สิ่งสำคัญที่เป็นปูชนียสถานใน วัดไพชยนต์พลเสพย์

ก. พระประธานปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒ ศอกเศษเป็นพระพุทธรูปปั้นบุทองประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์ (ตามดำรัสของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อเสด็จไปเยี่ยมของเก่าในวัด พ.ศ.๒๓๗๔ ) บุษบกนี้ทำด้วยไม้สัก และแกะสลักลวดลายประดับกระจกอย่างวิจิตร จัดว่าเป็นศิลปะเยี่ยมสมัยโบราณชั้นหนึ่งสันนิษฐานว่าได้เคยสถาปนามาแล้วหนหนึ่ง จะเป็น พ.ศ. ใดไม่ทราบ เพราะบางแห่งมีรอยกะเทาะ เห็นของเก่าลงรักปิดทองอยู่ชั้นในบุษบกนี้มีรูปร่างคล้ายพระปรางค์ มีจัตุรมุข ๔ ด้าน ทุกด้านมีพระพุทธรูปหล่อประจำด้านละองค์ หน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๔ นิ้ว ฐานบุษบกกว้าง ๙ ศอก สูงสุดยอด ๔ วา ๑ ศอก พระอุโบสถลักษณะก่ออิฐถือปูน ทรงจีน กว้าง ๘ วา ๓ ศอก ยาว ๑๒ วา ด้านในมีเสารายใหญ่หาดูได้ยากในจังหวัดนี้ อาสน์สงฆ์ปูลาดด้วยพรมผืนใหญ่และพื้นที่ด้านล่างอีก ๒ ผืนใหญ่ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระราชวีริยาภรณ์ (สวัสดิ์ ฐิตาโภ) อดีตเจ้าอาวาสได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัวสร้างไว้ และประดับด้วยโคมไฟทั้งใหม่และเก่าสว่างไสวในยามค่ำคืน นอกจากพระอุโบสถแล้ว ยังมีวิหารทิศอีก ๔ หลัง ลักษณะทรงจีนเหมือนกัน

ข.พระพุทธรูปหล่อ ปางหลวงพ่อเนตร ที่ซุ้มมุขหน้าพระวิหาร ๑ องค์ สูง ๑ วา ๙ นิ้ว มาทราบว่าเป็นพระสมัยใด มีประชาชนเป็นจำนวนมากเคารพนับถือพากันมาบวงสรวงกันเสมอ

ค.พระประธานใหญ่ในพระวิหารปางมารวิชัย ไม่ทราบว่าเป็นพระหล่อหรือบุด้วยโลหะ สมัยใด หน้าตักกว้าง ๑ วา ๑๖ นิ้ว กับมีพระโมคคัลลาน์ สารีบุตร ยืนคู่กัน คูหาตามฝาผนังวิหารชั้นในมีพระพุทธรูปนั่งอยู่รอบรวม ๔๔ องค์ หน้าตักกว้างประมาณ ๑๖ นิ้ว ในซุ้มมุขหลังพระวิหารมีรอยพระพุทธบาทจำลอง พระวิหารกว้าง ๘ วา ๒ ศอก ยาว ๑๑ วา ๒ ศอก มีลักษณะทรงจีน ประดับด้วยผลไม้มงคลบูชา ลอยพระบาท

ง. หน้ากำแพงพระอุโบสถกับพระวิหาร มีพระปรางค์ฐานล่าง ๔ เหลี่ยม เป็นของเก่งองค์พระปรางค์ชำรุด นางสาวชม วังเป๋า นางแสร์ ชั้นหงส์ นางเน้ย วังเป๋า ได้รื้อแล้วถ่ายแบบปฏิสังขรณ์ขึ้นตามรูปเดิม ด้านหลังพระอุโบสถกับพระวิหาร มีเจดีย์ทรงเครื่องสมัยเดียวกัน ๓ องค์ ฐานกว้าง ๔ วา สูงสุดยอดประมาณ ๑๔ วา ชนิดย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง กับมีที่จงกรมมีกำแพงล้อมรอบอยู่ด้านเหนือ หลังพระอุโบสถได้จำรุดทรุดโทรมมากแล้วจึงไม่ได้สถาปนาไว้ ทางวัดจึงจัดการรื้อแล้วสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นแทน ณ ที่นั้น ปัจจุบันโรงเรียนวัดไพชยนต์พลเสพย์ทางราชการได้ย้ายออกไปอยู่ข้างนอก เนื่องจากมีผู้ศรัทธาบริจาคที่ดินและทรัพย์สร้างโรงเรียนขึ้นหลังใหม่ โดยผู้สร้างได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่า (โรงเรียนพลอยจาตุรจินดา) เดี๋ยวนี้สร้างฌาปนสถานและศาลาบำเพ็ญกุศลแทนในเขตโรงเรียนเดิม

๔.กุฏิที่อยู่ของสงฆ์ แต่ก่อนทราบว่ามีอยู่ถึง ๕ คณะ ส่วนราชาคณะอยู่หลังพระวิหารด้านใต้ ภายหลังถูกรื้อถอนของช่างเก่าไปปฏิสังขรณ์ของเก่าด้วยกันให้ดีขึ้น สมัยนั้นทางวัดอาจเสื่อมลงมีภิกษุอาศัยน้อยรูป กล่าวกันว่าศาลาและกุฏินอกเขตทางด้านใต้ออกไปก็เคยมี ต่อมาไม่มีผู้ดูแล จึงรื้อถอนเข้ามารวมในคณะสงฆ์เป็นอันเดียวกันจนที่เหล่านั้นกลายเป็นสวนไปหมดในสมัยหลวงพ่อพระราชวิริยาภรณ์หาเป็นที่สวนไม่เจอ กลายเป็นที่บ้านเต็มไปหมด ในอดีตเฉพาะเขตวัดมีหอระฆังเครื่องไม่จริง ฐานก่ออิฐถือปูน หอไตรฝาไม้กระดาน เสาไม้จริงอยู่หน้าจงกรมด้านเหนือ ศาลาดินหน้าวัด ๔ หลัง ศาลาท่าน้ำ ๒ หลัง อยู่ริมคลองลัดหลวง กับหมู่กุฏิเลียบไปตามคลองเพลงมีอีก ๒ คณะ หอสวดมนต์และหอฉันพร้อมและยังมีศาลาท่าน้ำแบบทรงไทยสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังมีช่อฟ้าใบระกา

๕.สมัยพระบวรวิมุติ (สวัสดิ์) ฉายา ฐิตาโภ (ต่อมาคือหลวงพ่อพระราชวิริยาภรณ์ ) ได้จัดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเมื่อเห็นว่าของเก่าชำรุดควรปฏิสังขรณ์ ก็ปฏิสังขรณ์ ควรก่อสร้างก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ให้มั่นคงถาวร ปรับปรุงสถานที่ให้เหมาะสมตามสมัยนิยม มีขนบธรรมเนียมตามประเพณีทางพระศาสนาและการศึกษาเป็นต้น แต่เดิมมีการสอน และการเรียนตามแบบเก่าและเจริญขึ้นตามระบอบใหม่มีโรงเรียนสอนนักธรรมตรี และโท ด้วยพระนักธรรมเอกกระจ่าง และพระนักธรรมเอก เชื้อ สำหรับภาษาบาลีไวยากรณ์สอนเปรียญ ๓ และ ๔ โดยพระมหาสวัสดิ์ กันฤทธิ์ (คือ พระราชวีริยากรณ์) พระภิกษุที่เป็นครูสอนทั้ง ๓ รูป มีภูมิลำเนาในตำบลบางพึ่ง เคยเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดนี้มาแต่เดิม โดยมากเหมาะแก่ภูมิประเทศของกุลบุตร เพราะการสัญจรไปมาได้รอบด้าน สมัยเดิมเคยมีโรงเรียนรัฐบาล ภายหลังได้ยุบรวมกับโรงเรียนประจำอำเภอพระประแดง (มัธยมวัดทรงธรรม)เนื่องด้วย พ.ศ. ๒๔๗๔-พ.ศ. ๒๔๗๕ ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบางจำเป็นต้องตัดทอนรายจ่ายลงจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมสามัญศึกษาและกรมวิสามัญศึกษาในสังกัดกรมศึกษาธิการเสีย กรมศึกษาธิการในระยะนั้นจึงประกอบด้วย กองบัญชาการ กองตรวจการศึกษากรุงเทพฯ และกองสุขาภิบาลโรงเรียน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนวิสามัญชั้นสูง คือ โรงเรียนเพาะช่าง โรงเรียนพาณิชยการวัดแก้วฟ้าล่าง โรงเรียนพาณิชยการวัดสามพระยา โรงเรียนฝึกหัดครูประถมชาย วัดบวรนิเวศ โรงเรียนฝึกหัดครูหญิงเบญจมราชาลัย ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการกรมศึกษาธิการและเนื้องจากรัฐบาลได้ยุบมณฑลเสีย ๔ มณฑล ยุบจังหวัด ๑๐ จังหวัด ทำให้มณฑลและจังหวัดศึกษาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย คือ โรงเรียนต่างๆ ถูกยุบประมาณ ๗ โรงเรียน คือ

๑. โรงเรียนฝึกหัดครูมูลประจำมณฑลปัตตานี
๒. โรงเรียนฝึกหัดครูมูลประจำมณฑลภูเก็ต
๓. โรงเรียนฝึกหัดครูมูลประกาศนียบัตรมณฑลนครชัยศรี
๔. โรงเรียนฝึกหัดครูมูลประกาศนียบัตรมณฑลอยุธยา ยกไปรวมกับโรงเรียนฝึกหัดครูมูลประจำมณฑลนครสวรรค์เดิม คงตั้งอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์
๕. โรงเรียนประจำอำเภอมีนบุรี “ภูมิภาคพิสุทธิ์” จังหวัดมีนบุรี
๖. โรงเรียนประจำอำเภอพระประแดง “วัดไพชยนต์พลเสพย์” จังหวัดพระประแดง
๗. โรงเรียนวัดกอบัว “แขประสาท” จังหวัดพระประแดง

ทางวัดได้ดำริตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้นอีก ให้ครูสุดใจ สิทธิกำจร กับครูสวัสดิ์ จันทน์ผลิผล เป็นผู้สอนเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๗๗ ก็ได้สร้างโรงเรียนหนังสือไทยขึ้น ๑ หลัง เป็นทรงปั้นหยา พื้นล่างคอนกรีตมีมุขกลางรวม ๕ ห้อง ๒ ชั้น
แล้วมอบเข้าเป็นโรงเรียนประชาบาล ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง
ปัจจุบันได้รื้อย้ายไปสร้างเป็นโรงเรียนพลอยจาตุรจินดา เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๙-๒๕๑๑

วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร

ที่มาและประวัดของวัดโดยสังเขป
วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 5 ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ 3 งาน 74 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์เนื้อที่ประมาณ 226 ไร่ 24 ตารางวา
อาณาเขต ทิศเหนือ จดคลองเพลง
ทิศใต้ จดลำประโดง
ทิศตะวันออก จดคลองลัดหลวง
ทิศตะวันตก จดถนนหลังวัด
วัดไพชยนต์พลเสพย์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2362 เมื่อครั้งสร้างเสร็จ จะเรียกกันว่า “วัดกรมศักดิ์” หรือ “วัดปากลัด” ถึงรัชกาลที่ 3 ก็เรียก “วัดวังหน้า” และมาในรัชกาลที่ 4 จึงทรงพระราชทานนามว่า “วัดไพชยนต์พลเสพย์” ซึ่งคำว่า “ไพชยนต์” น่าจะหมายถึง บุษบกยอดปรางค์ ซึ่งโปรดให้เป็นที่ประดิษฐานพระประธานในพระอุโบสถเป็นนิมิต และคำว่า “พลเสพย์” มาจาสร้อยพระนามของกรมพระราชวังบวรฯ ผู้ทรงสร้างวัดและถวายบุษบกนั้นในสมัยรัชกาลที่ 3
วัดไพชยนต์พลเสพย์ เมื่อแรกสร้างวัดมา กรมหมื่นศักดิพลเสพย์คงจะเป็นธุระอุปการะมาโดยตลอด เมื่อกรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ได้ทรงดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 3 วัดนี้ก็ยิ่งมีความสำคัญมายิ่งขึ้นและคงมีฐานะเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ 3 นี้ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงพระราชนิยมในการสร้างวัด ถึงกับมีคำพังเพยสืบมาว่า “ในรัชการที่ 1 ใครรบทัพจับศึกเก่งก็เป็นคนโปรด ในรัชกาลที่ 2 ใครเป็นนักบรรเลงก็เป็นคนโปรด ในรัชกาลที่ 3 ใครสร้างวัดวาอารามก็เป็นคนโปรด” ดังนั้น วัดนี้จึงรุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ 3ศึกเก่งก็เป็นคนโปรด ในรัชกาลที่ 2 ใครเป็นนักบรรเลงก็เป็นคนโปรด ในรัชกาลที่ 3 ใครสร้างวัดวาอารามก็เป็นคนโปรด

ขอขอบคุณ https://sites.google.com

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .