Posts Tagged ‘การเดินทางไป พระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่’

สำนักปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

DSC_6309

สำนักปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ โดย พระเดชพระคุณพระธรรมมังคลาจารย์ วิ. (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) ซึ่งในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุพรหมายาน วิ. ซึ่งได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
จึงได้ทำการฟื้นฟูและส่งเสริมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ โดยริเริ่มก่อตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมขึ้น มีการซื้อที่ดินขยายพื้นที่ในการก่อสร้างกุฏิ อาคาร และศาลาต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอาทิเช่น อาคารพระสัทธรรม เป็นอาคารสูง ๕ ชั้น,ศาลาราชพรหมานุสรณ์,ภัตตศาลาเทพสิทธาจารย์ ๘๔,ศาลาลานธรรมลานโพธิ์,ธรรมศาลา,ศาลาสอบอารมณ์,สำนักงานวิปัสสนาธุระ,กุฏิผู้ปฏิบัติทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งมีผู้สนใจมาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกันเป็นจำนวนมาก

สำนักปฏิบัติธรรม วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มีพื้นที่เป็น ๒ ใน ๓ ส่วนของพื้นที่ทั้งหมดของวัด ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุศรีจอมทอง สามารถรับรองผู้เข้าปฏิบัติธรรม หรือ กลุ่มคณะบุคคลผู้สนใจได้ พร้อมกันเป็นจำนวนมากอีกทั้งในยังเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่สามารถผลิตบุคคลากรด้านวิปัสสนา ซึ่งเรียกว่า พระวิปัสสนาจารย์ ส่งออกไปเผยแผ่ได้เป็นจำนวนมาก
พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นสำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น
เป็นศูนย์ฝึกพระวิปัสสนาจารย์ ประจำหนเหนือ

ขอขอบคุณ http://www.watchomtong.org/

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารเดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่ – ฮอด หมู่ ๒ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร    วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ ๑๐ เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรมในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

พ.ศ. ๑๙๙๔ สร้างบนดอยจอมทอง ชื่อว่า วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ทางทิศตะวันตกมีทิวเขา อินทนนท์ และลำน้ำแม่กลาง
พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รับพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ของกรมการศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่มีผลงานดีเด่น ของ กรมการศาสนา

วัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักขิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๑๘ ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ ๕ ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง ๔ เมตร สูง ๘ เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๐

Read more »

เจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร

AjarnTong08

พระธรรมมังคลาจารย์ วิ. ฉายา สิริมงฺคโล อายุ ๘๙ ปี พรรษา ๖๙ (พ.ศ.๒๕๕๕)

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
เจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๑
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระวิปัสสนาจารย์ภาคเหนือ
ที่ปรึกษาสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

สถานเดิม
ชื่อ ทอง นามสกุล พรหมเสน เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๖ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีกุน ณ ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บิดาชื่อ นายทา นามสกุล พรหมเสน มารดาชื่อ นางแต้ม นามสกุล พรหมเสน

บรรพชาอุปสมบท
บรรพชาเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ ณ วัดนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พระชัยวงศ์ เป็นพระ-อุปัชฌาย์
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ณ วัดบ้านแอ่น ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูคัมภีรธรรม พฺรหฺมปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพระชัยเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์พระอธิการญาณรังษี วัดหัวยทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาจันทร์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

Read more »

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

watchomtong01_1

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

ขอขอบคุณ http://www.watchomtong.org/

ตำนานและประวัติวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

พระธาตุศรีจอมทอง

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

ประดิษฐานพระบรมธาตุ
ตามตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุศรีจอมทอง ดอยศรีจอมทองนั้น ได้แก่ที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีจอมทองในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาดินสูงจากระดับที่พื้นราบอื่น ๆ ในบริเวณนั้น ที่ตั้งพระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง จะเป็นยอดของดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล และมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า “เมืองอังครัฏฐะ” มีเจ้าผู้ครองเมืองนั้นนามว่า พระยาอังครัฎฐะ ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับดอยจอมทองลูกนี้ ซึ่งพระยาอังครัฎฐะนั้นได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย” จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และ ทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา (พระทักษิณโมลี) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้” แล้วเสด็จกลับ ส่วนพระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้นั้น พระยาอังครัฎฐะอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชนมายุของพระองค์

ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้งแปดนคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา ทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ จึงได้กราบทูลมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้ มัลลกษัตริย์ทราบ ดังนั้นจึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านก็ได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำ ที่พญาอังครัฎฐะได้สร้างถวายไว้ อยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .