จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก

303_1

ชื่อจารึก จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ –
อักษรที่มีในจารึก ขอมอยุธยา
ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
ภาษา บาลี
ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๔๒ บรรทัด (มีอักษรจารึกอยู่ที่ดุม กำ ระหว่างกำ กง ปลาย และข้างพระพุทธบาท)
วัตถุจารึก ศิลา ประเภทหินชนวน
ลักษณะวัตถุ รูปรอยพระพุทธบาท
ขนาดวัตถุ กว้าง ๕๒ ซม. ยาว ๑๓๐ ซม. หนา ๒๓ ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นบ. ๑”
๒) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๕ (มกราคม ๒๕๐๖) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาท อักษรขอมโบราณ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ที่วัดชมภูเวก ต. ท่าทราย อ. เมือง จ. นนทบุรี”
๓) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ กำหนดเป็น “หลักที่ ๘๕ ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก”
๔) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ กำหนดเป็น “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก”
ปีที่พบจารึก วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕
สถานที่พบ วัดชมภูเวก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ผู้พบ นายจำปา เยื้องเจริญ และนายประสาร บุญประคอง
ปัจจุบันอยู่ที่ วัดชมภูเวก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
พิมพ์เผยแพร่ ๑) วารสารศิลปากร ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๕ (มกราคม ๒๕๐๖) : ๕๘-๖๑.
๒) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๓), ๖-๑๐.
๓) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๑๓-๑๑๙.
ประวัติ จารึกนี้มีอักษรปรากฏอยู่ในบริเวณส่วนต่างๆ ของรูปรอยพระพุทธบาท ได้แก่ บริเวณส่วนปลายนิ้วพระบาท ที่กึ่งกลางพระบาททำเป็นรูปล้อเกวียน มีอักษรจารึกอยู่ที่ ดุม กำ ระหว่าง กำ กง และที่ขอบด้านข้างของพระพุทธบาท
เนื้อหาโดยสังเขป คำจารึกเป็นคาถานมัสการพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ซึ่งสัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ
ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
การกำหนดอายุ กองหอสมุดแห่งชาติได้กำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมอยุธยา อายุพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ข้อมูลอ้างอิง เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๗, จาก :
๑) ประสาร บุญประคอง และแสง มนวิทูร, “ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาท อักษรขอมโบราณ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ที่วัดชมภูเวก ต. ท่าทราย อ. เมือง จ. นนทบุรี,” ศิลปากร ๖, ๕ (มกราคม ๒๕๐๖), ๕๘-๖๑.
๒) ประสาร บุญประคอง และแสง มนวิทูร, “หลักที่ ๘๕ ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๓), ๖-๑๐.
๓) ประสาร บุญประคอง และแสง มนวิทูร, “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๑๓-๑๑๙.

ขอขอบคุณ http://www.sac.or.th/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .