วัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง ระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ได้มีขบวนแห่ครัวตานจากลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ริมกว๊าน ไปยังวัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง โดยขบวนแห่ครัวตานของแต่ละตำบล ที่มาจากอำเภอต่างๆ ในจังหวัด กว่า 40 ขบวน ที่เน้นในเรื่องของวัฒนธรรมท้องถิ่น และการใช้เครื่องเสียงที่เป็นเครื่องดีดสีตีเป่าตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน สร้างบรรยากาศในความเป็นอารยธรรมล้านนา สวยงามยิ่ง ขณะที่ในวิหารพระเจ้าตนหลวง ได้มีผู้สูงอายุแต่งชุดขาวมาถือศีลบำเพ็ญภาวนาตามความเชื่อและศรัทธามาแต่ครั้งอดีตกาล โดยมีพระสุนทรกิตติคุณ รองเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ เป็นประธานสงฆ์เจริญพรแก่พุทธศาสนิกชนที่เข้าไปร่วมทำบุญ ละในเวลา 13.00 น.วันนี้จะมีพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ในวิหารพระเจ้าตนหลวง
ทั้งนี้ การแห่ครัวตานดังกล่าว เป็นการรื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณีที่จางหายไปนับสิบปี เนื่องจากการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น ส่งผลให้แต่ละท้องต่างจัดกิจกรรมของตน ขาดความร่วมมือของประชาชนเช่นที่เคย เพื่อให้วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามได้ฟื้นคนกลับมาอีครั้ง จังหวัดพะเยา จึงได้ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัฒนธรรมจังหวัดพะเยา ประสานความร่วมมือกับหมู่บ้าน ชุมชนในแต่ละอำเภอของจังหวัดพะเยา รื้อฟื้นประเพณีการแห่ครัวตานงานแปดเป็งขึ้นมาใหม่
ประเพณีแปดเป็งพระเจ้าตนหลวงเป็นงานประเพณีของ จ.พะเยา ซึ่งจัดว่ายิ่งใหญ่ที่สุดและสำคัญอย่างยิ่งของ จ.พะเยาหรืออาจจะกล่าวๆได้ว่าสำคัญและยิ่งใหญ่ในล้านนาก็ว่าได้ เนื่องจากมีการจัดงานสืบทอดกันมาอย่างยาวนานนับร้อยปี เมื่อถึงเทศกาลประเพณีดังกล่าว ผู้คนจากทั่วสารทิศจะเดินทางมาสู่ จ.พะเยาเพื่อกราบนมัสการขอพรจากองค์พระเจ้าตนหลวง พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองล้านนาและสร้างธรรมบารมีให้กับตนเองอย่างไม่ขาดสาย เบียดเสียดกันเพื่อเข้าไปกราบพระเจ้าตนหลวง ทั้งคนใน จ.พะเยา และต่างจังหวัด เช่น ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ ในอดีตต่างประเทศ เช่น เชียงตุง ประเทศพม่า สินสองปันนา ประเทศจีนตอนใต้ และประชาชนจากหลวงพระบาง ประเทศสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็เดินทางมาเพื่อแสวงบุญกันอย่างล้นลาม แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันแต่ละประเทศเข้มงวดกับประชาชนของตนจึงทำให้การเดินทางไม่สะดวกและลดหายไปสำหรับประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้าน
คำว่า “แปดเป็ง” นั้นเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวล้านนาโดยแยกออกเป็นสองคำ คือ แปด กับคำว่า เป็ง คำว่า “ แปด ” ก็คือวันเพ็ญเดือน ๘ (เหนือ) ทางภาคกลางถือว่าเป็นเดือน ๖ ซึ่งการนับเดือน คนทางภาคเหนือโดยเฉพาะแถบล้านนาจะนับเดือนไวกว่าคนทางภาคกลางไปสองเดือน ดังนั้นพอถึงเดือน ๖ อันเป็นเดือนที่เสวยฤกษ์วิสาขะ หรือวันวิสาขบูชา (วันเพ็ญเดือน ๖ ) คนทางเหนือจึงถือว่าเป็นเดือน ๘ คำว่า “เป็ง” ก็คือคืนวันเพ็ญ หรือคืนที่พระจันทร์เต็มดวงนั้นเอง ซึ่งมีค่าแทนคำว่า วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เมื่อรวมสองคำเข้าด้วยกันว่า “ แปดเป็ง” จึงมีความหมายว่า วันเพ็ญเดือน ๖ (๘ เหนือ) พระจันทร์เต็มดวงเสวยฤกษ์วิสาขะ ขึ้น ๑๕ ค่ำ นั่นเอง
โดยแต่ละปี ทางวัดศรีโคมคำ จะกำหนดจัดงานแปดเป็งในช่วงสัปดาห์วันวิสาขบูชา กิจกรรมสำคัญคือวันวิสาขบูชา ที่ผู้คนจากทั่วสารทิศจะแห่กันมากราบไหว้าพระเจ้าตนหลวงอย่างไม่ขาดสายเพื่อขอพรและความเป็นสิริมงคล
ขอขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/