วัดพระธาตุแช่แห้ง–ประวัติส่วนตัวพระครูวิสิฐนันทวุฒิ

opopop2

ชื่อ พระครูวิสิฐนันทวุฒิ (ศิระ ณ น่าน) ฉายา จรณธัมโม อายุ ๓๘ ปี ๑๖ พรรษา
วัน เดือน ปี เกิด วันอาทิตย์ ที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒
บิดา นายสราญ
มารดา นางสร้อยไข่มุข
ที่อยู่ปัจจุบัน วัดพระธาตุแช่แห้ง ตำบลม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐

บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดพญาภู พระอารามหลวง
พระเดชพระคุณพระเทพนันทาจารย์ (บุญชู ธัมมสารมหาเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านพระครูสิริธรรมภาณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ท่านพระครูอาทรนันทกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง–พระประวัติเจ้าหลวงท้าวขาก่าน

DSC04016

ในปีพุทธศักราช ๒๐๑๙ พระเจ้าติโลกราชได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าหลวงท้าวขามาปกครองนครน่าน ในบันทึกตามพงศาวดารได้บรรยายรูปร่างลักษณะเจ้าหลวงท้าวขาก่านไว้ว่า มีผิวกายสีดำแดง สักยันต์เป็นรูปพญานาคราชตั้งแต่ขาจนถึงน่อง ยามเดินคล่องแคล่ว ว่องไวนัก เจ้าหลวงปกครองนครน่านได้ระยะหนึ่ง จึงได้ใช้ให้หมื่นคำไปถวายเครื่องบรรณาการแด่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และไปได้ตำนานพระธาตุแช่แห้งมาจากพระคุณเจ้ามหาเถรวชิรโพธิ์ที่ได้มาจากเมืองลังกา เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้า และชาวเมืองทั้งหลายได้พากันแผ้วถางบริเวณดอยภูเพียงแช่แห้งซึ่งขณะนั้นถูกปกคลุมด้วยป่าไผ่เครือเถาวัลย์ จนเจอจอมปลวกใหญ่ลูกหนึ่งก็พากันทำการสักการบูชา ครั้นถึงเวลากลางคืนบริเวณจอมปลวกก็ปรากฏดวงพระธาตุเจ้าแสดงปาฏิหาริย์เปล่งรัศมีรุ่งเรืองนัก จึงได้พากันขุดบริเวณจอมปลวกดู ขุดได้ลึก ๑ วาก็เจอก้อนศิลากลมเกลี้ยงลูกหนึ่งเจ้าหลวงท้าวขาก่านจึงให้ชีปะขาวเชียงโดมวัดใต้ ทุบให้แตกก็พบ ผอบทองคำมีฝาปิดสนิท เมื่อเปิดออกดูก็พบ พระธาตุเจ้า ๗ องค์ พระพิมพ์คำ ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ ที่พญาการเมืองได้มาจากเมืองสุโขทัยและนำมาประดิษฐานไว้ แล้วเจ้าหลวงท้าวขาก่านได้นำพระธาตุรวมทั้งพระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำที่ขุดได้ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่หอคำและได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าติโลกราชทราบ พระเจ้าติโลกราชทรงมีรับสั่งว่าเมื่อขุดได้ที่ใดก็ให้เก็บไว้ ณ ที่นั้น เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้า ท้าวพระยาทั้งหลายก็พร้อมใจกันนำ พระบรมสาริกธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำมาประดิษฐานไว้ ณ บนดอยภูเพียงแช่แห้งตามเดิม และก่อเจดีย์ สูง ๖ วาคร่อมไว้ Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง–บ่อน้ำทิพย์

IMG_4025

พระยาอนุมานราชธนนักปราชญ์สำคัญของบ้านเรา ได้กล่าวถึงการ อาบน้ำว่าหากจะแปลกันตรงๆ ก็คือ “การชำระมลทินของร่างกายด้วยน้ำ” เป็นที่สังเกตว่านับแต่โบราณกาลมาแหล่งอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองล้วนอยู่มีบ่อเกิดอยู่บริเวณที่มี แหล่งน้ำทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ น้ำ จึงเป็นสิ่งที่ใช้ในพิธีต่างๆทั้งพิธี มงคลและอวมงคล
โดยเฉพาะการอาบน้ำในพิธีก็มีกันในหลายชาติหลายภาษา พิธีกรรมสำคัญๆ ที่ต้องมีน้ำเป็นส่วนประกอบก็มีหลายพิธี เช่น พระราชพิธีบรม ราชาภิเษก ต้องมีการอัญเชิญน้ำมูรธาภิเษก (น้ำที่จะใช้รดพระเศียรพระเจ้า แผ่นดิน) ที่จะสรงจากสถานที่ต่างๆ อันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในราชอาณาจักรมาทำ พิธี ซึ่งเมื่อทรงสรงด้วยน้ำนี้แล้วก็ถือว่าได้แปรสภาพองค์เข้าสู่ความเป็น กษัตริย์เป็นขั้นแรก ก่อนจะมีพิธีอื่นๆ ต่อไป
อย่างไรก็ตามในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา๖ รอบ กระทรวงมหาดไทย ได้ให้จังหวัดทุกจังหวัดเตรียมการประกอบพิธี พลีกรรมตักน้ำและเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยใช้แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชน เคารพเลื่อมใส Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง–พระพุทธไสยยาสน์

DSC08481

พระประธานในวิหารพระพุทธไสยยาสน์ประดิษฐานบนฐานชุกชี สร้างด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทอง ยาว 14 เมตร สูง 2 เมตร พร้อมด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานบนฐานชุกชี สร้างด้วยอิฐถือปูน หน้าตัก 70 เซนติเมตร สูง 100 เซนติเมตร สร้างในสมัยพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม (พ.ศ.2129) โดย มหาอุบาสิกานามว่านางแสนพาลาประกอบด้วยศรัทธาสร้างพระนอนไว้เป็นที่สักการบูชาแก่คนทั้งหลาย

ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th

วัดพระธาตุแช่แห้ง–อัฏฐพญานาคราช

CHAEHAENG 07

พญานาคราช ถือเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่พระพุทธศาสนานับมาแต่โบราณกาล ถือเป็นเทพองค์เดียวที่มีบุญบารมี ได้บวชในพระพุทธศาสนา และได้ปกปักษ์รักษาคุ้มครองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พ้นจากพญามารทั้งหลาย ที่มาขัดขวางการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธองค์ไม่ให้บรรลุพระสัมมาโพธิญาณ
อัฏฐพญานาคราช หมายถึง พญานาคราช 8 ตัว แบ่งเป็น 4 คู่ คู่ที่ 1 2 3 ใช้ส่วนหางเกี้ยวกวัดรัดกันเป็นบ่วง คู่ละ 3 บ่วง ส่วนคู่ที่ 4 เกี้ยวกวัดรัดกันเป็นบ่วง 4 บ่วง รวมแล้ว 4 ชั้น
พญานาคราช ที่เกี้ยวกวัดรัดกันทั้ง 8 ตัวนั้น เมื่อเพ่งพินิจให้ดี จะปรากฏเป็นรูปเจดีย์และรูปองค์พระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิ และมีช่อดอกบัวตูม 7 ดอก โผล่พุ่งขึ้นมาด้านข้าง ซึ่งมีนัยที่แฝงด้วยพุทธปรัชญา คือ
พญานาคราช 8 ตัว แทนพระธรรมคัมภีร์ อริยมรรแปด เป็นเส้นทาง 8 เส้นทางที่พระตถาคตทรงใช้สอนพุทธศาสนิกชนให้เดินสู่ความหลุดพ้น
ส่วนหางพญานาคราชคู่ที่ 1 2 3 เกี้ยวกวัดรัดกันเป็นบ่วงสามบ่วง สามชั้นนั้นแทนองค์สาม ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไตรลักษณ์ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่คู่ที่ 4 อยู่ด้านบนสุดนั้นเกี้ยวกวัดรัดกันเป็นสี่บ่วง แทนอริยสัจสี่ คือ ความจริงที่พระอริยเจ้าตรัสไว้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จำนวนชั้นทั้งสี่ชั้น หมายถึง สูญญตา
ดอกบัว 7 ดอก แทนอภิธรรมา 7 คัมภีร์ หรือหลักธรรม สัปปุริสัทธรรม 7 ประการ โภชชงค์ 7 ดังนั้น อัฏฐพญานาคราช ที่เกี้ยวกวัดรัดกันที่ปรากฏดังในรูปนี้ ก็หมายถึง พระธรรมคัมภีร์ 84,000 พระธรรมขันธ์ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th

วัดพระธาตุแช่แห้ง–พระเจ้าก๋าคิง

DSC08058

จารึกฐานพระพุทธรูปไม้ปางมารวิชัย
รายละเอียดเกี่ยวกับพระพุทธรูป
พุทธลักษณะ
พระพุทธรูปไม้ปางมารวิชัย ส่วนฐานด้านหน้าจำหลักรูปสิงห์ (หน้ากาล) อยู่ตรงกลางและรูปช้างสามเศียร (ช้างเอราวัณ) อยู่ตรงมุมทั้ง ๒ ด้านหลังเป็นจารึกอักษรธรรมล้านนา จำนวน ๘ บรรทัด
ขนาดพระพุทธรูป
สูง ๑๒๕ ซม. หน้าตักกว้าง ๖๖ ซม.
ขนาดของฐาน
สูง ๔๖ ซม. กว้าง ๖๗ ซม.
วัสดุที่ใช้
ใช้ไม้มาแกะสลักและลงรักปิดทอง
สภาพปัจจุบัน
อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์เพียงแต่องค์พระพุทธรูปด้านข้างชำรุดแหว่งหายไปบางส่วนเพราะถูกปลวกกินและเม็ดพระศกที่อยู่ด้านหลังของพระเศียรหลุดร่วงไปบางส่วน
ผู้สร้างพระพุทธรูป
ข้อความในจารึกที่ฐานระบุว่าพระเจ้าอัทธวรวงสา (เจ้าอัตถวรปัญโญ) พร้อมด้วยพระราชบิดา พระราชมารดา พระอัคคชายา ราชโอรส ราชธิดา เป็นมูลศรัทธาโปรดให้หมื่นศรีสรรพช่าง เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปในพุทธศักราช ๒๓๓๓ Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง–แมงหมาเต๊า

DSC08091

ตำนานแมงหมาเต๊า
ความตอนหนึ่งว่า……เมื่อนั้นยังมีพราหมณ์ผู้นึ่งลุกแต่ห้วยไคร้มากัยด้วยข้าชายแห่งตนผู้นึ่ง ก็หันพระเจ้ากับมหาอานนท์นั่งอยู่เค้าไม้สำโรงที่นั้น พราหมณ์ผู้นั้นก็รู้จักว่าเป็นพระเจ้ามานั่งอยู่ที่นั่น ท่านพราหมณ์ก็จิ่งใช้ข้าชายตนนั้นไป เมือเอาหมากสมอแช่ไว้ยังบ้านห้วยไคร้นั้นมาทานแก่พระพุทธเจ้า ข้าชายไปก็เป็นอันนานมากนัก ท่านพราหมณ์จิ่งกล่าวว่า “มึงสังนานมายิ่งนักจา” ข้าชายผู้นั้นกล่าวว่า “หมากสมอแช่น้ำไว้แห้งเสียนาว่าอั้น” ทีนั้นท่านพราหมณ์ก็เอาหมากสมอน้อมหื้อเป็นทานแก่พระพุทธเจ้าหั้นแล ในขณะนั้นยังมีหมาเต๊าตัวนึ่งออกมาสู่ง มาน้อมแทบบาทพระพุทธเจ้าหั้นแล พระก็แย้มใคร่หัวแล เมื่อนั้นพระมหาอานนท์จิ่งไหว้ว่า “พระพุทธเจ้าแย้มใคร่หัวเหตุใดชาว่าอั้น” พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “ดูราอานนท์ในเมื่อตถาคนนิพพานแล้ว ธาตุดูกตถาคตจักมาตั้งอยู่ที่นี่ ตราบต่อเท่า 5,000 พระวสาชแล บ้านห้วยไคร้จักเป็นเมืองอันนึ่งชื่อว่าเมืองนาน ในที่นี้จักได้ชื่อว่าแช่แห้ง แมงหมาเต๊าตักนี้จักได้เป็นพระยาตนนึ่งกินเมืองอันนี้ชื่อว่า “ท้าวขาก่าน” เหตุมีลายด้วยน้ำหมึกแล ท้าวตนนั้นจักได้เลิกศาสนาพระตถาคตเมื่อซ้อย ท่านพราหมณ์ผู้นี้จักได้เกิดมาเป็นอุบาสกผู้นึ่ง จักได้โชฎกศาสนากูชแล ท้าวขาก่านจักได้สร้างศาสนากูหื้อรุ่งเรืองเมื่อซ้อยหมื่นชแล”
ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th/

วัดพระธาตุแช่แห้ง–พระวิหารหลวง

DSC_6427

พระวิหารหลวงวัดพระธาตุแช่แห้งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาแต่ในสมัยพญาการเมือง พุทธศักราช ๑๙๐๒ หลังจากที่ได้ย้ายเมืองจากเมืองวรนครมาสร้างเมืองอยู่ที่เมืองภูเพียงแช่แห้ง นับได้ว่าในสมัยนั้นเวียงภูเพียงแช่แห้งคือศูนย์รวมของอารยธรรม วัฒนธรรม ความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้นวัดพระธาตุแช่แห้งก็ถือได้ว่าเป็นวัดหลวงของอาณาจักรแห่งนี้ ย่อมมีสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นสถานที่ที่จะประกอบพิธีกรรม หนึ่งในนั้นก็คือพระวิหารหลวงแห่งนี้ เพราะในพงศาวดารพระธาตุแช่แห้งฉบับพระสมุหพรหมได้มีบันทึกไว้ว่า ในสมัยพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ปีวอกพุทธศักราช ๒๑๒๗ เดือน ๖ แรม ๑๒ ค่ำ ได้ทำการรื้อวิหารหลังเก่า และในปีเดียวกันก็ได้ทำการสร้างขึ้นใหม่ ในเดือน ๗ แรม ๕ ค่ำ และเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ต่อๆมาก็ได้สร้างบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง–พระเจ้าทันใจ

DSC08074

พระเจ้าทันใจ
พระเจ้าทันใจ ไม่ปรากฏในพงศาวดารว่าสร้างในสมัยไหน แต่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพญาการเมือง จ.ศ. 715 (พ.ศ.1896) สร้างขึ้นพร้อมกับองค์พระธาตุแช่แห้ง เมื่อครั้งที่ พญาการเมืองย้ายเมืองจากเมืองปัวมาตั้งอยู่เวียงภูเพียงแช่แห้ง
ลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าทันใจ ก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดหน้าตัก 70 ซ.ม. สูง 1 เมตร

พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าทันใจ ก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดหน้าตัก 50 ซ.ม. สูง 80 ซ.ม.

พระพุทธรูปปางสมาธิ
ลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าทันใจ ก่อด้วยอิฐถือปูน หน้าตัก 50 ซ.ม. สูง 70 ซ.ม.

วิหารพระเจ้าทันใจ
ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้าง แต่ที่มีบันทึกในพงศาวดารไว้ในสมัยพญาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ในปี พ.ศ. 2103 บูรณะในปี พ.ศ. 2103 และในสมัยพระเจ้าอัตถวรปัญโญ พ.ศ. 2336 และในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พ.ศ. 2448

ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th/

องค์ประกอบที่สำคัญโดยรอบวัดพระธาตุแช่แห้ง

บริเวณวัด ประกอบไปด้วย : พระอุโบสถ พระธาตุชเวดากองจำลอง สร้างสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ โปรดให้สล่าน้อยยอด คนเมืองลำพูนมาก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ.2451 เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีมะเมีย
พระวิหารพุทธไสยยาสน์ : สร้างเมื่อง พ.ศ.2129 โดยนางแสดพลัว ชายาของพระยาหน่อเสถียรไชยสงครามเมืองน่าน (พ.ศ.2103-2134)
ศาลเจ้าหลวงท้าวขาก่าน : เป็นขุนนางที่พระเจ้าติโลกราชส่งมาปกครองเมืองน่าน เป็นขุนนางที่มีความสามารถในการรบ สามารถชนะพวกแกวที่มารุกรานเมืองน่านได้อย่างเด็ดขาด เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองน่าน
บ่อน้ำทิพย์ : ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ โดยมีเล่า่ต่อกันมาว่า “ในสมัยก่อนมีพระธุดงค์มาปฏิบัติธรรมและไม่มีน้ำดื่ม พระธุดงธ์จึงขุดบ่อน้ำขึ้น ซึ่งก่อนนั้น ชาวบ้านเรียกว่า “บ่อตุ๊ป่่่า (ตุ๊ป่า คือ พระธุดงด์)
ต้นไม้สำคัญ : ต้นไม้สำคัญที่มีอายุนับร้อยปี ดังเช่นต้นโพธิ์ต้นใหญ่ที่อยู่บริเวณลานหน้าวัด ต้นพิกุลที่อยู่บริเวณบันไดนาค ต้นมะม่วง ต้นตาลและต้นไม้สำคัญอื่นๆ บริเวณด้านหลังของวัดยังปรากฎร่องรอยของแนวคูน้ำคันดินลึกประมาณ 3 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร Read more »

ตำนานพระธาตุแช่แห้ง…พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดน่าน

คำพูดที่ว่า “ ใครมาเยือน แล้วไม่ได้มานมัสการพระธาตุแช่แห้ง ก็เหมือนไม่ได้มาเมืองน่าน” ไม่ได้เป็นคำพูดที่เกินความจริงเลย เพราะว่า พระธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานสำคัญ ศักดิ์สิทธิคู่บ้านคู่เมืองน่าน มานานกว่า 600 ปี

เรื่องราวตามตำนานและประวัติศาสตร์การสร้างพระธาตุแช่แห้ง มีหลากหลายซึ่งล้วนแต่เชื่อมโยงกับวิวัฒนาการของเมืองน่านมาตั้งแต่อดีต

ในพงศาวดารเมืองน่าน เล่าว่า ในสมัยเจ้าพระยาการเมือง ครองเมืองน่านอยู่ ก็ได้มี พระยาโสปัตตกันทิ เจ้าเมืองสุโขทัย ได้มาเชิญพระยาการเมือง ไปสร้างวัดหลวงอุทัยถึงสุโขทัย ซึ่งพระยาการเมืองก็ไปช่วย จนเสร็จสมบูรณ์ ด้วยความดีความชอบ ที่พระยาการเมือง ได้ช่วยพระยาโสปัตกันทิ สร้างวัดหลวงอุทัย ทำให้พระยาโสปัตกันทิ มีความชื่นชอบพระยาการเมืองเป็นอันมาก ก่อนจะกลับเมืองน่าน ก็ได้มอบพระธาตุเจ้า 7 องค์ เพื่อตอบแทนที่พระยาการเมือง ได้มาสร้างคุณงามความดีให้แก่สุโขทัย Read more »

วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง

พระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน วัดพระบรมธาตุแช่แห้งตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบล ม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปราว 2กม. เส้นทางสายน่าน-แม่จริม สันนิษฐานว่ามี อายุราว 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจาก กรุงสุโขทัย องค์พระธาตุมีีความสูง55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร บุด้วยทอง เหลืองหมดทั้งองค์ เป็นโบราณสถาน ที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุแช่แห้ง ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 6 ทางเหนือ ซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกปี พระบรมธาตุแช่แห้งปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่าพญาการ เมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้ง ที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมสกุลช่างน่าน
พระบรมธาตุแช่แห้งเป็นศิลปะการก่อสร้าง ที่มีความวิจิตรงดงาม อีกแห่งหนึ่ง ของภาคเหนือ ที่เป็นศิลปะ การก่อสร้าง ที่ได้รับอิทธิพล การก่อสร้างมาจากเจดีย์พระธาตุหริภุณไชย โดยมีลักษณะโดยรอบๆ ของ องค์พระธาตุ คือจะมี การบุรอบองค์ด้วยทองจังโก ในส่วนของทางเดิน ขึ้นสู่งองค์พระธาตุนั้น จะเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าลักษณะของการปันจะเป็นลายนาคเกี้ยว ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ช่างฝีมือและของ ศิลปะ ของจังหวัดน่านโดยแท้จริง ี่ชาวเมือง ล้านนามีความ เชื่อกันว่า การได้เดินทางไปสักการบูชา กราบไหว้ นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้ง หรือชาวล้านนาจะเรียกกันว่า การชุธาตุ แล้วนั้นจะทำได้รับอานิสงค์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดีมีสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ มาเบียดเบียน หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เป็นต้น และหากใครที่จะ เดินทางได้ นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้งนั้น สามารถเดินทางไปได้ทุกวัน ซึ่งจะเปิดให้เข้านมัสการ ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง อ.ภูเพียง

วัดพระธาตุแช่แห้ง มาถึงเมืองน่านไม่ได้มานมัสการ ถือว่ามาไม่ถึงเมืองน่าน

ปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่า พญาการเมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ ของวัดพระธาตุแช่แห้งที่สำคัญ และแสดงให้เห็น ถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมสกุลช่างน่าน แยกออกเป็น 2 แห่ง ได้แก่

วิหารหลวง อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไป ทางด้านหน้า 2 ห้องและด้านหลัง 1 ห้อง ดังนั้นหากดูจากภายนอก จะมองเห็นเป็นอาคาร ขนาดใหญ่ หลังคาลาดต่ำลงมาเป็นชั้นซ้อน ด้านละ 3 ชั้น และมีชั้นลดด้านหน้า 2 ชั้น ด้านหลัง 1 ชั้น มีประตูทางด้านหน้า และด้านข้างตรงกลาง ที่น่าสนใจคือ ตรงกลางสันหลังคา ทำเป็นส่วนหางของนาคสองตัว เกี่ยวกระหวัดกันขึ้นไปเป็นสามชั้น เป็นศิลปกรรม ที่งดงามและหาดูได้ยาก Read more »

แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวัฒนธรรม –วัดพระธาตุแช่แห้ง

RTEmagicC_93a7a4ac82_jpg

ปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่า พญาการเมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้วที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสกุลช่างน่าน กิ่งอำเภอ ภูเพียง

วิหารหลวง อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไปทางด้านหน้า 2 ห้องและด้านหลัง 1 ห้อง ดังนั้นหากดูจากภายนอกจะมองเห็นเป็นอาคารขนาดใหญ่ หลังคาลาดต่ำลงมาเป็นชั้นซ้อนด้านละ 3 ชั้น และมีชั้นลดด้านหน้า 2 ชั้น ด้านหลัง 1 ชั้น มีประตูทางด้านหน้าและด้านข้างตรงกลาง

วิหารพระนอน อยู่ทางด้านหน้านอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุ วิหารก่อสร้างตามแนวยางขององค์พระ มีประตูทางเข้าด้านหลังคือ
ทิศใต้ Read more »

ความเป็นมาของพระเจ้าแช่แห้ง

วัดพระธาตุแช่แห้ง
• ความเป็นมา ตามพงศาวดารเมืองน่านเล่าว่า พระมหาธาตุเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1896 ในสมัยพญาการเมือง เจ้าผู้ครองเมืองวรนคร (อ.ปัว ในปัจจุบัน) ได้เสด็จไปร่วมพระราชกุศลกับพระมหาธรรมราชาลิไท ในการสร้างวัดหลวงอภัยขึ้นที่เมืองสุโขทัย เมื่อทรงสร้างเสร็จ พระเจ้ากรุงสุโขทัยได้ถวายพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ ลักษณะเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีวรรณสุกใสดั่งแก้ว 2 พระองค์ มีวรรณดั่งมุก 3 พระองค์ และมีลักษณะเท่าเมล็ดงาวรรณดั่งทองคำ 2 พระองค์ พระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ (ทองคำ) อีกอย่างละ 20 องค์ ให้แก่พญาการเมือง พญาท้าวมีความปิติเป็นอย่างมาก จึงได้อัญเชิญพระมหาชินธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ มายังดอยภูเพียงแช่แห้งประจุลงในเต้าปูนทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย (ปูนขาวผสมยางไม้) กลเหมือนก้อนศิลา ขุดหลุมลึก 1 วา แล้วอาราธนาพระมหาชินธาตุเจ้าประดิษฐานในหลุมนั้น ก่อเจดีย์สูง 1 วา ทับไว้อีกชั้นหนึ่ง
• การต่อมาหลังจากพญาการเมืองเสวยราชสมบัติที่เมืองวรนครได้อีก 6 ปี จึงได้ย้ายเมืองจาก วรนคร มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และได้ปกครองอยู่ตราบสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พญาผากองโอรสของพญาการเมือง ทรงขึ้นครองราชย์แทนและได้ย้ายเมืองจากดอยภูเพียงแช่แห้ง ข้ามฝั่งแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ขึ้นจวบจนถึงปัจจุบันนี้
• อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุข้อพระหัตถ์ซ้ายและเศษสรีรังคารธาตุ มาประดิษฐานไว้บนดอยภูเพียง เพื่อให้มนุษย์และเทวดาได้สักการบูชาตราบเท่า 5,000 พระวัสสา นอกจากนี้พระธาตุแช่แห้งมีความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นพระธาตุประจำปีนักษัตรปีเถาะหรือปีกระต่าย ซึ่งผู้คนที่เกิดปีเถาะหรือผู้ที่นับถือจะมานมัสการพระธาตุแช่แห้งเพื่อความเป็นสิริมงคล Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .