แผนที่วัดสวนแก้ว
หมู่ 1 ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
โทร. 02-595-1444, 02-595-1945-7
โทรสาร 02-595-1222
ขอขอบคุณ http://www.dhammajak.net/
วันนี้ นำบุญมาฝาก พร้อมพาเพื่อน ๆ ไปชมวัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี ที่มี พระพยอม กัลยาโณ
เป็นเจ้าอาวาส และประธานมูลนิธิสวนแก้ว ซึ่งถ้าเพื่อน ๆ มีเวลา ลองไปทำบุญที่วัดนี้สิคะ
แม้เนื้อเรื่องจะดูยาวสักหน่อย ต้องใช้เวลาอ่าน แต่มีภาพประกอบให้พักสายตา รับรองว่า
เมื่ออ่านจบ เพื่อน ๆ จะอิ่มบุญ และสุขใจค่ะ
สิ่งที่ทำให้พึงใจในการไปทำบุญที่วัดสวนแก้ว
1.ชื่นชอบในกิจปฏิบัติของ พระพยอม กัลยาโณ ที่ทุ่มเทกำลังกาย-ใจ ช่วยเหลือเพื่อนมุนษย์
ผู้ยากไร้ และด้อยโอกาส รวมถึงความช่างคิด ช่างทำ ของท่าน
2.เป็นวัดที่ไม่สรรสร้างแต่ถาวรวัตถุ ใช้ธรรมชาติเป็นโบสถ์/ศาลา เพียงแต่พอมีหลังคา
คลุมฝน/กันแดด
3.อยู่ไม่ไกลจากบ้าน เดินทางสะดวก
4.มีบริเวณกว้าง ร่มเย็น ร่มรื่น นำความสุขกาย สุขใจ แก่ผู้ไปเยือน
5.พระที่วัดนี้ น่าเลื่อมใสศรัทธา มีคำสอนให้ญาติโยม และทักทายญาติโยมแต่พองาม
6.มีคติธรรม สอดแทรกอยู่ทั่วไปในวัด แม้กระทั่งบนต้นไม้
7.หาซื้ออาหาร จากชาวบ้านที่นำมาขายอยู่ข้างวัด
8.ที่สำคัญ.. วัดนี้ไปเวลาไหนก็ได้ ไม่ต้องรีบร้อน ลนลานไปแต่ไก่โห่
ขอขอบคุณ http://www.oknation.net/
หากพูดถึงวัด สิ่งที่เราจะคิดถึงก็คือการทำใจให้สงบ การทำบุญ และการบริจาคสิ่งของ แต่สำหรับวัดสวนแก้วแล้วเราจะได้พบสิ่งอื่นอีก นั่นก็คือ การรีไซเคิล ซึ่งเป็นสะพานบุญระหว่างผู้ให้หรือผู้บริจาควัสดุเหลือใช้และผู้รับหรือผู้ยากไร้ ซึ่งสะพานบุญของการรีไซเคิลนี้ ดำเนินการโดยมูลนิธิสวนแก้ว จ.นนทบุรี
มูลนิธิสวนแก้ว ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2529 ภายในวัดสวนแก้ว เริ่มจากพระพยอม กัลยาโณ (พระพิศาลธรรมวาที) ได้มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือบุคคลที่ด้อยโอกาสในสังคมรวมทั้งผู้ประสบภัย นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ คนชรา ฯลฯ โดยการให้อาชีพใหม่และที่พักอาศัยแก่พวกเขาเหล่านั้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามูลนิธิสวนแก้วได้จัดทำโครงการที่ช่วยเหลือสังคมต่างๆ มากมาย แต่มีโครงการหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้การลดปริมาณขยะมูลฝอย และช่วยให้ผู้ยากไร้ได้มีลู่ทางทำมาหากิน นั้นคือ โครงการสะพานบุญจากผู้เหลือเจือจานผู้ขาด สาเหตุที่ได้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา พระพยอมได้เทศนาโดยสรุปว่า วันหนึ่งท่านไปธุระพร้อมลูกศิษย์ ระหว่างนั่งคอยลูกศิษย์บนรถ เผอิญบ้านตรงข้ามเป็นบ้านเศรษฐีแล้วมองเห็นเขาหยิบถุงขยะเทลงถังหน้าบ้าน และมีเด็ก 2 – 3 คน รถคนจน รถซาเล้งปรี่เข้าไปเขี่ยคุ้ย เลือกเอาของเก่าที่ยังใช้ได้จากถังที่มีขยะปนเปื้อน ใส่ในรถเข็นก่อนที่จะนำไปขาย จากวันนั้นได้จุดประกายแนวคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้เด็กเหล่านี้ได้ขยะที่ไม่เปรอะเปื้อนผนวกกับความคิดที่ว่า มนุษย์หาความสุขที่เป็นกากมากกว่าที่เป็นทิพย์ยิ่งความสุขที่เป็นกากมากกากของความสุขก็มาก ถ้าเอากากของความสุขมาทำให้มันเป็นประโยชน์อีกทีจะได้ไหม ดังนั้น ในปี2536 มูลนิธิสวนแก้ว จึงได้ริเริ่มโครงการที่ รับบริจาคสิ่งของหรือของเหลือใช้ที่เจ้าของไม่ต้องการแล้ว หรือของที่ทิ้งแล้วแต่ยังสามารถนำมาดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ได้อีก ให้แก่ผู้ยากไร้ คนตกงาน ภายในวัดสวนแก้ว นำไปขายเพื่อยังชีพหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไป ตัวอย่างเช่น
วัดสวนแก้ว ตั้งอยู่ตำบลบางเลน แต่เดิมวัดนี้ชื่อ “วัดแก้ว” เป็นวัดร้างมา 80 ปี จนกระทั่งหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และพระภิกษุอีก 3-4 รูป ได้เข้ามาพำนักแต่พื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยสวนต่างๆ หลวงพ่อไม่สามารถจะบูรณะได้ เพราะขาดบุคลากร ที่จะช่วย พัฒนา
เมื่อปี พ.ศ. 2521 พระพยอม กัลยาโณ และเพื่อนพระภิกษุอีก 2 รูปได้เดินทางมาจากวัดสวนโมกขพลาราม เพื่อขอทำโครงการบวชเณร ภาคฤดูร้อนที่วัดแห่งนี้
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2522 หลวงพ่อได้มอบหมายให้พระพยอมและเพื่อนพระภิกษุ เป็นผู้ดูแลรักษาวัดเนื่องด้วยหลวงพ่อ เทียนนั้นดำริจะเดินทางกลับจังหวัดเลย
ต่อมาภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดสวนแก้ว” และได้จัดตั้ง “มูลนิธิสวนแก้ว” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ หลัก 3 ประการ คือ
– เพื่อเผยแผ่ศีลธรรมในศาสนา
– เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจแก่ผู้กระทำความดี
– และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนดีมีสัมมาชีพ
เดิมชื่อ วัดแก้ว เป็นวัดร้างมา 80 ปี ภายหลังหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ และพระภิกษุอีก 3-4 รูปได้เข้ามาพำนัก แต่พื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยเรือกสวน หลวงพ่อไม่สามารถจะบูรณะได้เพราะขาดบุคลากรที่จะช่วยพัฒนา
พ.ศ. 2521 พระพยอมและเพื่อนพระภิกษุอีก 2 รูป ได้เดินทางมากราบหลวงพ่อเทียน เพื่อขอทำโครงการบวชเณรภาคฤดูร้อน เมื่อเสร็จแล้วก็จะลากลับสวนโมกข์ เมื่อหลวงพ่อเทียนได้อนุญาตให้พำนักแล้ว ยังได้ช่วยสนับสนุนงานบวชเณรภาคฤดูร้อนด้วยโดยช่วยเป็นพระพี่เลี้ยงให้
พ.ศ. 2522 หลวงพ่อเทียนได้มอบหมายให้พระพะยอมและเพื่อนภิกษุเป็นผู้ดูแลรักษาวัดต่อไป ส่วนตัวหลวงพ่อเทียน กลับจังหวัดเลย ที่วัดแก้วนี้ พระพยอมได้พัฒนาพื้นที่ของวัดและเตรียมจำลองสวนโมกขพลารามให้เกิดขึ้นในเมือง ตามคำที่ท่านพุทธทาสเคยปรารภเมื่อคราวที่ยังศึกษาธรรมอยู่ที่สวนโมกข์
ท่านได้ทุ่มเทชีวิตใจเพื่อการบูรณะวัดอย่างเต็มที่และได้นำทรัพย์ส่วนตัวมาพัฒนาวัดแก้ว ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดสวนแก้ว เมื่อพัฒนาวัดจนเหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมของวัดแล้วจึงมุ่งเผยแพร่พุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง
หลวงพ่อไวพจน์ รวมเกจิสายตะกรุดทั่วประเทศปลุกเสก ตะกรุดระเบิด เปิดขุมทรัพย์
ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2537 พระครูวิสาลสรคุณ (ไวพจน์ กตปุญโญ ปธ.๓) เคยออกวัตถุมงคลมาหลายรุ่น อาทิ ตะกั่วตะกรุดโทน, ตะกรุดพิศสมร, ตะกรุดไผ่ตัน, ตะกรุดหนังเสือดำ และตะกรุดไตรมาส เนื้อเงิน ทอง นาค หากใครจะหาเช่าในตอนนี้ต้องขอบอกว่าไม่มีแล้ว เพราะแต่ละรุ่นเป็นที่นิยมจนหมดภายในเวลารวดเร็วสาเหตุที่ พระครูวิสาลสรคุณ เจ้าอาวาสวัดสามง่าม เลือกทำวัตถุมงคลเป็นตะกรุดมาตลอดก็เนื่องจากได้เคยศึกษาเรียนรู้ตำราการทำตะกรุด การเขียนอักขระขอม การเขียนเลขยันต์ต่างๆ มาจากชาวบ้านที่ชื่อ อาจารย์พ่วงและอาจารย์เคลื่อน ล่าสุดพระครูวิสาลสรคุณทำ ตะกรุดระเบิด เปิดขุมทรัพย์ ออกมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพระอุโบสถที่ทำค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ เพื่อสร้างศาลาเรือนพักสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม 2 ชั้น และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550
ตะกรุดรุ่นนี้จะแตกต่างจากตะกรุดทุกรุ่นอื่นๆ หลายอย่าง ไม่ว่าจะมีรูปลักษณ์เป็นทรงลูกระเบิด บรรจุแร่บางไผ่ ซึ่งใช้ตายพรายทำ จึงมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะแร่บางไผ่เป็นทั้งมหาอุด เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี พร้อมตะกรุดยันต์ ไว้ภายใน ส่วนภายนอกเสริมด้วยอักขระหัวใจธรรมจักร อักขระหัวใจอิทธิฤทธิ์ หนุนหัวใจธาตุ 4 เวลาเขย่าจะมีเสียง จึงเป็นตะกรุดที่แปลกใหม่และน่าจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ศรัทธาทั้งหลาย
เคยไหม? บางครั้งที่เราเจอปัญหา หรืออะไรมาสะกิดใจเพียงนิดเดียว ก็เกิดอาการควบคุมจิตใจไม่ได้ เกิดความฟุ้งซ่านวุ่นวาย มีเรื่องรบกวนไปเสียหมด นั่นเพราะไม่เคยรับการบำบัดทางจิต หรือลองฝึกสมาธิมาก่อน หลายคนที่เคยลองฝึกจิต หรือฝึกสมาธิ จะสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีกว่าคนอื่น ๆ และยังมีสติ ทำอะไรด้วยความไม่ประมาทด้วย
วันนี้ เราขอชวนเพื่อน ๆ มาลองฝึกสมาธิเบื้องต้นกันดู ซึ่งโดยปกติแล้ว “สมาธิ” มีหลายประเภท แต่สมาธิที่ฝึกง่ายที่สุด ประหยัดเวลา และได้ผลที่สุดตามที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ปฏิบัติ ก็คือ “อานาปานสติ” หรือการกำหนดลมหายใจเข้าออก ที่เราส่วนใหญ่ก็เคยได้ยินกันมาบ้างแล้วนั่นเอง โดยหลักการฝึกสมาธิเบื้องต้นแบบง่าย ๆ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
ก่อนฝึกสมาธิ
– ควรอาบน้ำ ล้างหน้า ล้างมือ ล้างเท้าก่อน เพื่อให้ตัวรู้สึกสบายมากที่สุด เมื่อร่างกายสงบ จิตใจจะสงบได้ง่ายขึ้น
– หาสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่านจอแจ อากาศถ่ายเท เย็นสบาย เพื่อให้เข้าถึงสมาธิได้เร็วมากขึ้น
– พยายามตัดความกังวลทุกอย่างออกไป เช่น ควรจัดการงานที่คั่งค้างอยู่ในเสร็จก่อนเริ่มทำสมาธิ เพื่อไม่ให้ห่วงหน้าพะวงหลัง
– อย่าตั้งใจมากเกินไป ว่าจะต้องให้ได้ขั้นนั้น ขั้นนี้ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเคร่งเครียดมากขึ้น จิตใจจะพะวงไปแต่อนาคต ไม่สามารถควบคุมจิตใจให้อยู่ ณ ปัจจุบัน
ได้กล่าวมาแล้วว่า การศึกษาสมาธิด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา ต่อไปนี้จะเป็นรายงานการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จากประเทศต่างๆ ที่ได้พิมพ์ออกมาเป็นเอกสารทางวิชาการ เช่น The American Journal of Philosophy, International Journal of Neuroscience, Phychosomatic medicine, American Pshchologist, India Journal of medical Research ดังนี้
๑. สมาธิที่มีผลต่อระบบการหายใจ
ค.ศ. ๑๙๖๑ ศาสตราจารย์บี.เค.อนันต์ แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ออล อินเดีย ได้ทำการทอลองกับโยคี ชื่อ ศรี รามนันท์ โดยได้ให้โยคีเข้าไปนั่งทำสมาธิอยู่ในหีบขนาดกว้าง ๔ ฟุต ยาว ๖ ฟุต และลึก ๔ ปิดทึบอากาศเข้าออกไม่ได้Ý ครั้งหนึ่งนาน ๘ ชั่วโมง และอีกครั้ง ๑๐ ชั่วโมง โดยไม่ปรากฏอันตรายอย่างใดแก่โยคี ผลการวิจัยพบว่า
1. โยคีใช้ออกซิเจนน้อยกว่าธรรมดา ๓๓ ñ ๕๐ เปอร์เซ็นต์
2. อัตราชีพจรลดลงจาก ๘๕ ครั้งต่อนาที คงเหลือเพียง ๖๐ ñ ๗๐ ครั้งต่อนาที
3. การหายใจมีความเร็วเกือบคงที่ระหว่างการทำสมาธิ
4. คลื่นสมองมีลักษณะคล้ายกับเวลานอน หลับๆ ตื่นๆ
การเทศน์มหาชาติ จัดเป็นพระราชพิธีประจำปีระหว่างเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ และเดือนอ้าย มหาชาติเป็นกำเนิดอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มหาเวสสันดรชาดก ถือกันว่าใครได้ฟังเทศน์มหาชาติ
หรือมหาเวสสันดรชาดกจะมีอนิสงส์ยิ่งใหญ่ แม้น้ำมนต์ที่ตั้งไว้ในพิธีเทศน์ก็เป็นน้ำศักดิ์สิทธ์ อาจชำระล้างอัปมงคลทั้งปวงได้ จึงเกิดเป็นประเพณีไทยมีพิธีเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามทุกปี
มหาเวสสันดรชาดกเดิมทีเดียวแต่งเป็นภาษามคธ มีคาถาพันหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า“คาถาพัน” ต่อมาได้มีนักปราชญ์ราชกวีเป็นร่ายสำหรับเทศน์ โดยถือคำมคธนั้นเป็นหลักมีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ ประเพณีเทศน์มหาชาติมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาและที่มีกัณฑ์เป็นการใหญ่ก็ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์และพวกข้าราชการทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศน์จึงเป็นราชประเพณีไทยบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นประจำปีในรัชกาลต่อมา และได้เกิดเป็นพระราชนิยมขึ้น เมื่อเจ้านายชั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกยาเธอทรงผนวชเป็นสามเณร ก็ได้เทศน์มหาชาติถวาย เครื่องกัณฑ์ก็มีกระจาดใหญ่เป็นรูปเรือสำเภา ราชประเพณีนี้เลิกมาเสียนาน เพิ่งจะมาฟื้นขึ้นเมื่อสองปีล่วงมานี้ โดยจัดเป็นราชพิธีให้มีขึ้นที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
Read more »
การทำสมาธิช่วยให้มีสุขภาพดีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ประโยชน์ทางสุขภาพที่ได้จากการทำสมาธินั้นมีอยู่มากมาย ไม่เพียงเฉพาะแต่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจะบรรเทาอาการได้เท่านั้นในผู้ที่ฝึกทำสมาธิเป็นประจำยังช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพได้ และป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ การทำสมาธินั้นได้ถูกนำมาใช้กันในวงกว้างกับโรคร้ายแรงหลาย ๆ โรค โดยเฉพาะโรคที่ประสบความสำเร็จและมีการบันทึกไว้ก็คือเกี่ยวกับปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น อาการสะเทือนใจและอื่น ๆ แล้วการทำสมาธิช่วยเรื่องสุขภาพได้อย่างไร??
ต่อไปนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นขณะที่ทำสมาธิ:
*คุณจะรับออกซิเจนน้อยลง *คุณจะหายใจได้ดีขึ้น *การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง *ร่างกายจะแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของหัวใจของผู้ป่วย *ร่างกายจะพักผ่อนได้ลึกขึ้น *ทำให้ความดันเลือดที่สูงลดต่ำลง *ลดความกังวล *ลดความตึงของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดศีรษะ *เพิ่มความมั่นใจในตัวเอง *การผลิตฮอร์โมน serotonin ช่วยให้ทำให้จิตใจดีขึ้น *ช่วยทำให้อาการก่อนมีประจำเดือนในผู้หญิงลดลง *ช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดหายได้เร็วขึ้น *กระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน *ช่วยให้อารมณ์คงที่ไม่แปรปรวน
1.วัดเสาธงหิน (วัดนี้หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิมากคะ*******)
วัดเสาธงหินตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ เดิมชื่อ “วัดสัก” เพราะทั่วบริเวณมีต้นสักและต้นยางมาก ซึ่งตาม ประวัติของวัดได้บันทึกไว้ว่า ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ.2310 เสียกรุงครั้งสุดท้าย สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้มาตั้งทัพเพื่อ เตรียมผู้คนที่วัดสักแห่งนี้สำหรับไปกู้บ้านเมืองที่อยุธยา เนื่องจากเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสม จึงได้นำธงประจำกองทัพ ปักไว้ แล้วเอาหินทับกับ เสาธงไม่ให้ล้ม ให้ทหารมองเห็นธงที่จะยกไป ต่อมาพระองค์ได้โปรดฯ ให้สร้างพระพุทธรูปเนื้อชินเงิน 3 องค์ คือ พระประธาน 10องค์ พระสาวก 2 องค์ เมื่อเสร็จจากศึกสงครามแล้ว พระองค์พร้อมด้วยผู้รอดชีวิต จากสงครามได้กลับมาช่วยกัน บูรณะวัดสัก และเปลี่ยนชื่อวัดสักเป็น “วัดเสาธงหิน”
ภายในวัดเสาธงหินมีวิหารหลวงพ่อโต เป็นอาคารทรงโล่งธรรมดา แต่ภายในวิหารนั้นมีพระพุทธรูป สมัยอยุธยา ตอนปลาย ทำด้วย หินทรายแดง กับพระพุทธรูปโลหะทรงเครื่องสมัยอยุธยา ปัจจุบันพระพุทธรูปโลหะได้สุญหายไป 6 องค์ เหลือเพียง พระพุทธรูป หลวงพ่อโต ทำด้วยหินทรายแดง และพระพุทธรูปเนื้อชินเงิน 3 องค์ ซึ่งขณะนี้ ทางวัดได้นำไปไว้บน อุโบสถ หลังใหม่ พระพุทธรูป ที่สำคัญในวิหารวัดเสาธงหินขณะนี้ คือ หลวงพ่อโต ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านเคารพนับถือกันมาก โดยชาวบ้านได้เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งน้ำเค็มได้ขึ้นถึงจังหวัดนนทบุรี แต่หน้าวัดเสาธงหินน้ำจืด ชาวบ้านจึงโจษขานกันไปทั่วและพากันตักไปดื่มกิน นอกเหนือจาก ความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว หลวงพ่อโตยังได้รับความเคารพบูชาจากชาวบ้านมาบนบานอยู่เสมอ และมักจะประสบความสำเร็จ จึงพากันมาสักการะบูชากันเป็นประจำ
การเดินทางไปวัดเสาธงหินสามารถเลือกใช้ได้ 2 เส้นทาง คือ
ทางบก
โดยรถยนต์ส่วนตัว จากถนนวงแหวน ไทรน้อย- ตลิ่งชัน ทางเข้าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนนทบุรี มาตามถนนซอย ถึงวัดเสาธงหิน ราว 1 กิโลเมตรเศษ
ทางน้ำ
จากที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ (เก่า) โดยเรือประจำทางถึงวัดเสาธงหิน ราว 1 กิโลเมตรเศษ
ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด นนทบุรี ให้มาร่วมทำบุญไหว้พระ 9 วัน ฟรี ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ณ ตลาดริมน้ำวัดใหญ่สว่างอารมณ์
รอบที่ให้บริการ มีจำนวน 3 รอบ
1.รอบ 10.00
2.รอบ 11.00
3.รอบ 12.00
วัดที่เราจะไปทั้งหมด 9 วัด แถม 1 วัด คือ
1.วัดใหญ่สว่างอารมณ์
2.วัดบางจาก
3.วัดเสาธงทอง
4.วัดไผ่ล้อม
5.วัดปรมัยยิกาวาส
6.วัดฉิมพลีสุทธาวาส
7.วัดกลางเกร็ด
8.วัดเชิงเลน
9.วัดท่าอิฐ
10.วัดแสงสิริธรรม
ย้อนอดีตกาลก่อนและหลังกรุงศรีอยุธยา ราชธานี ได้เสียกรุงครั้งสุดท้ายให้แก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 ราษฎร พระชาวไทยและชาวมอญ ที่อาศัยอยู่บริเวณรอบกรุงศรีอยุธยา ได้อพยพมาตามลำน้ำเจ้าพระยา ได้ขนพระพุทธรูป สิ่งของมีค่าทางพระพุทธศาสนา มาตั้งหลักแหล่งสร้างวัดขึ้น ตลอดริมน้ำเจ้าพระยาและใกล้บริเวณเกาะเกร็ด มีวัดที่สำคัญที่สุดในลุ่มน้ำนี้จากอยุธยามาถึงที่นี่ คือวัดสะพานสูง (วัดสว่างอารมณ์) และวัดสาลิโขภิรตาราม (ดงปลูกข้าวสาลีส่งให้บาดหลวงชาวโปรตุกิส ในกรุงศรีฯก่อนที่วัดจะมาสร้าง)
คงต้องกล่าวถึง เกจิอาจารย์ชั้นยอดของกรุงศรีอยุธยายุคกลางเหลื่อมมายุคปลาย เช่นหลวงปู่เผือก วัดสาลิโขฯ ส่วนท่านหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง มายุคหลังจากที่หลวงปูเผือกได้ทำคุณทางพระพุทธศาสนารัชกาลที่ 4 มากมาย ได้มรณภาพ ปี พ.ศ. 2405 อย่างสงบในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยโรคชราขณะมีอายุได้ 106 ปี ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวมตำราพิชัยสงครามที่สำคัญ เล่มเดียวและการลงเลข พิธีสักยันต์ การลงกระหม่อมพิมพ์เดียวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาจากพระพนรัต สังฆราชแห่งวัดป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา ( เคยได้ดูสมุดบันทึกรูปวาดตำรานี้ในหีบเหล็กสมบัติของวัดนี้มาแล้ว) เคยมีเรื่องเล่าถึงในอดีต ชุมชนย่านวัดสาลีโข ขึ้นชื่อว่าเป็นดงนักเลง ถึงกับมีคำพูดกันติดปากว่า “หนังไม่เหนียวห้ามเที่ยวสาลีโข”
ช่วงปลายปีที่แล้ว ชื่อของ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรีโด่งดังขึ้นมา เพราะรัฐบาลได้ชะลอโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ รวมระยะทาง 23 กม.ซึ่งก็ทำหลายๆคนในละแวกนี้ ที่หวังจะเดินทางด้วยรถไฟฟ้าตามเส้นทางที่รัฐบาลหาเสียง ถึงกับฝันค้าง!!!
งานนี้คงต้องรอกันต่อไป แต่ที่ไม่ต้องรอก็คือ ในวันนี้ทางจังหวัดนนทบุรี เทศบาลตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ภาคกลาง เขต 6 ได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงธรรมะขึ้นมา ในชื่อ “โครงการวันเดียวเที่ยว 9 วัด” เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวใจจังหวัดนนทบุรี โดยทางจังหวัดนนทบุรีได้ชูวัดเด่นๆในอำเภอบางใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน
สำหรับวัดทั้งหมดนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเที่ยวได้อย่างสะดวกสบายภายใน 1 วัน ทั้งในเส้นทางการท่องเที่ยวทางรถ และการท่องเที่ยวทางเรือ ซึ่งหากไปเที่ยวทางรถนั้น ทางจังหวัดจะมีรถรางไว้บริการโดยจุดแรกจะพาไปไหว้พระที่ วัดพิกุลเงิน วัดนี้ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ราว พ.ศ. 2374 ต่อมาเมื่อชาวจีนชื่อ “ฮะ” ต้นตระกูลโฑณวนิก ได้ล่องเรือผ่านมาเห็นลักษณะของวัดแล้วเกิดศรัทธา จึงบริจาคทรัพย์ส่วนตัว สร้างอุโบสถขึ้นมาในราว พ.ศ. 2521 และเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธร(หลวงพ่อโสธร)จำลององค์แรกของเมืองไทย
ททท.ร่วมกับ อบจ.นนทบุรี จัดกิจกรรม กิจกรรม “ตลาดริมน้ำ ล่องเรือไหว้พระ 9 วัด และเที่ยวเกาะเกร็ด” ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-13.00 น. ณ ตลาดริมน้ำวัดใหญ่สว่างอารมณ์ เพื่อส่งเสริมและร่วมฟื้นฟูให้การท่องเที่ยวในพื้นที่โดยรอบเกาะเกร็ดหลังจากประสบอุทุกภัยให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานกรุงเทพมหานคร และองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จัดกิจกรรม “ตลาดริมน้ำ ล่องเรือไหว้พระ 9 วัด และเที่ยวเกาะเกร็ด” ” ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-13.00 น. ณ ตลาดริมน้ำวัดใหญ่สว่างอารมณ์ ต.อ้อมเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
นางเยียรยง ไชยรัตน์ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานกรุงเทพมหานคร กล่าวเชิญชวนนักท่องเที่ยวล่องเรือไหว้พระ 9 วัด และเที่ยวชมวิถีไทย – มอญดั้งเดิมที่เกาะเกร็ด เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและร่วมฟื้นฟูให้การท่องเที่ยว ในพื้นที่โดยรอบเกาะเกร็ดหลังจากประสบอุทุกภัยให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง
โดยกิจกรรม “ตลาดริมน้ำ ล่องเรือไหว้พระ 9 วัด และเที่ยวเกาะเกร็ด” องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ได้จัดให้ตลาดริมน้ำ วัดใหญ่สว่างอารมณ์ เป็นสถานที่สำหรับจำหน่ายสินค้า ของดีขึ้นชื่อ อาทิ ผัก ผลไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ สินค้าวิสาหกิจชุมชน สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ ขนมหวาน ในบรรยากาศร่มรื่นริมน้ำเจ้าพระยา รับประทานอาหารอร่อยและนั่งเล่นพักผ่อน ชมและให้อาหารปลาวังมัจฉานับหมื่นตัว