วัดพระธาตุแช่แห้ง–บ่อน้ำทิพย์

IMG_4025

พระยาอนุมานราชธนนักปราชญ์สำคัญของบ้านเรา ได้กล่าวถึงการ อาบน้ำว่าหากจะแปลกันตรงๆ ก็คือ “การชำระมลทินของร่างกายด้วยน้ำ” เป็นที่สังเกตว่านับแต่โบราณกาลมาแหล่งอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองล้วนอยู่มีบ่อเกิดอยู่บริเวณที่มี แหล่งน้ำทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ น้ำ จึงเป็นสิ่งที่ใช้ในพิธีต่างๆทั้งพิธี มงคลและอวมงคล
โดยเฉพาะการอาบน้ำในพิธีก็มีกันในหลายชาติหลายภาษา พิธีกรรมสำคัญๆ ที่ต้องมีน้ำเป็นส่วนประกอบก็มีหลายพิธี เช่น พระราชพิธีบรม ราชาภิเษก ต้องมีการอัญเชิญน้ำมูรธาภิเษก (น้ำที่จะใช้รดพระเศียรพระเจ้า แผ่นดิน) ที่จะสรงจากสถานที่ต่างๆ อันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในราชอาณาจักรมาทำ พิธี ซึ่งเมื่อทรงสรงด้วยน้ำนี้แล้วก็ถือว่าได้แปรสภาพองค์เข้าสู่ความเป็น กษัตริย์เป็นขั้นแรก ก่อนจะมีพิธีอื่นๆ ต่อไป
อย่างไรก็ตามในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา๖ รอบ กระทรวงมหาดไทย ได้ให้จังหวัดทุกจังหวัดเตรียมการประกอบพิธี พลีกรรมตักน้ำและเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยใช้แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชน เคารพเลื่อมใส
แหล่งน้ำสำคัญของจังหวัด หรือแหล่งน้ำที่เคยใช้ทำน้ำพระพุทธ มนต์ศักดิ์สิทธิ์ทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๖ รอบ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ อย่างน้อยจังหวัดละ ๑ แห่ง ทั้งนี้ สำนักพระราชวังได้กำหนดวันเวลา ที่จะประกอบพิธีและกำหนดพิธีเสกน้ำพระพุทธ มนต์ศักดิ์สิทธิ์ โดยเมื่อวันศุกร์ที่๒ พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ให้ทุกจังหวัด ประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำระหว่างเวลา๑๕.๔๙ -๑๖.๑๙ น. และกำหนดให้วันจันทร์ ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ระหว่างเวลา ๑๗.๓๙ -๑๘.๐๙ น. ประกอบพิธีเสกน้ำพระ พุทธมนต์ศักดิ์ ณ พระอุโบสถ หรือพระวิหารสำคัญของจังหวัด พร้อมกันทั่ว ประเทศ
นายเกษมสิทธิ์ มาพบ ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดนครพนม บอกว่า โอกาสที่จะเข้าร่วม หรือได้เห็นพิธีพลีกรรมตักน้ำและเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ไม่ค่อยมีให้ เห็นบ่อยครั้งนัก ในรัชกาลปัจจุบัน ครั้งแรกของพิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษกคือ พระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. ๒๕๑๔ มงคลสมัยที่ได้มีเวลาอยู่ในราชสมบัติ ครบ๒๕ ปีบริบูรณ์ครั้งที่ ๒ เมื่อครั้งประกอบพระราชพิธีรัชมังคลา ภิเษก เมื่อวันที ๒ กรกฎาคมพ.ศ. ๒๕๓๑
ครั้งที่ ๓ ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. ๒๕๓๙ มงคล สมัยที่ได้มีเวลาอยู่ในราชสมบัติครบ๕๐ ปีบริบูรณ์และในโอกาสพระราชพิธีมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ นี้ สำหรับผู้ที่พลาดในการ ร่วมพิธีพลีกรรมตักน้ำเมื่อครั้งที่ผ่านมาจึงอยากเชิญชวนชาวไทยทุกคนจากทุก จังหวัดร่วมพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ณ พระอุโบสถ หรือพระวิหาร สำคัญของจังหวัด ระหว่างเวลา ๑๗.๓๙ -๑๘.๐๙ น.
๑๘ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
น้ำอภิเษกและน้ำสรงมูรธาภิเษก สำหรับน้ำอภิเษก นั้น ต้นตำราให้ใช้น้ำจากสถานที่สำคัญต่างๆ ๑๘ แห่งและทำพิธีเสกน้ำพระพุทธ มนต์ ณ พุทธเจดีย์ที่สำคัญตามจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร แล้วส่งเข้ามา เจือปนเป็นน้ำมูรธาภิเษกให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรง ประกอบด้วย
๑.จ. สระบุรีที่ตั้งพระพุทธบาท
๒.จ.พิษณุโลกที่ตั้งวัดพระศรีมหาธาตุ
๓.จังหวัด สุโขทัยที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
๔.จ.นครปฐมที่ตั้งพระปฐมเจดีย์
๕.จ.นครศรี ธรรมราชที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
๖.จ.ลำพูน ที่ตั้งวัดพระธาตุหริภุญชัย
๗.จ. นครพนมที่ตั้งวัดพระธาตุพนม
๘.จ.น่าน ที่ตั้งวัดพระธาตุแช่แห้ง
๙.จ.ร้อยเอ็ดที่ตั้งวัดบึงพระลานชัย
๑๐.จ. เพชรบุรี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ
๑๑.จ.ชัยนาท ที่ตั้งวัดพระบรมธาตุ
๑๒.จ. ฉะเชิงเทรา ที่ตั้งวัดโสธร
๑๓.จ.นครราชสีมา ที่ตั้งวัดพระนารายณ์มหาราช
๑๔. จ.อุบลราชธานี ที่ตั้งวัดศรีทอง
๑๕.จ.จันทบุรี ที่ตั้งวัดพลับ
๑๖.จ. สุราษฎร์ธานี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ อำเภอไชยา
๑๗.จ.ปัตตานีที่ตั้งวัดตานี นสโมสร
๑๘.จ.ภูเก็ต ที่ตั้งวัดทอง

ส่วนน้ำที่มาจากแม่นำสำคัญๆในอินเดีย คือ แม่น้ำ คงคา ยมนา อิรวดี สรภู มหิ และจากปัญจสุทธคงคา รวมจากแม่น้ำสำคัญทั้ง ๕ สาย ของไทย คือ
๑.แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ ต.บางแก้ว จ.อ่างทอง
๒.แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ ต.ท่าชัย จ.เพชรบุรี
๓.แม่น้ำราชบุรี ตักที่ ต.ดาวดึงส์ จ.สมุทรสงคราม
๔.แม่น้ำป่าสัก ตักที่ ต.ท่าราบ จ.สระบุรี และ
๕.แม่น้ำบางปะกง ตักที่ ต.บึงพระอาจารย์ จ.นครนายก
นอกจากนี้ยังมีสระน้ำอีก๔ สระคือ สระเกษสระแก้ว สระคงคา สระยมนา ใน จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเคยใช้เป็นน้ำสรงมาแต่โบราณ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรสระน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔แห่งนี้และทรงมีพระราชหัตถเลขาไว้ จึงเป็นเหตุให้เปลี่ยน ชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านท่าเสด็จ จากนั้นก็นำไปประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ศักดิ์สิทธิ์ณวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์
ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .