Archive for the ‘วัดในนนทบุรี’ Category

ประวัติความเป็นมาวัดปรมัยยิกาวาส

paramai

วัดปรมัยยิกาวาส เดิมเป็นวัดราษฎร์ของชาวรามัญซึ่งอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แต่สมัยก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เรียกตามภาษารามัญว่า (เกี่ยวมุ๊เกี๊ยะเติ้ง) ปัจจุบันเพี้ยนเป็น(เกี่ยเมิ้งฮะเติ้ง) แปลว่า วัดหัวแหลม ไทยเรียกวัดปากอ่าว

วัดปากอ่าว เป็นวัดรามัญมาแต่โบราณ มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี ก่อนจะได้รับการปฏิสังขรณ์ ใน พ.ศ.๒๔๑๗ นั้น วัดปากอ่าวมีเสนาสนะที่น่าศึกษาคือ

๑.ศาลาเปรียญทรงมอญ ยกพื้นสูงจากดิน ๒ ศอก ไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องดินเผาขนาดกว้างยาวเท่าไรหาหลักฐานไม่พบ สูงจากพื้นถึงเพดานเท่ากับความสูงของบุษบกปัจจุบัน ปลูกไว้บริเวณลานดินตรงต้นหว้าหน้าพระอุโบสถในปัจจุบัน

๒.พระอุโบสถ ตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน ขื่อกว้าง ๓ วา ยาว ๗ วา ๓ ห้อง ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคาชั้นเดียว มุงกระเบื้องดินเผา มีพะหน้าหลัง เช่นเดียวกับวัดรามัญทั่วไป ภายในมีพระประธานและพระอัครสาวกนั่งคุกเข่าอย่างรามัญทั่วไป เป็นปูนปั้นทั้ง ๓ องค์

๓.วิหารพระพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน ขื่อกว้าง ๔ วา ๒ ศอก ยาว ๕ วา ๓ ศอก สูง ๓ วา เครื่องบนไม้สัก มุงกระเบื้องดินเผา ภายในมีพระพุทธไสยาสน์ขนาดยาว ๔ วา ๓ ศอก มีพะหน้าหลัง

Read more »

วัดปรมัยยิกาวาส

cover-sadoodta_752

วัดปรมัยยิกาวาส เดิมชื่อ “วัดปากอ่าว ” มีชื่อในภาษามอญว่า ” เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง ” หมายความว่า วัดหัวแหลม เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ดังปรากฎพระเจดีย์มุเตาซึ่งเป็นเจดีย์ทรงมอญ ปัจจุบันอยู่ติดริมแม่น้ำกระแสน้ำกัดเซาะฐานราก ทำให้เจดีย์มีลักษณะเอียง อันเป้นสัญลักษณ์ของวัดมาแต่โบราณ ต่อมาสมัยธนบุรี และต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีชาวมอญ ที่อพยพเข้ามาตั้งบ้าน เรือนที่เกาะมากขึ้น วัดแห่งนี้จึงเป็นศูนย์กลางของชุมชน และสถานที่จัดงานประเพณีพิธีกรรมของชาว มอญบนเกาะเกร็ด และที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่ ภายในวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวได้แก่

พระอุโบสถ มีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากประเทศอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้พระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริมการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันที่นี่เป็นวัดเดียว ที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์พระองค์เจ้าประดิษฐว รการ ผู้สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้ งามด้วยพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง เอกลักษณ์ของมอญอีกอย่างหนึ่งในวัดนี้คือ เจดีย์ทรงรามัญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุเจดีย์มุเตา เมืองหงสาวดี ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งคนมอญนับถือมาก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

Read more »

ประวัติวัดปรมัยยิกาวาส

15220a33b

วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า “เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง”

ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพระยาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของพระบรมอัยยิกา”

Read more »

วัดปรมัยยิกาวาส จ.นนทบุรี

วัดปรมัยยิกาวาส ชาวบ้านมักเรียกว่าวัดปากอ่าว เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงเพียงวัดเดียวบนเกาะเกร็ด มีชื่อในภาษามอญว่า “เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง” แปลว่า วัดหัวแหลม ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัด ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่ ส่วนพระอุโบสถในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลสนองพระคุณสมเด็จพระเจ้าบรมอัยยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และพระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส มีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่กระนั้นพระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันนี้ ที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ ๕ ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยฝีพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง ด้านหลังพระอุโบสถ มีพระมหารามัญเจดีย์ จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง ของพม่า

ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดปรมัยยิกาวาสสำหรับชาวนนทบุรีก็คือ เป็นที่ประดิษฐาน พระนนทมุนินท์ พระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดปรมัยยิกาวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิด ราชวรวิหาร

watporamai

วัดปรมัยยิกาวาส ตั้งอยู่ที่ตำลบลเกาะเกร็ด เยื้องท่าเรือสุขาภิบาลปากเกร็ดไปทางใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่ตรงข้ามกับท่าเรือวัดสนามเหนือ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างแบบรามัญ เดิมวัดนี้เป็นวัดเก่า ชื่อวัดปากอ่าว

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด และโปรดให้สร้างพระเจดีย์รามัญ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระราชทานนาม “วัดปรมัยยิกาวาส” เนื่องจาก ศิลปะการสร้างมีลักษณะแบบมอญ พระเจดีย์ทุกองค์สร้างแบบมอญ และพระพุทธรูปพระประธาน ในโบสถ์ สลักด้วยหินอ่อนแบบมอญด้วย จึงเรียกกันว่า “วัดมอญ” ภายในวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง และบานประตู หน้าต่างโบสถ์ประดับลายปูนปั้นสวยงาม

วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฎกภาษามอญไว้ ถือเป็นวัดศูนย์กลางของชุมชนชาวมอญ และมีโบราณวัตถุสมัยอยุธยาตอนปลาย

ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org/

วัดปรมัยยิกาวาส

300px-Ko_Kret_leaning_chedi

วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า “เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง”

ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพระยาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของพระบรมอัยยิกา”

Read more »

วัดพิกุลเงิน

DSCF2212

ชื่อแหล่งท่องเที่ยว : วัดพิกุลเงิน
ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว : สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
สถานที่ตั้ง : ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
รายละเอียด : วัดพิกุลเงิน สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ พ.ศ 2374 ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง ต่อมาได้มีคนจีนชื่อ ฮะ ซึ่งเป็นต้นตระกูลโฑณวนิกได้ล่องเรือผ่านมาเห็นสภาพวัดเกิดศรัทธาจึงบริจาคทรัพย์สินส่วนตัว สร้างอุโบสถขึ้นในราว พ.ศ 2521 แต่ประชาชนทั่วไม่มักเรียกว่า “วัดพิกุล” วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธรจำลององค์แรกของประเทศไทย

ขอขอบคุณ http://info.dla.go.th/

วัดพิกุลเงิน

สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ พ.ศ 2374 ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง ต่อมาได้มีคนจีนชื่อ ฮะ ซึ่งเป็นต้นตระกูล โฑณวนิกได้ล่องเรือผ่านมาเห็นสภาพวัดเกิดศรัทธาจึงบริจาคทรัพย์สินส่วนตัว สร้างอุโบสถขึ้นในราว พ.ศ. 2521

ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

วัดพิกุลเงิน

วัดพิกุลเงิน

วัดพิกุลเงิน สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ พ.ศ. 2374 ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง ต่อมาได้มีคนจีนชื่อ ฮะ ซึ่งเป็นต้นตระกูลโฑณวนิกได้ล่องเรือผ่านมาเห็นสภาพวัดเกิดศรัทธาจึงบริจาคทรัพย์สินส่วนตัว สร้างอุโบสถขึ้นในราว พ.ศ. 2521 ต่อมาประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า วัดพิกุล วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธรจำลององค์แรกของประเทศไทย

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

วัดพิกุลเงิน

วัดพิกุลเงิน สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ พ.ศ. 2374 ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง ต่อมาได้มีคนจีนชื่อ ฮะ ซึ่งเป็นต้นตระกูลโฑณวนิกได้ล่องเรือผ่านมาเห็นสภาพวัดเกิดศรัทธาจึงบริจาคทรัพย์สินส่วนตัว สร้างอุโบสถขึ้นในราว พ.ศ. 2521 ต่อมาประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า วัดพิกุล วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธรจำลององค์แรกของประเทศไทย

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดพิกุลเงิน

ตั้งอยู่ที่ 36 ม.2 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ พ.ศ 2374 ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง ต่อมาได้มีคนจีนชื่อ ฮะ ซึ่งเป็นต้นตระกูลโฑณวนิกได้ล่องเรือผ่านมาเห็นสภาพวัดเกิดศรัทธาจึงบริจาคทรัพย์สินส่วนตัว สร้างอุโบสถขึ้นในราว พ.ศ 2521ต่ประชาชนทั่วไม่มักเรียกว่า ” วัดพิกุล ” วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธรจำลององค์แรกของประเทศไทย

การเดินทาง
การเดินทางมาโดยทางรถยนต์นั้น สามารถเข้ามาวัดพิกุลเงินได้ 2 ทางหลักใหญ่ ๆ คือ
1. เข้ามาทางซอยหน้าวัดคงคาที่หนึ่ง และซอยทางเข้าตลาดบางใหญ่เก่าที่หนึ่ง โดยสองเส้นทางนี้เข้ามาจากถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ข้อควรจำ (ตรงข้ามซอยกันตนา) , ซอยทางเข้ามาวัดอยู่คนละฝั่งกับโรงพยาบาลบางใหญ่
2. เข้ามาทางถนนตัดใหม่ (ที่จะไปถนนรัตนาธิเบศ) เมื่อผ่านวงแหวนมุ่งตรงมาทางที่จะไปถนนรัตนาธิเบศ ข้ามสะพานข้ามคลองบางกอกน้อยแล้ว ให้เลี้ยวซ้ายทางที่จะไปบางบัวทอง (เส้นนี้ตรงข้ามสามารถเดินทางไปท่าน้ำนนท์ได้) ตรงมาผ่านตลาดเจ้าพระยา (วัดโบถส์ดอนพรหม) จะพบทาง 3 แยก ขวามือไปบางบัวทอง (ผ่านหน้าวัดสวนแก้ว) ให้เลี้ยวซ้ายมาทางท่าน้ำบางใหญ่ ถึงตลาดบางใหญ่เก่าแล้วข้าม สะพานสูง ๆ ตรงมาเลี้ยวซ้ายระหว่างโรงเรียนวัดพิกุลเงินกับเทศบาลตำบลบางม่วง ตรงมาก็จะเห็นซุ้มประตูวัด
การเดินทางมาโดยทางเรือ
ขึ้นเรือที่ท่าช้าง เส้นทางมาบางใหญ่ สุดสายที่ท่าน้ำบางใหญ่ ก่อนถึงท่าน้ำบางใหญ่ (ตลาดบางใหญ่เก่า) ชี้ลงหน้าวัดได้เลย

ขอขอบคุณ http://www.hotelsguidethailand.com/

งานพุทธชยันตีวัดป่ามณีกาญจน์ นนทบุรี

เนื่องในวันวิสาขบูชาปีนี้ เป็นปีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ ๒,๖๐๐ ปีบริบูรณ์ พุทธศาสนิกชนทั่วโลกต่างพร้อมใจกันจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเป็นวาระพิเศษ ในประเทศไทยโดยมติมหาเถรสมาคมและภาครัฐได้กำหนดให้จัดงานฉลองโดยใช้ชื่อว่า “งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า”

โดยคำว่า “ชยันตี” นั้น มาจากคำว่า “ชย” คือชัยชนะ อันหมายถึงชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวง อันทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก

ท่านพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ และคณะสงฆ์วัดป่ามณีกาญจน์ จึงได้กำหนดจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าขึ้น ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม – ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยเน้นการปฏิบัติบูชา เผยแผ่ความรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติและหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา

อนึ่ง จากวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่ผ่านมา การป้องกันน้ำท่วมของวัดป่ามณีกาญจน์เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะขาดแนวกำแพงถาวรเพื่อป้องกันน้ำบริเวณหลังวัด คณะสงฆ์จึงพิจารณาว่าต้องสร้างกำแพงและเสริมแนวป้องกันเพิ่มเติม คณะศิษย์จึงได้ร่วมใจกันทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างกำแพงวัด เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๒,๖๐๐ กอง กองละ ๒,๖๐๐ บาท
Read more »

พระองค์โสมฯ ทรงถวายผ้าป่าสามัคคี ณ วัดป่ามณีกาญจน์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงถวายผ้าป่าสามัคคี ณ วัดป่ามณีกาญจน์

วานนี้ (14 ต.ค.57) เวลา 16.57 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปยังวัดป่ามณีกาญจน์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ทรงถวายผ้าป่าสามัคคีสำหรับหารายได้สมทบทุนสร้าง “พระมหาเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และอัฐบริขารพระราชญาณวิสุทธิโสภณ หรือ หลวงปู่ท่อน ญาณธโร” เพื่อเป็นศาสนสถานให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา และเป็นอนุสรณ์สถานเก็บรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของพระอริยสงฆ์ ตลอดจนรวบรวมคติธรรมคำสอน อัฐบริขาร และเจริญอายุวัฒนมงคลของพระราชญาณวิสุทธิโสภณ พระเถระผู้ใหญ่สายวิปัสสนาธุดงค์กรรมฐาน พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตตภาวนา การเทศนาธรรม และวิทยาคมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จนมีผู้เลื่อมใส ศรัทธาเป็นจำนวนมาก

วัดป่ามณีกาญจน์ สร้างเมื่อปี 2548 เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ด้วยพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีการปลูกต้นไม้เป็นจำนวนมาก จึงเหมาะแก่การปฏิบัติศาสนกิจและการปฏิบัติธรรม โดยในแต่ละเดือน มีพุทธศาสนิกชนเข้ามาปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชา และมีโครงการยุวกรรมฐาน เน้นอบรมเยาวชนให้รู้จักหน้าที่ ศีลธรรม ตามแนวทางพระสายกรรมฐานของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบัน มีพระอธิการอำนวย จิตตสังวโร เป็นเจ้าอาวาส มีพระภิกษุจำพรรษา 30 รูป สามเณร 2 รูป

ขอขอบคุณ http://politic.tnews.co.th/

วัดในจังหวัดนนทบุรี – วัดป่ามณีกาญจ์

วัดป่ามณีกาญจน์ ๖๗/๓ หมู่ ๓ ถ.บางม่วง – บางคูลัด (สาย๑) ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ๑๑๑๓๐ ศิษย์ท่านพระอาจารย์สาคร ท่านหนึ่งทราบความประสงค์อันกอปรด้วยกุศลเจตนาของท่านพระอาจารย์สาคร จึงนำความไปปรึกษากับกลุ่มญาติ ซึ่งมีที่ดินอยู่ ณ ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี จำนวน ๙ ไร่เศษ กลุ่มญาติทั้งหมดอันประกอบด้วย ม.ร.ว.วรรณี มณีกาญจน์ นายสันติ มณีกาญจน์ (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และจังหวัดหนองคาย) นางสาวชูพักตร์ มณีกาญจน์ นางบุญล้อม มณีกาญจน์ และลูกๆของนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ มีความเห็นพ้องกันว่าสมควรถวายที่ดินผืนดังกล่าวเพื่อสร้างวัดในสังกัดธรรมยุติ เพื่อประกอบศาสนกิจในบวรพระพุทธศาสนาต่อไป โดยท่านพระอาจารย์สาคร ให้ชื่อวัดนี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กุศลธรรมของญาติโยมที่มีจิตศรัทธาถวายที่ดินว่า “วัดป่ามณีกาญจน์” การดำเนินการก่อสร้างจึงได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๘ คุณประมิตร วังพัฒนมงคล และคณะศิษย์เป็นผู้มีจิตศรัทธา ซื้อที่ดินถวายเพิ่มอีกจำนวน ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตารางวา ทำให้วัดป่ามณีกาญจน์มีพื้นที่รวม ๒๐ ไร่ ๖๖ ตารางวา
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม ภายในบริเวณวัดปลูกต้นไม้ทั้งไม้ดอกและไม้ยืนต้น ตลอดจนผลไม้ เพื่อความร่มรื่นภายในวัด และเพื่อให้เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนา ทางด้านหน้ามีสระน้ำใหญ่และบ่อน้ำ ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังศาลา สิ่งก่อสร้างที่สำคัญประกอบด้วย ศาลาอเนกประสงค์ ๓ ชั้น ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๖ เมตร โรงครัวและเรือนพักของผู้ปฏิบัติธรรม ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๑ เมตร ศาลาปฏิบัติธรรมริมสระน้ำ ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๔ เมตร มีกุฏิพระ ๘ หลัง และกุฏิรับรองพระเถระ ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด ล้วนมุ่งเน้นให้มีรูปแบบที่เรียบง่ายและประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ สำหรับเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ ท่านพระอาจารย์อำนวย จิตตฺสํวโร(เสตะพันธ์) เป็นเจ้าอาวาส อายุ ๔๕ พรรษา ๑๙ อุปสมบทเมื่อ ๑ ก.ค.๒๕๓๒

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคีวัดป่ามณีกาญจน์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

นายพรชัย สังวรเจต รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เปิดเผยว่า วัดป่ามณีกาญจน์ได้ดำเนินโครงการยุวกรรมฐาน (โครงการ 1+1 ได้ 3 ) และเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีเยาวชนและผู้สนใจปฏิบัติธรรมเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้พื้นที่ใช้สอยของวัดที่มีจำกัดคับแคบ ประกอบกับเวลามีงานที่วัด คณะศรัทธาญาติโยมไม่ได้รับความสะดวกเรื่องสถานที่จอดรถ เกิดปัญหาการจราจรติดขัดถึงนอกวัด คณะกรรมการวัด จึงได้จัดพิธีทอดกฐินสามัคคีเพื่อสมทบซื้อที่ดิน ขยายพื้นที่วัด สำหรับสร้างกุฏิพระ เณร ที่พักผู้ปฏิบัติธรรม สร้างลานจอดรถ และบำรุงเสนาสนะเพื่อประโยชน์ในกิจการของพระศาสนา จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทอดกฐินสามัคคีวัดป่ามณีกาญจน์ ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในวันเสาร์ที่ 11 และวันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม 2557 ณ ศาลาอาจาราจริยนุสรณ์ หรือร่วมทำบุญเข้าบัญชีออมทรัพย์ วัดป่ามณีกาญจน์ เพื่อซื้อที่ดินถวายวัด ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนกาญจนาภิเษกบางใหญ่ เลขที่ 776-2-10087-2 สอบถามเพิ่มเติมที่ พระอาจารย์อำนวย เจ้าอาวาสวัดป่ามณีกาญจน์ 08-6069-8893

ขอขอบคุณ http://contentcenter.prd.go.th/

. . . . . . .
. . . . . . .