อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลก” ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๔

ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น ค่าเข้าชมชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๔๐ บาท สำหรับผู้ที่จะนำรถเข้าชมในบริเวณอุทยานจะต้องเสียค่าผ่านประตูคันละ ๕๐ บาท รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร ๐ ๕๕๗๑ ๑๙๒๑ สถานที่น่าสนใจภายในเขตอุทยานฯ

วัดพระแก้ว
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถาน มรดกโลก ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญ อยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ภายในบริเวณวัดประกอบด้วย เจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วย กำแพงศิลาแลงเป็นแท่ง ๆ โดยรอบ

วัดพระธาตุ
ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ ๑ องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

สระมน

เป็นสระรูปสี่เหลี่ยมกว้างประมาณ ๑๖ เมตร รอบสระมีคันดินคูน้ำล้อมรอบ จากการขุดค้นที่บริเวณนี้ พบเศษกระเบื้องมุงหลังคา เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับ

กำแพงเมืองกำแพงเพชร
เป็นกำแพงชั้นเดียว สร้างเป็นเชิงเทินมี ๒ ตอน ตอนล่างเป็นมูลดินสูงขึ้นไป ๓-๔ เมตร ตอนบนก่อด้วยศิลาแลง เป็นเชิงเทินมีใบเสมา และเจาะตรงใบเสมาไว้สำหรับมองข้าศึก

วัดพระนอน
มีกำแพงศิลาแลงปักล้อมรอบวัดไว้ทั้ง ๔ ด้าน ด้านหน้าวัดมีบ่อน้ำสี่เหลี่ยม มีห้องอาบน้ำและศาลาน้ำ ฐานและเสาเป็นศิลาแลง มีทางเท้าปูด้วยศิลาแลง มีโบสถ์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้า ด้านหลังเป็นวิหารพระนอน ก่อสร้างด้วยเสาศิลาแลงขนาดใหญ่ หลักฐานทางประติมากรรมที่พบ คือ ใบเสมารูปเทพพนม พาลีกับทรพี สันนิษฐานว่าสลักขึ้นในสมัยอยุธยา

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน
วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงเป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม ๔ ด้าน ด้านหน้าวัดมีวิหารขนาดใหญ่ยกฐานสูง ๒ เมตร มีเสาลูกกรง เป็นศิลาแลงเหลี่ยม และมีทับหลังบนมุขหน้าวิหาร สิ่งสำคัญของวัดได้แก่ มณฑปจตุรมุข แต่ละทิศประดิษฐาน พระพุทธรูป ๔ ปาง คือ เดิน นั่ง ยืน และนอน อยู่โดยรอบทั้ง ๔ ทิศตามลำดับ ปัจจุบันเหลือเพียง พระยืนขนาดใหญ่ที่สวยงาม พระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย แบบกำแพงเพชรคือ พระนลาฏกว้าง และพระหนุเสี้ยม

วัดสิงห์
ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๐๐ เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง ๒ สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาส ให้อยู่ในกลุ่มกลาง ล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาส หรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมมีซุ้มทั้ง ๔ ด้าน เป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ประดิษฐานพัทธสีมา ไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์รูปนาคประดับ

วัดช้างรอบ
เป็นวัดที่สร้างบนยอดเนิน มีพระเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งยอดหักพังหมดแล้ว มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ที่ชั้นฐานลานประทักษิณ ประดับด้วยช้างทรงเครื่องครึ่งตัว จำนวน ๖๘ เชือก ระหว่างช้างแต่ละเชือก มีภาพปั้นรูปลายพรรณพฤกษา ในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ และต้นสาละ เป็นต้น

วัดอาวาสใหญ่
มีเจดีย์แปดเหลี่ยมเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นวิหารฐานสูงมีทางขึ้น ๓ ด้าน มีเจดีย์รายรอบ ด้านหน้าสุดนอกเขตกำแพงแก้วมีบ่อน้ำใหญ่ เรียก “บ่อสามแสน” เพราะน้ำในบ่อนี้ไม่เคยแห้ง

วัดนาคเจ็ดเศียร
วัดนาคเจ็ดเศียรเป็นหนึ่งในกลุ่มวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกรังขนาดย่อม ซึ่งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศเหนือหรือบริเวณอรัญญิก อยู่ห่างจาก กําแพงเมืองด้านทิศเหนือออก ไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ซึ่งบริเวณนี้นับ เป็นเขตโบราณสถานที่สําคัญ เพราะมีวัดอยู่มากกว่า 40 วัด เช่น วัดพระนอน วัดป่ามืด วัดพระสี่ อิริยาบท วัดฆ้องชัย วัดสิงห์ วัดกําแพงงาม วัดช้างรอบ วัดนาคเจ็ดเศียร

วัดช้างเผือก
เจดีย์ช้างเผือก เพราะฐานล่างประดับด้วยรูปช้างปูนปั้นครึ่งตัวจำนวน ๓๒ เชือก และแปลกกว่าเจดีย์ทรงระฆังและช้างล้อมอื่น ๆ คือบนฐานสี่เหลี่ยมยังมีเจดีย์ ประจำมุมทั้ง ๔ มุมการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมจึงพิจารณาได้ว่าส่วนใหญ่จะ สร้างในยุคสุโขทัย และในตำนานพระพุทธสิหิงค์ ก็เคยมาประดิษฐานที่กำแพงเพชร จึงเชื่อว่าทั้งพระพุทธสิหิงค์ และพระแก้วมรกตน่าจะเคย ประดิษฐาน อยู่ที่วัดพระแก้วนี้มาก่อนทั้ง ๒ องค์ และเมื่อรัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จมาที่กำแพงเพชรได้โปรดเรียกกลุ่ม โบราณสถานขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่กลางเมืองว่า “วัดพระแก้ว”

วัดป่าแล
วัดป่าแลง” พื้นที่ของวัดประมาณ ๒๑,๗๐๐ ตารางเมตร ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างสำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธานทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยม วิหาร ๒ หลัง เจดีย์ราย ๙ องค์ บ่อน้ำ ๕ บ่อน้ำ บ่อศิลาแลง ๒ บ่อ มีลานปูลาดด้วยศิลาแลง สันนิษฐานตามลักษณะสถาปัตยกรรมว่า สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๙ – ๒

วัดกรุสี่ห้อง
วัดกรุสี่ห้อง โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง เป็นโบราณสถานอยู่ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏโบราณสถานอยู่ทั่วไป รวมถึงสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

ขอขอบคุณhttp://kamphaengphet.mots.go.th/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .