Archive for the ‘วัดในกรุงเทพ’ Category

วัดสระเกศ

พระบรมบรรพต
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้าง พระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง ทรงกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่สำเร็จในรัชกาล เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงทรงให้เปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

พระอุโบสถ
พระระเบียงรอบพระอุโบสถ มีพระเจดีย์รายรอบ ภายในพระระเบียงมีพระพุทธรูปประดิษฐานเรียงกันอยู่เต็มพระระเบียงทั้ง 4 ด้าน มีจำนวนทั้งหมด 163 องค์ ประดิษฐานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระประธานปางสมาธิ ซึ่งเป็นพระปั้นปิดทองปางสมาธิที่ใหญ่โต พร้อมด้วยความงามสมพุทธลักษณะองค์หนึ่งในกรุงเทพมหานคร เล่ากันมาว่าปั้นหุ้มพระประธานองค์เดิมของวัดซึ่งดูเล็กเกินไปไม่สมกับความใหญ่โตของพระอุโบสถ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 แล้วมาทำการปฏิสังขรณ์เขียนใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่ฝาผนังด้านใน สองด้านเบื้องล่างเป็นภาพทศชาติ ด้านบนเป็นภาพเทวดาและท้าวจตุโลกบาล ด้านหน้าเป็นภาพมารวิชัย ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นภาพไตรภูมิ คือสวรรค์ มนุษย์ และนรก

Read more »

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

200px-Golden_mount

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325 มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า”รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร”ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า”ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่าๆกันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า ‘วัดสระเกศ

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วัดหัวลำโพง

dbf8bf29

การเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองนั้นไม่เพียงแค่อาคารที่อยู่อาศัยเท่านั้น แม้แต่พื้นที่ภายในวัดก็ยังมีการเปลี่ยนแปลง ในภาพเป็นภาพถ่ายพระอุโบสถของวัดหัวลำโพง ที่สามย่านนี้เอง
แต่ชั่วเวลาเพียงไม่กี่ปี แม้ว่าพื้นที่ในวัดจะมีจำกัดจำเขี่ยก็ยังมีการสร้างวิหารเพิ่มเติมขึ้นอีก ทำให้พื้นที่ของบริเวณวัดที่น้อยอยู่แล้วยิ่งแน่นขึ้นไปอีก ดังในภาพถ่ายซึ่งถ่ายในปี 2549 นี้เอง นี่เป็นอีกมุมมองหนึ่งของกรุงเทพที่เปลี่ยนไป

ขอขอบคุณ http://www.buildernews.in.th

ทำบุญยามค่ำ วัดหัวลำโพง-มูลนิธิร่วมกตัญญู

573464

บางทีอารมณ์อยากทำบุญไหว้พระของคนเราก็เกิดขึ้นได้ตอนกลางคืน “วัดหัวลำโพง” จึงเป็นสถานที่อันดับแรก ๆ ที่คนกรุงนึกถึง

บางทีอารมณ์อยากทำบุญไหว้พระของคนเราก็เกิดขึ้นได้ตอนกลางคืน “วัดหัวลำโพง” จึงเป็นสถานที่อันดับแรก ๆ ที่คนกรุงนึกถึง นั่นเพราะ เดินทางสะดวก และไม่จำกัดเวลาทำบุญแค่ตอนกลางวัน

วัดหัวลำโพง สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นวัดราษฎร์ แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎว่าใครคือผู้สร้าง วัดนี้เดิมชื่อว่า วัดวัวลำพอง เหตุที่ชื่อวัวลำพองเพราะว่า ตามความนิยมที่ชื่อของวัดจะพ้องกับชื่อหมู่บ้าน ชาวบ้านกับวัดส่วนใหญ่ของไทยเรา มักมีชื่อเหมือนกัน หรือมีความหมายเดียวกัน

ต่อมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเส้นทางคมนาคม และสถานีรถไฟขึ้น โดยโปรดฯ ให้สร้างสถานีรถไฟสายหนึ่งขึ้น ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม จากนั้นทรงพระราชทานนามว่า หัวลำโพง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ทรงเสด็จมาทอดผ้าพระกฐิน และได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ พระราชทานนามว่า วัดหัวลำโพง

Read more »

ทำบุญโรงศพกัน..ที่วัดหัวลำโพง

hualampong

วัดหัวลำโพงเป็นวัดยอดนิยมที่มีคนหลั่งไหลมาทำบุญถวายโรงศพกันไม่ขาดสาย การทำบุญถวายโรงศพนั้นเป็นอานิสงอย่างหนึ่งที่เราสามารถทำกันได้ง่าย และสามารถเดินทางไปได้อย่างสะดวก โดยใช้รถไฟฟ้าใต้ดินลงที่สถานีสามย่าน และออกทางออกสู่วัดหัวลำโพงค่ะ หรือหากสะดวกมารถเมลล์ ก็สามารถใช้บริการรถประจำทางได้ คือรถเมลล์ธรรมดา และรถเมลล์ปรับอากาศ
รถเมลล์ธรรมดา : 4, 21, 25, 34, 40, 46, 67, 73, 109, 113
รถปรับอากาศ : ปอ4, ปอ17, ปอ29, ปอ67

เมื่อเรามาถึงที่วัดหัวลำโพงแล้วก็ให้ไปที่โต๊ะเพื่อเขียนใบสีชมพู ซึ่งมีไว้สำหรับเขียนชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิดของเรา เมื่อเสร็จแล้วก็จ่ายเงินและเดินเอาไปติดที่โรงศพและทำบุญต่างๆตามขั้นตอนที่เค้าได้แนะนำไว้ ซึ่งจะมีคนมาทำกันเป็นประจำ โดยในการจุดธูปนั้นจะจุดกันจำนวน 20 ดอก ซึ่งไม่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดถึงใช้ธูปจำนวนถึง 20 ดอก
การทำบุญโรงศพนั้นได้บุญกุศลไม่น้อยไปกว่าการทำบุญอย่างอื่น หากเพื่อนๆมีเวลาว่าง ก็ให้แวะมาทำบุญที่วัดหัวลำโพงกันได้

ขอขอบคุณ http://hotelsthailand-travel.blogspot.com/

ประวัติความเป็นมาวัดลำโพง

10040059_0_20140628-091115

วัดหัวลำโพง ตั้งอยู่เลขที่๗๒๘ ถนนพระราม๔ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดวัวลำพอง เป็นวัดราษฎร์ ใครเป็นคนสร้างและสร้างเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่คาดว่าคงสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ทั้งนี้โดยอาศัยการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและเจดีย์ด้านหลัง ซึ่งสร้างคู่กันมา

ความเป็นมาของวัดนี้ มีผู้รู้ประมวลไว้ โดยอาศัยจากการเล่าต่อๆ กันมาว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายเผาผลาญบ้านเมือง ตลอดวัดวาอารามจนในที่สุดได้เสียกรุงแก่ข้าศึก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๓๑๐ ซึ่งเป็นการเสียกรุงครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ การสงครามครั้งนี้ประชาชนเสียขวัญและได้รับความเดือดร้อน บางพวกไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ถิ่นเดิมต่อไปได้ จึงพากันอพยพครอบครัว ลงมาทางใต้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณวัดหัวลำโพงในปัจจุบันนี้เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะ ยังไม่มีเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ มีลำคลองเชื่อมโยงสะดวกต่อการสัญจรไปมา จึงได้ตั้งหลักฐานและจับจองที่ดิน นานปีเข้าต่างก็มีหลักฐานมั่นคงเป็นปึกแผ่นทั่วกัน

Read more »

วิธีทำบุญบริจาคโรงศพที่วัดหัวลำโพง

blogger-image-194070143

จอดรถในวัดหัวลำโพงเข้าทางถนนพระราม4เดินมาทางหน้าวัดตรงสี่แยกวัดหัวลำโพง
1.เขียนแผ่นทองชื่อสกุลวันเกิดแผ่นละ10บาท
2.เขียนใบอุทิศส่วนกุศลเพื่อบอกชื่อผู้บริจาคในใบสีชมพู
3.ยื่นใบที่โต๊ะบริจาคพร้อมเงินเจ้าหน้าที่จะออกใบอนโมทนาให้โดยเขียนชื่อตามใบชมพู
4.นำใบสีชมพูไปติดที่โรงศพมีกาวแป้งเปียกที่เสา
5.นำธูปที่เสา20ดอกไปไหวพระที่ห้องพระเทวดาฟ้าดินบริจาคค่าธูปใบกล่องแดง

เท่านี้ก็ได้ร่วมทำบุญแล้ว
อนุโมทนาบุญด้วยครับ

ขอขอบคุณ http://oweera.blogspot.com/

บริจาคโลงศพ…..เพื่อศพไร้ญาติ วัดลำโพง

img_4416

ทำบุญบริจาคโลงศพ ให้กับศพไร้ญาติที่วัดหัวลำโพง (มูลนิธิร่วมกตัญญู) มา เพื่อนๆ หลายคน อาจจะเคยไปกันมาแล้ว แต่ถ้าใครยังไม่เคยไปและอยากไปบริจาคก็ลองไปดูนะ จริงๆ ในประเทศไทยก็มีอยู่หลายที่ อย่างแต่ก่อนเปิ้ลจะชอบไปบริจาคที่มูลนิธิสว่างบริบูรณ์ (พัทยา) บ่อยๆ ที่ศรีราชาก็มีนะ แต่จำไม่ได้แล้วว่าอยู่ตรงไหน ไปมาแค่ครั้งเดียวเอง แต่พอมาอยู่ที่กรุงเทพ ก็จะไปทำที่วัดหัวลำโพงนี่แหล่ะ ไปมาหลายครั้งแล้ว พอดีอยู่ใกล้บ้าน ไปได้สะดวกที่สุด

พอเข้าไปก็จะมีเจ้าหน้าที่ตั้งโต๊ะไว้รอรับบริจาค จะบริจาคเท่าไหร่ก็ได้ แต่ถ้าจะทำบุญครบชุดก็ราคาชุดละ 500 บาท เปิ้ลกับแฟนทำร่วมกัน 1 ชุด เค้าจะส่งกระดาษให้เรามา 2 แผ่น มีสีชมพู กับ สีขาวๆ ลายๆ
เริ่มต้น เราก็เอากระดาษสีชมพูที่เจ้าหน้าที่ให้เราเขียนชื่อ-นามสกุล ลงไปในตอนแรก ไปแปะที่ข้างโลงศพ (เป็นโลงเปล่า ไม่ต้องตกใจ
หลังจากนั้นเราก็ไปเอาธูป 20 ดอก อยู่ตรงหน้าประตูเลย นำเข้าไปจุดข้างใน แล้วก็ไหว้เทพต่างๆ ปักกระถางละ 3 ดอก และเหลือ 2 ดอก ปักตรงกระถางด้านหน้า ซ้าย-ขวา กระถางละ 1 ดอก
เป็นอันเสร็จพิธี แต่หลังจากนั้น จะเสี่ยงเซียมซีก็ได้นะ (แม่นดีเหมือนกัน) อ้อ! มีเคล็ดลับอย่างหนึ่งที่จะบอก เวลาเราจุดธูปเยอะๆ ควันธูปจะเยอะมาก เข้าตาเราและคนอื่นๆ ทำให้น้ำตาไหลพรากได้ เราควรจะชูธูปขึ้นสูงๆ เวลาเดินไปเดินมา เพื่อควันธูปจะลอยขึ้นไปข้างบน ไม่ไปเตะตาใคร

อยากให้เพื่อนๆ ลองไปบริจาคบ้าง นี่ก็เป็นการให้อย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นกุศลที่ดีมากๆ เลย การบริจาคโลงให้กับศพไร้ญาติ ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่าเป็นใคร (บอกตรงๆ เปิ้ลชอบไปทำ พอไปทำแล้วสบายใจมากๆ เลย แล้วสิ่งดีๆ ก็จะตามมาด้วยนะ) ลองดู

Read more »

วัดหัวลำโพง

SONY DSC

วัดหัวลำโพง พระอารามหลวง ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร วัดหัวลำโพง เดิมชื่อวัดวัวลำพอง สร้างขึ้นสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

วัดหัวลำโพง เป็นวัดที่คนกรุงเทพมหานครนิยมมาทำบุญโลงศพ และทำบุญต่างๆกันมาก เพราะทางวัดหัวลำโพงจัดสถานที่ไว้อย่างดี

จุดเด่น: การทำบุญ

จุดประทับใจ:
– มีกิจกรรมเกี่ยวกับการทำบุญเยอะ

ข้อเสีย:
– บริเวณทำบุญโลงศพค่อนข้างเล็ก

Read more »

วัด หัวลำโพง

สร้างในสมัย : ต้นรัตนโกสินทร์ วัดไทยที่มีอายุกว่า 100 ปีที่ตั้งแฝงตัวอยู่กับย่านการค้าที่พลุกพล่านมากๆ นั้น มิใช่จะมีเพียงวัด ปทุมวนารามราชวรวิหาร หรือวัด บวรนิเวศน์รวมทั้งวัด ชนะสงครามที่ตั้งอยู่ในย่านการค้า และแหล่งบันเทิงอย่างถนนข้าวสารเท่านั้น ยังมีวัด หัวลำโพง ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากย่านการค้าอย่างสีลม และหลังพัฒน์พงษ์อีกด้วย วัดหัวลำโพงที่อ้างถึงในข้างต้นนั้น เป็นวัดที่อยู่ใกล้ๆ กับตลาดสามย่าน และอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟหัวลำโพง แต่เชื่อไหมว่า วัดที่ชื่อหัวลำโพงนั้น สร้างก่อนจะมีสถานีรถไฟหัวลำโพงเสียอีก จากบันทึกของวัด หัวลำโพงนั้น กล่าวไว้ว่าวัดนี้ไม่ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด แต่คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ โดยสันนิษฐานจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอุโบสถ และเจดีย์ข้างโบสถ์ อีกทั้งวัดนี้ยังเป็นวัดราษฎร์ ที่ได้มาจากการเรี่ยไรเงินของชาวบ้านที่หนีมาจากสงครามคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 แล้วย้ายมาลงหลักปักฐานอยู่ ณ บริเวณที่เป็นแถวๆ วัด หัวลำโพงในปัจจุบัน และเมื่อมีการสร้างชุมชนอย่างเป็นปึกแผ่นขึ้น ก็จึงได้ร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น จากนั้นก็ตั้งชื่อวัดตามหมู่บ้านที่ชื่อ วัวลำพองว่า วัด วัวลำพองครั้นพอมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างเส้นทางคมนาคม และสถานีรถไฟขึ้น โดยโปรดฯ ให้สร้างสถานีรถไฟสายหนึ่งขึ้น ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม จากนั้นทรงพระราชทานนามว่า หัวลำโพง ซึ่งสถานีรถไฟนี้ก็ตั้งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพองเพียง 2 กิโลเมตร และในปี พ.ศ.2447 รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จทอดผ้าพระกฐินยังวัดที่อยู่ในละแวกนั้น อันได้แก่วัด ไตรมิตรฯ วัด ปทุมวนารามฯ และวัด วัวลำพอง พระองค์จึงพระราชทานนามให้ใหม่ว่า วัดหัวลำโพง ปัจจุบันวัด หัวลำโพงได้มีการขยายวัดทั้งจากอาณาเขต และขยายการบริการทำสังฆกรรมมากมาย โดยเฉพาะอุโบสถ และศาลาวัดที่สร้างใหม่หลายหลังนั้นสร้างจากหินอ่อน ที่ได้จากการบริจาคปัจจัยจากตระกูลดังๆ มากมายรวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาคนอื่นๆ ด้วย

ขอขอบคุณ http://travel.sanook.com/

วัดหัวลำโพง

สถานที่ของชาวพุทธศาสนิกชน วัดที่3 คือวัดหัวลำโพงนั้นเองครับ วัดนี้เท่าที่ผมศึกษามาก็มีประวัติคราวๆดังนี้ครับ วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นวัดราษฎร์ แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎว่าใครคือผู้สร้าง วัดนี้เดิมชื่อว่า วัดวัวลำพอง เหตุที่ที่วัวลำพองเพราะว่า ตามความนิยมที่ชื่อของวัดจะพ้องกับชื่อหมู่บ้านครับ ชาวบ้านกับวัดส่วนใหญ่ของไทยเรา มักมีชื่อเหมือนกัน หรือมีความหมายเดียวกัน ต่อมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างเส้นทางคมนาคม และสถานีรถไฟขึ้น โดยโปรดฯ ให้สร้างสถานีรถไฟสายหนึ่งขึ้น ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม จากนั้นทรงพระราชทานนามว่า หัวลำโพง นั้นเองครับ ซึ่งสถานีรถไฟนี้ก็ตั้งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพองเพียง 2 กิโลเมตร

วัดแต่ล่ะแห่งก็จะมีศิลปกรรม ประติมากรรมและประวัติความเป็นมาต่างๆที่แตกต่างกันไป วันนี้ผมก็ได้ไปไหว้พระที่วัดหัวลำโพงครับ
เพื่อเป็นสิริมงคลต่อไปในวันปีใหม่ ปีกระต่ายทอง ขอในสิ่งที่ตนปรารถนาต่างๆครับ ภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นเป็นบริเวณในวัดหัวลำโพงครับ ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมา ก็มากราบไหว้ ำจนวนที่มาก็พอสมควรครับ ผมดูจากตรงที่เขาจอดรถในวัดแล้วก็เยอะอยู่เมื่อกัน ถือได้ว่า วัดหัวลำโพง เป็นวัดที่มีความศรัทธาต่อพุทธศาสนิกชนเยอะพอสมควรครับ ภาพที่เห็นนี้ตรงตัววัดนั้นสามารถขึ้นไปได้ครับไม่ต้องถิดรองเท้า แต่จะต้องถอดรองเท้าก็ตอนที่เข้าไปในพระอุโบสถ และไปกราบไหว้ เคารพอธิษฐานในสิ่งต่างๆ ที่ตนปรารถนาครับ

Read more »

การทำบุญโลงศพ มูลนิธิร่สมกตัญญู วัดลำโพง

437925

การทำบุญโลงศพ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการร่วมทำบุญผ่านทางมูลนิธิร่วมกตัญญู ซึ่งจะนำเงินสมทบที่ได้ไปจัดซื้อโลงศพ ผ้าห่อศพหรืออุปกรณ์อื่นๆในการทำพิธีศพให้กับศพไร้ญาติที่ทางมูลนิธิได้ให้การช่วยเหลือ

เหตุนี้จึงได้มีการทำบุญในูปแบบนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายได้มีส่วนช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังทรัพย์ นอกจากจะได้ร่วมกันทำบุญ บริจาคทานแล้ว ยังมีความเชื่อว่าเป็นการ อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับศพไม่มีญาติ ให้กับเจ้ากรรมนายเวรและเป็นการสะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตาให้กับผู้ที่ไปทำบุญด้วย

โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.เขียนชื่อ-นามสกุลลงในกระดาษสีชมพูแผ่นเล็ก และให้เงินกับเจ้าหน้าที่ตามจำนวนที่ต้องการบริจาค จากนั้นเจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จให้เจ้าของชื่อเก็บไว้ 2.นำกระดาษสีชมพูมาทากาวแป้งเปียกในจุดที่กำหนดไว้ 3.นำกระดาษที่ทากาวมาแปะที่โลงศพที่วางเรียงซ้อนกันไว้ โลงไหนก็ได้ (โดยก่อนจะแปะกระดาษบนโลงศพ จะตั้งจิตแผ่อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับศพไม่มีญาติ และเจ้ากรรมนายเวรก่อนก็ได้) นอกจากนี้เมื่อทำบุญโลงศพเรียบร้อยแล้ว จะเข้าไปสักการะศาลเจ้าพ่อเขาตก ซึ่งอยู่ติดกับมูลนิธิฯ ก็ได้เช่นกัน โดยข้างในจะมีเทพเจ้า 3 องค์ คือ เจ้าแม่กวนอิม เจ้าพ่อเขาตกและเจ้าพ่อเสือ ซึ่งมีวิธีสักการะเขียนบอกไว้โดยละเอียด

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

ทำบุญโรงศพที่ “ร่วมกตัญญู” ที่วัดหัวลำโพง

IMG_0719-300x225

นี้คือหน้ามูลนิธิ ร่วมกตัญญู ด้านหน้าจะมีเสามังกร 2 ต้น จัดสร้างขึ้นแบบศาลเจ้าจีนครับ ส่วนด้านในก็จะมีองค์เจ้าพ่อเขาตกและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจีนอีกหลายองค์ เลยครับ

ด้านหน้ามูลนิธิร่วมกตัญญู
ณ สถานที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ (แต่ติดกันนะครับ) ส่วนของการทำบุญ และ ส่วนของศาลเจ้าพ่อเขาตก

แผ่นทองเหลือง
ท่านสามารถทำบุญด้วยการบริจาคเงิน (ประมาณแผ่นละ 10 บาท) เขียน ชื่อ-นามสกุลแล้วหย่อนลงในตู้ครับ  พอเสร็จเรียบร้อยก็มาตี ระฆังกับกลอง

ในศาลเจ้าจะมี องค์เจ้าพ่อเสือ ประดิษฐานอยู่ด้วย (ตอนไหว้เป็นจุดที่ 6) หากใครต้องการขอเซียมซี ก็มาหน้าเจ้าพ่อเสือ ขอพร และ ก็ขอเซียมซี (ขอบอกว่าแม่นมากกกกกก) มีหลายคนกลัวจะได้ใบที่ไม่ดี ผมขอบอกว่า การขอเซียมซี เป็นการขอบารมีสิ่งศักดิ์ อวยพร และ ชี้ทาง หากท่านได้ใบเซียมซีที่ดี ก็เอาเก็บไว้ในกระเป๋าหรือใต้ฐานพระที่ท่านบูชาที่บ้าน แต่ หากได้ไม่ดี ก็ขอให้จำไว้ว่าท่านได้เตือนอะไรเรา และ นำใบเซียมซีนั้น แจ้งต่อหน้า เจ้าพ่อเสือ และทำการเผาทิ้ง บอกท่านว่า ขอบารมีท่านนำพาความไม่ดีต่างๆ ออกจากตัวข้าพเจ้า เพียงเท่านี้ ทุกท่านก็จะมีความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตแล้วครับ

Read more »

วัดหัวลำโพง ทำบุญโลงพ และไหว้พระประธาน ปางมารวิชัย

qwb_image112555201343

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ แบบทรงไทยจตุรมุข ๓ ชั้น พื้นและฝาผนังปูด้วยหินอ่อนและหินแกรนิต กว้าง ๑๖.๙๙ เมตร ยาว ๓๗.๕๙ เมตร หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี ตรงกลางมียอดมณฑป ประกอบด้วยฉัตรฐานมณฑปมีครุฑทรงสุบรรณทั้ง ๔ ด้าน ติดช่อฟ้าใบระกา เป็นพญานาคสามเศียร หน้าบันมีลวดลายประดิษฐานตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เหนือครุฑทั้ง ๔ ด้าน ประตูและหน้าต่างมีซุ้มยอดมณฑปครึ่งซีกติดลายปูนปั้น ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี มีประตูด้านหน้า ๓ ประตู ด้านข้างซ้าย ๑ ประตู ด้านข้างขวา ๑ ประตู ด้านหลัง ๑ ประตู ประกอบด้วยบานประตู ๑๒ บาน หน้าต่าง ด้านละ ๔ หน้าต่าง ประกอบด้วยบานหน้าต่าง ๑๖ บาน บานประตูและบานหน้าต่างด้านในด้านนอกประดับมุกลวดลาย มีจิตรกรรมฝาผนัง ๔ ด้าน เพดานลวดลายประดับโคมไฟ ช่อไฟระย้า ( จากต่างประเทศ ) รอบอุโบสถด้านนอก มีเชิงชายหลังคาประดับลวดลาย มีคันทวยเทพพนมและหัวเสาปูน ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี ระเบียงด้านนอกพระอุโบสถมีทางเดินปูด้วยหินอ่อนและหินแกรนิต มีศาลารายทรงจตุรมุขยอดมณฑป ๔ หลัง ประจำ ๔ ทิศ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป อดีตบูรพาจารย์ มีซุ้มระฆังทรงไทย ด้านข้างซ้าย ๑ ซุ้ม ด้านข้างขวา ๑ ซุ้ม ด้านหลัง ๑ ซุ้ม ปูชนียวัตถุที่สำคัญในพระอุโบสถคือ พระพุทธมงคล พระอัครสาวกหน้าอุโบสถ คือพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรหรือหลวงพ่อดำและองค์จำลอง ส่วนชั้นล่างและชั้นกลางเป็นห้องโถงเอนกประสงค์ เขียนภาพจิตรกรรมเพดานและฝาผนัง ชุดวรรณคดีไทย ชาดก และประเพณีไทยทั่วประเทศ

Read more »

ทำบุญโลงศพ @ วัดหัวลำโพง

IMG-20111225-02678

บุญโลงศพนี้เราสามารถทำได้ที่มูลนิธิร่วมกตัญญู สาขาวัดหัวลำโพง ซึ่งอยู่ติดกับวัดหัวลำโพงเลย(ทางด้านซ้าย) ค่ะ จะเข้าจากทางหน้ามูลนิธิ หรือผ่านทางวัดก็ได้ค่ะ

เมื่อเข้ามาแล้ว จะถึงจุดกรอกใบอนุโมทนา และทำบุญโลงศพ ชุดละ 500 บาท หรือแล้วแต่ศรัทธาก็ได้ค่ะ ใบอนุโมทนาบัตรสามารถใช้เป็นหลักฐานในการลดภาษีได้ด้วยค่ะ

นอกจากใบอนุโมทนาบัตรแล้ว เราจะได้กระดาษสีชมพูแผ่นนี้มาอีกใบ ซึ่งเราจะเขียนชื่อเรา (ถ้าทำบุญให้ตัวเอง) หรือคนที่เราต้องการจะทำบุญให้ลงไป และแปะกาว ….

จากนั้น จึงนำมาแปะไว้ที่โลงที่ตั้งเรียงกันไว้ด้านข้างเช่นนี้ค่ะ หยิบธูป 20 ดอก เพื่อไปไหว้เจ้าในศาล

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .