วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา ขอพรพระเจ้าตนหลวง
สักการะพระเจ้าตนหลวง หลวงพ่อวัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
วัดศรีโคมคำ หรือวัดพระเจ้าตนหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญได้สร้างมานานพร้อมกับการสร้างพระเจ้าตนหลวง เมื่อประมาณ พ.ศ.2034 โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ในสมัยนั้นเจ้าอาวาสองค์แรกที่ปรากฎในตำนาน คือ พระธรรมปาล ท่านผู้นี้ได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่คือ ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่แก่ประชาชนอยู่ต่อมาอีกประมาณ 404 ปี จุลศักราช 1219 (พ.ศ. 2400) พระกัปปินะ เป็นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง มีบันทึกหนังสือสมุดข่อยไว้ว่า แสนทักษิณะเยนดวงชะตาพระเจ้าตนหลวง มีพระธรรมปาลเขียนไว้มาให้ท่านได้รับทราบว่าวัดศรีโคมคำเป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่มาในยุคหลังๆ บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงคราม ทำให้บ้านเมืองอยู่ไม่เป็นปกติสุขต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมืองที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอารามรกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รบการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ
วัดศรีโคมคำได้เริ่มก่อสร้างพระวิหารครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. 2465 พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา และหลวงสิทธิประศาสน์ (คลาย บุษบรรณ) นายอำเภอเมืองพะเยา คนแรกร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัย จากจังหวัดลำพูนมาเป็นประธาน นั่งหนักในการก่อสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จำสำเร็จบริบูรณ์ โดยพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ เป็นองค์แรก ปัจจุบันพระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ได้ดำรงตกแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2511 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2523
พระเจ้าตนหลวง เป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนที่ใหญ่ที่สุดในล้านนา ขนาดหน้าตักว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2034-2067 ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ในเดือนหก (ประมาณพฤษภาคม) จะมีงาน นมัสการพระเจ้าตนหลวง เดือนแปดเป็ง” จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก
พระอุโบสถกลางน้ำ พระอุโบสถหลังใหม่ของวัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา เป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นโดยศรัทธาประชาชน ซึ่งบริษัท มติชนจำกัด โดยคุณขรรค์ชัย บุนปาน เป็นผู้ประสานงาน คุณนิยม สิทธหาญ มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปกร และคุณจินดา สหสมร สถาปนิกจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยร่วมกันออกแบบ
จิตรกรรมฝาผนัง เขียนโดยคุณอังคาร กัลยาณพงษ์ และคุณภาพตะวัน สุวรรณกูฏ และทีมงาน
มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมือง ที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอาราม รกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยจากจังหวัดลำพูน มาเป็นประธาน ในการสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จนสำเร็จบริบูรณ์ กระทั่งเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง นอกจากนี้ ยังมี พระอุโบสถกลางน้ำ ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งมวลจากทั่วประเทศ โดยมี “นิยม สิทธหาญ” มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ “จินดา สหสมร” สถาปนิกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันออกแบบ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติและวิถีชีวิตผู้คน ฝีมือของ “อังคาร กัลยาณพงศ์” ศิลปินแห่งชาติ และ “ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ”
ชะตาพระเจ้าตนหลวงตามตำนาน กล่าวได้ว่า “พระโมลีใหญ่ ๒๐ กำมือ สูง ๓ ศอก พระเศียรกลม ๖ วา พระเกศามี ๑,๕๐๐ เส้น ขนาดใหญ่ ๔ กำมือ ขนาดกลาง ๓ กำมือ ขนาดเล็ก ๒ กำมือ ขนาดจิ๋ว ๑ กำมือ พระพักตร์หน้ายาว ๒ วา กว้าง ๒ วา พระขนง (คิ้ว) ๓ ศอก ระหว่างพระขนงกว้าง ๑ ศอก ยาว ๓ ศอก กว้าง ๑ คืบ ดั้งพระนาสิก ๓ ศอก ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ พระโอษฐ์ (ปาก) ยาว ๔ ศอก กว้าง ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ พระกรรณ (หู) ยาว ๖ ศอก กว้างศอกคืบ พระศอยาว ๒ ศอก กลม ๓ วา พระอังสา (บ่า) ยาว ๓ คืบ กระดูกด้ามมีดยาว ๔ วา ตั้งแต่พระอุระ (อก) ถึงพระชานุ (คาง) ๒ วา ตั้งแต่พระถัน (นม) ถึงพระอังสา (ไหล่) ๒ วา ตั้งแต่พระนาภี (สะดือ) ถึงพระอุระ (อก) ๒ วา ระหว่างพระอุระ (อก) กว้าง ๒ วา พระพาหา (แขน) ยาว ๔ วา กลม ๒๙ กำมือ นิ้วพระหัตถ์ใหญ่ ๙ กำมือ ยาว ๑ วา พระกฏิ (สะเอว) กลม ๗ วา ฝ่าพระบาทยาว ๒ วา กว้าง ๓ ศอก ระหว่างพระชานุกว้าง ๗ วา พระหทัยใหญ่ ๖ กำมือ ตั้งแต่ที่ประทับนั่งถึงพระโมลี สูง ๘ วา ๒ ศอก”
“พระเจ้าตนหลวง” หรือ “พระเจ้าองค์หลวง” มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในช่วงเดือนหกของทุกปี ประมาณเดือนพฤษภาคม ตรงกับวันวิสาขบูชา จะมี งานนมัสการพระเจ้าตนหลวง หรือ เทศกาล “แปดเป็ง” จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง เมื่อครั้งสมัยที่ยุคทองทางพระพุทธศาสนาของล้านนา ประชาชนจึงเชื่อว่าพระเจ้าตนหลวง คือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้า ใครที่ได้มากราบสักการะแล้ว จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลอยู่ดีมีสุขตลอดไป
ขอขอบคุณ เนื้อหาจาก oceansmile.com emotiond.blogspot.com