ (ผู้แต่งหนังสือพุทธประวัติ ประทีปแห่งทวีปเอเชีย) ที่มีเนื้อความว่า

”พระราชบิดาของฉัน ได้ทรงสละเวลาเป็นส่วนใหญ่ ในการศึกษาและคุ้มครองศาสนาของชาติ ส่วนฉันได้ขึ้นครองราชย์ในขณะอายุยังน้อย จึงไม่มีเวลาที่จะเป็นนักศึกษาอย่างพ่อ ฉันเองมีความสนใจในการศึกษาหนังสือหลักธรรมต่างๆ สนใจที่จะคุ้มครองศาสนาของเรา และต้องการให้มหาชนทั่วไปมีความเข้าใจถูกต้อง

ดูเหมือนว่า ถ้าชาวยุโรปเชื่อในคำสอนของคณะมิชชันนารีว่า ศาสนาของเราโง่งมงาย และชั่วทราม คนทั้งหลายก็จะต้องถือว่าพวกเราเป็นคนโง่งมงายและชั่วทรามไปด้วย ฉันจึงรู้สึกขอบคุณบรรดาบุคคล เช่น ท่านเป็นตัวอย่าง ที่สอนชาวยุโรปให้ความคารวะแก่ศาสนาของเรา” พุทธศักราช 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการสังคายนา และจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก และแจกจ่ายตามพระอารามและหอสมุดต่างๆ ชุดละ 35 เล่ม รวมทั้งสิ้น 1000 ชุด ซึ่งเรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ปีพุทธศักราช 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์เป็นฉบับแรก โปรดเกล้าให้ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุฯ และมหามงกุฎราชวิทยาลัย ที่วัดบวรนิเวศ

Read more »

วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร

SS-130924-2056-89

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณเขตคลองสาน ในความทรงจำของผู้คนชุมชนบางกอก คือศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ มีอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ สองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้คราคร่ำไปด้วยผู้คนที่สัญจรไปมา ค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของ อีกทั้งยังเป็นที่พำนักอาศัยของขุนนางชั้นสูงจำนวนมาก รวมถึงข้าราชการต้นตระกูลบุญนาคด้วย

พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตอนหนึ่ง กล่าวถึงบ้านเรือนของพี่น้องตระกูลบุนนาคว่า ปลูกสร้างใกล้ชิดติดกันอยู่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี โดยที่ดินที่ใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือน เป็นที่ดินซึ่งได้รับพระราชทานมาแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาของบรรพบุรุษต้นตระกูลบุนนาค ที่ดินอันได้มาแต่การพระราชทานนั้น นอกจากจะใช้ปลูกสร้างบ้านเรือนเพื่อพักอาศัยแล้ว ยังได้ถวายแก่วัดวาอาราม เพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจ และเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับอักขระเบื้องต้นของลูกหลานในแถบคลองสานและบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย

Read more »

วัดราชบูรณะ กรุงเทพฯ

1381831728-404

วัดราชบูรณะราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อ “วัดเลียบ” วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า “วัดราชบุรณะ”

ขอขอบคุณ http://www.sukjaiapp.com/

ข้อมูลท่องเที่ยววัดราชบูรณะ เที่ยววัดราชบูรณะ

ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธฝั่งก รุงเทพฯ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดเลียบ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายโดยพ่อค้าชาวจีน วัดนี้เป็นหนึ่งในจำนวนวัดเอกประจำเมือง 3 วัด ได้แก่ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐ์ และวัดมหาธาตุ วัดนี้ได้รับการบูรณะมาตลอดตั้งแต่รัชกาลที่ 1-7 เว้นรัชกาลที่ 6 รัชกาลเดียว ในคราวสงครามมหาเอเซียบูรพา สถานที่สำคัญๆ ของวัดถูกระเบิดพังทลาย โดยเฉพาะพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่งถูกระเบิดทำลายจนหมด ต่อมาได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00–20.00 น. สอบถา มเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2221 3936, 0 2221 9544

ขอขอบคุณ http://www.xn--12cbq7db0dleq0a1df6d5bzc9gxffe.com/

วัด ราชบูรณะ กรุงเทพฯ

ณ บริเวณวงเวียนใต้สะพานพุทธฯ อันเป็นช่วงรอยต่อ ระหว่างแผ่นดินใหญ่กับพื้นที่ของ เกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเชื่อมไปสู่ฝั่งถนน ธนบุรี ตรงถนน พาหุรัด ปากคลองตลาดนั้น มีวัดโบราณอยู่วัดหนึ่ง ซึ่งตั้งเป็นศูนย์กลางของรอยต่อพื้นที่ทั้งหมดที่ว่ามา วัดนี้ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับ โรงเรียน สวนกุหลาบ และอยู่ติดกับอนุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตรงเชิงสะพานพุทธพอดิบพอดี วัดที่ว่านี้ ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า วัด เลียบ วัด เลียบนั้นเป็นวัดที่สร้างขึ้นก่อนที่ กรุงศรีอยุธยาจะแตกเสียอีก และที่มาของคำว่าเลียบนั้นสันนิษฐานว่ามาจากชื่อ ชาวจีนผู้ออกเงินสร้างวัดว่า เลี๊ยบ เรียกไปเรียกมาก็แผลงเป็น เลียบ มาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อกาลล่วงมาถึงยุคที่มีการสถาปนาบางกอกขึ้น เป็นราชธานีใหม่ วัดเลียบซึ่งมีการสร้างขึ้นที่ฝั่งบางกอกมานานแล้ว จึงได้กลายเป็นวัดในราชธานีใหม่ไปโดยปริยาย อีกทั้งวัดนี้ยังได้กลายเป็นอารามหลวงไปด้วย เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงหริรักษ์ ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดเลียบนี้ Read more »

วัดเลียบ นมัสการหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโส กราบพระแก้วนิลกาฬ

FriJanuary2011233233_wat50-1

วัดเลียบ ตั้งอยู่เลขที่ 116 ถนนเขื่อนธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต มีเนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา ก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2391 ตรงกับปลายรัชสมัยพระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รับกาลที่ 3 เป็นวัดที่สร้างขึ้นเลียบคูเมือง เดิมเป็นสำนักสงฆ์สายวิปัสนา สำนักสงฆ์แห่งนี้ มีอายุได้ 44 ปี มีเจ้าอาวาสปกครอง 10 รูป จนมาถึงยุคของพระอาจารย์ทิพย์เสนา ทิพฺพเสโน (แท่นทิพย์) ท่านได้มรณภาพลงเมื่อ พ.ศ.2433 เป็นเหตุให้วัดเลียบร้างคราวหนึ่ง

ในสมัยพระยาสิงหเทพมาเป็นข้าหลวงกำหับราชการเมืองอุบลราชธานี จึงให้ท้าวสิทธิสารบุญชู คือ พระอุบลกาลประชานิจ กับเมืองแสนอุ่น กรมช้างทองจัน พร้อมด้วยญาติวงศ์พากันมาปฏิสังขรณ์วัดเลียบขึ้น แล้วนิมนต์พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร พระอาจารย์ฝ่ายวิปัสนามารองวัด

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีลเถร ได้บุกเบิกเสริมสร้างขึ้นเป้นวัดธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.2534 ในรัชกาลที่ 5 ภายในมีพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์) เป้นเจ้าอาวาส พร้อมด้วยภิกษุ สามเณร ภายนอกมีพระอุบลการประชานิจ (บุญชู พรหมวงศานนท์) พระสุรพลชยากร (อุ่น) ท้าวกรมช้างทองจัน และสังการีจารปัจฌา สังการีจารเกษ และทายิกา ได้พร้อมกันมีศรัทธาขยายพื้นที่วัดเพิ่มเติม โดยสร้างรั้วรอบวัด เสนาสนะและถาวรวัตถุ

Read more »

ความเป็นมาของวัดสมัยกรุงรัตนโกสินทร์( วัดราชบุรณราชวรวิหาร)

หลังจากที่ย้ายเมืองหลวงจากฝั่งธนบุรี มายังฝั่งพระนคร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสร้างกำแพงเมือง ขุดคลองคูเมือง (คลองโอ่งอ่าง) ทำให้วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดที่อยู่ภายในกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณดังกล่าวเป็นจุดหนึ่งที่สำคัญของพระนครทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านยุทธศาสตร์ เป็นจุดผ่านของเรือสินค้าต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขาย และยังใกล้ชุมชน ปากคลองตลาดที่เป็นจุดค้าขายมาตั้งแต่สมัยโบราณ

วัด โบราณ หรือวัดร้าง ที่สร้างมาแต่เดิมในเขตพระนคร ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ จนเป็นพระเพณีพระราชนิยมอย่างหนึ่งของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงส์ เพราะเป็นการสร้างความรุ่งเรืองให้พระนครมีความเจริญเทียบเท่าเมื่อ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ (ในรัชกาลที่ ๑) ทรงมีพระราชศรัทธาจะบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบทั้งพระอาราม และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สถาปนาเป็นพระอารามหลวง และได้รับพระราชทานนามว่า “วัดราชบุรณราชวรวิหาร” ในปี พ.ศ. ๒๓๓๖ เพื่อให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี ที่ว่าเมืองใดเป็นเมืองหลวงจำเป็นต้องมีวัดสำคัญประจำอยู่ ๓ วัด ดังข้อความจากเรื่อง ชุมนุมพระบรมราชาธิบายและประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ กล่าวว่า “ในแผ่นดินไทยแต่โบราณมา เมืองใดเป็นเมืองหลวงในเวลาใดเวลาหนึ่ง เมืองนั้นมักมีวัดสำคัญ ๓ วัด ชื่อต้นคือ วัดมหาธาตุ ๑ วัดราชบุรณะ ๑ วัดราชประดิษฐ์ ๑ ชื่อ ๓ ชื่อนี้กรุงศรีอยุธยาก็มี พิษณุโลกก็มี สุโขทัยก็มี สวรรคโลกก็มี แต่ในกรุงเทพฯ บางกอกนี้ครั้นถึงแผ่นดินที่หนึ่ง สร้างกำแพงลงแล้ว ก็สร้างพระอารามหลวง เป็นแต่แปลงชื่อเก่าที่มีชื่อมาแล้ว คือ วัดสลัก Read more »

ความเป็นมาของวัดสมัยกรุงธนบุรี( วัดราชบุรณราชวรวิหาร)

สมัยกรุงธนบุรี วัดราชบุรณราชวรวิหารเป็นวัดประจำชุมชน มีพระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะจำพรรษาอยู่ และเป็นชุมชนหนึ่งที่อยู่นอกกำแพงพระนคร เพราะส่วนที่เป็นกำแพงพระนครในส่วนของคลองคูเมือง หรือคลองตลาดเท่านั้น ชุมชน วัดเลียบอาจเป็นชุมชนชาวจีน และมีขนาดใหญ่ เนื่องจากต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การย้ายพระนครมาตั้งอยู่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ระหว่าง วัดสลัก กับ วัดโพธิ์ เป็นที่ของพระยาราชาเศรษฐี และชาวจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณวัดจักรวรรดิราชาธิวาส ไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง (วัดปทุมคงคาในปัจจุบัน)

ต่อมาได้ทำการย้ายชุมชนญวน (เพื่อใช้ที่สร้างวัดท่าเตียน พระราชทานแด่สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์) ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบริเวณวัดโพธิ์ไปจรดป้อมบางกอกเดิม มาตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านหม้อ และย่านพาหุรัด ใกล้วัดเลียบ บริเวณชานพระนครที่สร้างใหม่นั้น อาจเป็นพื้นที่ห่างไกล ทำให้ต้องมีการขยายชุมชนออกไปทางใต้ของพระนคร เพราะชานพระนครด้านทิศใต้เป็นที่อยู่ของช่างฝีมือต่างๆ และเป็นย่านการค้า นับตั้งแต่ปากคลองตลาด วัดเลียบ วัดสามปลื้ม ไปถึงย่านสำเพ็ง บ้านหม้อ และพาหุรัด
ขอขอบคุณ http://www.watliab.com/

ความเป็นมาของวัดสมัยกรุงศรีอยุธยา(วัดราชบุรณราชวรวิหาร)

วัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ) เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่งที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมสู่กรุงศรีอยุธยา มีการพัฒนาเส้นทางและชุมชนตลอดมา เมืองบางกอก หรือเมืองธนบุรีสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองสำคัญทางการค้า และเมืองหน้าด่านบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างป้อมปราการขนาดใหญ่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ คือป้อมวิไชยเยนทร์ และป้อมเมืองบางกอกเพื่อเก็บภาษีอากร และป้องกันข้าศึกที่เข้ามา ทาง ปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีเอกสารระบุตำแหน่งของวัดไว้ในแผนที่ที่เขียนโดยชาวต่างชาติ ในกรณีพิพาทระหว่างไทยและฝรั่งเศสสมัยพระเพทราชา การทำแผนที่แสดงตำแหน่งป้องเมืองธนบุรี โดย เมอซิเออร์ วอลลันด์ เด ว์เวอร์ เกนส์ นายทหารชาวฝรั่งเศสที่ทำการรักษาป้อมในครั้งนั้น ในแผนที่แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งของวัดเลียบอยู่ใกล้กับป้อมที่ทหารไทยใช้ ต่อสู้กับฝรั่งเศสในสมัยนั้น

ขอขอบคุณ http://www.watliab.com/

ที่ตั้งของวัด วัดราชบุรณราชวรวิหาร

004

วัดราชบุรณราชวรวิหาร หรือวัดเลียบเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 119 ถ.จัก เพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ทางทิศตะวันออก ของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เชิงสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯลฯ และทางด้านทิศตะวันออก ของพระบรมมหาราชวัง มีถนนจักรเพชรทางด้านหน้าวัดและถนนตรีเพชรผ่านทางด้านข้างวัด

อดีต

๑. สมัยรัชกาลที่๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ วัดราชบุรณราชวรวิหาร ตั้งอยู่ภายในกำแพงพระนครเยื้องกับป้อมจักเพชร ริมถนนพาหุรัด และถนนจักรเพชร อำเภอพาหุรัด จังหวัดพระนคร

๒. สมัยรัชกาลที่ ๖ ถึงรัชกาลที่ ๙ ตั้งอยู่ใกล้เชิงสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯลฯ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีถนนจักรเพชรผ่านทางด้านหน้าวัด และถนนตรีเพชรผ่านทางด้านข้างวัด ทางด้านทิศตะวันตก แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

Read more »

ความเป็นมาของวัดราชบุรณราชวรวิหาร

DTHB1011 Wat Ratchaburana Ratchaworawiharn 2012

ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๑๙ ถนนจักเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร วัด ราชบุรณราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์ มีชื่อเรียกว่า“วัดเลียบ” เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีประวัติการสร้างคือ มีพ่อค้าชาวจีนคนหนึ่งชื่อ “เลี๊ยบ” มาจอดเรือสำเภา พักอาศัยขายของอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อขายสินค้าร่ำรวยขึ้น จีนเลี๊ยบเป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างศาลาไว้ เป็นที่ทำบุญและให้ทานเป็นทำนองศาลาพักร้อน ต่อมาได้มีชาวบ้านมาร่วมทำบุญถวายทานมากขึ้น จึงได้สร้างพระเจดีย์พระวิหารขึ้นเหนือบริเวณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงใกล้กับ ที่ที่ตนเคยอาศัยขายของอยู่นั้นชาวบ้านได้อาศัยศาลาทำบุญถวายทานบ้าง เป็นที่พักร้อนบ้าง เพราะอยู่ใกล้กับฝั่งแม่น้ำ อากาศร่มเย็นจึงได้ชื่อว่า “วัด จีนเลี๊ยบ” ตามชื่อผู้สร้าง อย่างธรรมเนียมคนไทยสมัยโบราณ เมื่อสร้างถาวรวัตถุไว้ในที่ใดที่หนึ่ง มักใช้ชื่อของผู้สร้างนั้นเรียกเพื่อเป็นอนุสรณ์ ต่อมาชาวบ้านคงจะเรียกสั้นเข้า คำว่า “จีน” หายไป เหลือแต่คำว่า “เลี๊ยบ”ซึ่งต่อมากลายเป็น “เลียบ” และเรียกกันติดปากต่อมาว่า “วัดเลียบ” จนถึงปัจจุบัน
อีกนัยหนึ่ง ในอาณาเขตบริเวณที่จีนเลี๊ยบสร้างศาลา พระเจดีย์และพระวิหาร มีต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ “ต้นไม้เลียบ” ขึ้น อยู่เรียงรายรอบๆบริเวณนั้น และมีชื่อคล้องจองกับจีนเลี๊ยบ ต่างกันแต่วรรณยุกต์เท่านั้น ชาวบ้านจึงตั้งชื่อวัดที่จีนเลี๊ยบสร้างว่า “วัดเลียบ” ตามชื่อของพันธ์ไม้นั้น

ขอขอบคุณ http://www.watliab.com/

. . . . . . .
. . . . . . .