วัดเลียบ นมัสการหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโส กราบพระแก้วนิลกาฬ

FriJanuary2011233233_wat50-1

วัดเลียบ ตั้งอยู่เลขที่ 116 ถนนเขื่อนธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต มีเนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา ก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2391 ตรงกับปลายรัชสมัยพระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รับกาลที่ 3 เป็นวัดที่สร้างขึ้นเลียบคูเมือง เดิมเป็นสำนักสงฆ์สายวิปัสนา สำนักสงฆ์แห่งนี้ มีอายุได้ 44 ปี มีเจ้าอาวาสปกครอง 10 รูป จนมาถึงยุคของพระอาจารย์ทิพย์เสนา ทิพฺพเสโน (แท่นทิพย์) ท่านได้มรณภาพลงเมื่อ พ.ศ.2433 เป็นเหตุให้วัดเลียบร้างคราวหนึ่ง

ในสมัยพระยาสิงหเทพมาเป็นข้าหลวงกำหับราชการเมืองอุบลราชธานี จึงให้ท้าวสิทธิสารบุญชู คือ พระอุบลกาลประชานิจ กับเมืองแสนอุ่น กรมช้างทองจัน พร้อมด้วยญาติวงศ์พากันมาปฏิสังขรณ์วัดเลียบขึ้น แล้วนิมนต์พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร พระอาจารย์ฝ่ายวิปัสนามารองวัด

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีลเถร ได้บุกเบิกเสริมสร้างขึ้นเป้นวัดธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.2534 ในรัชกาลที่ 5 ภายในมีพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์) เป้นเจ้าอาวาส พร้อมด้วยภิกษุ สามเณร ภายนอกมีพระอุบลการประชานิจ (บุญชู พรหมวงศานนท์) พระสุรพลชยากร (อุ่น) ท้าวกรมช้างทองจัน และสังการีจารปัจฌา สังการีจารเกษ และทายิกา ได้พร้อมกันมีศรัทธาขยายพื้นที่วัดเพิ่มเติม โดยสร้างรั้วรอบวัด เสนาสนะและถาวรวัตถุ

Read more »

ความเป็นมาของวัดสมัยกรุงรัตนโกสินทร์( วัดราชบุรณราชวรวิหาร)

หลังจากที่ย้ายเมืองหลวงจากฝั่งธนบุรี มายังฝั่งพระนคร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสร้างกำแพงเมือง ขุดคลองคูเมือง (คลองโอ่งอ่าง) ทำให้วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดที่อยู่ภายในกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณดังกล่าวเป็นจุดหนึ่งที่สำคัญของพระนครทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านยุทธศาสตร์ เป็นจุดผ่านของเรือสินค้าต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขาย และยังใกล้ชุมชน ปากคลองตลาดที่เป็นจุดค้าขายมาตั้งแต่สมัยโบราณ

วัด โบราณ หรือวัดร้าง ที่สร้างมาแต่เดิมในเขตพระนคร ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ จนเป็นพระเพณีพระราชนิยมอย่างหนึ่งของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงส์ เพราะเป็นการสร้างความรุ่งเรืองให้พระนครมีความเจริญเทียบเท่าเมื่อ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ (ในรัชกาลที่ ๑) ทรงมีพระราชศรัทธาจะบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบทั้งพระอาราม และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สถาปนาเป็นพระอารามหลวง และได้รับพระราชทานนามว่า “วัดราชบุรณราชวรวิหาร” ในปี พ.ศ. ๒๓๓๖ เพื่อให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี ที่ว่าเมืองใดเป็นเมืองหลวงจำเป็นต้องมีวัดสำคัญประจำอยู่ ๓ วัด ดังข้อความจากเรื่อง ชุมนุมพระบรมราชาธิบายและประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ กล่าวว่า “ในแผ่นดินไทยแต่โบราณมา เมืองใดเป็นเมืองหลวงในเวลาใดเวลาหนึ่ง เมืองนั้นมักมีวัดสำคัญ ๓ วัด ชื่อต้นคือ วัดมหาธาตุ ๑ วัดราชบุรณะ ๑ วัดราชประดิษฐ์ ๑ ชื่อ ๓ ชื่อนี้กรุงศรีอยุธยาก็มี พิษณุโลกก็มี สุโขทัยก็มี สวรรคโลกก็มี แต่ในกรุงเทพฯ บางกอกนี้ครั้นถึงแผ่นดินที่หนึ่ง สร้างกำแพงลงแล้ว ก็สร้างพระอารามหลวง เป็นแต่แปลงชื่อเก่าที่มีชื่อมาแล้ว คือ วัดสลัก Read more »

ความเป็นมาของวัดสมัยกรุงธนบุรี( วัดราชบุรณราชวรวิหาร)

สมัยกรุงธนบุรี วัดราชบุรณราชวรวิหารเป็นวัดประจำชุมชน มีพระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะจำพรรษาอยู่ และเป็นชุมชนหนึ่งที่อยู่นอกกำแพงพระนคร เพราะส่วนที่เป็นกำแพงพระนครในส่วนของคลองคูเมือง หรือคลองตลาดเท่านั้น ชุมชน วัดเลียบอาจเป็นชุมชนชาวจีน และมีขนาดใหญ่ เนื่องจากต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การย้ายพระนครมาตั้งอยู่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ระหว่าง วัดสลัก กับ วัดโพธิ์ เป็นที่ของพระยาราชาเศรษฐี และชาวจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณวัดจักรวรรดิราชาธิวาส ไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง (วัดปทุมคงคาในปัจจุบัน)

ต่อมาได้ทำการย้ายชุมชนญวน (เพื่อใช้ที่สร้างวัดท่าเตียน พระราชทานแด่สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์) ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบริเวณวัดโพธิ์ไปจรดป้อมบางกอกเดิม มาตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านหม้อ และย่านพาหุรัด ใกล้วัดเลียบ บริเวณชานพระนครที่สร้างใหม่นั้น อาจเป็นพื้นที่ห่างไกล ทำให้ต้องมีการขยายชุมชนออกไปทางใต้ของพระนคร เพราะชานพระนครด้านทิศใต้เป็นที่อยู่ของช่างฝีมือต่างๆ และเป็นย่านการค้า นับตั้งแต่ปากคลองตลาด วัดเลียบ วัดสามปลื้ม ไปถึงย่านสำเพ็ง บ้านหม้อ และพาหุรัด
ขอขอบคุณ http://www.watliab.com/

ความเป็นมาของวัดสมัยกรุงศรีอยุธยา(วัดราชบุรณราชวรวิหาร)

วัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ) เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่งที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมสู่กรุงศรีอยุธยา มีการพัฒนาเส้นทางและชุมชนตลอดมา เมืองบางกอก หรือเมืองธนบุรีสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองสำคัญทางการค้า และเมืองหน้าด่านบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างป้อมปราการขนาดใหญ่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ คือป้อมวิไชยเยนทร์ และป้อมเมืองบางกอกเพื่อเก็บภาษีอากร และป้องกันข้าศึกที่เข้ามา ทาง ปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีเอกสารระบุตำแหน่งของวัดไว้ในแผนที่ที่เขียนโดยชาวต่างชาติ ในกรณีพิพาทระหว่างไทยและฝรั่งเศสสมัยพระเพทราชา การทำแผนที่แสดงตำแหน่งป้องเมืองธนบุรี โดย เมอซิเออร์ วอลลันด์ เด ว์เวอร์ เกนส์ นายทหารชาวฝรั่งเศสที่ทำการรักษาป้อมในครั้งนั้น ในแผนที่แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งของวัดเลียบอยู่ใกล้กับป้อมที่ทหารไทยใช้ ต่อสู้กับฝรั่งเศสในสมัยนั้น

ขอขอบคุณ http://www.watliab.com/

ที่ตั้งของวัด วัดราชบุรณราชวรวิหาร

004

วัดราชบุรณราชวรวิหาร หรือวัดเลียบเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 119 ถ.จัก เพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ทางทิศตะวันออก ของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เชิงสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯลฯ และทางด้านทิศตะวันออก ของพระบรมมหาราชวัง มีถนนจักรเพชรทางด้านหน้าวัดและถนนตรีเพชรผ่านทางด้านข้างวัด

อดีต

๑. สมัยรัชกาลที่๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ วัดราชบุรณราชวรวิหาร ตั้งอยู่ภายในกำแพงพระนครเยื้องกับป้อมจักเพชร ริมถนนพาหุรัด และถนนจักรเพชร อำเภอพาหุรัด จังหวัดพระนคร

๒. สมัยรัชกาลที่ ๖ ถึงรัชกาลที่ ๙ ตั้งอยู่ใกล้เชิงสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯลฯ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีถนนจักรเพชรผ่านทางด้านหน้าวัด และถนนตรีเพชรผ่านทางด้านข้างวัด ทางด้านทิศตะวันตก แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

Read more »

ความเป็นมาของวัดราชบุรณราชวรวิหาร

DTHB1011 Wat Ratchaburana Ratchaworawiharn 2012

ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๑๙ ถนนจักเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร วัด ราชบุรณราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์ มีชื่อเรียกว่า“วัดเลียบ” เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีประวัติการสร้างคือ มีพ่อค้าชาวจีนคนหนึ่งชื่อ “เลี๊ยบ” มาจอดเรือสำเภา พักอาศัยขายของอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อขายสินค้าร่ำรวยขึ้น จีนเลี๊ยบเป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างศาลาไว้ เป็นที่ทำบุญและให้ทานเป็นทำนองศาลาพักร้อน ต่อมาได้มีชาวบ้านมาร่วมทำบุญถวายทานมากขึ้น จึงได้สร้างพระเจดีย์พระวิหารขึ้นเหนือบริเวณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงใกล้กับ ที่ที่ตนเคยอาศัยขายของอยู่นั้นชาวบ้านได้อาศัยศาลาทำบุญถวายทานบ้าง เป็นที่พักร้อนบ้าง เพราะอยู่ใกล้กับฝั่งแม่น้ำ อากาศร่มเย็นจึงได้ชื่อว่า “วัด จีนเลี๊ยบ” ตามชื่อผู้สร้าง อย่างธรรมเนียมคนไทยสมัยโบราณ เมื่อสร้างถาวรวัตถุไว้ในที่ใดที่หนึ่ง มักใช้ชื่อของผู้สร้างนั้นเรียกเพื่อเป็นอนุสรณ์ ต่อมาชาวบ้านคงจะเรียกสั้นเข้า คำว่า “จีน” หายไป เหลือแต่คำว่า “เลี๊ยบ”ซึ่งต่อมากลายเป็น “เลียบ” และเรียกกันติดปากต่อมาว่า “วัดเลียบ” จนถึงปัจจุบัน
อีกนัยหนึ่ง ในอาณาเขตบริเวณที่จีนเลี๊ยบสร้างศาลา พระเจดีย์และพระวิหาร มีต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ “ต้นไม้เลียบ” ขึ้น อยู่เรียงรายรอบๆบริเวณนั้น และมีชื่อคล้องจองกับจีนเลี๊ยบ ต่างกันแต่วรรณยุกต์เท่านั้น ชาวบ้านจึงตั้งชื่อวัดที่จีนเลี๊ยบสร้างว่า “วัดเลียบ” ตามชื่อของพันธ์ไม้นั้น

ขอขอบคุณ http://www.watliab.com/

วัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

wat_rajburana

เป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อ “วัดเลียบ” ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งกรุงเทพฯ วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์

พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชทานนามว่า “วัดราชบุรณะ”

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

วัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ)

01

ประวัติวัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อ “วัดเลียบ” ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชทานนามว่า “วัดราชบุรณะ”ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด

Read more »

วัดราชบูรณะ กรุงเทพฯ

วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธฝั่งกรุงเทพฯ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดเลียบ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายโดยพ่อค้าชาวจีน วัดนี้เป็นหนึ่งในจำนวนวัดเอกประจำเมือง 3 วัด ได้แก่ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐ์ และวัดมหาธาตุ วัดนี้ได้รับการบูรณะมาตลอดตั้งแต่รัชกาลที่ 1-7 เว้นรัชกาลที่ 6 รัชกาลเดียว ในคราวสงครามมหาเอเซียบูรพา สถานที่สำคัญๆ ของวัดถูกระเบิดพังทลาย โดยเฉพาะพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่งถูกระเบิดทำลายจนหมด ต่อมาได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน

เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00–20.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2221 3936, 0 2221 9544

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดราชบูรณะหรือวัดเลียบ (กรุงเทพฯ)

ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธฝั่งกรุงเทพฯ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดเลียบ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายโดยพ่อค้าชาวจีน วัดนี้เป็นหนึ่งในจำนวนวัดเอกประจำเมือง 3 วัด ได้แก่ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐ์ และวัดมหาธาตุ วัดนี้ได้รับการบูรณะมาตลอดตั้งแต่รัชกาลที่ 1-7 เว้นรัชกาลที่ 6 รัชกาลเดียว ในคราวสงครามมหาเอเซียบูรพา สถานที่สำคัญ ๆ ของวัดถูกระเบิดพังทลาย โดยเฉพาะพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรม ฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่งถูกระเบิดทำลายจนหมด ต่อมาจึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

วัดราชบูรณะราชวรวิหาร

1231644_388113454644490_243103925_n

ที่ตั้ง 119 อยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ระหว่างถนนจักรเพชรกับถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประวัติความเป็นมาวัดราชบูรณะราชวรวิหาร เดิมชื่อ “วัดเลียบ” เป็นวัดราษฎรที่ตั้งมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 1 ขอพระบรมราชานึญาตสถาปนาวัดเลียบขึ้นเป็นพระอารามหลวง โดยพระราชทานนามว่า “วัดราชบูรณะราชวรวิหาร”

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระวิหารคดเป็นที่ประดิษฐานพระระเบียง 162 องค์ (นำมาจากหัวเมืองต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1) รอบพระอุโบสถ และทรงสร้างพระวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อมด้วยอสีติมหาสาวกจำนวน 80 องค์ ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระพุทธปรางค์ ซึ่งไม่ได้รับอันตรายจากภัยสงคราม ได้แต่ชำรุดทรุดโทรม มาบูรณธเอาใน พ.ศ.2502 นอกจากนั้นยังได้รับการปฏิสังขรณ์อีกในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 พร้อมกันทั้งวัด
ใน พ.ศ.2488 วัดนี้ได้ประสบภัยจากสงครามเอเชียบูรพา พระอุโบสถและเสนาสนะสงฆ์ได้รับความเสียหายมาก เหลือปรางค์องค์ใหญ่หน้าพระอุโบสถเพียงองค์เดียว รูปร่างเหมือนพระปรางค์วัดสามปลื้ม ส่วนศิลปวัตถุสำคัญ ๆ อื่น ๆ เช่น พระพุทธรูปและภาพเขียนบนผนังอุโบสถถูกทำลายจนหมดสิ้น จนกระทั่งต้องประกาศยุบวัดเสีย ต่อมาใน พ.ศ.2491 พ่อค้า ประชาชน ผู้อุปการะวัดมีศรัทธาร่วมกันที่จะปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดตามเดิม

Read more »

วัดราชบุรณราชวรวิหาร

Bkkwrajburana0409a

วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อ “วัดเลียบ” ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์

พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า “วัดราชบุรณะ”

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/wiki

วัดเบญจมบพิตร กทม.

watben_pic

วัดเบญจมบพิตร หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็นิยมมานมัสการ ไหว้พระทำบุญ รวมถึงเที่ยวชมความงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถหินอ่อน เมื่อกล่าวถึงพระอุโบสถหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์สวยงามแน่นอนว่าพระอุโบสถแห่งนี้อยู่ในวัดเบญจมบพิตร เพราะเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสิ่งสวยงามอีกมากมายที่ควรรู้จักอีกด้วย

เรามาทราบประวัติความเป็นมาของวัดเบญจมบพิตรกันก่อน แต่เดิมเป็นเพียงวัดเล็ก ๆ มีชื่อว่า “ วัดแหลม ” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “ วัดไทรทอง ” ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยาเขตดุสิต เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณที่มีความวิจิตรงดงามและเป็นระเบียบ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง ทั้งยังประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในชื่อ “Marble Temple”

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตนารามราชวรวิหาร

6

เมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างพระราชวังสวนดุสิตได้ทรงใช้พื้นที่วัดดุสิตและวัดร้างอีกแห่งเป็นที่สร้างพลับพลาและตัดถนน ซึ่งตามประเพณีจะต้องสร้างวัดขึ้นทดแทน แต่ทรงมีพระราชดำริว่าการสร้างวัดใหม่หลายแห่งยากต่อการบำรุงรักษา แต่ถ้าทำวัดใหญ่เพียงแห่งเดียวด้วยฝีมือประเพณีนั้นจะดีกว่า จึงรงเลือกสถาปนาวัดเบญจบพิตรและโปรดเกล้าฯ ให้ “สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์” ออกแบบจากนั้นโปรดให้แก้ชื่อเป็น “วัดเบญจมบพิตร” ซึ่งแปลว่า “วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕”
พระอุโบสถ ถือเป็น “สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย” สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี เป็นทรงจัตุรมุข หลังคาซ้อน ๔ ชั้น มีพระระเบียงรอบด้านหลัง
พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารรัชกาลที่ ๕

พระอุโบสถ ถือเป็น “สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย” สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี เป็นทรงจัตุรมุข หลังคาซ้อน ๔ ชั้น มีพระระเบียงรอบด้านหลัง

พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารรัชกาลที่ ๕

ขอขอบคุณ http://www.tripsthailand.com/

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร

Benja_31

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า “The Marble Temple” เพราะพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี ประกอบกับเป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเข้าชมจำนวนมากทุกวัน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เดิมเป็นวัดโบราณ มีชื่อว่า “วัดแหลม”หรือ “วัดไทรทอง”ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ หรือวัดที่เจ้านาย ๕ พระองค์คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินี พระขนิษฐภคินี และพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาอีก ๔ พระองค์ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น

มุขตะวันออกมีเสากลมหินอ่อน ๔ ต้น ข้างบันไดหินอ่อนมีสิงห์สลักหินอ่อน ๒ ตัว ซึ่งโปรดเกล้าฯให้ ขุนสกลประดิษฐ์ ช่างในกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้ปั้นแบบ ตามภาพที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเขียน

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .