ระเบียบการ
โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพธารามครั้งเริ่มก่อตั้งเดิมชื่อว่า “โรงเรียนสัตตาหศึกษาวันอาทิตย์” ปัจจุบันเรียกว่า “ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพธาราม” (ศพอ.พ.) ได้เปิดอบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมตั้งแต่วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๐โดยความดำริของพระเดชพระคุณพระธรรมคุณาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธารามเป็นผู้ให้กำเนิดทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสมัยที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ได้ไปดูงานการพระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา ได้เห็นการอบรมสั่งสอนของพระสงฆ์ชาวลังกาที่เปิดการเรียนการสอนเด็กได้วันหยุดราชการ จึงได้ทีแนวความคิดนี้มาจัดตั้งโรงเรียนแห่งนี้ และได้สอนสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันโดยไม่คิดมูลค่า
วัตถุประสงค์
๑.เพื่ออบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดา ซึ่งเป็นเยาวชนของชาติได้รู้จักพระพุทธศาสนาตามสมควรแก่วัยของตน
๒.เพื่อปลูกฝังศีลธรรม ธรรมจริยา วัฒนธรรมไทยแก่เยาวชนของชาติ ในแนวทางพระพุทธศาสนา เมื่อเติบโตจะได้เป็นผู้นำในทางที่ดีของสังคม
๓.เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ดำเนินตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นศาสนิกชนที่ดีของศาสนาต่อไป
๔.เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในวันหยุดเรียน
๕.เพื่อเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาในกลุ่มเยาวชนให้เป็นพุทธมามกะที่ดีต่อไป
๖เเพื่อลดช่องว่างระหว่างพระสงฆ์กับเยาวชน
การจัดการระบบศึกษา แบ่งออกเป็น ๖ ชั้นเรียน คือ
ชั้นต้น ประกอบด้วย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นกลาง ประกอบด้วย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ชั้นปลาย ประกอบด้วย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
การจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือ
ภาคเช้า จัดการเรียนการสอนวิชาหลัก ดังนี้
๑. วิชาพุทธประวัติ
๒. วิชาธรรมะ
๓. วิชาศาสนปฏิบัติ
ภาคบ่ายจัดการศึกษาวิชาพิเศษ ดังนี้
๑. นาฏศิลป์ (เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐น.)
๒. คอมพิวเตอร์ (เวลา ๑๒.๐๐-๑๗.๐๐น.)
๓. อาทิตย์สุท้ายของเดือนจัดระบบให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง
วิธีจัดการศึกษา
จัดการศึกษาเฉพาะวันอาทิตย์ เริ่มเวลา ๐๘.๐๐ น. นักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติเสร็จเดินเข้าสู่พระอุโบสถทำกิจวัตรสวดมนต์ รับศีล ๕ จากพระอาจารย์ เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน (ประมาณ ๒๐ นาที)
ชั่วโมงที่ ๑ เรียนวิชาศาสนปฏิบัติ เป็นการเรียนร่วมฝึกปฏิบัติจริง ในเรื่องศาสนพิธี วัฒนธรรมไทย การปฏิบัติต่อพระสงฆ์และอื่นๆ
ชั่วโมงที่ ๒ เรียนวิชาธรรมะ
ชั่วโมงที่ ๓ เรียนวิชาพุทธประวัติ
สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
จัดการเรียนแบบศูนย์การเรียน โดยมุ่งจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง จัดเป็น ๓ ศูนย์ คือ
ศูนย์ที่ ๑ จัดการเรียนรู้มารยาทไทย และการดำรงตนอยู่ในสังคม
ศูนย์ที่ ๒ จัดการเรียนการรู้หลักธรรมที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
ศูนย์ที่ ๓ จัดการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ขอขอบคุณ http://watphotharam.net