วัดบรมพุทธาราม

วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ในสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตก
เป็นวัดที่สมเด็จพระเพทราชากษัตริย์อยุธยาองค์ที่ 28 แห่งราชวงค์บ้านพลูหลวง
โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถาน(บ้าน)เดิม
วัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหารการเปรียญ
มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า
“วัดกระเบื้องเคลือบ”

การมุงหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวนี้ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้โปรดให้มุงหลังคา พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทในวังนารายณ์ราชนิเวศน์
และวิหารกลางในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อพระเพทราชารับราชการ
เป็นเจ้ากรมช้าง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยู่ที่วังนารายณ์ราชนิเวศน์
คงเห็นหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองสวยงามดี จึงได้ให้มุงหลังคากระเบื้องเคลือบ
ที่วัดบรมพุทธารามนี้บ้าง

Read more »

ประวัติและความสำคัญของวัดบรมพุทธาราม

วัดบรมพุทธาราม เป็นวัดขนาดเล็กมีฐานะเป็นพระอารามหลวงฝ่ายคามวาสีครั้งกรุงศรีอยุธยา(๒) และเป็นที่สถิตของพระราชาคณะที่มีฐานานุศักดิ์เป็นพระญาณสมโพธิ์ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า สมเด็จพระเพทราชาโปรดฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๒(๓) โดยโปรดฯ ให้สถาปนากำแพงแก้ว พระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ เสนาสนะ กุฎี และให้หมื่นจันทราช่างเคลือบให้เคลือบกระเบื้องสีเหลืองมุงหลังคาพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ สร้างอยู่ ๒ ปี จึงเสร็จ ถวายนามพระอารามชื่อว่า “วัดบรมพุทธาราม” แล้วสมโภชฉลอง ๓ วัน ๓ คืน เจ้าอธิการซึ่งนิมนต์เข้ามาอยู่นั้นตั้งให้เป็นพระราชาคณะชื่อ “พระญาณสมโพธิ” ทรงพระราชูทิศเป็นพระรัตนตรัยบูชา พระราชกัลปนาส่วยขึ้นพระอารามเป็นอันมาก มีแห่พระยุหยาตรากฐินหลวง นาคหลวง สระสนาน ช้าง ม้า ที่มีเป็นการพิเศษ
เนื่องจากวัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” การมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวนี้ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้มุงหลังคาพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท ในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และวิหารหลวงในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อสมเด็จพระเพทราชาเป็นเจ้ากรมช้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอยู่ที่พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ คงเห็นหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองสวยงามดี จึงให้มุงหลังคากระเบื้องเคลือบที่วัดบรมพุทธารามนี้บ้าง
Read more »

วัดบรมพุทธาราม– ที่ตั้งโบราณสถาน

ปัจจุบันวัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(๑) ในเขตของสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา บนพื้นที่กึ่งกลางค่อนไปทางทิศใต้ของเกาะเมือง ริมถนนศรีสรรเพชญ์ (ถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง) ฟากตะวันออก ใกล้ประตูชัยซึ่งเป็นประตูใหญ่บนแนวกำแพงเมืองด้านใต้ ในบริเวณที่ตั้งวัดนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นย่านป่าตอง ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งนิวาสสถานของสมเด็จพระเพทราชามาก่อน เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วจึงได้สถาปนาขึ้นเป็นพระอาราม ทางด้านทิศตะวันออกของวัดติดกับคลองฉะไกรน้อย ซึ่งเป็นคลองที่ชักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเกาะเมืองเข้ามาสู่บึงพระรามทางด้านทิศเหนือ ในบริเวณคลองนี้มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจการค้า เพราะมีตลาดน้ำและตลาดบกที่สำคัญ คือ ตลาดป่าตอง ซึ่งแนวถนนและคลองดังกล่าวอาจจะมีส่วนทำให้แผนผังของวัดต้องวางตัวตามแนวเหนือ–ใต้ เพราะพื้นที่แคบไม่สามารถวางตัวตามแนวทิศตะวันออก–ตะวันตกได้

โดยสรุปอาณาเขตติดต่อของวัดบรมพุทธารามกับเขตอื่น ๆ ได้แก่
ทิศเหนือ ติดกับพื้นที่ว่าง ถัดขึ้นไปเป็นที่ตั้งอาคารเรียนของสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก ติดกับแนวคลองฉะไกรน้อย ถัดไปเป็นที่ตั้งของวัดสิงหาราม
ทิศใต้ ติดกับพื้นที่ว่างเปล่า ถัดลงไปเป็นที่ตั้งบ้านพักอาจารย์ของสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก ติดกับแนวถนนศรีสรรเพชญ์ (ถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง)

ขอขอบคุณ http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/

วัดพระธาตุดอยจอมทอง ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย

วัดพระธาตุดอยทอง ตั้งอยู่ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ตามตำนานเล่าว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่มีก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะทรงสร้างเมืองเชียงราย โดยเล่าว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 สันนิษฐานว่า เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทองนั้น คงจะมีการบูรณะองค์พระธาตุใหม่พร้อมๆ กับการสร้างเมืองเชียงราย นอกจากนั้นตรงข้ามพระธาตุดอยทอง เป็นที่ตั้งของเสาสะดือเมือง 108 หลัก ซึ่งสร้างตามคติโบราณล้านนา คือจะใหญ่เท่าห้ากำมือ และสูงเท่าความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน เสาสะดือเมืองเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวง แทนสมมติจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ล้อมรอบด้วยน้ำห้าร่องแทนปัญจมหานที ขั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน เสาสะดือเมืองชาวเชียงรายได้ร่วมใจสร้างขึ้นเมืองปี พ.ศ 1531 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญาเม็งราย และได้มีการบูรณะในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขอขอบคุณ http://www.annaontour.com/

ชวนนมัสการไหว้พระธาตุ 9 จอม อันศักดิ์สิทธิ์ของเชียงราย–พระธาตุจอมทอง

jom-thong-x

ที่ตั้ง วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงรายมีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และ สร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

Read more »

วัดพระธาตุจอมทอง เชียงราย

วัดพระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญประดิษฐานพระธาตุจอมทอง อันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนเมืองพะเยามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล พระธาตุองค์นี้ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด เพียงแต่มีประวัติเกี่ยวกับพระธาตุจอมกิตติที่เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตามตำนานว่า พระเจ้ามังคราช เจ้าผู้ครองโยนกบุรีศรีเชียงแสนโปรดให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์นำมาจากลังกาทวีป และมอบให้พระยาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ พระองค์จึงสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวไว้บนดอยแห่งหนึ่งของเมืองพะเยา เรียกกันว่า พระธาตุจอมทอง

พระธาตุจอมทองมีลักษณะเป็นศิลปะแบบล้านนา ฐานย่อเป็น 8 เหลี่ยมด้านบนเป็นมาลัยเตา 3 ชั้น ต่อชั้นขึ้นไปเป็นหอระฆังและมีปล้องไฉนจนถึงฉัตรทองคำ ได้รับการบูรณะหลายครั้งจนอยู่ในสภาพดี นอกจากนี้ในวัดยังมีพระพุทธรูปศิลา เรียกว่า พระเจ้าทันใจ พระอุโบสถ และพระวิหาร ซึ่งมีความเก่าแก่เช่นเดียวกัน

Read more »

นมัสการพระธาตุเก่าแก่ และเสาสะดือเมือง 108 หลักที่วัดพระธาตุดอยจอมทอง

วัดพระธาตุดอยจอมทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง (หรือวัดพระธาตุดอยตอง ตามสำเนียงคนเชียงราย) เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งใน “เก้าจอม” ของสถานที่อันเป็นมงคลนามของจังหวัดเชียงราย โดยวัดพระธาตุดอยจอมทองนี้

วัดพระธาตุดอยจอมทอง เป็นปูชนียสถานสำคัญของเชียงราย ตั้งอยู่บนดอยจอมทองที่สามารถมองเห็นตัวเมืองเชียงรายได้อย่างชัดเจน ตามตำนานระบุว่าเป็นวัดเก่าแก่ก่อนที่พญามังรายจะมาตั้งเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ.1805 โดยพญามังรายทรงกำหนดให้ดอยจอมทองเป็นสะดือเมืองหรือใจกลางเมือง

ที่ตั้งและการเดินทาง ตั้งอยู่บนดอยทอง ต.เวียง

รถยนต์ส่วนตัว จากหอวัฒนธรรม ใช้ ถ.สิงหไคล ผ่าน รพ.โอเวอร์บรู๊ค เลี้ยวขวาเข้า ถ.ไกรสรสิทธิ์ ทางเดียวกับทางไปสะพานแม่ฟ้าหลวง ประมาณ 1 กม. จากนั้นมีแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกทางไปวัดดอยจอมทองตาม ถ.อาจอำนวย ซึ่งเป็นถนนแคบๆ ผ่านทางขึ้นวัดดอยจอมทองด้านขวามือ

Read more »

วัดพระธาตุดอยจอมทอง

ที่ตั้ง: รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย 57000
รายละเอียด : ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ตำนานกล่าวว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1483 ต่อมาเกิดแผ่นดินไหว ทำให้พระธาตุเจดีย์องค์เดิมพังทลายลงมา เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทอง จึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์องค์ใหม่ขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองและในบริเวณเดียวกันยังมีเสาหลักเมืองอีกด้วย เจดีย์องค์ปัจจุบันที่เห็นได้ถูกสร้างใหม่อีกครั้ง โทร. 0 5371 6055
การเดินทาง : “โดยทางอื่น ทาง จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เข้าถนนอุตรกิจไปจนถึงสี่แยกพหลโยธิน (สายใน) เลี้ยวขวาผ่านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหยือเขต ๒ ตรงไปจนถึงปากทางเข้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไตรรัตน์ ผ่านวัดพระแก้ว เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งขึ้นดอยทองผ่านวัดงำเมืองไปประมาร ๓๕o เมตร ก็จะถึงปากทางขึ้น”

ขอขอบคุณ http://www.zeekway.com/

 

วัดพระธาตุดอยจอมทอง

068

วัดพระธาตุดอยจอมทอง (วัดดอยทอง) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง…….เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย สันนิษฐานว่ามีมาก่อนพ่อขุนเม็งราย จะมาพบพื้นที่สร้างเมืองเชียงรายในปี พ.ศ.1805……ตามประวัติกล่าวว่าสร้างในสมัยพระยาเรือนแก้ว ผู้ครองเมืองไชยนารายณ์ เมื่อปี พ.ศ.1483 เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระชาวลังกาได้นำมาถวายแด่พระเจ้าพังคราชแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน…………และนำไปประดิษฐานที่พระเจดีย์ธาตุที่สำคัญในจังหวัดเชียงราย คือ วัดพระธาตุดอยตุง วัดพระธาตุจอมกิตติ และที่พระเจดีย์พระธาตุดอยจอมทองแห่งนี้……

สิ่งสำคัญภายในวัดพระธาตุดอยจอมทอง นอกจากพระธาตุเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่มีลักษณะเป็นพระเจดีย์ศิลปะล้านนาและพุกามแล้ว ยังมีพระวิหารที่มีลักษณะเป็นวิหารร่วมสมัยระหว่างศิลปะล้านนาและศิลปะรัตนโกสินทร์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันสวยงาม…..นอกจากนั้นวัดพระธาตุดอยจอมทองยังเป็นสถานที่ประดิษฐานเสาสะดือเมืองเชียงราย และต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งอัญเชิญมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดียอีกด้วย…..

Read more »

พระธาตุดอยจอมทอง

image003
วัดพระธาตุดอยจอมทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง (หรือวัดพระธาตุดอยตอง ตามสำเนียงคนเชียงราย) เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งใน “เก้าจอม” ของสถานที่อันเป็นมงคลนามของจังหวัดเชียงราย

โดยวัดพระธาตุดอยจอมทองนี้ สันนิษฐานว่าสร้างก่อนที่พญามังรายมหาราชจะเสด็จมาพบพื้นที่บริเวณนี้ และโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายในปี พ.ศ. 1805 โดยตามประวัติที่มีการกล่าวถึงวัดพระธาตุดอยจอมทองระบุว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพญาเรือนแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยปัจจุบัน) นี พ.ศ. 1483 โดยในการสร้างวัดครั้งนั้น ได้มีการสร้างองค์พระเจดีย์ประธานของวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหาเถระชาวลังกาได้นำมาถวายแด่พญาพังคราชแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ ซึ่งพญาพังคราชได้โปรดให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 3 ส่วน และนำไปประดิษฐาน ณ พระบรมธาตุเจดีย์ที่สำคัญของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ได้แก่ พระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง พระธาตุจอมกิตติ และพระธาตุดอยจอมทองแห่งนี้

พระเจดีย์ประธานของวัดพระธาตุดอยจอมทอง มีลักษณะเป็นเจดีย์ล้านนาพุกาม องค์ประกอบของเจดีย์ส่วนฐานมีลักษณะเป็นฐานปัทม์หกเหลี่ยมยกสูง องค์เจดีย์มีลักษณะเป็นชั้นบัวถลารับองค์ระฆัง ส่วนยอดประกอบด้วยบัลลังก์ ปล้องไฉน ปลียอด และมีฉัตรอยู่ชั้นบนสุด องค์เจดีย์หุ้มด้วยทองจังโกฎิ เหมือนกับพระเจดีย์อื่นๆในภาคเหนือ ทำให้เกิดความสวยงามและยังสามารถป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำ และป้องกันการเกิดวัชพืชบนองค์เจดีย์ด้วย

Read more »

วัดพระธาตุดอยจอมทอง

pic-120

ตั้งอยู่ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ตามตำนานเล่าว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่มีก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะทรงสร้างเมืองเชียงราย โดยเล่าว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 สันนิษฐานว่า เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทองนั้น คงจะมีการบูรณะองค์พระธาตุใหม่พร้อมๆ กับการสร้างเมืองเชียงราย

นอกจากนั้นตรงข้ามพระธาตุดอยทอง เป็นที่ตั้งของเสาสะดือเมือง 108 หลัก ซึ่งสร้างตามคติโบราณล้านนา คือจะใหญ่เท่าห้ากำมือ และสูงเท่าความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน เสาสะดือเมืองเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวง แทนสมมติจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ล้อมรอบด้วยน้ำห้าร่องแทนปัญจมหานที ขั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน เสาสะดือเมืองชาวเชียงรายได้ร่วมใจสร้างขึ้นเมืองปี พ.ศ 1531 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญาเม็งราย และได้มีการบูรณะในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขอขอบคุณ http://www.chiangraiekkachai.com/

ตำนานพระธาตุ 9 จอม –วัดพระธาตุจอมทอง เชียงราย

พระธาตุเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ ที่เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเปรียบเสมือนเป็นองค์แทนพระองค์ไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญเพียรเผยแพร่หลักธรรมแห่งพุทธศาสนา เพื่อการหลุดพ้นจากบ่วงกรรมความทุกข์ทั้งปวง อันจะนำพาความเป็นสิริมงคลมาสู่ชีวิตของผู้ที่เคารพและศรัทธา
ตามคติความเชื่อของชาวล้านนามาตั้งแต่โบราณกาล เชื่อกันว่าการได้ทำบุญวัดประจำปีเกิด หรือการได้ไปทำบุญวัดที่เป็นมงคลนามทั้งเก้า รวมถึงการได้ไปนมัสการสักการะพระธาตุเก้าจอม จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล อยู่เย็นเป็นสุข หรือ ตามคติล้านนาว่า อยู่ดีกินหวาน ประสบความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน การดำเนินชีวิตได้สมดังปรารถนา

พระธาตุถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอัศจรรย์ปาฏิหาริย์มาก จากคำบอกเล่าของบรรพชนมักได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า ทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ของบางเดือน จะเกิดปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เช่น การปรากฏลำแสงพวยพุ่ง สุขสว่างสดใสเป็นรัศมีสีแดง สีเหลือง สีขาว ขึ้นรอบองค์พระธาตุ หรือ พาดผ่านขึ้นสู่ท้องฟ้าบ้าง หรือการปรากฏความร่มเย็นเป็นสุขมีฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลที่แห้งแล้วบ้าง หรือปรากฏกลิ่นหอมโรยรื่นอบอวลชวนให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสบ้าง ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้สำแดงออกมาโดยอัศจรรย์ด้วยพุทธานุภาพเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ผองชนที่เคารพเลื่อมใสเป็นอันมาก
พระธาตุเก้าจอม เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในส่วนต่างๆ ของพระวรกายโดยแท้ มีประวัติตำนานกล่าวขานที่เป็นพุทธมงคลรวมทั้งนามที่ตั้งก็เป็นมงคลนาม ผู้ที่ได้สักการะพระธาตุครบทั้งเก้าจอมจะถือว่าน้อมรับมงคลอันยิ่งใหญ่และสิ่งงดงามมาสู่ชีวิตของตนเองและบริวาร

Read more »

นมัสการพระธาตุเก่าแก่ และเสาสะดือเมือง 108 หลักที่วัดพระธาตุดอยจอมทอง

450px-Jt01.jpg

วัดพระธาตุดอยจอมทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง (หรือวัดพระธาตุดอยตอง ตามสำเนียงคนเชียงราย) เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งใน “เก้าจอม” ของสถานที่อันเป็นมงคลนามของจังหวัดเชียงราย โดยวัดพระธาตุดอยจอมทองนี้

วัดพระธาตุดอยจอมทอง เป็นปูชนียสถานสำคัญของเชียงราย ตั้งอยู่บนดอยจอมทองที่สามารถมองเห็นตัวเมืองเชียงรายได้อย่างชัดเจน ตามตำนานระบุว่าเป็นวัดเก่าแก่ก่อนที่พญามังรายจะมาตั้งเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ.1805 โดยพญามังรายทรงกำหนดให้ดอยจอมทองเป็นสะดือเมืองหรือใจกลางเมือง

ที่ตั้งและการเดินทาง ตั้งอยู่บนดอยทอง ต.เวียง

รถยนต์ส่วนตัว จากหอวัฒนธรรม ใช้ ถ.สิงหไคล ผ่าน รพ.โอเวอร์บรู๊ค เลี้ยวขวาเข้า ถ.ไกรสรสิทธิ์ ทางเดียวกับทางไปสะพานแม่ฟ้าหลวง ประมาณ 1 กม. จากนั้นมีแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกทางไปวัดดอยจอมทองตาม ถ.อาจอำนวย ซึ่งเป็นถนนแคบๆ ผ่านทางขึ้นวัดดอยจอมทองด้านขวามือ

Read more »

วัดพระธาตุดอยจอมทอง สถานที่เที่ยวที่น่าสนใจจังหวัดเชียงราย

wat-prathat-doi-jomthong

ตั้งอยู่ วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยจอมทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย มีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส ประวัติพระธาตุ เป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. 1805 ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว 956 พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำเดือน 6 ปีชวด มหาศักราชได้ 335 (พ.ศ. 1843) นำพระบรมสารีริกธาตุ 3 ขนาดรวม 16 องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่งขนาด กลางสอง รวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (เดือน 5 เหนือ)

Read more »

พระธาตุจอมทอง เชียงราย

jom-thong-x

ที่ตั้ง วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทร o-๕๓๗๑ – ๖o๕๕ มีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .