วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพระบรมมหาราชวัง แห่งกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ.2325 นั้น ทรงพระราชดำริว่ามีวัดเก่าแก่ว่านับย้อนอายุไปได้ตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่บริเวณใกล้กับพระบรมมหาราชวัง 2-3 วัด จึงโปรดให้มี การบูรณะปฏิสังขรณ์เพื่อเป็นพระราชกุศลแก่พระนคร ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง มีวัดโบราณ ตั้งอยู่ เรียกกันว่า วัดโพธาราม รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าให้บูรณะปฏิสังขรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2331 ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 25 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯให้มีการเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริกในปี พ.ศ. 2344 พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส (ก่อนจะเปลี่ยนเป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในรัชกาลที่ 4) ในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้บูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามเป็นการใหญ่อีกครั้ง โปรดฯให้สร้างถาวรวัตถุต่างๆมากมาย ที่สำคัญที่สุด โปรดให้สร้างแผ่นศิลาจารึกสรรพวิชาความรู้ต่างๆ ทั้งอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ โหราศาสตร์ ประดับไว้ตามอาคารต่างๆ สลับกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมอันงดงาม เพื่อให้ประชาชนที่สนใจ ได้เข้ามาเรียนรู้ได้โดยทั่วกัน จนได้รับการยกย่องว่า วัดพระเชตุพนฯ เป็นมหาวิทยาลัยเปิด แห่งแรกของประเทศไทย
ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงมีพระประสงค์ทะนุบำรุงวัดพระเชตุพนฯ ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ขนาบข้างกับ
พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ ดังนั้น จึงเป็นเจดีย์สามองค์เรียงกันจากเหนือจรดใต้ โดยมีลักษณะเป็น
เจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ขนาดและความสูงเหมือนกันทุกประการ ต่างเพียงสีกระเบื้องที่มาประดับเท่านั้น โดยพระมหา
เจดีย์ทางทิศเหนือของพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า
“พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน” ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชอุทิศถวายแด่
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชชนก ซึ่งนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2
เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ถ่ายแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย มาจากวัดสวนหลวง
สบสวรรค์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา โดยองค์พระมหาเจดีย์มีลักษณะที่แตกต่าง
จากพระมหาเจดีย์ทั้ง 3 องค์ คือ มีซุ้มคูหาเข้าไปภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี
ขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม มีนามว่า “พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย” นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4
ขอขอบคุณ http://mayaknight07.exteen.com/