สร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2310 – 2325 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศิลปสมัยรัตนโกสินทร์กับอยุธยา รูปทรงจตุรมุ ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องเกร็ดเต่าทำจากดินเผา มีหน้าต่างหนึ่งช่อง มีประตูสองช่องเหนือขอบประตูสองด้าน ประดับด้วยถ้วยชามสังคโลกเรียงกันเป็นรูปทรงกลม หน้าจั่วเป็นพื้นเรียบ กระเบื้องชายหลังคาเชื่อมด้วยปูน ตัววิหารมีกำแพงล้อมรอบพร้อมมุงหลังคา และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยทำด้วยปูน ประดิษฐานไว้โดยรอบจำนวน 8 องค์ ส่วนภายในวิหารมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ ต่อมาหลังคมวิหารและกำแพงได้ชำรุดและพังลง
ในปี พ.ศ. 2485 มีผู้ใจบุญได้ซ่อมหลังคาใหม่ โดยมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดเต่าเคลือบสี หน้าบันจั่วทิศตะวันตก เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดับด้วยลายเครือเถาหน้าบัน จั่วด้านประตูปั้นเป็นรูปดอกบัว 5 ดอก ประดับแจกัน หลังคาประดับด้วยช่อฟ้ารูปหัวพญานาค มีใบระกา และต่อมาหลังคาและนาคปั้นก็พัง เกิดความชำรุดเสียหายอีก ทางอำเภอบางคล้าได้ร่วมกับประชาชนบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยซ่อมแซมขึ้นในปี พ.ศ. 2541 เป็นการอนุรักษ์ของเดิมเอาไว้เพื่อเป็นมรดกของชาติ โดยได้ทำการซ่อมหลังคาโครงสร้างใหม่หมด ตั้งเสาเสริมความเข้มแข็ง 4 ด้าน รวม 8 ด้าน ฉาบผนังภายในโดยก่ออิฐฉาบปูนทุกด้าน เปลี่ยนฝ้าเพดาน เปลี่ยนโคมไฟ ปูพื้นใหม่ด้วยหินอ่อน และปูศิลาแลงโดยรอบวิหารทั้ง 4 ด้าน และทางวัดได้ดำเนินการประดับตกแต่งเครื่องบนตัวนาคและลวดลายหน้าบัน เพื่อทรงคุณค่าทางศิลปกรรมและมรดกทางวัฒนธรรม
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดแม่น้ำบางปะกง
ทิศตะวันตก และทิศใต้ติดกับคลองท่าทองหลาง
ขอขอบคุณ http://www.nmt.or.th/