วัดคีรีวงศ์ เดิมเป็นวัดร้างกลางป่าเขา มีพระธุดงค์จาริกมาพบเมื่อปี 2504 ปัจจุบันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครสวรรค์ มีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาปฏิบัติกิจกรรมทางพุทธศาสนาเป็นประจำ
ตั้งอยู่ถนนมาตุลีและถนนดาวดึงส์ ตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ และบริษัทถาวรฟาร์ม ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ มีพื้นที่ของวัดทั้งบนเขาและที่ราบ ประมาณ 280 ไร่
ปัจจุบัน วัดคีรีวงศ์ มีพระราชพรหมาจารย์ (บุญรอด ป.ธ.5) เป็นเจ้าอาวาส และเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ รับผิดชอบงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พระวิปัสสนาจารย์
■พระครูนิยมกิจจานุกิจ โทร.089 8591511
■พระครูสังฆรักษ์สมหวัง ปิยธมฺโม
วิทยากร
■พระครูใบฎีกาสุธัน อิสฺสโร โทร.086 6201356
■พระใบฎีกาธนาชัย ตนฺติปาโล โทร.083 6275333
การอบรม
กำหนดการปฏิบัติธรรมประจำปี
24 – 30 มีนาคม ของทุกปี
20 – 24 สิงหาคม ของทุกปี
2 – 6 ธันวาคม ของทุกปี
การบวชศีลจารินี คือการบวชด้วยการ นุ่งขาว ใส่ขาว ไม่โกนผม รักษาศีล 8 รับประทานอาหารมังสวิรัติ เพื่ออบรมธรรมะและเจริญภาวนา จากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ คุณธรรม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมให้สตรีได้บำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ การออกบวชเพื่ออบรมธรรมะเจริญภาวนา
2.เพื่อให้สตรีได้มีโอกาสฝึกอบรมจิตใจ ให้มีความสงบสุข
3.เพื่อให้สตรีได้เข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จักได้นำไปปฎิบัติและอบรมลูกหลาน หรือเผยแผ่แก่ผู้อื่นต่อไป
4.เพื่อให้สตรีที่ได้อบรมธรรมะแล้ว เป็นกำลังช่วยกันส่งเสริมทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงตลอดไป
5.เพื่อให้เกิดสติปัญญา มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง ให้เกิดความรักความสามัคคีอันจะเป็นกำลัง ช่วยกัน รักษาชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่ชั่วกาลนาน
ระเบียบสำนักปฏิบัติธรรม
1.ผู้เข้ารับการฝึกอบรม พึงมีศรัทธาและความเพียรให้มั่นคง แน่วแน่
2.อยู่แบบผู้ปฏิบัติธรรม สันโดษ เรียบง่าย รู้จักประมาณในการบริโภค นอนพอประมาณ ทำความเพียรให้มาก
3.สำรวมกาย วาจา ใจ และสำรวมอินทรีย์ ๖ ทุกอิริยาบถ ไม่พูดคุยสังสรรค์กับผู้ปฏิบัติด้วยกันหรือคนภายนอก
4.รักษาความสะอาด ที่พัก ของใช้ส่วนตัวหรือของวัด และห้องสุขา เป็นต้น
5.แต่งตัวให้เรียบร้อยในขณะปฏิบัติกรรมฐาน เว้นแต่เวลาพักผ่อนหลับนอน
6.ห้ามสูบบุหรี่และสิ่งเสพติดทุกชนิด
7.ห้ามจับกลุ่มคุยกันหรือพูดเสียงดัง
8.ห้ามอ่านหนังสือพิมพ์หรือฟังวิทยุ
9.ห้ามออกนอกวัด หากจำเป็นจะซี้อสิ่งของหรือยาให้บอกเจ้าหน้าที่ บริการซื้อให้
10.เข้าห้องประชุม ไปปฏิบัติธรรมหรือไปรับประทานอาหาร ตามกำหนดเวลาในตารางอบรม
11.เคารพ เชื่อฟัง พระอาจารย์ผู้ควมคุมการปฏิบัติธรรม ทำตัวเหมือนกับนักเรียนที่ดี
12.ขณะสอบอารมณ์ เล่าอารมณ์ตามความเป็นจริงทั้งที่ดีและไม่ดี ให้พระอาจารย์ฟัง เพื่อที่พระอาจารย์ จะได้แก้อารมณ์ได้ถูกต้อง
ขอให้ท่านปฏิบัติตามระเบียบนี้อย่างเคร่งครัดด้วย ขออนุโมทนา และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ และตั้งใจปฏิบัติด้วยศรัทธา และจริงใจ ขออวยพรให้ท่านประสบผลสำเร็จโดยทั่วกัน
ขอขอบคุณ http://www.sptcenter.org