วัดดอุโมงค์ และสวนพุทธธรรม สองชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกสถานที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ของพุทธนิคม เชียงใหม่แห่งเดียวกัน แต่มีความหมายต่างกัน
วัดอุโมงค์(อุโมงค์เถรจันทร์) เป็นชื่อเรียกวัดเก่าที่ “พระเจ้ากือนาธรรมิกราช” ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อถวายเพื่อให้พระมหาเถรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกอาศัย
วัดอุโมงค์นี้หมายเอาเฉพาะบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีกำแพงอิฐปรากฏอยู่ทั้งสี่ด้าน ด้านตะวันออกจากขอบสระใหญ่ ด้านเหนือตรงไปทางทิศเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันจรด กำแพงอิฐพอดี ยาวประมาณ 100 วา ด้านเหนือจากแนวกำแพงเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันทางทิศตะวันตก จนถึงขอบสระหลังวัดอุโมงค์ ยาวประมาณ 100 วา, ด้านตะวันตกจากขอบ สระแนวกำแพงด้านเหนือ ถึงขอบสระใหญ่ใต้พระเจดีย์ ยาวประมาณ 100 วา, ด้านใต้จากขอบสระหลังพระเจดีย์ตรงไปทางตะวันตกออกจรดกำแพงทิศตะวันออกหน้าพระอุโบสถ ยาวประมาณ 100 วา มีพระอุโบสถขนาดย่อมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีพระเจดีย์ใหญ่แบบลังกาวงศ์ และอุโมงค์(ถ้ำ) 1 อุโมงค์ มีทางเข้า 3 ทาง ตั้งอยู่ตลอดแนววัดด้านตะวันตก และมีศาลาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากหน้าอุโมงค์ไปประมาณ 1 เส้น คิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 25 ไร่
สวนพุทธธรรม เป็นชื่อใหม่ที่ ภิกขุ ปัญญานันทะ ประธานวัดอุโมงค์ ในสมัยนั้น (2492-2509) ตั้งขึ้นเรียกสถานที่ป่าผืนใหญ่ที่ปกคลุมวัดร้างโบราณ ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 150 ไร่ ที่พุทธนิคมเชียงใหม่จัดขึ้นเป็นที่อยู่ของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผู้แสวงหาความสงบ พื้นที่ซึ่งเรียกว่า สวนพุทธธรรมนี้กว้างมาก รวมเอาวัดไผ่11กอ (เวฬุกัฏฐาราม ซึ่งพระเจ้ามังรายมหาราชทรงสร้างไว้ถวายเป็นที่พำนักของพระมหากัสสปะเถระ ชาวลังกา ซึ่งเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในสมัยนั้น) วัดอุโมงค์เถรจันทร์ และวัดอื่นๆ (ที่อยู่ใกล้วัดอุโมงค์ทั้ง 4 ด้าน) อีก 4 วัดเอาไว้ด้วยทั้งหมด
ประวัติวัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) มีหลักฐานทางตำนานไม่สู้จะละเอียดนัก ต้องอาศัยหลักการทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่เข้าช่วยจึงได้ความชัดขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ไม่สู้จะมั่นใจว่าประวัติที่นำมาเสนอท่านนี้จะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะบริเวณที่ถูกเรียกว่า สวนพุทธธรรม นี้มีวัดอยู่หลายวัด สร้างเก่าบ้างใหม่บ้างสับสน ซับซ้อนยิ่งวัดเหล่านี้เป็นวัดกษัตริย์ราชวงศ์มังราย(นับจากพระเจ้ามังรายเป็นต้นมา) ทรงสร้างสืบๆ ต่อกันมาเป็นระยะเวลาเกือบ 700 ปีด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้สันนิษฐานยากขึ้นไปอีก แต่ถึงแม้การศึกษายากเพียงไร หลักฐานที่ค้นได้ และนำมาประกอบการเขียนเรื่องนี้ ทำให้มั่นใจว่าจะทำให้ท่านเข้าใจประวัติวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
Read more »
ประวัติวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)
วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่
วัดสวนดอก หรือ วัดบุพผาราม ตั้งอยู่ถนนสุเทพ อำเภอเมือง วัดนี้พระเจ้ากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1914 (ศักราชนี้ถือตาม หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐาน พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินลานนาไทย วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ลานนาไทย สมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่และวิหารโถง นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย
วัดสวนดอกได้พัฒนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน รัฐบาลได้เห็นความสำคัญจึงส่งเสริม สนับ สนุน และยกย่องชมเชย พร้อมกับยกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อ พ.ศ. 2509 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2533วัดสวนดอกได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
วัดสวนดอก สักการะพระเจ้าเก้าตื้อเพื่อความเป็นศิริมงคลกันที่ จ.เชียงใหม่
ทริปนี้เราพาเพื่อนๆ มาเที่ยววัดสวนดอกที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่จะต้องมาที่วัดแห่งนี้ วัดสวนดอกแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่าวัดบุปผาราม คำว่าบุปผารามเป็นภาษาบาลีเมื่อแปลเป็นภาษาไทยจะหมายถึงสวนดอกไม้ ชาวบ้านเลยนิยมเรียกวัดแห่งนี้ว่าสวนดอก วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์มังรายของอาณาจักรล้านนา
ภายในวัดสวนดอกมีพื้นที่กว้างขวาง มีปูชนียสถานที่สำคัญทรงคุณค่าอยู่มากมาย เช่น พระเจดีย์องค์ใหญ่ทรงลังกาที่ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่และหุ้มแผ่นทองคำจังโกมีความสูงถึง 24 วา แต่เดิมเป็นเจดีย์ทรงสุโขทัยหรือทรงพุ่มข้าวบินซึ่งได้ปรักหักพังลงมา ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ผู้คนที่มาเที่ยววัดสวนดอกก็จะต้องมากราบพระเจดีย์ใหญ่องค์นี้
บริเวณต่อมาคือกู่บรรจุอัฐิของเจ้าดารารัศมี เจ้านายฝายเหนือในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ พระชายาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 รวมถึงกู่บรรจุอัฐิของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และเจ้านายฝ่ายเหนือองค์อื่นๆ อยู่มากมาย นอกจากนี้ยังมีเจดีย์อนุสาวรีย์บรรจุอํฐิของครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาอยู่ด้วย
100 ปีกู่วัดสวนดอก
พอดีวันนี้ไปวัดสวนดอกมา เลยไปเก็บภาพกู่ ที่วัดมาพร้อมประวัติ ซึ่งปีนี้กู่วัดสวนดอกจะมีอายุครบ 100 ปีพอดี คำว่ากู่ ตามสารานุกรมวัฒนธรมไทยภาคเหนือ ฉบับปี พ.ศ.2530 ไดให้ความหายไว้ว่า กู่ คือ ที่บรรจุอัฐิของบุคคลล่วงลับไปแล้ว และ พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ์พ.ศ.2530 ได้ให้ความหมายของกู่ไว้ 3 อย่างครับคือ
1.หมายถึงวัด
2.หมายถึง เจดีย์ อันเป็นสิ่งซึ่งก่อเป็นรูปลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือ หรือ บุคคลที่เคารพยับถือ
3.หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่คล้ายเจดีย์บรจุอัฐิธาตุของบุคคลผู้ล่วงลับ โดยมีขนาดและศิลปกรรม หลากหลายแตกต่างกันไปตามสมัยนิยม
สำหรับ กู่ วัดสวนดอก นี้เป็นที่บรรจุอัฐิ พระ อัฐิของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ เชื้อสาย เดิมเคยตั้งอยุ่บริเวณ ข่วงเมรุ ซึ่งเป็นสนามโล่ง ไว้ใช้เผาศพ ของเจ้าผู้คตรองนครเชียงหใ ถ้าเทียบกับ รกุงเทพ ก็คือ ทุ่งพระเมรุ หรือ สนามหลวงในปัจจุบัน และ เมื่อเผาแล้ว ก็จะสร้างกู่ หรือ ที่เก็บกระดูกขึ้นในบริเวณนั้น ซึ่งเจ้าองค์สุดท้ายที่มีการสร้างเมรขึ้น คือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 และเป็นบิดา ของ พระราชายาเจ้าดารารัศมี หลังจากงานของพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว บริเวณนั้นไดเริ่มมีการสร้างบย้านเรือนขึ้น โดยบางส่วนนั้นไดมีการบุกรุกเข้าไปในบริเวณข่วงเมรุ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 Read more »
วัดสวนดอกเชียงใหม่ บูรณะวิหารหลวงอายุ80ปี
พระศรีสิทธิเมธี เจ้าอาวาสวัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า พระวิหารหลวงของวัดสวนดอก เป็นพระวิหารหลวงหลังใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ สร้างมาตั้งแต่ปี 2474 โดยครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย นักบุญแห่งล้านนาไทยร่วมกับคณะสงฆ์ และศรัทธาประชาชนในสมัยนั้น ผ่านมากว่า 80 ปี สภาพของพระวิหารหลวงได้ชำรุด โดยวัดสวนดอกได้ขออนุญาตจากกรมศิลปากรเพื่อบูรณะเป็นครั้งคราวเรื่อยมา แต่ปัจจุบันสภาพพระวิหารหลวง รวมทั้งพระเจดีย์ที่อยู่ด้านหลังชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก จึงได้แจ้งเรื่องการชำรุดนี้ไปยังสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ เพื่อตรวจสอบและบูรณะ ต่อมาสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและดำเนินการของบประมาณปี 2555 เพื่อบูรณะพระวิหารหลวง และเจดีย์ดังกล่าว โดยได้รับอนุมัติงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 20,980,000 บาท ภายใต้โครงการช่วยเหลือฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ดังนั้น ทางวัดจึงจัดพิธีปฐมฤกษ์ เพื่อบูรณะพระวิหารหลวง และพระเจดีย์ โดยเริ่มต้นจากการเปลี่ยนหลังคาพระวิหาร เนื่องจากกระเบื้องหลังคาบางแผ่นแตกเสียหาย ต่อด้วยการบูรณะพื้น ที่เสียหายเนื่องจากความชื้นที่เกิดจากฝน จากนั้น บูรณะเสาวิหาร รวม 56 ต้น ซึ่งจะมีการปิดกระจกและปิดทองทั้งหมด
ขอขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ–วัดสวนดอก
กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยพระดำริใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านายฝ่ายเหนือในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ซึ่งทรงเห็นว่าทำเลที่ตั้งของวัดสวนดอกกว้างขวาง จึงโปรดให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน ณ ที่นี่ รวมทั้งได้ประทานทรัพย์ให้การทำนุบำรุงมาโดยตลอดพระชนม์ชีพ หลังจากพระราชชายา เจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์ ได้มีการแบ่งพระอัฐิของพระองค์มาประดิษฐานไว้ ณ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ (อีกส่วนหนึ่งแบ่งประดิษฐานไว้ใน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร)
ขอขอบคุณ http://www.teeteawthai.com/
พระเจ้าเก้าตื้อ–วัดสวนดอก
พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ ศิลปะแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดในล้านน หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 4.70 เมตร สร้างด้วยโลหะหนัก 9 ตื้อ (“ตื้อ” เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง, 1 ตื้อ = 1,400 กิโลกรัม) พระญาเมืองแก้ว กษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 เพื่อเป็นพระองค์ประธานในวัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอก
ขอขอบคุณ http://www.teeteawthai.com/
พระพุทธปฏิมาค่าคิง–วัดสวนดอก
พระวิหารหลวง–วัดสวนดอก
สร้างเมื่อพ.ศ.2474-2475 โดยครูบาเจ้าศรีวิชัย และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาดความกว้าง 12 วา 2 ศอกยาว 33 วา และมีลักษณะพิเศษคือเป็นวิหารโถงไม่มีฝาผนังมีแต่ระเบียงโดยรอบหน้าบันทั้งสองด้านมีลายปูนปั้นแบบเครือเถาศิลปะล้านนาที่สวยงาม
ขอขอบคุณ http://www.teeteawthai.com/
พระบรมธาตุเจดีย์–วัดสวนดอก
เป็นพระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1916 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 พระเจดีย์เป็นศิลปะลังกาวงศ์ผสมล้านนา ลักษณะฐานสี่เหลี่ยมมีทางขึ้น 4 ด้าน ชั้นกลางลักษณะระฆังคว่ำแบบเจดีย์ลังกา พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
ขอขอบคุณ http://www.teeteawthai.com/
ประวัติความเป็นมาของวัดสวนดอก
วัดสวนดอก ในอดีตนั้นป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย ในปี พ.ศ. 1914 พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์เม็งราย ของอาณาจักรล้านนา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น “พระอารามหลวง” เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ “พระมหาเถระสุมน” ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” 1 ใน 2 องค์ ที่ “พระมหาเถระสุมน” อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)
พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดบุปผาราม” ซึ่งหมายถึง วัดแห่งสวนดอกไม้ ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า “วัดสวนดอก”
ในสมัยราชวงศ์เม็งราย วัดสวนดอก มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้น ราชวงศ์เม็งราย บ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจพม่า ทั้งเกิดจลาจลวุ่นวาย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไป วัดสวนดอก ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัยพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจาก เจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอด
วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2475 เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
วัดสวนดอกได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
ขอขอบคุณ http://www.teeteawthai.com/
ปูชนียวัตถุของวัดสวนดอก
พระพุทธรูปพระเจ้าเก้าตื้อ ถือเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญยิ่งของชาวเชียงใหม่ หล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัยหรือปางสะดุ้งมาร ฝีมือช่างเชียงแสนผสมสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๑๒๐ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดพระเมาฬีประมาณ ๑๓๐ นิ้ว ปีชวด ฉศก หนัก ๙ ตื้อ (ตามน้ำหนักชั่งโบราณ)
และมีที่ต่อ ๘ แห่ง พระเมืองแก้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อราว จ.ศ. ๘๖๖ (พ.ศ. ๒๐๔๘ ) ต่อมาเมื่อประมาณ จ.ศ. ๘๗๑ (พ.ศ. ๒๑๕๓) จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระอุโบสถแห่งวัดบุปผาราม หรือที่เรียกว่า วิหารพระเจ้าเก้าตื้อ
สำหรับสิ่งสำคัญของวัดสวนดอกที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ และต่อมาได้รับการประกาศกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๔๑ ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้แก่ เจดีย์ประธาน พระเจ้าเก้าตื้อ พระประธานในพระวิหาร พระยืนในพระวิหารวัดสวนดอก ซุ้มประตูทางด้านทิศตะวันออก
ขอขอบคุณ http://www.oknation.net/
วัดสวนดอกวรมหาวิหาร
วัดสวนดอก หรือชื่อเดิมว่าวัดบุปผารามสวนดอกไม้ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ซึ่งมีความสำคัญมากวัดหนึ่งของเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนถนนสุเทพ เลขที่ ๒๑/๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โดยตั้งอยู่นอกเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ทางด้านทิศตะวันตก มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๕ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา และมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๕ แปลง เนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา ปัจจุบันผนวกเอาวัดพระเจ้าเก้าตื้อรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของวัดสวนดอกแล้ว
พระเจดีย์วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะใหม่และหุ้มแผ่นทองจังโก
ประวัติความเป็นมาของวัดสวนดอกที่ปรากฏใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และ พงศาวดารโยนก มีโดยย่อดังนี้ คือ พระญากือนา (ราชโอรสของพระยาผายู) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งล้านนาองค์ที่ ๖ ในราชวงศ์มังราย ทรงเดชานุภาพทั้งในด้านยุทธศาสตร์ ศิลปศาสตร์ทั้งมวล อีกทั้งทรงมีความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ทรงครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๑๙๒๘
วัดสวนดอกในเชียงใหม่
วัดสวนดอกตั้งอยู่บนถนนสุเทพ สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ในปีพ.ศ. 1916 (ค.ศ. 1373) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ วัดแห่งนี้เป็นจุดถ่ายภาพยอดนิยมโดยเฉพาะช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน ภายในบริเวณมีกู่บรรจุอัฐิเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และพระประยูรญาติหลายเจดีย์ และวิหารรองเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุดทางภาคเหนือของไทยสร้างด้วยโลหะอายุกว่า 500 ปี
ขอขอบคุณ http://www.hoteltravel.com/
ความจริงของพระเจ้าเก้าตื้อที่ไม่ได้ปรากฏในที่สาธารณะ วัดสวนดอก
ท่านเล่าว่าพระเจ้าเก้าตื้อที่เห็นนี้ได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่แทนของเก่า โดยมีคณะศรัทธาญาติโยมซึ่งมีหัวเรือใหญ่เป็นอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์ ร่วมกับผู้มีฐานะร่ำรวยมั่งคั่ง ได้ไปปรึกษาหารือกับท่านเจ้าอาวาส เพื่อจะทำการลอกทองคำที่หุ้มพระเจ้าเก้าตื้อออก และปิดใหม่ให้ดูสวยงามขึ้นซึ่งในขณะนั้นเห็นว่าทองเก่าได้หลุดลอกออกบางส่วน และการปิดทองใหม่ก็ได้ให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้ทองชนิดพิเศษเรียกว่าทองวิทยาศาสตร์ ์ซึ่งจะทำให้องค์พระมีสีทองสุกใสแวววาว
การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ ชาวบ้านที่ศรัทธาวัด ต่างไม่เห็นด้วยที่ต้องลอกทองเก่าซึ่งเป็นทองบริสุทธิ์ออก และปิดทองใหม่ ซึ่งเป็นทองผสม ไม่ได้เป็นทองคำบริสุทธิ์เหมือนแต่แรก แต่ชาวบ้านใกล้เคียง คนเฒ่าคนแก่ และพระในวัดที่เป็นคนท้องถิ่นไม่สามารถทัดทานความตั้งใจนั้นได้ จึงต้องปล่อยให้บูรณะจนแล้วเสร็จ ท่ามกลางความเสียดายของชาวบ้าน ซึ่งการบูรณะ ครั้งนี้กระทำเมื่อปลายปี 2539 และมาเสร็จเมื่อต้นปี 2540
แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุกับอาจารย์มหาวิทยาลัยผู้นี้หลายเรื่อง เช่นมีญาติเสียชีวิตอย่างกระทันหัน และเจ้าตัวประสบเคราะห์กรรมต่างๆนานา นต้องลาออกจากหน่วยงานและได้มาบวชชีที่วัดนี้เพื่อเป็นการขอขมา (ปัจจุบันได้สึกแล้ว)