ไหว้พระ 9 วัด จังหวัดสมุทรปราการ

1. วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร

1210478436

ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เจ้านายและขุนนางนิยมสร้างวัดกันมาก หลายวัดได้กลายเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา วันนี้ก็สร้างขึ้นในยุคนี้เช่นกัน พระอุโบสถและวิหารได้รับอิทธิพลศิลปะจีนซึ่งเป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นและเครือ่งถ้วยชามลายครามอย่างจีน ฝีมือประณีตงดงามมาก
ตามความเห็นของผม ..คือที่วัดนี้ ที่อุโบสถและวิหาร ไม่มี ขี้นกพิราบ สะอาดน่านั่งพักสงบจิตใจร่มเย็นดีเหลือเกินเลยครับ..

ประวัติของวัดนี้มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพระ ราชพงศาวดารัชกาลที่ ๒
สมเด็จกรมพระยา ดำรงทรงพระนิพนธ์กล่าวถึงวัดนี้ว่า

“ในคราวเมื่อสร้างป้อมเมืองสมุทรปราการนั้น ทรงพระ ราชดำริว่าป้อมที่ได้สร้างขึ้นที่เมืองนคร เขื่อนขันธ์แต่ก่อน ยังคงค้างอยู่ไม่สำเร็จบริบูรณ์
จึงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิ พลเสพเป็นแม่กองทำการสร้างเมืองนครเขื่อน ขันธ์ที่ยังค้างอยู่
นอกจากนี้ยังได้สร้างป้อมขึ้นอีกป้อม หนึ่ง ชื่อ ป้อมเพชรหึง
และให้ขุดคลองลัดหลังเมือง นครเขื่อนขันธ์คลองหนึ่ง มาทะลุออกคลองตาลาว คลองลัดที่ขุดใหม่นี้เมื่อขุดนั้น กว้าง ๖ วา ลึก ๕ ศอกยาว ๕๐ เส้น
กรมหมื่นศักดิพล เสพ ทรงสร้างวัดขึ้นในคลองที่ขุดใหม่วัด หนึ่ง
พระราชทานนามว่า “วัดไพชยนต์พลเสพ ”
พระยาเพชรพิไชย (เกษ) ซึ่งเป็น นายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ สร้างวัดขึ้นอีก วัดหนึ่งตรงข้ามวัดไพชยนต์ฯ ชื่อ วัดโปรดเกศ เชษฐาราม
ยังเป็นอารามหลวงอยู่จนทุกวันนี้ ทั้ง ๒ วัด
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานเกี่ยว กับการตั้งชื่อวัดนี้ว่า ในรัชกาลที่ ๒ เห็นจะเรียกว่า “วัดกรมศักดิ์” หรือ “วัดปากลัด”

พอถึงรัชกาลที่ ๓ คนทั้งหลายก็คงจะเรียกว่า “วัดวัง หน้า”
การที่ในพระราชพงศาวดาอ้างว่า นาม “วัดไพชยนต์พลเสพ” นั้น พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย คงจะไม่ได้เป็นผู้ พระราชทานนามนี้ไว้ตั้งแต่แรกสร้าง กรม พระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงพระวินิจฉัยจาก เค้าเงื่อนใน “สารน์สมเด็จ” ว่าผู้ที่พระ ราชทานนามว่า “วัดไพชยนต์พลเสพ” คือ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
บุษบกยอดปรางค์ นี้ กรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ ๑
ทรงสร้างประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์
มีเรื่องปรากฎว่า เมื่อกรมพระ ราชวังบวรฯ พระองค์นั้นสวรรคตแล้ว
การพิทักษ์ รักษาในวังหน้าก็หละหลวมถึงผู้ร้ายขึ้นลักเครื่องบูชาในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระบาทสมเด็จพระพุทยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดฯ ให้ อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ปรากฏในจด หมายเหตุครั้งรัชกาลที่ ๓ ว่าตั้งไว้บน ฐานชุกชีทางด้านใต้)

แต่บุษบกยอดปรางค์นั้น ยังตั้งอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จนสิ้นรัชกาลที่ ๑

ครั้นถึงรัชกาลที่ ๒ ได้เชิญพระพุทธสิหิงค์ไปไว้วังหน้า ( จะเอาไปไว้ที่ไหนไม่ปรากฏ) แล้วตั้ง พระที่นั่งเศวตฉัตรในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แทนบุษบกนั้น

ถึงรัชกาลที่ ๓ กรมพระราช วังบวรมหาศักดิพลเสพ จึงโปรดฯให้เอายอด ปรางค์นั้นไปตั้งเป็นที่ประดิษฐานพระประธานที่ใน พระอุโบสถวัดไพชยนต์พลเสพ ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์ได้ทรงสร้างขึ้น

(ตามรูปข้างบนครับ ในอโบสถ สงบร่มเย็นเงียบ ๆ ผุ้คนไม่พลุกพล่าน พอดีวันที่เดินทางไป มีการบวชนาคด้วยครับ..
ด้วยเป็นทัวร์ไหว้พระ 9 วัด แล้วดันแถม ตลาดบางน้ำผึ้งไปด้วย คนจัดก็เลย ต้องเร่งลูกทัวร์(ลูกค้า+พี่+ป้า+น้า+อา) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสตรี ให้รีบทำเวลา ที่ทุกคนให้ความร่วมมือก็เพราะว่า อยากไปตลาดน้ำ ซึ่งในโปรแกรมเดิมของเราจะไม่มี..แค่ 9 วัดนี่ก็จะแย่อยู่แล้ว ปกติท่าจะในกทม. วัดใกล้ ๆ กันแค่เอื้อม แต่ว่า..บางที หาที่จอดรถไม่ได้เดินไกล วัดแต่ละวัดมีที่น่าสนใจมาก ๆ ก็เลยทำเวลาไม่ค่อยได้..

วัดที่สอง..

วัดโปรดเกศเชษฐาราม

1210480884
ขับรถออกจากวัดที่ 1 มาแค่นิดเดียว อันที่จริงมองจากหน้าโบสถ์อีกวัดก็จะเห็นรั้ววัดนี้แล้วครับ เพียงแต่มีคลองมากั้นไว้..(ตามประวัติด้านบน)
จากมุมที่ผมเดินไปถ่ายภาพแบบรีบถ่ายมาก คาดว่าเมื่อก่อนคงเป็นหน้าวัด เพราะเป็นการเดินทาง ทางเรือ ทางน้ำ แต่ปัจจุบันกลายเป็นหลังวัดไปแล้ว..
วัดนี้ ความรู้สึกแรกที่เข้าไป ต้องใช้คำว่าจุ๋มจิ๋ม คือ สิ่งปลูกสร้าง ไม่ใหญ่โตมากนัก และวันนี้ก็มีบวชนาคเหมือนเหมือนวัดที่หนึ่ง พวกเราจึงได้เข้าโบสถ์ครับ เลยไปไหว้พระที่วิหารพระนอน..

สำหรับท่านที่ชอบ สะเดาะเคราะห์เสริมดวงชะตา ทำบุญโลงศพ ถวายสังฆทาน ฯลฯ วัตถุมงคล โดยเฉพาะองค์พระพิฆเนศ ยอมรับว่าที่วางไว้ในตู้ สวยงามและหลากหลายทีเดียวครับ คือมีกิจกรรมให้ท่านได้ใช้เวลาอยู่ที่นี่นานแหล่ะครับ..

อ้อ สำหรับ ผมเอง โดยส่วนตัวเเล้ว เวลาไปไหว้พระ ก็จะเริ่มต้นที่การสมาทาทานศีลห้า..สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยย่อ ..บางทีถ้าวัดไหนสงบ ๆ ก็จะสวดมนต์บทใหญ่ ๆ เช่นพาหุง มหากาฯ หรือไม่ชินบัญชร หลังจากนั้นก็ทำบุญ ตามเห็นสมควร เช่นค่าน้ำค่าไฟ บำรุงสถานที่ หากมีสิ่งปลูกสร้างใหม่ ๆ ก็จะร่วมมากหน่อย แต่ถ้าเป็นการทำนุบำรุงก็พอประมาณ

เทคนิคการทำบุญ
การให้ก็ดีใจ ระหว่างให้ก็เลื่อมใส หลังจากที่ให้แล้ว ก็ให้ระลึกนึกถึงด้วยความปลาบปลื้มใจ..
เรื่องของบุญกุศลมามากมายทีเดียวจะค่อย ๆ ทยอยออกมาให้สมกับที่ไปบวชอยู่วัดถึง ห้าปี..
(ไม่ได้อกหักนะ)

เป็นรูปพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุครับ
ผมคงไม่อธิบายมาก หากสนใจก็ เข้ากูเกิ้ล ต่อยอดกันเอาเองเด้อ..เรื่องมันจะยาว..

..ครับประดิษฐานไว้ในตู้บนฐานชุกชี ของพระนอนแหล่ะครับ..

เอาประวัติของวัดไปด้วยนิดหนึ่งแล้วกันครับ เพื่อเพิ่มความศรัทธาให้ยิ่ง ๆ ขึ้น

เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดปากคลอง มีเพียงศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ครั้นมีการสร้างวัดไพชยนต์ฯ มีวัสดุเหลืออยู่ พระยาเพชรพิไชย (พระพี่เลี้ยงในสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ) จึงนำมาสร้างวัดแห่งน้ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง พระบาทสมเด็จฯ ร.3 พระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ร่วมด้วย ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง

สิ่งที่น่าสนใจ

พระอุโบสถไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถาประดับเครื่องลายคราม ภายในมีพระประธานหล่อด้วยโลหะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระวิหารมีลักษณะสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธไสยาสน์พระพักตร์งามมาก

นอกจากนี้ยังมีพระมณฑป(กลางน้ำ)
หลังคามุงด้วยกระเบื้องรายรอบด้วยเก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ มีพระปรางค์ที่มุมทั้ง 4 ด้าน ภายในพระมณฑปมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทจำลองประดับมุข

สรุปที่พวกเรา สละปัจจัยใส่บาตรพระใหม่..(เขาว่าได้บุญเยอะ)

ต่อวัดที่สามกันเลยครับ..

วัดทรงธรรมวรวิหาร

1210482731
ชมเจดีย์รามัญยอดฉัตรทอง

วัดนี้หาง่าย ที่จอดรถสะดวกทั้งประตูด้านข้างและด้านหน้าครับ..

วัดนี้ในวันนั้นก็มีการบวชนาคเหมือนเดิม แถมมีญาติพ่อนาค(อนาคตพระ) นั่งกันอยู่แถว ๆ พระวิหาร พวกเราเดินผ่านก็เลยมีอาการเขิลนิด ๆ นิดเดียว
ครับ..

ประวัติ

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 เพื่อให้ชาวมอญในนครเขื่อนขันธ์มีที่บำเพ็ญกุศล ถือเป็นวัดรามัญแห่งแรกของพระประแดง ที่ตั้งของวัดเดิมอยู่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ต่อมารัชกาลที่ 2 โปรดฯ ให้สร้างป้อมเพชรหึงในเขตวัด จึงต้องย้ายวัดเข้ามาอยู่ด้านในกำแพงป้อม พร้อมกับสร้างศาลาการเปรียญขึ้น ศาลาหลังนี้เคยเป็นศาลาทรงธรรมในรัชกาลที่ 2 และกรมพระราชวังบวรสถานมงคล อันเป็นที่มาของชื่อวัดทรงธรรม

อีกตานหนึ่งระบุว่า วัดทรงธรรม มาจากคำมอญ ว่า “เมินโท” แปลว่าผู้ทรงธรรม วัดนี้ได้รับการบูรณะในสมัยราชกาลที่ 3 เนื่องจากเป็นพระอารามหลวง จึงได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินทุกปี รัชกาลที่ 3-5 รวมถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ก็เคยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระกฐินด้วยพระองค์เอง

เพิ่มข้อมูลอีกนิดนะครับ อย่าเบื่ออ่านเลย..

ถ้าเราเข้าไปยังวัดที่เป็นวัดมอญ สร้างโดยคนมอญ หงสาวดีที่อพยพมาจากประเทศพม่า จะมีเสาหงส์
หงส์เป็นสัตว์ในตำนานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเมืองหงสาวดี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมอญ คือเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเวไนยสัตว์มาถึงภูเขาสุทัศนมรังสิต ได้ทอดพระเนตรเห็นเนินดินกลางทะเล มีหงส์สองตัวยืนอยู่ จึงมีพุทธทำนายว่า ภายหน้าเนินดินนี้จะเป็นมหานครชื่อหงสาวดี เป็นที่ตั้งพระธาตุสถูปเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว 1,000 ปี ทะเลบริเวณนี้ก็ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน และเป็นที่ตั้งเมืองหงสาวดีในที่สุดสิ่งสำคัญภายในวัด

พระอุโบสถ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3 ในยุคที่พระยาดำรงพลขันธ์เป็นเจ้าเมืองพระประแดง เป็นอูโบสถก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก
จุดเด่น คือมีเสากลมคุ่ขนาดใหญ่รอบพระอุโบสถถึง 56ต้น หน้าบันสองด้านประดับลายปูนปั้น

อดีตเป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยวของข้าราชการในพระประแดง พระประธานภายในเป็นพระพุทธรูปสุโขทัยปางมารวิชัย ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้อัญเชิญมาจากกรุงเทพฯ ในครั้งที่มาทรงทอดผ้าพระกฐิน

พระวิหาร อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ สร้าเมื่อ พ.ศ. 2401ซ่อมแซม 2455

พระเจดีย์รามัญ ตั้งอยู่ข้างพระวิหาร (ปกติแล้วเราไหว้พระในวิหารก็จะไหว้เจดียืไปด้วย) ยอดเจดีย์เป็นฉัตรทอง มีการบรรจุพระเครือ่งในองค์เจดีย์ พ.ศ. 2500 ฐานทั้งสี่มุมล้อมรอบด้วยเจดีย์องค์เล็กแบบรามัญ

สาธุ
ได้สามวัดแล้วนะ
เวลาเราเดินทางไปจริง ๆ แดดร้อนมากครับ แดดร้อนแบบฟ้าสูงท่านว่าในที่สุดฝนจะต้องตกไม่ตอนเย็นก็ค่ำ และก็เป็นไปอย่างนั้นจริง ๆ
ซึ่งตอนนี้ก็ฟ้าฉ่ำฝน..พาลทำให้คนอัพบล็อก ง่วงนอน+หิวข้าว..

ต่อกันที่วัดที่สี่ละกันครับ
เราเปลี่ยนโปรแกรมเพราะพี่สาวที่ วัดที่สอง(โปรดเกศ)
ได้บอกว่า มีวัด จากแดง น่าสนใจนะ..ไปเลย ไปเลย..ยุ แบบนี้ก็ไปซิ..
เราให้คนขับรถตู้ พาออกจากวัดทรงธรรม เลี้ยวซ้าย ลอดใต้สะพานที่สูงมาก ๆ สะพานกาญจนาภิเษก…มีสวนสาธารณะใต้สะพานด้วย เราก็นึกถึงเจ้าของที่ดินเดิมที่ย้ายนะไป ป่านนี้ทำอะไรกันอยู่จะคิดถึงบ้านบ้างไหม แต่ก็ต้องเสียสละกันหล่ะนะ..

พอรถข้ามสะพานมาแล้วจะพบวัดคันลัด แต่..ไม่เปิดอุบโสถให้เข้าไปทำกิจกรรมครับ มีพระพุทธรูปในวิหารเล็ก ๆ เท่านั้น..(สงสัยกลัวมือดีตาดีมามอง)
เราก็เลยผ่านไปวัดจากแดงครับ ขับไปเรื่อย อยู่ ขวามือ..
เข้าไปทีแรก..เราก็นึกว่าไม่มีอะไร แต่ที่ไหนได้..ซ่อนตัวอยู่หลังวัดครับ..

วัดที่ 4 วัดจากแดง
1210487523

สำหรับคนที่ชอบโคลงกลอน จะมีป้ายแบบนี้ให้อ่านรอบ ๆ เลยครับ
สำหรับผม ถ่ายรูปมาอ่านแทนเพราะว่า อากาศร้อนมากครับ
ต่อไปเป็นรูปภายในโอมครับ
หลวงพ่อเมตตาจำลองครับ องค์จริง อยู่ในวิหารพุทธคยาประเทศอินเดีย

ด้วยเคยไปไหว้องค์จริงมาแล้วก็เลยน้อมกราบไหว้อย่างงดงามครับนอกจากนั้นภายในยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้กราบไหว้ด้วย..

อะอะ ไม่เชื่ออย่าหลบหลู่ สิ่งเหล่านี้ ผมเจอมากับตัวเอง..ความศรัทธาที่มีต่อพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุเจดีย์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ธรรมะและการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ชั่วระยะเวลาแค่ 2-3 ปีที่ผมเดินบนเส้นทางศรัทธา ความปรารถนาอยากลองของ ก็มีครับ..
ผมเคยอฺธิษฐานว่า ขอให้ได้มีโอกาสไปไหว้พระธาตุเจดีย์ทั่วไทย(เราได้ไปจนนับไม่ถ้วนสมใจ) พอเป็นอย่างนั้น อธิษฐานใหม่ ขอให้ได้ไปอินเดียเป็นอัศจรรย์..ครับ ไปมาแล้วสองรอบ ด้วยทุน(เต็มใจให้ด้วย) จากคนอื่นครับ..

ครับ สรุปวัดจากแดง
บรรยากาศดี มีศาลาริมน้ำเหมาะแก่การใช้เวลาว่างนั่งอ่านหนังสือสักเล่ม อากาศเย็นสบาย มีวิวคลายเคลียดได้ แต่ในทางกลับกัน ที่ศาลาริมน้ำอาจจะมีใครบางคู่ คิดมิดีมิร้าย ขอร้องเถอะ..อย่าเลย..

ห้องน้ำวัดนี้สะอาดมากครับตอนที่ไป มีคณะจากญี่ปุ่นมานั่งสเก็ตภาพเจดีย์กันด้วยครับ รู้ประวัติวัดนี้ไม่มาก แต่ถ้าใครรู้เพิ่มก็บอกได้นะครับ..

สาธุ

ออกจากวัดจากแดง วัดที่สี่ เวลาประมาณ 4 โมงห้าสิบ เราตั้งใจจะไปวัดที่ห้าคือวัด ป่าเกด แต่ว่า…คนขับรถตู้คันหน้า พาเลยวัด ไกด์ที่อยู่ด้านหลังก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เพราะอยากนำหน้าเราเอง เลยก็เลยไป แถมไม่โทรไปบอกอีกว่าเลยแล้ว ก็ขับตามกันไป..อิอิ..ดีสม..

ไหน ๆ ก็เลยวัดแล้ว เราก็เลย แวะตลาดน้ำบางน้ำผึ้งกันซะเลย
ให้เวลาเต็มที่ครับ 11.00-1230 น. ใครมาช้าจะถูกยางวงดีด

พอเข้าตลาด อารมณ์เปลี่ยนกันเลยครับ..
กรี๊ดกร๊าด ดี้ด๋ากันใหญ่(รวมถึงตัวผมด้วยครับป
คงไม่เล่าอะไรมากครับ เน้นแค่รูปนิดหน่อย
กับอยากบอกว่า ไปตลาดนี้ง่าย และสามารถ แวะไหว้พระสักห้าวัดก่อนก็ได้ครับ หรือจะมากกว่าว่านั้นก็ได้ครับ ป้ายบอกทางไปวัดใน อำเภอพระประแดงเต็มไปหมด แต่อย่างว่า พวกผมมาจากตจว. ก็เลยอยากทำบุญไหว้พระผสมเที่ยวท่องกันไปด้วย อยากดูอะไรที่มันเจริญหูเจริญตาและก็มีตำนานมีศิลปะวัฒนธรรมบ้างครับ..

จริง ๆ แล้วคณะของเรา นอกจากทำทัวร์แล้วก็รวมตัวกันทำชมรมด้วยครับ
มีทอดผ้าป่า+ถวายผ้าอาบน้ำ 9 วัดในถิ่นกระดานทุกปี รวมตัวกันสร้างห้องน้ำ รั้ววัด ตามแต่จะสะดวกด้วย ปีนี้ก็จะทำ แล้วจะแจ้งให้ทราบนะครับ(บอกบุญ)

ครับ..
สำหรับตลาดบางน้ำผึ้ง..
ถามผม ในฐานะ คนที่ไปตลาดดอนหวาย ตลาดสามชุก ตลาดอัมพวา ดอนหอยหลอด เกาะเกร็ดและอีกหลาย ๆ ที ถือว่าผ่านครับ

อยู่กทม. น่าแวะไปเดินเล่น บรรยายคล้ายกับว่าอยุ่ตจว. แทบมองไม่เห็นตึกเลยครับ เงียบ ๆ ของกินเยอะ มาก อร่อยด้วย มีตงโต๊ะไว้บริการ มีเรือให้พายเป็นชั่วโมง มีก๊วยเตี๋ยว รอแต่งบ้านจุกจิก เยอะดีครับ

สำหรับนอกจากชอบเดินดูพันธ์ไม้แบบดูชื่อดูใบไว้(เอาไว้แต่งนิยาย) แบบไม่คิดซื้อปลูก แบบขี้เกียจรถน้ำ ..แถมโตก็ตามมาตัดแต่งกิ่งอีก.
นอกจากดูพันธ์ไม้ แล้วก็ดูสินค้า เห็นมีหมอนสีชมพู คริตตี้ แล้วดูน่าเอาไปไว้นอนกอด (ให้นางเอกคิด) แบบผมก็จะเป็นแบบนี้ ดูนั่นดูนี่แล้วก็คิดว่า เมื่อไหร่เราจะเอาสิ่งที่เราเห็นมาปั้นลงในนิยาย..

เดินไปเดินมา หิว ก็เลย แวะทาน ข้าวหมูอบ คุณป้าที่ไปด้วยทานก๋วยเตี๋ยวหลอดที่กระจายเเล้ว.. ป้าเขาถามว่าเพิ่มไหม ผมบอกไม่หรอก..หากินร้านอื่นบ้าง ของกินเป็นร้อยสองร้อยร้านเรื่องไรจะอิ่มแค่ร้านเดียว..ครับ ขณะเคี้ยวข้าวสายตาก็เห็นน้องลูกสาวเจ้าของร้านนั่งอ่านนิยายอยู่ตรงหน้า..
แล้วเราก็คิดว่า ถ้าเป็นนิยายเรา ..แต่ว่าเป็นของคนอื่น หรือจะแนะนำให้น้องอ่านนิยายเราดี หรือถ้าน้องเขาเคยอ่านแล้ว อาจจะกรี๊ดใส่..หรือเอาหนังสือที่แอบซื้อไว้มาให้เซ็นต์ด้วยความดีใจที่นักเขียนมาทานอาหารที่นี่..สุดท้าย
คิดเงินครับ..


ว่าง ๆ ก้ไปกันนะ ไปกับแฟนเดินควงแขนเช็ดเหงื่อป้อนข้าวดูนั้นชี้นี่จุ๋มจิ๋มน่ารัก ๆ ..
..
ขี้เกียจเล่าแล้ว ยาวจัด วัดที่ห้ากันเลยครับ..

5. วัดป่าเกด..

1210489454

อุโบสถ สมัยรัชกาลที่ 3
ภาพล่วงหลวงพ่อใหญ่ พระประธานในพระอุโบสถ..

ครับสำหรับวัดที่ 5 ด้วยเป็นเวลาเที่ยงครึ่ง ร้อนตับเเลบเลยครับ พอรถจอด พวกเราก็ได้ยินเสียงเพลงจากวงดนตรีในงานกินเลี้ยงบวชนาค..รู้สึกว่าจะเป็นเพลง เด้งซ้าย เด้งขวา เดินหน้า เต้นหลังกระแดบ ๆ..พอลงจากรถได้ เราก็รีบวิ่งเข้าไปในวิหารหลวงพ่อใหญ่ด้านหน้า จุดธุปเทียนบูชาท่าน แต่ว่าอธิฐานอะไรไม่ได้เลย เพราะหูจะได้ยิน เด้งซ้าย โยกขวา.สมาธิไม่พอ ก็เลยปักธูป แล้วลงมา เด้งซ้าย เด้งขวา ให้มันรู้แล้วรู้รอดไปซะ..

อิอิ โบสถ์เก่าแก่มากครับ แต่มีการถอนเสมาสร้างหลังใหม่เรียบร้อยแล้ว..วัดหน้าถ้าจะข้ามไปก็เสียดายอยากให้ไปกราบหลวงพ่อใหญ่ครับ.

ร้อนครับ รีบขึ้นรถ แล้วหลังตาก็ตึง ๆ จากฤทธิ์ หมูสเต๊ะ และเนื้อย่าง..
และอีกอย่างก็เริ่มอุ่นใจแล้วว่า อย่างไรเสีย วันนี้เก้าวัดครบแน่ ๆเลย..

แล้วรถก็ออกจากวัดที่ห้าไปวัดที่หก
วัดนี้ดังครับ มีประเพณีห่มผ้าพระเจดีย์ทุกปี.

6. วัดพระสมุทรเจดีย์

1210490053

ออกจากพระประแดงไปสิบกว่ากิโล นึกถึงเมื่อสิบปีที่แล้วจริง ๆ เคยทำงานอยู่ที่พระสมุทรเจดีย์ ถนนสุดทุกข์ทรมาน น้ำขึ้นก็กลายเป็นคลอง
แต่ตอนนี้เขาพัฒนาแล้ว…

ครับ สำหรับวัดนี้ก็ยังร้อนอยู่ พอลงจากรถพวกเราก็เข้าอุโบสถ จุด ธูปเทียนไหว้พระ กราบพระ ปิดทอง ทำบุญกัน มีแจกหนังสือพระธาตุด้วยแต่ผมไม่ได้มา เพราะยังง่วงนอนอยู่ พอเดินไปปิดทองพระก็เห็นมีกุหลาบวางไว้หอบใหญ่ ก็สงสัย เพราะตรงที่ขายดอกไม้ธูปเทียนของวัดมีแต่ดอกบัว คุณป้าผู้ดูแลก็เลยบอวก่า มีคนเขาไปดูหมอดูมาว่า ต้องเอาดอกกุหลาบสีแดงถวายพระ (ป้าแกพูดแค่นั้นแหล่ะ) แต่เราคิดว่า เธอผู้นั้นเลียนแบบนางเอก(รึเปล่า) จากเรื่อง รักแห่งสยามรึเปล่าฟะ มีคงมีเคล็ด ฟามรักจะได้สมหวัง..
เฮ้ย..สมหรับผมเองไม่มีตรงนี้นะครับ..ไหว้ด้วยศรัทธาอย่างเดียว ไม่คิดว่าเอานั้นนี่มาถวายพระเเล้วจะเป็นไปตามสิ่งที่ถวาย….

ครับ พอจบจากวัดนี้ พวกเราก็จะต้องข้ามฟากไปอีกฝั่ง ..ครับสำหรับคนที่เที่ยวแบบสบาย ๆ ขับรถมาเองก็น่าจะไปป้อมพระจุลฯ หรือหาร้านอาหารทะเลระแวกนั้นทานแล้วก็กลับบ้านนอนเอาแรง แบบนี้ก็ถือว่าได้เที่ยวในวันหยุดแล้ว แต่ว่าพวกเรามาไกล และที่ตั้งใจคือ วัดอโศการามกับวัดอื่นๆ ให้ได้ 9 วัด

ตามโปรแกรม ต้องไปวัด พิชัย กับวัดกลางในตลาด..
และเท่าที่รู้มา จากตรงพระสมุทรเจดีย์ จะมีท่าเรือข้ามฟากไปยังอีกฟั่ง ค่าเรือสามบาท ผมก็เลยถามความสมัครใจว่า มีใครอยากลองนั่งเรือข้ามฟากบ้าง..อย่าหาว่าเรา บ้านน๊อกบ้านนอกเลยนะ บางทีพวกเราก็อยากทำตัวเหมือนฝารั่ง อยากรู้อยากเห็นวิถีชีวิตของคนในถิ่นที่เราไปเยือนมากกว่าครับ..

เอ้าไปต่อวัดที่เจ็ดกันเลย…

เริ่มต้นวัดที่ 7 กับวัด อโศการามครับ

1210492999

ตั้งอยู่เทศบาลบางปูซอย 60 ถนนสุขุมวิทสายเก่า ตำบลท้ายบ้าน ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร (เข้ามาจากถนนสุขุมวิทประมาณ 1 กิโลเมตร) สร้างเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2505 ฝ่ายธรรมยุตินิกาย โดยพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง และเป็นสถานที่สำหรับวิปัสสนากรรมฐาน มีสิ่งที่น่าชม

เช่น พระธุตังคเจดีย์ เป็นพระเจดีย์หมู่รวม 13 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร 13 ประการ

ภายในเจดียืจะมีรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์แบบนี้อยู่รายรอบนะครับ เดินอ่านชื่อและก็คำความเคารพ จนอยากไปอ่านประวัติของท่านว่ามีคุณวิเศษอย่างไร ลูกศิษย์ถึงได้สร้างรูปหล่อเหมือนจริงให้คนได้กราบไหว้บูชา..

วันนั้นอากาศด้านนอกร้านมาก แต่ในพระเจดีย์ เย็นสบาย ๆ..

วิหารวิสุทธิธรรมรังสี อาคารจตุรมุข 3 ชั้นส่วนยอดเป็นมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ภายในวิหารประดิษฐานสรีระท่านอาจารย์ลี
ครับอยู่ที่วัดนี้กันนานทีเดียว อาจจะเป็นเพราะมีสองสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่และภายในแต่ละแห่งก็มีจุดน่าสนใจมากมายครับ ผมกลับมาเข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำ นั่งรออยู่นานทีเดียว..

หลังจากนั้นเราก็ไปต่อวัดที่ 8 ซึ่งผมบอกกับคนขับรถคันหน้าว่าผมจะไปวัดบางพลีใหญ่(ใน+กลาง) พี่แกบอกว่ไกล กลับไปหาไหว้แถวอยุธยาดีกว่า ผมก็ชักสีหน้า(ไม่พอใจ) แต่ไม่ได้พูดไปหรอก ฉันจัดมา 9 วัดสมุทรปราการจะให้กลับไปยุดยา ..ได้ที่ไหน..พอรถออกจากวัด เห็นเขากลับรถ เราก็สะบายใจว่า เขาจะพาไปวัดบางพลีใหญ่ และด้วยพลีเพราะอากาศร้อน และ เคยนอนกลางวันประจำ

ผมตื่นมาอีกที…อ้าววัดไรวะไม่เคยมา ไม่มีในโปรแกรม..มัน งง ไม่รู้อะไรเลย แต่ก็สวยดีนี่ ถ่ายรูป ลงไหว้พระก่อน
(ไม่ได้จัดคนเดียวครับมีคนช่วยด้วยเขาอยู่คันหน้าแต่ไม่ค่อยรู้ถนนเท่าไหร่)
8. วัดราษฏร์บำรุง

1210494098

ถ้ามีวัดชื่อลักษณะนี้ ลูกทัวร์บางคน มักจะมีคำว่า วัดสิ้นศรัทธาทำ ตามมาให้ได้ฮานิด ๆ อยู่เสมอ..ถึงจะเลย ถึงวัดจะไม่ค่อยดูดีมากแต่องค์พระนอนก็สวยแหล่ะครับ..

ด้านหน้าพระนอนจะมีรูปราหูอมจันทร์ด้วยครับปั้นแบบหันหน้าเข้าหาองค์พระผมก็งง ๆ เหมือนกัน ว่าทำไมเป็นงั้น แต่ก็ไม่ได้ถามใคร

แต่นึกในใจว่า ..อมจันทร์ไม่เป็นไรแต่อย่าอมตังค์แล้วกัน..

มีหอพระจุฬามณีด้านหลังให้ขึ้นไปชมวิวทะเลอ่าวไทยในมุมสูงด้วย วัดนี้อากาศเย็นครับ ลมพัดโชยพาให้ง่วงนอน ก็นอนหลับมาแล้วบนรถ..
ปรากฏว่าพอออกจากวัดผมถึงได้รู้ว่า คนขับรถคันแรกพาหลงทางมาอีกแล้ว พี่แกไม่ยอมเลี้ยวเขาสู่อำเภอบางพลี..แถมขับนำหน้าไปแล้ว ผมก็เอ๊ะเขาจะไปไหนของเขา ผ่านไปสิบกว่า กม. ถึงอำเภอบางบ่อ..ตายห่า คนละทิศเลย ผมจะไปไหว้หลวงพ่อโตวัดบางพลี..

คราวนี้ตัดสินใจโทรถามว่า พี่จะไปไหน เขาบอกบางพลี ผมบอกนั่นจะถึงบางปะกงแล้วนะ เขาก็เลย วนรถกลับมาหาผมที่จอดรออยู่ ที่นี้ก็เริ่มมั่ว ผมก็ให้เขานำทางต่อ แบบอยากให้เขาเป็นผู้นำ..รถวิ่งลัดไปถนนเทพารักษ์ กำลังทำถนน มโหราฬ ..ตายห่าจะห้าโมงเย็นแล้ว..

โบสถปิดแล้วแน่ ๆ เลย..ทำไงดี..
ครับ ถึง
วัดที่ 9 วัดบางพลีใหญ่(ใน)

1210495187

ประวัติวัดบางพลีใหญ่ใน

วัดบางพลีใหญ่ในเดิมชื่อ วัดพลับพลาไชยชนะสงครามชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเรียกวัดนี้ว่า วัดใหญ่หรือ วัดหลวงพ่อโตทางประวัติศาสตร์จากโบราณคดีจารึกสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณกาลว่า

วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา มาถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ 2112 และ พ.ศ 2310 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกอบกู้อิสรภาพ สู่ความเป็นไทยอีกครั้งหนึ่ง จนอาณาเขตของประเทศ (สยาม) ขยายออกไปอีกอย่าางกว้างขวาง

ส่วนชื่อของตำบลนั้นได้ชื่อว่า ” บางพลี ” ก็เพราะเหตุที่สมเด็จพระนเรศวร ได้ทรงกระทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงนั้นเอง ดังนั้นประชาชนทั้งหลายจึงเรียกว่าบางพลีและวัดพลับพลาไชยชนะสงคราม

วัดดพลับพลาไชยชนะสงคราม เป็นวัดที่อยู่ด้านใน มีอาณาเขตใหญ่โตซึ่งต่อมาได้มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นมิ่งขวัญของวัดจึงเรียกว่า
” วัดบางพลีใหญ่ใน” หรือ ” วัดหลวงพ่อโต ” มาจนถึงตราบทุกวันนี้

ประวัติหลวงพ่อโต
ตามตำนานประวัติของหลวงพ่อโต ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า มีพระพุทธรูป 3 องค์ซึ่งชาวกรุงศรีอยุธยาได้อาราธนาลงสู่แม่น้ำเพื่อหลบลี้หนีภัยสงคราม พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ได้ล่องลอยมาตามลำน้ำและได้แสดงอภินิหารระหว่างทางจนเป็นที่โจษขานกันทั่วไป ประชาชนในท้องที่ตำบลต่าง ๆ ได้พยายามอาราธนาท่านขึ้นสู่ฝั่ง แต่ก็ไม่สำเร็จ

จนในที่สุด พระพุทธรูปองค์หนึ่งได้ไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม

ส่วนองค์ที่สองไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา และอีกองค์หนึ่งได้ล่องลอยเรื่อยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา และปาฏิหาริย์ลอยวกเข้ามาในลำคลองสำโรง ประชาชนจึงพร้อมกันอาราธนาท่านขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่ท่านก็ไม่ยอมขึ้น จึงได้ทำพิธีเสี่ยงทาย ต่อแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือพายฉุดท่านให้ลอยตามลำน้ำสำโรงและอธิษฐานว่า

“หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใดก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด”

ขอขอบคุณ http://www.bloggang.com/

 

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .