ศาลพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในประเทศไทย ยุคสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์

The-City-Pillar-Shrine-at-Phra-Pradaeng-City-01

ศาลหลักเมืองพระประแดงสร้างขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สร้างป้อมปราการเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ.2358 ต่อมามีลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบจีนผสมกับไทยและมอญ ตามหลักฐานไม่ปรากฏว่าคนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองนี้เมื่อใด ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศ นับว่าเป็นพระพิฆเนศองค์เดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักเมือง โดยตัวเสาจริงๆนั้นอยู่ลึกลงไปทางด้านล่างของศาล บุคคลทั่วไปไม่มีโอกาสได้ลงไปถึงด้านล่างอันเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของพระประแดงจริงๆ ด้วยโบราณราชประเพณีแล้วเมืองที่จะมีศาลหลักเมืองมักจะเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ และศาลหลักเมืองจะถือเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของบ้านของเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงจึงได้รับยกย่องให้เป็นศาลพระพิฆเนศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

พระพิฆเนศประจำศาลหลักเมืองพระประแดงองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกแบบไทย มีลักษณะเป็นพระพิฆเนศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม ประทับนั่งบนฐานบัวหงาย โดยพระคเณศองค์นี้งดงามด้วยความเรียบง่าย เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลายเครื่องประดับใดๆ แม้กระทั่งเครื่องศิราภรณ์

ขอขอบคุณ http://www.zthailand.com/

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ

t20110201094357_1549

ตั้งอยู่ริมถนนประโคนชัย ใกล้กับตลาดปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวจังหวัดสมุทรปราการ มานานเกือบ 200 ปี มีลักษณะแตกต่าง จากการสร้างหลักเมืองที่อื่นๆ ที่มีการแยกสถานศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองเป็น 2 ส่วนคือ ศาลเจ้าพ่อ คุ้มครองเมือง ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อของจีน เสาหลักเมือง ซึ่งถือเป็นฐานหลักของแต่ละเมือง แต่ชาวเมืองปากน้ำนิยมเรียกรวมเป็นชื่อเดียวว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

เสาหลักเมือง ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ สูง 6 ศอก เมื่อครั้งสร้างเมืองสมุทรปราการ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงประกอบพิธีฝังหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก กระทั่งวันพะเดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่ง 4 นาฬิกา 6 บาท ได้ฤกษ์เอาแผ่นยันต์ ทอง เงิน ทองแดง ดีบุกและศิลา ลงสู่ภูมิบาท แล้วยกเสาหลักเมือง ณ วันเสาร์เดือน 4 ขึ้น 13 ค่ำ ย่ำรุ่ง 5 นาฬิกา 6 บาท ฝังอาถรรพณ์ แผ่นยันต์องค์รักษ์อีกครั้ง

ศาลเจ้าพ่อ คือ ศาลแห่งเทพเจ้าที่ชื่อ เฉิงหวง (คำว่า เฉิง คือ เมือง ส่วนคำว่า หวง คือ เจ้า เมื่อรวมความคำ เฉิงหวง คือ เทพเจ้าเมือง ) ตามตำนานจีน เทพเฉิงหวง เป็นเทพผู้มีพระมัสสุ(หนวด)ยาว หน้าตาน่าเกรงขาม

Read more »

พระสมุทรเจดีย์

พระสมุทรเจดีย์_1410504072

ตั้งอยู่ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด ในวัดพระสมุทรเจดีย์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลากลางจังหวัด แต่เดิมพระเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมาเชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์
ปัจจุบันจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์นี้ขึ้นแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อเป็นพระเจดีย์สูง 20 เมตร ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปทรงพระเจดีย์แล้วก่อให้สูงขึ้นอีกเป็น 38 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระชัยวัฒน์ และพระปางห้ามสมุทร
สอบถามรายละเอียดโทร. 0 2425 8898

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

14688548938_ec128aa8e6_z

ได้ยินชื่อ “พระสมุทรเจดีย์” มานาน วันก่อนไปเที่ยวป้อมพระจุล ทางเดียวกันเลยถือโอกาสแวะไปดูสักครั้งครับ

พระสมุทรเจดีย์ไปง่ายครับ ตามถนนสุขสวัสดิ์ไปจนตกถนนก็จะเจอกับวัดพระสมุทรเจดีย์ ไม่ต้องเลี้ยวใดๆ ทั้งสิ้นครับ (แต่อย่า search ใน Google Maps ตรงๆ นะ พิกัดมันผิด ให้ใช้เป็นวัดพระสมุทรเจดีย์แทน)

ตามประวัติแล้ว พระสมุทรเจดีย์เริ่มสร้างโดยรัชกาลที่ 2 พร้อมกับเมืองสมุทรปราการ (แต่มาเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 และสร้างต่อเดิมอีกหลายครั้ง)

เจดีย์นี้สร้างขึ้นที่เกาะกลางน้ำ (เลยชื่อ “สมุทร” เจดีย์) แต่ปัจจุบันพื้นที่ตรงนั้นไม่เป็นเกาะแล้วเพราะดินงอกมาจนกลายเป็นตลิ่งไปหมด (กลายเป็นเจดีย์ติดน้ำแทน)

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ตรงฐานเจดีย์ยังต่ำกว่าระดับน้ำอยู่ดี ไปตอนเย็นๆ น้ำกำลังขึ้นก็มีน้ำเอ่อล้นขึ้นมาตามท่อระบายน้ำแถวฐานเจดีย์ด้วย

นอกจากตัวองค์เจดีย์แล้วก็ยังมีสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รายล้อมเล็กน้อย พอดูได้เพลินๆ ครับ

ขอขอบคุณ http://www.isriya.com/

พระสมุทรเจดีย์

2010_08_28_142739_yzyidjqm

พระสมุทรเจดีย์ ตั้งอยู่ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด ในวัดพระสมุทรเจดีย์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลากลางจังหวัด เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 303(ถนนสุขสวัสดิ์) แต่เดิมพระเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมาเชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ ตั้งพระเจดีย์ ปัจจุบันจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์นี้ขึ้นแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อเป็นพระเจดีย์สูง 20 เมตร ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปทรงพระเจดีย์แล้วก่อให้สูงขึ้นอีกเป็น 38 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระชัยวัฒน์ และพระปางห้ามสมุทรไว้ ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ โทร 0 2425 8898

การเดินทาง
จากสามแยกพระประแดง ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ (ทางหลางหมายเลข 303) มุ่งไปทางอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงสามแยกพระสมุทรเจดีย์ให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระสมุทรเจดีย์ สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและแบบธรรดา สาย 20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำท่าดินแดง) ลงที่สามแยกพระสมุทรเจดีย์แล้วต่อรถรับจ้างไปที่วัดได้

ขอขอบคุณ http://www.sadoodta.com

พระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

canon40932

พระสมุทรเจดีย์ ……เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภทโบราณสถานและเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ ซึ่งมีผู้คนมาเคารพสักการะบูชา และยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ผู้คนทั่วไปจะเรียกกันติดปากว่า พระเจดีย์กลางน้ำ เนื่องจากเดิมบริเวณที่ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์เป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบ แต่ต่อมาแผ่นดินได้งอกเพิ่มออกมาจนในปัจจุบันไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป

– งานนมัสการพระสมุทรเจดีย์

จะเริ่มจัดในวันแรม 5 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี ( หลังวันออกพรรษา 5 วัน )
โดยงานจะมีด้วยกัน 9 วัน 9 คืน

การเดินทาง :-ทางรถยนต์ :-

เส้นทางที่ 1 :
…จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสุขุมวิท มุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ก่อนถึงจังหวัดสมุทรปราการ ประมาณ 5 กิโลเมตร ให้ท่านเลี้ยวขวาที่แยกไฟแดง ไปทาง อำเภอพระประแดง

…เมื่อเลี้ยวขวาแล้ว ให้ท่านขับตรงไป ประมาณ 5.9 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทาง ที่เขียนว่า ถนนสุขสวัสดิ์ จากนั้นขับตามป้ายบอกทาง ขึ้น สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ประมาณ 4.8 กิโลเมตร หลังจากนั้นท่านก็จะลงจากสะพาน

…เมื่อท่านลงจากสะพานแล้ว ท่านจะเห็นป้ายบอกทาง พระประแดง กับ ดาวคะนอง ให้ท่านขับตรงไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร ท่านจะพบ แยกไฟแดง

( ถ้าเลี้ยวซ้ายจะเป็นเส้นทางไปตลาดน้ำวัดบางน้ำผึ้ง ถนนหมายเลข 3104 )
( ถ้าตรงไป จะเป็นเส้นทางไปพระสมุทรเจดีย์ และป้อมพระจุลจอมเกล้า )

ให้ท่านขับตรงไป ประมาณ 10.2 กิโลเมตร ท่านจะพบ สามแยก

( ถ้าเลี้ยวขวาจะเป็นเส้นทางไปป้อมพระจุลจอมเกล้า ถนนหมายเลข 303 )
( ถ้าตรงไป จะเป็นเส้นทางไปพระสมุทรเจดีย์ )

ให้ท่านขับตรงไป ประมาณ 900 เมตร ก็จะถึง พระสมุทรเจดีย์

Read more »

พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

Phra-Samut-Chedi

พระสมุทรเจดีย์ ตั้งอยู่ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด ในวัดพระสมุทรเจดีย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลากลางจังหวัด เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) แต่เดิมพระเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขิน งอกออกมาเชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์ ปัจจุบันจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์นี้ขึ้นแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อเป็นพระเจดีย์สูง 20 เมตร ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปทรงพระเจดีย์แล้วก่อให้สูงขึ้นอีกเป็น 38 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระชัยวัฒน์ และพระปางห้ามสมุทรไว้

การเดินทาง

จาก สามแยกพระประแดง ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ (ทางหลางหมายเลข 303) มุ่งไปทางอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงสามแยกพระสมุทรเจดีย์ให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระสมุทรเจดีย์ สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและแบบธรรดา สาย 20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำท่าดินแดง) ลงที่สามแยกพระสมุทรเจดีย์แล้วต่อรถรับจ้างไปที่วัดได้

ขอขอบคุณ http://www.hoteldirect.in.th/

พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ

boby-พระสมุทรเจดีย์

ตั้งอยู่ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด ในวัดพระสมุทรเจดีย์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลากลางจังหวัด แต่เดิมพระเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมาเชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์
ปัจจุบันจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์นี้ขึ้นแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อเป็นพระเจดีย์สูง 20 เมตร ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปทรงพระเจดีย์แล้วก่อให้สูงขึ้นอีกเป็น 38 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระชัยวัฒน์ และพระปางห้ามสมุทร
สอบถามรายละเอียดโทร. 0 2425 8898

ขอขอบคุณ http://suvarnabhumiairport.com/

งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ วันที่ 13 – 24 ตุลาคม 2557

images

งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นงานสำคัญระดับจังหวัดที่จักสืบเนื่องมานับตั้งแต่สร้างองค์พระเจดีย์ งานนมัสการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 บริเวณลานจอดรถรอบองค์พระและหน้าศาลากลางฝั่งจังหวัด ช่วงเช้ามีการแห่ผ้าห่มองค์พระเจดีย์ไปรอบเมือง ก่อนนำงเรือแห่ไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นจึงทำพิธีเปลี่ยนผ้าผืนเก่าแล้วอัญเชิญผ้าสีแดงใหม่ขึ้นห่ม โดยคยในตระกูลรุ่งแจ้ง ซึ่งปฏิบัติมาสี่ชั่วอายุคนแล้ว ชาวปากน้ำเชื่อกันว่าต้องเป็นคนในตระกูลนี้เท่านั้นจึงจะขึ้นไปห่มผ้าองค์พระสมุทรเจดีย์ได้

ภายในงานมีการออกร้มานของหน่วยงานราชการและเอกชน มีมหรสพเฉลิมฉลอง ภาพยนต์ ดนตรี จับสลากการกุศล การออกร้านของกินของใช้ และเครื่องเล่นต่างๆ ถือได้ว่าเป็นงานวัดเก่าแก่เต็มรูปแบบใกล้กรุงเทพฯ ที่ยังหลงเหลืออยู่ ตลอดงานจะมีการประดับดวงไปรอบองค์พระสมุทรเจดีย์อย่างงดงาม

ขอขอบคุณ http://samutprakan.mots.go.th/

งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์

พระสมุทรเจดีย์ หรือ “พระเจดีย์กลางน้ำ ” ถือเป็นปูชนียสถาน คู่บ้าน คู่เมือง และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง และถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ

พระสมุทรเจดีย์ เริ่มก่อสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 ) ภายหลังจากที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเมืองสมุทรปราการและป้อมปราการต่าง ๆ โดยพื้นที่เดิมเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ เรือสินค้าสามารถแล่นอ้อมรอบๆเกาะได้ จึงได้ชื่อว่า “พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ ” ปัจจุบันกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางและแผ่นดินได้ยื่นงอกออกมาจากการทับถมของตะกอน จนทำให้พื้นที่เกาะหมดไป คงเหลือเพียง “พระสมุทรเจดีย์” เท่านั้น

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ครั้งยังเป็นพระยาพระคลัง เป็นแม่กองจัดการ ถมเกาะหาดทรายให้แน่นหนามั่นคง เสร็จแล้วโปรดเกล้าฯให้ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ กับ พระยาราชสงคราม คิดแบบเจดีย์จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย แล้วจึงโปรดเกล้าฯให้ พระเจ้า ลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับเจ้าพระยาพระคลัง เป็นผู้อำนวยการสร้าง แต่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้พระยาศรีธรรมราชและพระยาพระคลัง เป็นแม่กอง จัดสร้างพระเจดีย์ขึ้นกลางเกาะตามพระราชประสงค์ของพระราชบิดา แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2371 พระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์ ”

Read more »

งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ ประจำปี

samut-prakan-000041

การจัดงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี กำหนดให้วันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันเริ่มงานโดยมีกำหนดการจัดงานตั้งแต่เวลา 09.00 น. จะมีพิธีเปิดงานบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ เวลา14.00 น. จะมีพิธีห่มผ้าองค์พระสมุทรเจดีย์ และโดยจังหวัดสมุทรปราการได้เรียนเชิญ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานในพิธี และวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2556
เวลา 18.00 น. จะมีพิธีเวียนเทียนรอบองค์พระสมุทรเจดีย์

นอกจากนี้ภายในงาน จะมีการออกร้านกาชาดของเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจกรรมสาธารณะกุศล การจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ราคาถูก สินค้า OTOP การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงมหรสพ ให้ประชาชนชมฟรีทุกคืน พระสมุทรเจดีย์ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2371 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยก่อนผู้คนส่วนใหญ่จะเรียกกันติดปากว่า พระเจดีย์กลางน้ำ เนื่องจากแต่เดิมบริเวณที่ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์ เป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ พระสมุทรเจดีย์องค์เดิมสร้างเป็นแบบย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง

Read more »

วัดพระสมุทรเจดีย์

จังหวัด: สมุทรปราการ
ชื่ออื่น: พระสมุทรเจดีย์, วัดเจดีย์กลางน้ำ, พระเจดีย์กลางน้ำ
ที่ตั้ง: 114 บ้านเจดีย์ ถ.สุขสวัสดิ์ ม.3 ต.ปากคลองบางปลากด อ.เมืองสมุทรปราการ
พิกัด: 13.600301 N, 100.586829 E
เขตลุ่มน้ำหลัก: เจ้าพระยา
เขตลุ่มน้ำรอง: –
เส้นทางเข้าสู่แหล่ง: จากอำเภอพระประแดงเข้าทางหลวงสาย 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) ไปบรรจบกับทางหลวง 3105 ไปตามทางจนสุดทาง วัดตั้งอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว:
เป็นแหล่งท่องเที่ยว
รายละเอียดทางการท่องเที่ยว:
สามารถเข้านมัสการและเยี่ยมชมได้ทุกวัน เวลา 7.00-16.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นงานประจำปีของจังหวัดสมุทรปราการ วันแรม 5 ค่ำ เดือน 11
หน่วยงานที่ดูแลรักษา: วัดพระสมุทรเจดีย์

Read more »

ประเพณีแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ (งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์) จังหวัดสมุทรปราการ

samutjedee4

ช่วงเวลา ตั้งแต่ วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นระยะเวลา ๗ วัน ๗ คืน แต่มาระยะหลังได้ผนวกงานกาชาดไปด้วยเป็น ๑๐ วัน ๑๐ คืน

ความสำคัญ

พระสมุทรเจดีย์ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของชาวสมุทรปราการ อีกทั้งยังเป็นโบราณสถานที่สำคัญของประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงดำริให้สร้างขึ้นและพระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” แต่สร้างเสร็จเรียบร้อยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราษฎรจะเรียกกันว่า “พระเจดีย์กลางน้ำ” เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๑๒ องค์ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากพระบรมมหาราชวัง พระปิฏกธรรม พระปางห้ามสมุทรและพระชัยวัฒน์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นได้จัดงานสมโภชเป็นที่ยิ่งใหญ่ และเป็นประเพณีสืบมาจนปัจจุบันนี้

พิธีกรรม

วันแรม ๒ ค่ำเดือน ๑๑ จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชายหญิงพร้อมใจกันไปช่วยเย็บผ้าแดงผืนใหญ่สำหรับห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ ใช้เวลาอย่างช้า ๒ วันเสร็จ ในวันแรม ๕ ค่ำเดือน ๑๑ คณะกรรมการจะเชิญขึ้นตั้งบนบุษบกโดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะแห่ไปรอบเมือง มีขบวนแห่ของสถานศึกษาหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมขบวนและอัญเชิญผ้าแดงลงสู่เรือแห่แหนไปตามลำน้ำเจ้าพระยาไปถึงอำเภอพระประแดงแล้วอัญเชิญขึ้นรถแห่รอบตัวเมืองพระประแดงเพื่อให้ชาวพระประแดงได้ร่วมอนุโมทนาแล้วอัญเชิญลงเรือกลับมายังพระสมุทรเจดีย์มาทำพิธีทักษิณาวัตรรอบองค์พระสมุทรเจดีย์แล้วจึงนำผ้าแดงขึ้นห่ม แต่เดิมเรือสามารถแล่นได้รอบองค์พระสมุทรเจดีย์ ก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเรือของสาวหนุ่มเป็นที่ครึกครื้น เรือเดินไม่ได้จึงลดความครึกครื้นลงไปเมื่องานแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ผ่านพ้นไปแล้วจะเป็นการสมโภชมีมหรสพ การออกร้านตลอดระยะเวลา ๗ วัน ๗ คืน แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้ก่อนที่จะกลับบ้านก็คือ การปิดทองและการไปนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์นั่นเอง สำหรับในคืนวันแรม ๗ ค่ำนั้นจะมีงานตลอดรุ่ง ในเวลาเช้าของวันแรม ๘ ค่ำจะมีการแข่งเรือพายเป็นที่สนุกสนาน

ขอขอบคุณ http://www.stou.ac.th/

พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ

jadee5

พระสมุทรเจดีย์ หรือที่ชาวปากน้ำเรียกว่า พระเจดีย์กลางน้ำ เป็นปูชนียสถาน อันเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญและเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดสมุทรปราการ ทางราชการได้ถือเอาพระสมุทรเจดีย์เป็นตราจังหวัดสมุทรปราการ ธงของจังหวัดมีสีพื้นเป็นสีน้ำทะเล กลางผืนธงมีรูปพระสมุทรเจดีย์สีขาว ใต้รูปพระสมุทรเจดีย์มีคำว่า “สมุทรปราการ” คันธงมีแถบสีเหลือง ๒ แถบ

สถานที่ตั้ง
ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ

ประวัติความเป็นมา
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตระหนักหลังจากมีการสร้างเมืองสมุทรปราการเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๖๕ และได้มีการสร้างป้อมที่สำคัญขึ้น ๖ ป้อม ได้แก่ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช ป้อมผีเสื้อสมุทร (ปัจจุบันเหลืออยู่สมบูรณ์ป้อมเดียว) ผู้ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ในการเป็นแม่กองในการก่อสร้างป้อมทั้ง ๖ นี้คือ Read more »

ตามหาพระเจดีย์กลางน้ำ “องค์พระสมุทรเจดีย์”

Image

แรกเริ่มเดิมทีวันหยุดเสาร์อาทิตย์ที่จะถึงนี้ฉันว่าจะไปเที่ยวทะเลเสียหน่อย แต่พอได้ฟังพยากรณ์อากาศแล้วช่างไม่เป็นใจเอาเสียเลย เพราะคลื่นลมแรง ฝนก็ตก ไม่เหมาะกับการไปพักผ่อนริมชายหาดสักเท่าไร ว่าแล้วก็เลยเปลี่ยนแผนมาเที่ยวใกล้ๆ กรุงเทพฯ เหมือนเดิม แบบว่าไม่ต้องออกไปถึงทะเล ไปแค่ปากน้ำก็พอ

ปากน้ำที่ฉันว่านั้นก็คือเมืองปากน้ำ หรือ จ.สมุทรปราการ นี่เอง ที่ว่าเป็นปากน้ำก็เพราะเป็นเป็นทางออกของแม่น้ำเจ้าพระยาไปสู่ทะเลอ่าวไทยนั่นเอง

และถ้าบอกว่าจะมาเที่ยวที่เมืองปากน้ำ ฉันคิดว่าใครๆ ก็คงอยากเห็นพระเจดีย์กลางน้ำเป็นแน่ แต่ต้องบอกกันไว้ก่อนว่า หากไปขับรถเที่ยวหาเจดีย์ที่อยู่กลางน้ำตอนนี้แล้วไม่มีทางเจออย่างแน่นอน เพราะนี่เป็นชื่อเรียกที่ติดปากชาวบ้านกันมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งเป็นที่มาและเรื่องราวการสร้าง “องค์พระสมุทรเจดีย์” นั่นเอง

เหตุที่เรียกว่าพระเจดีย์กลางน้ำนั้นก็เพราะว่า ในสมัยแรกที่มีการสร้างนั้น พื้นที่ตรงนี้มีลักษณะเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นบนเกาะนั้น เพื่อเป็นที่สักการบูชาของผู้คนที่เดินทางผ่านไปผ่านมาให้เป็นสิริมงคล และป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงได้

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .