วัดอนาลโยทิพยาราม ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตรไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา – เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127 – 1193 อีก 9 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม
งานบรวงสรวงพระเจ้าทันใจที่วัดอนาลโยทิพยาราม
โดยเริ่มจากศาลาหลังเดียว จากสภาพป่ารกร้าง และซากปรักหักพังของพระพุทธรูปที่ได้มีชาวบ้านที่ศรัทธาพระอาจารย์ไพบูลย์นำมาประกอบกันจนครบองค์พระที่สมบูรณ์ได้ 2 องค์
เรียกขานกันว่าหลวงพ่อเกษมและหลวงพ่อสุข ประดิษฐานในหลังคาเดียวกันเรียกรวมกันเป็นแฝดว่าหลวงพ่อเกษม-สุข
ประมาณ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ หลังจากนั้นท่านได้นิมิตเห็นสายทรายทองคำหลั่งไหลลงมายังวัดรัตนวนารามเหมือนแม่น้ำไหลมาจำนวนมากมากองอยู่ที่วัดรัตนวนารามเป็นกองมหึมา
เมื่อท่านมองไปยังต้นสายจึงเห็นเป็นเขาลูกหนึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยาซึ่งหลังจากนั้นอีก 2 ปี
ได้มีญาติโยมอาราธนานิมนต์ท่านไปสร้างวัดบนเขาลูกนั้นที่ชาวบ้านเล่าว่าเคยเห็นแสงสีเหลืองเหมือนทองสุกสว่างอาบไปทั่วทั้งเขา
ซึ่งมักจะได้เห็นกันในช่วงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ชาวบ้านจึงได้ขนานนามเขาลูกนั้นว่าดอยม่อนแก้ว
ท่านมิได้รับปากสร้างวัดแต่อย่างใดเพราะเห็นว่าเวลานั้นการสร้างวัดรัตนวนารามก็เป็นภาระอย่างใหญ่หลวงแล้ว
คืนหนึ่งหลังจากกลับจากนิมนต์ท่านฝันว่าท่านได้เหาะขึ้นไปบนเขาลูกหนึ่งห่างจากบ้านสันป่าบงประมาณ 2 กิโลเมตร
เห็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ทองคำเหลืองอร่ามสวยงามและท่านได้กราบนมัสการพระพุทธรูปนั้นด้วยความเต็มตื้นศรัทธา
ท่านอดคิดไม่ได้ว่า มหามงคลนิมิตนี้แสดงว่าเขาลูกนี้คงเหมาะเป็นที่ปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่ได้บอกใคร
ขอขอบคุณ http://www.bloggang.com/