“งานบูรณะปิดทองครั้งแรกโลหะปราสาท(เหลือแห่งเดียวในโลกในปัจจุบัน) วัดราชนัดดารามวรวิหาร2556” เพื่อเป็นพุทธบูชาและถวายพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ …พุทธสถานสำคัญ ทรงโปรดสร้างโดย รัชกาลที่ 3 – เสร็จสมบูรณ์ในรัชสมัย รัชกาลที่ 9 ถึงปัจจุบัน(กว่า150ปี) กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณสถานปี 2492 คาดว่าจะใช้งบประมาณปิดทองบูรณะใหม่ทั้งหลัง 160ล้าน+บาท ครับ อนุรักษ์สถาปัตยกรรมสถานสำคัญของชาติ ถนนรราชดำเนินกลาง ใจกลางกรุงรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กทม. เข้าไปช่วยกัน ถูกใจ นะครับ ….ติดตามภาพ และข้อมูลความคืบหน้าการบูรณะครั้งใหญ่นี้จนกว่าจะเสร็จ งานบูรณะปิดทองโลหะปราสาท ครั้งแรก ที่ www.facebook.com/Gold.MetalCastle.Thailand (เข้าไปถูกดูหรือถูกใจเพจได้ )
คาดการบูรณะแล้วเสร็จ ก่อนงานเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชินี 12 ส.ค.2559
สืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นที่ชุ่มชื่นตาชื่นใจในพุทธานุสติ เป็นที่พึ่งสงบสุขใจ ใจกลางพระนครอันแข่งขันและวุ่นวายของสังคมโลก (ทั้งชาวไทยและต่างชาติ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสักการะบูชาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน) Read more »
Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category
มหากุศลงานงานบูรณะปิดทอง โลหะปราสาทวัดราชนัดดา2556-2559
วัดราชนัดดารามวรวิหาร
วัดราชนัดดา” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2389ตรงกับปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในวัดราชนัดดารามนี้ก็ยังเป็นแบบไทย พระอุโบสถเป็นมีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกงดงาม ภายในประดิษฐานพระประธานพระนามว่า “พระเสฏฐตมมุนี” ส่วนพระวิหารก็เป็นศิลปะแบบไทยเช่นกัน ภายในมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นประธาน พระนามว่า “พระพุทธชุติธรรมนราสพ”
ขอขอบคุณ http://www.sukjaiapp.com/
โลหะปราสาท วัดราชนัดดาฯ หนึ่งเดียวในโลก
วัดราชนัดดารามวรวิหาร เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นให้กับพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมมนัสวัฒนาวดี (ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในรีชกาลที่ ๔) ซึ่งท่านเอ็นดูมาก เพราะเป็นหลานกำพร้าค่ะ
โดยที่ท่านได้มอบหมายให้พระยายมราชหาทำเลในการสร้างวัด ซึ่งต่อมาได้เล็งเห็นว่าทิศตะวันออกภายในกำแพงเมืองซึ่งตอนนั้นเป็นสวนผลไม้อยู่น่าจะสร้างได้ จึงกราบทูลล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ ค่ะ ซึ่งท่านก็ทรงเห็นด้วย จึงโปรดให้สร้างวัดสองวัดคือ วัดเทพธิดาราม พระราชทานแก่พระเจ้าลูกเธอพระเองค์เจ้าหญิงวิลาศ
ส่วนโลหะปราสาทนั้น ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเจดีย์ประธานของวัดนี้นั่นเองค่ะ ลักษณะก็เป็นปราสาท ๓ ชั้น ซึ่งยอดทั้งหมด ๓๗ ยอดนั้นก็หมายถึง พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั่นเองค่ะ
ยลโลหะปราสาทหนึ่งเดียวในโลก ที่ วัดราชนัดดาฯ
ในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นั้น นอกจากจะเป็นยุคที่เศรษฐกิจของประเทศสยามจะรุ่งเรืองสุดๆ แล้ว ก็ยังถือว่าเป็นยุคทองของการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกต่างหาก เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีศรัทธาในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก ในสมัยนั้นจึงได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง รวมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์วัดเก่าอีกหลายวัดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวัดราชโอรสาราม วัดเทพธิดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และอีกมากมายหลายวัดซึ่งก็ล้วนแล้วแต่สวยงามต่างกันไป
สำหรับ “วัดราชนัดดาราม ราชวรวิหาร” ที่ฉันจะพามาชมในวันนี้ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2389 ในปลายรัชกาลของพระองค์
ยลโลหะปราสาทหนึ่งเดียวในโลก ที่ วัดราชนัดดาฯ
ส่วนเหตุที่วัดแห่งนี้มีชื่อว่าวัดราชนัดดา หรือแปลว่า หลานของพระมหากษัตริย์นั้นก็เนื่องจากว่าพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี (ภายหลังทรงเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4)
วัดราชนัดดารามวรวิหาร
โลหะปราสาท “วัดราชนัดดารามวรวิหาร” สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3
ชื่อสามัญ
วัดราชนัดดารามวรวิหาร
ประเภท
พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง ถ. มหาไชย แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
( ที่อยู่ : ที่ตั้ง ถ. มหาไชย แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ )
พระประธาน
พระพุทธรูปสำคัญวัด ราชนัดดาราม อยู่ที่ถนนมหาไชย สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี มีเจ้าพระยายมราชเป็นแม่กองออกแบบ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์เป็นแม่กองสร้างโลหะปราสาท วัดนี้แปลกกว่าวัดอื่น คือ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างธรรมเจดีย์ปราสาทแทนการสร้างพระเจดีย์ (นับเป็นแห่งที่ ๓ ของโลก) มีความสูง ๓๖เมตร ประกอบด้วย เจดีย์ล้อมรอบ ๓๗ องค์ เพื่อให้เท่ากับ “โพธิปักขียธรรม ๓๗ ประการ” ปัจจุบันโลหะปราสาทแห่งนี้เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก เนื่องจากโลหะปราสาทที่ประเทศอินเดียและศรีลังกาได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว
ขอขอบคุณ http://www.phuttha.com/
วัดราชนัดดา – โลหะปราสาท และพระบรมสารีริกธาตุ
หลังแรกสร้างในสมัยพุทธกาล ที่ประเทศอินเดีย บริเวณทิศตะวันออกของเมืองสาวัตถีในสมัยก่อน มีเรื่องเล่าว่า นางวิสาขา อุบาสิกาคนสำคัญในพุทธศาสนา ครั้งหนึ่งนางไปฟังธรรมตามปรกติแล้วลืมทิ้งเครื่องประดับอันมีค่าไว้ ปรากฏว่า พระอานนท์ พบเข้าและเก็บรักษาไว้ให้
เมื่อนางวิสาขาทราบความจึงหมายใจจะมอบเครื่องประดับนั้นถวายเป็นพุทธบูชา แต่นั่นเป็นการผิดวินัยสงฆ์ นางจึงออกอุบายขายเครื่องประดับนั้นแต่ด้วยความที่มีราคามหาศาลถึง ๙ โกฏิ (๑ โกฏิ เท่ากับ ๑๐ ล้าน)
โลหะปราสาทหลังที่สองสร้างขึ้นที่อนุราธปุระ หรือเมืองหลวงเก่าของศรีลังกา สร้างขึ้นในสมัยของ พระเจ้าทุฏคามนี ราวพุทธศักราช ๓๘๒ มีขนาดใหญ่โตไม่แพ้หลังแรก มีความสูงถึง ๙ ชั้น มีห้องจำนวน ๑,๐๐๐ ห้องเท่ากัน ประดับด้วยงาช้างและอัญมณีงดงามยิ่งนัก หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ปัจจุบันเหลือเพียงซากเสานับพันต้นเป็นอนุสรณ์
วัดราชนัดดา
วัดสำคัญที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น มีวัดเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งอยู่ฟากฝั่งธนบุรี ในเขตจังหวัดนนทบุรี ส่วนอีก ๒ วัดคือ วัดเทพธิดาราม และวัดราชนัดดา วัดเทพธิดารามกับวัดราชนัดดานั้นอยู่ติดกัน พอลงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เลี้ยวซ้ายก็จะถึงวัดราชนัดดา วัดราชนัดดานี้รัชกาลที่ ๓ สร้างพระราชทานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ “พระนางโสมนัสวัฒนาวดี” ตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นหม่อมเจ้า ด้วยมีพระเมตตาเพราะเห็นว่ากำพร้าบิดาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระนางโสมนัสวัฒนาวดีเป็นธิดาของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณกับหม่อมงิ้ว พอประสูติได้ปีเดียว พระบิดาก็สิ้นพระชนม์ พอถึงคราวที่พระเจ้าหลานเธอจะเกศากันต์ (โกนจุก) จึงสร้างวัดนี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระนางโสมนัสวัฒนาวดี ทรงเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แต่มีอายุสั้นนักจึงสิ้นพระชนม์เมื่อมีอายุเพียง ๑๙ พรรษา เป็นความอาลัยรักแก่พระราชสวามี รัชกาลที่ ๔ จึงทรงสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลขึ้นใหม่ คือสร้างวัด “โสมนัสวิหาร” และก่อนที่รัชกาลที่ ๓ จะสวรรคตนั้น ได้เคยมีพระราชแระแสกับเสนาบดีผู้ใหม่ไว้ว่า “ทุกวันนี้คิดสละห่อวงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัดสร้างไว้ใหญ่ สร้างไว้โตหลายวัด ที่ยังค้างอยยู่ก็มี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไป จะไม่มีผู้ช่วยบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือ จับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ ๔ หมื่นชั่ง ขอสักหมื่นเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขา ขอเงินรายนี้ให้ช่วยทะนุบำรุงวัดที่ชำรุด และวัดที่ยังค้างอยู่นั้นเสียให้แล้วด้วย”
ด้วยพระราชกระแสนี้ทำให้ รัชกาลที่ ๔ ไม่ทำนุบำรุงวัดราชนัดดา แต่กลับไปโปรดสร้างวัดโสมนัสวิหารแทน ซึ่งเป็นการสร้างเพื่อองค์เดียวกัน คือ พระเจ้เาหลานเธอของรัชกาลที่ ๓ และเป็นพระมเหสีของรัชกาลที่ ๔
Read more »
วัดราชนัดดาราม “ประตู” สู่กรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชนัดดารามเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น ณ ริมคลองรอบกรุง ด้านทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัส พระราชนัดดาองค์เดียวที่ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าฯ ดำรงพระอิสริยยศเสมอพระราชโอรสธิดา ซึ่งในรัชกาลต่อมา พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระนางนาฏโสมนัสวัฒนาวดี บรมอัครราชเทวี พระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น วัดราชนัดดารามจึงเป็นพุทธสถานที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น
นอกจากจะเป็นพระอารามที่แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อพระราชนัดดาแล้ว ยังเป็นปูชนียสถานที่มีความพิเศษไม่เหมือนที่ใด เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโลหะปราสาทแห่งที่สามของโลก และเป็นโลหะปราสาทที่เหลือเพียงแห่งเดียวในโลก
วัดราชนัดดาราม วรวิหาร
รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานแก่พระเจ้าหลานเธอ หม่อมเจ้าหญิงโสมนัส ซึ่งต่อมาภายหลังรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี
พระอุโบสถ สร้างแบบศิลปะสมัยรัชกาลที่ 3 เสาพาไลสี่เหลี่ยม หน้าบันเป็นลายปูนปั้น พระประธาน
หล่อด้วยทองแดง รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามว่า “พระเสฏฐตมุนี”
โลหปราสาท เป็นปราสาทศิลปะไทยองค์แรกและองค์เดียวของไทยและถือเป็นองค์ที่ 3 ของโลก
เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 แล้วเสร็จและปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
ในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 โดยยอดปราสาท 37 ยอดนั้นหมายถึงโพธิ์ปักขิยธรรม 37 ประการ ห้องกลางมีบันไดไม้เวียนรอบแกน
ที่เป็นเสาไม้ใหญ่ขึ้นไปข้างบน ตรงกลางสร้างเป็นมณฑปภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
กุฏิสงฆ์และหอระฆัง สร้างแบบศิลปะสมัยรัชกาลที่ 3 จากถนนกลางวัดด้านข้างหอระฆังสามารถเดินผ่านสะพานข้ามคลองไปยังวัดเทพธิดาราม
ที่สร้างอยู่คู่กันได้ด้วย
ขอขอบคุณ http://www.tripsthailand.com/
วัดราชนัดดารามวรวิหาร โลหะปราสาท
ตั้งอยู่ใกล้กับป้อมมหากาฬ ติดกับลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
ซึ่งเป็นพลับพลารับแขกเมือง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ใกล้กับวัดเทพธิดาราม
ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2389
บนสวนผลไม้เก่าเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ พระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา
คือ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโลหะปราสาท
แทนการสร้างเจดีย์ นับเป็นโลหะปราสาทแห่งที่ 3 ของโลก
โดยสร้างเป็นอาคาร 7 ชั้น มียอดปราสาท 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรม
ในพระพุทธศาสนา 37 ประการ ยอดปราสาทชั้น 7 เป็นที่ประดิษฐาน
พระบรมสารีริกธาตุ กลางปราสาทเป็นช่องกลวง มีบันไดเวียน 67 ขั้น
ให้เดินขึ้นไปดูทิวทัศน์ข้างบนได้
วัดราชนัดดาราม กรุงเทพ
วัดราชนัดดาราม สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เพื่อพระราชทานให้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระราชนัดดา ซึ่งต่อมาเป็นพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๔
จุดเด่นของวัดราชนัดดารามที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ โลหะปราสาท ซึ่งตั้งเด่นเป็นสง่า สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ แต่ก็มาเสร็จสมบูรณ์เอาในสมัยรัชกาลที่ ๙ นี่เอง ใช้เวลาสร้างกว่า ๑๖๐ ปี โลหะปราสาทที่วัดราชนัดดารามนับเป็นหนึ่งในสามแห่งของโลก และเป็นแห่งเดียวที่ยังคงเหลืออย่างสมบูรณ์ แห่งแรกที่อินเดียนั้นพังทลายไม่เหลือซาก ส่วนแห่งที่สองที่ศรีลังกาก็พังทลายเหลือแต่กองอิฐ ที่เรียกว่าโลหะปราสาท ไม่ได้หมายความว่าตัวปราสาททั้งหมดทำมาจากโลหะ แต่ทำจากโลหะแค่ยอดดำๆ ทั้ง ๓๗ ยอดเท่านั้นเอง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ-วัดราชนัดดารามวรวิหาร
พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงไทยจั่วซ้อน 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีน้ำเงินและสีเหลือง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ที่ชั้นลด หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังมีลวดลายเหมือนกัน คือหน้าบันสลักไม้ลายใบเทศ มีการออกลายให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสามเหลี่ยมหน้าบัน โดยใช้ดอกลายเป็นตัวเชื่อม ส่วนล่างหน้าบันสลักเป็นลายกระจังปฏิญาณ ลายประจำยามก้ามปู และลายกระจังรวน การทำหน้าบันสลักไม้ในสมัยรัชกาลที่ 3 มักสลักเป็นภาพนูนต่ำ ลงรักปิดทองกระจกสี ประดับกระจกสี ปิดทองบานประตู หน้าต่าง ด้านนอกเป็นลายรดน้ำพุ่มข้าวบิณฑ์ กลางดอกลายเทพพนม บานประตูหน้าต่างด้านในและส่วนลึกของช่องประตูเป็นภาพเขียนสีลายทวารบาล ส่วนลึกของบานหน้าต่างเป็นภาพรามเกียรติ์และอดีตชาติของพระพุทธเจ้า บานหน้าต่างด้านในเป็นรูปเทพต่าง ๆ ฐานพระอุโบสถยกพื้น 2 ชั้น ฐานชั้นแรกตั้งเสาระเบียงรองรับเชิงชายหน้าจั่วและหลังคา เสาเป็นเสาเหลี่ยมลบมุมไม่มีลวดลายที่ปลายเสา มีระเบียงรอบพระอุโบสถ ปลายเสาบันไดประดับด้วยสิงโตหิน ภายในพระอุโบสถมีดาวเพดานเขียนสี ฝาผนังตรงข้ามพระประธานมีรูปเหมือนของเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ส่วนบนของภาพนี้เป็นภาพแสดงนรกภูมิ ส่วนฝาผนังอีก 3 ด้าน เป็นภาพแดนสวรรค์และภาพเทพชุมนุม ภาพเหล่านี้เขียนด้วยสีฝุ่นทำให้ชำรุดลบเลือนได้ง่าย
วัดราชนัดดารามวรวิหาร
ที่ตั้ง เลขที่ 70 ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพ
อาณาเขต
ทิศเหนือ จรด ราชดำเนินกลาง
ทิศใต้ จรด คลองวัดเทพธิดาราม
ทิศตะวันออก จรด ถนนมหาไชย
ทิศตะวันตก จรด ถนนซอยวัดราชนัดดาราม ถนนบ้านดินสอ
ประวัติ
วัดราชนัดดารามวรวิหารเป็นพระอารามชั้นตรีชนิดวรวิหาร พระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี (ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระอัครมเหสีองค์แรกของรัชกาลที่ 4 มีพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีบรมราชเทวี) จึงทรงพระราชทานนามว่าวัดราชนัดดาราม เมื่อ ปี พ.ศ.2386
วัดราชนัดดาราม วรวิหาร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
วัดราชนัดดารามวรวิหาร (วัดราชนัดดา) เป็นวัดสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ใกล้กับป้อมมหากาฬ ติดกับลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ซึ่งเป็นพลับพลารับแขกเมือง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างบนสวนผลไม้เก่าเนื้อที่ประมาณ ๒๕ ไร่ เพื่อพระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี (ซึ่งภายหลังเป็นพระมเหสีในรัชกาลที่ ๔) โดยทั้งสองพระองค์เสด็จวางศิลาฤกษ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙
ดเด่นของวัดราชนัดดาที่ประชาชนมองเห็นได้ทั่วไปเมื่อผ่านมาทางถนนพระราชดำเนิน คือ โลหะปราสาท ซึ่งสร้างโดยพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้สเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ เนื่องจากทรงมีพระราชศรัทธาทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทรงทราบว่าในสมัยโบราณมีการสร้างโลหะปราสาทเพียง ๒ ครั้งในโลก คือ หลังแรกนางวิสาขา แห่งเมืองสาวัตถี สร้างยอดปราสาททำด้วยทองคำ หลังที่สอง พระเจ้าทุฏฐคามณี แห่งกรุงอนุราธปุระ ลังกา ทรงสร้างเมื่อราว พ.ศ. ๓๘๒ หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างโลหะปราสาทเพื่อเป็นเกียรติแก่พระนครแทนการสร้างพระเจดีย์เช่นพระอารามอื่น นับเป็นโลหะปราสาทแห่งที่ ๓ ของโลก โดยสร้างเป็นปราสาทสูง ๓ ชั้น มียอดทั้งหมด ๓๗ ยอด กลางปราสาทเป็นช่องกลวง มีบันไดเวียน ๖๗ ขั้น ให้เดินขึ้นไปดูทิวทัศน์ข้างบนได้
โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร
โลหะปราสาทสร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโลหะปราสาทองค์แรกและองค์เดียวของไทย และถือเป็นองค์ที่ 3 ของโลก สร้างอยู่ในพื้นที่วัดราชนัดดาราม และอยู่ในบริเวณ ลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร ยอดปราสาทประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
โลหะปราสาท ตั้งอยู่ ณ ด้านตะวันตกของพระอุโบสถ ก่อสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนการสร้างเจดีย์ โลหะปราสาทนี้ สร้างขึ้นตามประวัติพระพุทธศาสนา ถือเป็นโลหะปราสาทองค์ที่ 3 ของโลก โดยโลหะปราสาทหลังแรก สร้างขึ้นในสมัยพุทธกาลโดยนางวิสาขามหาอุบาสิกา บุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี เป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง ยอดปราสาททำด้วยทองคำ ที่ชื่อว่า “มิคารมาตุปราสาท” ส่วนโลหะปราสาทหลังที่ 2 สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระลังกา ในราวปีพุทธศักราช 382 เป็นปราสาท 9 ชั้น 1,000 ห้อง มีความกว้างและความสูงแต่ละด้าน 100 ศอก หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง