Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

เที่ยวพระประแดง นมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดโปรดเกศเชษฐาราม

37_20100520173333.

วัดโปรดเกศเชษฐาราม ตั้งอยู่ที่ถนนทรงธรรม ตำบลทรงคะนอง อยู่ถัดจากวัดไพชยนต์ฯ เล็กน้อย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เป็นวัดพุทธไทยเพียงวัดเดียวในย่านพระประแดง ส่วนวัดอื่นๆ มักเป็นพุทธรามัญ พระยาเพชรพิไชย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 มีลักษณะสถาปัตยกรรมดีเด่น คือ พระอุโบสถไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถาประดับเครื่องลายคราม ภายในมีพระประธานหล่อด้วยโลหะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระวิหารมีลักษณะสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธไสยาสน์พระพักตร์งามมาก

นอกจากนี้ยังมีพระมณฑปหลังคามุงด้วยกระเบื้องรายรอบด้วยเก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ มีพระปรางค์ที่มุมทั้ง 4 ด้าน ภายในพระมณฑปมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทจำลองประดับมุข ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ โทร 0 2462 5484, 0 2463 2549

การเดินทาง

จากวัดไพชยนต์ฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนทรงธรรมประมาณ 200 เมตร ข้ามสะพานคลองลัดหลวงประมาณ 50 เมตร จะพบวัดโปรดเกศเชษฐารามอยู่ริมถนนบริเวณทางโค้งด้านซ้ายมือ

ขอขอบคุณ http://travel.thaiza.com/

ประวัติความเป็นมาวัดโปรดเกศเชษฐาราม

วัดโปรดเกศเชษฐารามโบราณสถานที่มีค่าควรแก่การอนุรักษ์
ประวัติวัดโปรดเกศเชษฐาราม
วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สามัญ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของคลองลัดหลวง ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาข้ามทางทิศใต้ประมาณ ๗ เส้นเศษ ตำบลทรงคนอง (เดิมเป็นตำบลเชียงใหม่) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นวัดที่มีภูมิสถาปัตยกรรมงดงาม มีมณฑปสร้างอยู่กลางสระน้ำ เป็นศรีสง่า แปลกตา ตัวอาคาร พระอุโบสถ พระวิหาร และเสนาสนะต่าง ๆ มีรูปแบบเฉพาะตัว เป็นวัดที่มีอยู่คู่กับเมืองนครเขื่อนขันธ์ หรือเมืองปากลัด ตามที่เรียกกันมาแต่เดิม
ผู้เริ่มสร้างวัดนี้ คือ พระยาเพชรพิไชย (เกตุ) ต้นสกุล เกตุทัต ซึ่งเป็นบุตร ของเจ้าพระยา เพชรพิไชย (หง) ต้นสกุล หงสกุล สร้างเมื่อปี มะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕
ประวัติของวัดนี้ มีเรื่องราวปรากฏอยู่ ในหนังสือพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ พระนิพนธ์ของสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า “ในคราวเมื่อสร้างป้อมเมืองสมุทรปราการนั้น ทรงพระดำริว่า ป้อมที่สร้างขึ้นที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ แต่ก่อนยังคงค้างอยู่ไม่สำเร็จสมบูรณ์ จึงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ เป็นแม่กองทำการสร้าง เมืองนครเขื่อนขันธ์ ที่ยังค้าง และได้สร้างป้อมหนึ่งชื่อว่า ป้อมเพชรหึงส์ ได้ขุดคลองลัดหลวง หลังเมืองนครเขื่อนขันธ์คลองหนึ่ง มาทะลุออกคลองตาลาว”
คลองลัดที่ขุดใหม่นั้น ขุดเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๖๒ ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า “คลองลัดหลวง” เมื่อขุดคลองเสร็จแล้ว กรมหมื่นศักดิพลเสพ ได้ทรงสร้างวัดขึ้นอยู่ฝั่งตะวันตก ของคลองที่ขุดใหม่นี้วัดหนึ่ง พระราชนามว่า “วัดไพชยนต์พลเสพ”
สมัยนั้น พระยาเพชรพิไชย (เกตุ) เป็นพระพี่เลี้ยง ของกรมหมื่นศักดิพลเสพ ซึ่งท่านเป็นนายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ และเป็นนายงานสร้างวัดไพชยนต์พลเสพด้วย ได้ขออนุญาตสร้างวัดนี้ขึ้น เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕
พวกรามัญตลอดจนชาวปากลัด มักจะเรียกวัดโปรดเกศฯ ติดปากว่า “วัดปากคลอง” จนทุกวันนี้ ก็เพราะเดิมทีมีศาลาอยู่หลังหนึ่ง ติดกับปากคลองทองเมือง คือ เขตทิศเหนือของวัดเวลานี้ ไม่มีพระสงฆ์อยู่อาศัย มีแต่พระพุทธรูปเท่านั้น หลังจากได้สร้างวัดนี้ขึ้น แต่พวกชาวบ้านเขาเรียกกันว่า “วัดปากคลอง” อยู่อย่างเดิม
วัดนี้ จะได้รับพระราชทานชื่อว่าอะไร เมื่อไรไม่มีหลักฐานยืนยัน นอกจากจะสันนิษฐานว่าคงจะเป็นในสมัยรัชกาลที่ ๓ เพราะการสร้างวัดในสมัยนั้น เป็นพระราชนิยมอย่างยิ่ง จนมีคำกล่าวว่า “พระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดนักรบ รัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดคนเป็นกวี รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดคนสร้างวัด” สมัยนั้น จึงมีคนนิยมสร้างวัดกันเป็นจำนวนมาก วัดใดที่สร้างอยู่ในเกณฑ์ ก็ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง
วัดโปรดเกศฯ ก็คงได้เป็นพระอารามหลวงในยุคนั้น ส่วนชื่อวัดคงยังหาหลักฐานไม่ได้ว่า ได้รับพระราชทานเมื่อไร ชื่อวัดจึงมีการเขียนขึ้นหลายแบบ เช่น
วัดโปรดเกตุเชษฐาราม
Read more »

ประวัติวัดโปรดเกศเชษฐาราม

DSCF0069

วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สามัญ ตั้งอยู่ตำบลทรงคนอง (เดิมตำบลเชียงใหม่) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ประวัติการสร้างวัดโปรดเกศเชษฐาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้นเสวยราช (พ.ศ.๒๓๕๗) มีพระราชดำริว่า เมืองป้อมปราการบริเวณคลองลัด (โพ ) ที่สร้างค้างมาแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมควรที่จะสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ จึงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ (วังหน้าในรัชกาลที่ ๒) เป็นแม่กองลงมาสร้างเมืองและป้อมที่สร้างค้างไว้ สร้างเสร็จและตั้งพิธีฝังอาถรรพ์หลักเมือง เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๕๘ พระราชทานนามเมืองว่า “นครเขื่อนขันธ์” โปรดเกล้าฯให้สมิงทอมา เชื้อสายรามัญ บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง ต้นตระกูลคชเสนี) เป็นพระยานครเขื่อนขันธ์ ให้ย้ายครัวมอญจากสามโคก ปทุมธานีมาอยู่เมืองนครเขื่อนขันธ์จำนวนหนึ่ง พ.ศ.๒๓๖๓ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเห็นว่า เมืองนครเขื่อนขันธ์นั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด จึงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ เป็นแม่กองมาสร้างเมืองปละป้อมปราการให้เสร็จสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ใช้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันข้าศึกที่จะยกมาทางทะเล กรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ ตั้งให้พระยาเพชรพิไชย (เกศ ต้นตระกูลเกตุทัต) พระพี่เลี้ยงเป็นแม่กองและนายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์และป้อมเพชรหึงต่อจากที่สร้างค้างไว้ ในการนี้ได้ขุดคลองลัดหลังเมืองนครเขื่อนขันธ์ไปทะลุออกคลองตาลาว เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง ๒ ด้าน ปากคลองขุดอยู่ทางทิศใต้และทิศเหนือของเมือง เมืองนครเขื่อนขันธ์จึงมีลักษณะเป็นน้ำล้อมรอบ ชาวบ้านเรียก “คลองลัดหลวง” เมื่อสร้างเมืองเสร็จสมบูรณ์แล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๒ กรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง อยู่ฟากคลองตะวันตก พระราชทานนามว่า วัดไพชยนต์พลเสพย์ พระยาเพชรพิไชย (เกศ) นายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์และนายงานสร้างวัดไพชยนต์ฯด้วย เมื่อสร้างวัดนั้นเสร็จแล้ว ได้ขออนุญาตสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งตั้งอยู่คนละฝั่งคลอง แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๕ ได้รับพระราชทานนามภายหลังว่า “วัดโปรดเกศเชษฐาราม” แต่เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดปากคลอง” เนื่องจากทางทิศเหนือของวัด มีคลองเล็ก ๆ คลองหนึ่งชื่อ คลองทองเมือง ปากคลองอยู่ทางคลองลัดหลวง บริเวณนี้มีศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป ๑ หลัง แต่ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา วัดร้างนี้อาจจะชื่อวัดปากคลอง เมื่อสร้างวัดโปรดเกศฯขึ้นแต่ยังไม่มีชื่อ ชาวบ้านจึงเรียก วัดปากคลอง ต่อมาหลายสิบปี
สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นในชั้นเดิม คือ พระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ (ศาลาการเปรียญหลังเดิมเป็นศาลาไม้ไต้ถุนสูง ตั้งอยู่ตรงที่สร้างศาลาการเปรียญหลังปัจจุบัน) Read more »

วัดโปรดเกศเชษฐาราม, สมุทรปราการ

วัดโปรดเกศเชษฐาราม สมุทรปราการ

SONY DSC
อยู่ที่ตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เป็นวัดพุทธไทยเพียงวัดเดียวในย่านพระประแดง ส่วนวัดอื่นๆ มักเป็นพุทธรามัญ พระยาเพชรพิชัย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 มีลักษณะสถาปัตยกรรมดีเด่นคือ พระอุโบสถมุงหลังคาด้วยกระเบื้องมอญเก่า ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถาประดับเครื่องลายคราม ภายในมีพระประธานหล่อด้วยโลหะ เป็นพระพุทธปางมารวิชัย พระวิหารมีลักษณะสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธไสยาสน์พระพักตร์งามมาก เหนือหน้าต่างมีภาพปริศนาธรรม เป็นศิลปะตะวันตกซึ่งหาดูได้ยาก นอกจากนี้ยังมีพระมณฑปหลังคามุงด้วยกระเบื้องรางรายรอบด้วยเก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ มีพระปรางค์ที่มุมทั้ง 4 ด้าน ภายในพระมณฑปมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทจำลองประดับมุข

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

วัดโปรดเกศเชษฐาราม

อยู่ที่ถนนทรงธรรม ตำบลทรงคะนอง อยู่ถัดจากวัดไพชยนต์ฯ เล็กน้อย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีเป็นวัดพุทธไทยเพียงวัดเดียวในย่านพระประแดง เพราะวัดอื่นๆ มักจะเป็นวัดพุทธรามัญ พระยาเพชรพิไชย(เกตุ) สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 มีลักษณะสถาปัตยกรรมดีเด่นคือ พระอุโบสถไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถาประดับเครื่องลายคราม ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยหล่อด้วยโลหะ พระวิหารมีลักษณะสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธไสยาสน์พระพักตร์งามมาก เหนือหน้าต่างมีภาพปริศนาธรรมเป็นศิลปะตะวันตกแปลกตาหาดูยาก นอกจากนี้ยังมีพระมณฑปหลังคามุงด้วยกระเบื้องรางรายรอบด้วยเก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ มีพระปรางค์ที่มุมทั้ง 4 ด้าน ภายในพระมณฑปมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทจำลองประดับมุข
การเดินทาง จากวัดไพชยนต์ฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนทรงธรรมประมาณ 200 เมตร ข้ามสะพานคลองลัดหลวงประมาณ 50 เมตร วัดโปรดเกศเชษฐารามจะอยู่ด้านซ้ายมือ

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org

วัดโปรดเกศเชษฐาราม

SANYO DIGITAL CAMERA

ลวัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2363 มีลักษณะเป็นโบราณสถานที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมของชาวต่างชาติ (ทั้งตะวันออกและตะวันตก)
พระอุโบสถมุงหลังคาด้วยกระเบื้องมอญเก่า ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถา ประดับลายคราม

ประวัติความเป็นมา
วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2363 โดยโปรดเกล้า ให้กรมหมื่นภักดิ์พลเสพ เป็นแม่กองสร้างเมืองและป้อมต่างๆ ของเมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งในคราวนั้น เมื่อได้สร้างเมืองและป้อมต่าง ๆ เรียบร้อย กรมหมื่นภักดิ์พลเสพ ได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งทางด้านตะวันตกของเมือง และขอพระราชทานนามว่า วัดไพรยนต์พลเสพ ขณะที่พระยาเพชรพิชัย (เทศ) นายงานสร้างเมืองในครั้งนี้ ได้ขออนุญาตสร้างวัดอีกวัดหนึ่งคนละฝากฝั่งคลอง เมื่อสร้างเสร็จได้พระราชทานนามว่า วัดโปรดเกศเชษฐาราม ซึ่งแต่เดิม ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดปากคลอง” เนื่องจากอยู่ทิศเหนือของคลอง

สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้
สถาปัตยกรรมต่าง ๆ มีลักษณะเป็นโบราณสถานที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมของชาวต่างชาติ (ทั้งตะวันออกและตะวันตก) โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ทรงลังกา ภาพเขียนสีน้ำมัน พระอุโบสถมุงหลังคาด้วยกระเบื้องมอญเก่า ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถา ประดับลายคราม ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพักตร์งามมาก พระมณฑปหลังคามุงด้วยกระเบื้องรางรายล้อมด้วยเก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ มีพระปรางค์ที่มุมทั้งสี่ด้าน ภายในพระมณฑปมีรอยพระพุทธบาทจำลองประดับมุก

ขอขอบคุณ www.oknation.ne

ถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย-วัดโปรดเกตุเชษฐาราม

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี อยู่ตรงข้ามกับวัดไพชยนต์พลเสพ ผู้สร้างวัดนี้คือพระยาเพ็ชรพิไชย (เกตุ) ผู้เป็นต้นสกุล “เกตุทัต” ซึ่งเป็นบุตรของพระยาเพชรพิไชย (หง) ผู้เป็นต้นสกุล “หงสกุล” สร้างเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2365 ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดปากคลอง” เพราะอยู่ใกล้กับปากคลองลัดหลวง
วัดนี้จะได้รับพระราชทานชื่อว่าอะไร เมื่อไร ไม่มีหลักฐานยืนยัน นอกจากจะสันนิษฐานว่าคงจะเป็นสมัยรัชกาลที่ ๓ เพราะสร้างวัดในสมัยนั้นเป็นพระราชนิยมอย่างยิ่ง จนมีคำกล่าวว่า “พระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดคนเป็นนักรบ รัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดคนเป็นกวี รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดคนสร้างวัด” สมัยนั้นจึงมีคนนิยมสร้างวัดกันเป็นจำนวนมาก วัดใดที่สร้างอยู่ในเกณฑ์ก็ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง วัดโปรดเกศฯ ก็คงได้เป็นพระอารามหลวงในยุคนั้น ส่วนชื่อวัดคงยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าได้รับพระราชทานเมื่อไร ชื่อวัดจึงมีการเขียนขึ้นหลายแบบ เช่น วัดโปรดเกตุเชษฐาราม

เรื่องการเขียนขื่อวัดนี้ คงจะเขียนขึ้นตามความเข้าใจโดยยึดความหมายที่ว่า ผู้สร้างวัดนี้เป็นพระพี่เลี้ยง คำว่า “เชฏฐ” เป็นชื่อของเดือน ๗ ตามจันทรคติและยังแปลว่า “พี่” หรือ “ผู้เจริญที่สุด” ตามภาษาบาลี ภาษาไทยเขียนว่า “เชษฐ” หรือ “เชษฐา”
ในการก่อสร้างวัดโปรดเกศฯ ครั้งแรกปรากฏว่ามีเพียงพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ พระเจดีย์ใหญ่ 2 องค์ และหอระฆัง และเสนาสนะ ที่อยู่ของสงฆ์อีก 2 คณะ ภายในบริเวณพระอุโบสถและพระวิหารปูด้วยกระเบื้องหน้าวัว ในบริเวณระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารก็ปูด้วยกระเบื้องหน้าวัวทั้งสิ้น มีแท่นสำหรับนั่งเล่นสองแท่น ก่ออิฐถือปูน พื้นปูด้วยหินอ่อน ส่วนมณฑปนั้นทราบว่ายังสร้างไม่เสร็จ และคงจะสำเร็จในยุคต่อมา
ในสมัยนี้วัดเป็นที่นิยมในการศึกษาหาความรู้ของชาวบ้านและเป็นหลายๆ อย่างที่ชาวบ้านต้องการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศาลสถิตยุติธรรม วัดโปรดเกศฯ ก็มีพร้อมทุกประการ พระสงฆ์มีหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องต่างๆ กัน เช่น พระต้องเป็นหมดรักษาทางใจ คือสอนธรรมะ รักษาโรคทางกาย คือหมอยาแผนโบราณ นอกจากนี้ยังเป็นหมอดูรักษาศรัทธาและความสบายใจแก่ชาวบ้านเช่น เป็นผู้ให้ฤกษ์ยาม เป็นผู้พิพากษาคดีเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น
ในสมัยพระปัญญาพิศาลเถร (สุก) เป็นเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ให้พระยาเพชรพิไชย (เกตุ) มาสร้างกุฏิอีกคณะหนึ่งแถบริมคลองลัดหลวง และได้สร้างหอสวดมนต์ 1 หลัง หอฉัน 1 หลัง กับกุฏิอีก 7 หลัง สร้างแบบฝากระดานไม้สัก มุงด้วยกระเบื้องไทยทั้งสิ้น
ในสมัยพระครูวินยาบูรณาจารย์ (คำ) เป็นเจ้าอาวาส พระยาเพชรพิไชย (หนู) บุตรพระยาเพชรพิไชย (เกตุ) ได้สร้างและปฏิสังขรณ์ผนังพระอุโบสถหลังใหม่และเขียนลายเพดาน เพราะเดิมไม่ได้เขียนไว้ กับได้ปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์ในพระวิหาร สร้างเขื่อนรอบสระพระมณฑป เพราะของเดิมสร้างไว้เป็นเขื่อนไม้ และยังได้ปฏิสังขรณ์อย่างอื่นอีกมากมายทั่วทั้งพระอาราม
Read more »

ประวัติวัดอโศการาม

วัดอโศการาม มีที่ตั้ง ประมาณ ๕๓ ไร่ และเป็นที่ที่เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๗ – พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นปีที่ท่านพ่อลี เริ่มก่อตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นภิกษุส่วนมากที่อยู่ตามป่าจะอยู่ในการดูแลของท่านพ่อลี และยึดแนววัตรปฏิบัติของท่านพ่อลี นาแม่ขาว เป็นชือตำบลเป็นที่ตั้งของวัดอโศการามปัจจุบัน ตามประวัติที่กล่าวไว้ในหนังสือชีวประวัติ พระสุทธธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลีธมฺมธโร) ความว่า” ที่ตั้งวัดอโศการามปัจจุบันนี้ เดิมเรียกว่า “นาแม่ขาว” เจ้าของที่ดินคือ นางกิมหงษ์ และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินให้สร้างวัดเนื้อที่ประมาณ ๕๓ ไร่ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้เริ่มตั้งสำนักขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้พระลูกศิษย์ คือพระครูใบฎีกาทัศน์ มาเฝ้าสำนักแทน พร้อมกับลูกศิษย์อีก ๕ รูป รวมมีพระที่สำนักนี้ในครั้งเริ่มตั้ง จำนวน ๖ รูป” เมื่อออกพรรษาและได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯ เรียบร้อยแล้ว เป็นปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านพ่อลี จึงได้ออกไปจำพรรษาที่วัดอโศการาม

ในระหว่างนี้ได้เริ่มคิดดำริจัดงานฉลองสมโภช ๒๕ พุทธศตวรรษ ในปีพ.ศ.๒๕๐๐ การดำริในเรื่องนี้ ท่านได้ดำริมานานปีแล้ว คือเริ่มดำริตั้งแต่ปีที่ได้เดินทาง ออกมาจากดงบ้านผาแด่นแสนกันดาร( เชียงใหม่) วัดอโศการาม ได้รับการพัฒนาสืบเนืองมาโดยลำดับ แม้หลังท่านพ่อลีได้มรณะภาพไปแล้ว ( ปี พ.ศ.๒๕๐๔)ได้มีการขยายพื้นที่ออกไป ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของวิหารสุทธิธรรมรังสีในปัจจุบัน พร้อมกันนั้นก็ได้ทำการสร้างพระธุตังคเจดีย์ ที่ท่านพ่อได้วางแบบเอาไว้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี Read more »

วัดอโศการาม วัดราษฎร์ ,พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

watasokaram3

วัดอโศการาม ตั้งอยู่ในซอยสุขาภิบาล ๕๘ ถ. สุขุมวิท (กม.๓๑) ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ. สมุทรปราการ เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดย พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

ที่ตั้งวัดอโศการามปัจจุบันนี้ เดิมเรียกว่า นาแม่ขาว เจ้าของที่ดินคือ นางกิมหงษ์ และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินให้สร้างวัดเนื้อที่ประมาณ ๕๓ ไร่ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้เริ่มตั้งสำนักขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้พระลูกศิษย์ คือ พระครูใบฎีกาทัศน์ มาเฝ้าสำนักแทน พร้อมกับลูกศิษย์อีก ๕ รูป รวมมีพระที่สำนักนี้ในครั้งเริ่มตั้งจำนวน ๖ รูป

หมายเหตุ : จากหนังสือชีวประวัติพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม

Read more »

วัดอโศการาม

ตั้งอยู่เทศบาลบางปูซอย 60 ถนนสุขุมวิทสายเก่า ตำบลท้ายบ้าน ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร (เข้ามาจากถนนสุขุมวิทประมาณ 1 กิโลเมตร) สร้างเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2505 ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง และเป็นสถานที่สำหรับวิปัสสนากรรมฐาน มีสิ่งที่น่าชม เช่น พระธุตังคเจดีย์ เป็นพระเจดีย์หมู่รวม 13 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร 13 ประการ และวิหารวิสุทธิธรรมรังสี อาคารจตุรมุข 3 ชั้นส่วนยอดเป็นมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ภายในวิหารประดิษฐานสรีระท่านอาจารย์ลี
การเดินทาง จากสามแยกสมุทรปราการเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ทางไปบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 31 ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเทศบาลบางปู 60 ประมาณ 1 กิโลเมตร วัดอโศการามอยู่ทางซ้ายมือ สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ขสมก.สาย 25, 102, 142, 145, 507, 508, 511 และ 536 รถโดยสารประจำทางธรรมดาสาย 25, 102 และ 145 ไปยังตลาดปากน้ำแล้วต่อรถสองแถวปากน้ำ-วัดตำหรุ, ปากน้ำ-นิคมอุตสาหกรรมบางปู และปากน้ำคลองด่านก็สามารถไปได้

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

วัดอโศการาม อำเภอเมือง จ.สมุทรปราการ

37_20080225153706.

ตั้งอยู่เทศบาลบางปูซอย 60 ถนนสุขุมวิทสายเก่า ตำบลท้ายบ้าน ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร (เข้ามาจากถนนสุขุมวิทประมาณ 1 กิโลเมตร) สร้างเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2505 ฝ่ายธรรมยุตินิกาย โดยพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง และเป็นสถานที่สำหรับวิปัสสนากรรมฐาน มีสิ่งที่น่าชม เช่น พระธุตังคเจดีย์ เป็นพระเจดีย์หมู่รวม 13 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ระลึกถึงธุดงควัตร 13 ประการ และวิหารวิสุทธิธรรมรังสี อาคารจตุรมุข 3 ชั้นส่วนยอดเป็นมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ภายในวิหารประดิษฐานสรีระท่านอาจารย์ลี ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ 0 2395 0003

การเดินทาง
จากสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 31 ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเทศบาลบางปู 60 ประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบวัดอโศการามอยู่ทางซ้ายมือ สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ขสมก. สาย 25, 102, 142, 145, 507, 508, 511 และ 536 รถโดยสารประจำทางธรรมดาสาย 25, 102 และ 145 ไปยังตลาดปากน้ำ แล้วต่อรถสองแถว ปากน้ำ-วัดตำหรุ, ปากน้ำ-นิคมฯบางปู และปากน้ำ-คลองด่าน ก็สามารถไปถึงได้

ขอขอบคุณ http://travel.thaiza.com/

พระธุตังคเจดีย์–วัดอโศการาม

พระธุตังคเจดีย์

a24d9fac9806d33fc0279e788c1fc01a
พระธุตังคเจดีย์ได้สร้างตามแบบที่ท่านพ่อลีกำหนดไว้ทุกปราการ คือ เจดีย์หมู่รวมเจดีย์ 13 องค์ เป็นสัญลักษณ์แห่ง “ธุดงควัตร 13 ข้อ” ตั้งอยู่บนพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส ชันบนตรงกลางเป็นพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งเป็นองค์ประธาน พระเจดีย์ทุกองค์มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในผอบทอง เงิน นาก พระเจดีย์องค์ประธานล้อมรอบ ด้วยบริวาร 3 ชั้น ชั้นละ 4 องค์ มีความหมายถึง

สมาธิจิต เมื่อเป็นตามอรนิยมรรคโดยถูกต้องครบถ้วนแล้วจุเกิดญาณหยั่งรู้สังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง พระธุตังคเจดีย์ มีฐานสี่เหลี่ยมเปรียบด้วยมหาสติปัฎฐาน 4 กว้าง 3 วา หมายถึง ไตรสิกขา สูง 13 วา หมายถึง ธุดงควัตร 13 ประการ เมื่อมองประสานตรง ๆ จะเห็นเจดีย์ล้อมวงเป็นคู่ หมายถึง พระธรรมกับพระวินัย อันเป็นหลักของพระพุทธศาสนา แต่ถ้าดูแนวเฉียงจะได้พระเจดีย์ 7 องค์ หมายถึง โพชฌงค์ 7 ประการ
พระธุตังคเจดีย์ เป็นเจดีย์หมู่ 13 องค์ 3 ชั้น แห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็นสัญลักษณ์และมีความหมายใน ธุดงควัตร 13 ข้อ ในพระพุทธสาสนาของกรรมฐาน พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพื่อพวกเราทั้งหลายปฏิบัติ เพื่อสละโลกามิส ไม่ติดอยู่ในบ่วงของโลก คือ บุตร ภรรยา สามี ทรัพย์สมบัติ ยศศักดิ์ ชื่อเสียง อันเป็นเครื่องยึดถือ หน่วงเหนี่ยวใจให้หลงทาง และก็ทะนงตนว่าสมบุรณ์ ฉลาดดี
การปฏิบัติธุดงค์ ต้องไม่อาลัยเสียดายในชีวิต ต้องปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จเพียงเท่านั้นเป็นที่หมาย ต้องมีสัจจะ และมีปัญญาในการเลือกปฏิบัติ เราไม่ต้องปฏิบัติทั้งหมด แต่เลือกเฉพาะข้อที่เห็นว่าเหมาะแก่กาล สถานที่ บุคคล และประกอบไปด้วยประโยชน์
ข้อปฏิบัตินี้ ดับความขี้เกียจได้ชะงัดนัก ตัดเครื่องผูกพันใจ เนื่องในความสุขในการนอน สุข ในการเอกเขนก สุขในความหลับ เมื่อไม่นอนย่อมสะดวกในการประกอบกรรมฐานทั้งปวง มีอิริยาบถอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส เหมาะสมที่จะทำความเพียร และความเพียรเพิ่มพูนดี

Read more »

ศาลาการเปรียญ–วัดอโศการาม

ศาลาการเปรียญ (ศาลาหลวงพ่อทรงธรรม)

a422799dc85ad68b31c719e5c8faece3
เดิมเป็นสถานที่ทำวัตรสวดมนต์ และอบรมสมาธิภาวนาของพระภิกษุสามเณร รวมทั้งอุบาสก-อุบาสิกา โดยมีการแสดงพระธรรมเทศนาทุกคืน และเป็นที่ฉันภัตตาหารของพระภิกษุและสามเณรทั้งวัด ทั้งได้ใช้เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านพ่อลีไว้อีกด้วย (สมัยนั้นยังไม่มีวิหาร)

ศาลาการเปรียญสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2499 มีขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 25 เมตร เป็นแบบทรงไทยพื้นบ้านภาคกลาง ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบ ภายในศาลาประดิษฐาน “หลวงพ่อทรงธรรม” เป็นพระประธานหล่อด้วยทองเหลือง ปิดทอง ปางมารวิชัย พุทธลักษณะแบบสุโขทัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก
ศาลาหลวงพ่อทรงธรรมเป็นศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อปี 2499 ภายในศาลา ประดิษฐาน พระพุทธรูป “หลวงพ่อทรงธรรม”

ขอขอบคุณ http://watasokaram.org/

พระเจ้าอโศกมหาราช–วัดอโศการาม

พระเจ้าอโศกมหาราช

309d1f92a2b53b74ad2bc013e2944fc0
พระเจ้าอโศกมหาราช หรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแห่งประเทศอินเดีย ในสมัยพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วสองร้อยปีเศษ พระองค์ทรงมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
พระอุปคุปต์มหาเถระได้พาพระเจ้าอโศกฯ เสด็จออกจากริกแสวงบุญสักการะบูชาสถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยเสด็จประทับทุกแห่ง พระเจ้าอโศกฯ ทรงสร้างอนุสรณ์สถานเป็นสัญลักษณ์พร้อมจารึกประวัติความเป็นมาให้อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึงมาจนทุกวันนี้

พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระเจ้าอโศกฯ ได้แผ่ขยายไปทั่วพระราชอาณาจักร คณะสงฆ์ได้รับราชูปถัมป์และอุปถัมป์จากพระเจ้าอโศกฯ และคหบดีเป็นอย่างดี
ลานอนุสาวรีย์พระเจ้าอโศกมหาราช ขนาดใหญ่กว่าองคจริง 2 เท่า สร้างเมื่อ พ.ศ.2538 “อโศการาม” เป็นชื่อที่ท่านพ่อลี ธมิมธโร เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดอโศการาม ได้นำชื่ออารามที่พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสร้างไว้ที่เมืองปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย มาเป็นชื่อของวัด

พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมริยะ ประเทศอินเดีย ครองราชเมื่อปี พ.ศ.273 ต่อจากพระเจ้าพินทุสารฯ พระราชบิดา ท่านเป็นจอมจักรพรรดิแห่งชมพูทวีป ส่วนทางศาสนจักร ทรงเป็นธรรมิกราชาเป็นเอกอัครพทธศาสนูปถัมภกที่สมควรยิ่งที่จะได้รับการเทิดพระเกียรติยกย่องเทิดทูนพระมหากรุณาธิคุณจากพุทธสาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงเผยแผ่พระพุทธสาสนามายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลให้พระพุทธศาสนามายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลให้พระพุทธศาสนาดำรงตั้งมั่นในดินแดนแห่งนี้ เกือบเป็นเวลากว่า 2500 ปี Read more »

พระอุโบสถ–วัดอโศการาม

พระอุโบสถ

6abdc6c6261a15bc1f22b9d317b96993

ได้สร้างตามแบบกรมศาสนาตามแปนของศิลปากร เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2502 ภายในอุโบสถประดษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ พุทธลักษณะแบบอินเดีย มีนามว่า “หลวงพ่อศรีสมุทร” เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลือง ปิดทองสวยงาม ขนาดหน้าตัดกว้าง 3 ศอก 1 คืบ สร้างถวายโดย นายกวงฮิ้ว แซ่เฮีย

ปัจจัยที่ใช้ในการสร้างอุบาสก มาจากปัจจัยที่เหลือจากงานฉลองสมโภช 25 พุทธศตวรรษ อุบาสถหลังนั้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีในปี พ.ศ.2053 ดังนั้นพ่อลีจึงได้จัดงานผูกพันธสีมา ฝังลูกนิมิตอุโบสถ วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2503
อุโบสถวัด สร้างเมื่อ พ.ศ.2501 ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ พุทธลักษณะแบบอินเดียมีนามว่า “หลวงพ่อศรีสมุทร”

ขอขอบคุณ http://watasokaram.org/

. . . . . . .
. . . . . . .