วัดฉลองก่อตั้งเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเมื่อเมืองถลางพ่ายแพ้แก่กองทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวบ้านจึงอพยพกระจัดกระจายไปตั้งหลักแหล่งในสถานที่ต่างๆ บางส่วนอพยพมาที่บ้านฉลองและได้ตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่นี่ ต่อมาชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจกันตั้งวัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมในการศึกษาธรรมะ และเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยได้อาราธนาพระภิกษุซึ่งเป็นที่นับถือและเลื่อมใสของชาวบ้านมาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดฉลองเรียกว่า “ พ่อท่านเฒ่า ” เป็นอาจารย์วิปัสสนาของหลวงพ่อแช่มศึกวุ่นจีน : ในปี พ . ศ . 2419 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 มีพวกชาวจีนอพยพเข้ามาทำงานเป็นกรรมกรเหมืองแร่จำนวนมาก ได้ก่อเหตุวุ่นวายจลาจลขึ้น โดยเข้าโจมตีชาวบ้านฉลอง ชาวบ้านคิดหนีไปหลบซ่อนตัวในที่ปลอดภัย จึงไปแจ้งข่าวและนิมนต์หลวงพ่อแช่มให้หลบหนีไปด้วยกัน แต่หลวงพ่อ
ไม่ยอมหนี และได้ให้กำลังใจเพื่อให้ชาวบ้านอยู่ต่อไป โดยการแจก
ผ้าประเจียด ( ผ้ายันต์ ) เป็นเครื่องรางป้องกันอันตรายแก่ชาวบ้าน ซึ่งช่วย
สร้างความเชื่อมั่นและขวัญกำลังใจให้ต่อสู้กับพวกอั้งยี่ เมื่ออั้งยี่ยกมาโจมตี
ชาวบ้านก็ต่อสู้จนได้รับชัยชนะและพวกอั้งยี่ก็ได้พ่ายแพ้กลับไปหลายครั้ง
เมื่อความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่าน
จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงพ่อแช่มเป็น
พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี ให้มีตำแหน่งเป็นสังฆปราโมกข์แห่ง
เมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในสมัยนั้น และได้พระราชทานนามให้
วัดฉลองเป็นวัดไชยธาราราม ตั้งแต่บัดนั้น
ขอขอบคุณ http://61.19.27.150/~library/libra/watchalong.htm