วัดศรีอุโมงค์คำ ตั้งอยู่เลขที่ ๓ ถนนท่ากว๊าน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ชาวบ้านเรียกว่า วัดสูง เพราะตั้งอยู่ในที่ราบสูงทั้งเจดีย์และพระอุโบสถยังตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยกสูงอีก ดังนั้นจึงทำให้วัดนี้สูงสง่างาม ประตูทางเข้า เป็นซุ้มประตูไม้แกะสลักใช้แป้นเก็จเป็นแผ่นปูทำหลังคา กำแพงก่ออิฐทำเหมือนกำแพงเมืองเก่าไม่มีการฉาบปูน สีอิฐไหม้ทำให้นึกถึงกำแพงโบราณ เข้าไปด้านหน้าประตูจะต้องขึ้นบันไดสองชั้นเข้าไปสู่พระอุโบสถ หน้าบันเป็นลายไทยปูนปั้นติดกระจกพื้นสีเขียวทำให้แปลกตาไปอีกแบบหนึ่งใบระกามีชั้นเดียวแต่มีมุขซ้อนกันสามชั้น
ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงมากในล้านนา คือพระเจ้าล้านตื้อหรือพระเจ้าแสนแซ่ พระเจ้าล้านตื้อเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นจากการคำนวณน้ำหนักของพระพุทธรูปองค์นี้ว่า มีน้ำหนักเป็นล้าน ๆๆ ซึ่งคำว่า ตื้อ เป็นจำนวนนับทางล้านนาหรือทางเหนือ เช่น หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ และ ตื้อ ส่วนที่เรียกพระประธานองค์นี้ว่า พระเจ้าแสนแซ่ เพราะการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่มาประกอบเข้าด้วยกัน โดยมีสลัก ชาวเหนือเรียกว่า แซ่ เป็นตัวประสานเชื่อมกัน จึงเรียกว่า พระเจ้าแสนแซ่
Read more »
วัดศรีอุโมงค์คำ พะเยา
สิ่งที่สำคัญวัดศรีอุโมงค์คำ
วัดศรีอุโมงค์คำ ถือเป็นหนึ่งในวัดสำคัญของจังหวัดพะเยาที่มีของดีในระดับโดดเด่นเป็นเอกอุอยู่มากพอดู
เริ่มกันตั้งแต่สิ่งที่มองเห็นมาแต่ไกลเมื่อย่างก้าวเข้าวัดมานั่นก็คือ องค์พระธาตุเจดีย์บนเนินที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านหลังของโบสถ์ เจดีย์องค์นี้บางข้อมูลระบุว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยเชียงแสน แต่จากเอกสารของวัดระบุว่าไม่ปรากฏหลักฐาน ปี พ.ศ.ที่สร้างชัดเจน แต่น่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปี ลักษณะเจดีย์แม้เป็นทรงล้านนาทั่วไป แต่มีความโดดเด่นตรงที่มีฐานย่อมุมไม้ 12 และมีซุ้มพระประดับอยู่ทั้ง 4 ด้าน
ด้วยความที่เจดีย์องค์นี้ ในอดีตมักถูกฟ้าผ่าอยู่บ่อยครั้ง ทำให้คนโบราณหลายคนเชื่อว่าเป็นเจดีย์อาถรรพ์ แต่หากมองกันในข้อเท็จจริงของหลักวิทยาศาสตร์ ยุคนั้นยังไม่มีสายล่อฟ้าการที่เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บนเนินที่สูงถือเป็นสื่อนำไฟฟ้าอย่างดี ดังนั้นเมื่อกาลเวลาผ่านไปมีการติดตั้งสายล่อฟ้าที่เจดีย์ขึ้นก็ทำให้ปัญหาเรื่องฟ้าเจดีย์หักพังเป็นอันหมดไป
วัดศรีอุโมงค์คำ
วัดศรีอุโมงค์คำ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ถ.ท่ากว๊าน ต.เวียง อ.เมือง วัดแห่งนี้สร้างขึ้นมาแต่หนใด ไม่มีใครรู้ เพราะไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ผู้รู้หลายๆท่านสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 เพราะพบหลักฐานเป็นพระพุทธรูปหินทราย และงานแกะสลักหินทรายอื่นๆ อาทิ เทวรูป รูปสัตว์ต่างๆ ในยุคหินทรายเมืองพะเยาอยู่เป็นจำนวนมาก
ในส่วนของชื่อวัดแห่งนี้ มีเอกสารระบุว่า คำว่า “ศรี” หรือที่ล้านนาอ่านว่า “สะ-หรี” หมายถึง ต้นโพธิ์ หรือความเป็นมงคล เป็นสิ่งอันประเสริฐ ดังนั้นคนโบราณจึงใช้ชื่อศรีนำหน้าเพื่อความเป็นสิริมงคล
ส่วนคำว่า“อุโมงค์” นั้นชัดแจ้งว่าหมายถึงอุโมงค์ หรือถ้ำ ซึ่งเดิมทีชาวบ้านเชื่อกันว่าใต้ฐานโบสถ์ของวัดแห่งนี้ มีถ้ำหรืออุโมงค์อยู่ สามารถลอดไปโผล่ยังแม่น้ำอิงที่ไหลผ่านใจกลางกว๊านพะเยาได้
วัดศรีอุโมงค์คำ หรือ วัดอุโมคำ
วัดวัดศรีอุโมงค์คำ หรือ วัดอุโมคำ ตั้งอยู่เลขที่ ๓ บ้านท่ากว๊าน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๖ ไร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตามประวัติวัดที่ปรากฏในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร กล่าวว่า วัดศรีอุโมงค์คำสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดสูง ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๖ เมตร อาคารเสนาสนะของวัดศรีอุโมงค์คำ ประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ คือ เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุอันเป็นเจดีย์สมัยเชียงแสนซึ่งสภาพยังสมบูรณ์อยู่ และพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองซึ่งขาวพะเยาเรียกกันว่า “ พระเจ้าล้านตื้อ ” ซึ่งชี่อทางการของพระพุทธรูปองค์นี้คือ “ หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์ ” แม้หลักฐานการสร้างจะไม่ปรากฏชัดเจนแต่ประมาณว่ามีอายุเก่าแก่ถึง ๕๐๐ ปีมาแล้ว Read more »
วัดศรีโคมคำ
วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองริมกว๊านพะเยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034-2067
พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเรียกว่า “งานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง” นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยาภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดยอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ
ขอขอบคุณ http://www.emagtravel.com/
งานประเพณีแปดเป็ง วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา
วัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง ระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ได้มีขบวนแห่ครัวตานจากลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ริมกว๊าน ไปยังวัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง โดยขบวนแห่ครัวตานของแต่ละตำบล ที่มาจากอำเภอต่างๆ ในจังหวัด กว่า 40 ขบวน ที่เน้นในเรื่องของวัฒนธรรมท้องถิ่น และการใช้เครื่องเสียงที่เป็นเครื่องดีดสีตีเป่าตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน สร้างบรรยากาศในความเป็นอารยธรรมล้านนา สวยงามยิ่ง ขณะที่ในวิหารพระเจ้าตนหลวง ได้มีผู้สูงอายุแต่งชุดขาวมาถือศีลบำเพ็ญภาวนาตามความเชื่อและศรัทธามาแต่ครั้งอดีตกาล โดยมีพระสุนทรกิตติคุณ รองเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ เป็นประธานสงฆ์เจริญพรแก่พุทธศาสนิกชนที่เข้าไปร่วมทำบุญ ละในเวลา 13.00 น.วันนี้จะมีพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ในวิหารพระเจ้าตนหลวง
ทั้งนี้ การแห่ครัวตานดังกล่าว เป็นการรื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณีที่จางหายไปนับสิบปี เนื่องจากการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น ส่งผลให้แต่ละท้องต่างจัดกิจกรรมของตน ขาดความร่วมมือของประชาชนเช่นที่เคย เพื่อให้วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามได้ฟื้นคนกลับมาอีครั้ง จังหวัดพะเยา จึงได้ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัฒนธรรมจังหวัดพะเยา ประสานความร่วมมือกับหมู่บ้าน ชุมชนในแต่ละอำเภอของจังหวัดพะเยา รื้อฟื้นประเพณีการแห่ครัวตานงานแปดเป็งขึ้นมาใหม่
วัดศรีโคมคำ พระพุทธรูปศิลปเชียงแสน องค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย
วัดศรีโคมคำ เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 – 2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย
ในวันวิสาขบูชามีงานนมัสการพระเจ้าตนหลว งเป็นประจำทุกปีเรียกว่างานประเพณี นมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง บริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดย อาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ
ขอขอบคุณ http://sadoodta.com
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ เกิดขึ้นด้วยดำริของพระธรรมวิมลโมลีเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำรองเจ้าคณะภาค ๖ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ที่ต้องการจะสนองพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงนำนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามายังวัดศรีโคมคำจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ที่จะให้จังหวัดพะเยามีสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุที่พระธรรมวิมลโมลีรวบรวมไว้ ซึ่งมีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ที่จะให้ความรู้เรื่องเมืองพะเยาในเชิงชาติพันธุ์วิทยา มานุษยวิทยาและธรรมชาติวิทยา สำหรับเป็นแหล่งในการศึกษาค้นคว้าสำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป หอวัฒนธรรมนิทัศน์มีเนื้อที่ในการจัดแสดงประมาณ ๒,๐๐๐ ตารางเมตร ประกอบด้วยส่วนจัดการแสดง ๖ ส่วนคือ
๑. ห้องกว๊านพะเยา จัดแสดงประวัติความเป็นมาก่อนจะเป็นกว๊านพะเยา จุดที่ตั้ง สถานที่สำคัญของพะเยา จัดแสดงพันธุ์ปลา พืช และเครื่องมือจับปลา
๒. ห้องประวัติเมืองพะเยา จัดแสดงเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ก่อนจะเป็นอาณาจักร ขุนเจือง พญางำเมืองพะเยายุครุ่งเรือง เครื่องปั้นดินเผา พะเยายุคเสื่อม พะเยายุคฟื้นฟู กบฎเงี้ยว และประวัติพระเจ้าตนหลวง
๓. ห้องวิถีชีวิตและภูมิปัญญาชาวบ้านจัดแสดงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับกว๊านพะเยา และปราชญ์ท้องถิ่น
๔. ห้องพะเยากับความหวัง จัดแสดงการพัฒนาเมืองพะเยาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่นำความสำเร็จความภาคภูมิใจมาสู่ชาวพะเยา
๕. ห้องคนกับช้าง จัดแสดงความผูกพันระหว่างคนพะเยากับช้าง
๖. ห้องเอกสารท้องถิ่น จัดแสดงเอกสารสิ่งพิมพ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
วัดศรีโคมคำ
วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าองค์หลวง” หรือ “วัดพระเจ้าตนหลวง” ครับ มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุด ในลานนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร มีประวัติกล่าวถึงอย่าง พิสดารว่า มีพญานาคนำทองคำมาให้ตายายคู่หนึ่ง ที่ตั้งบ้านอยู่ริมกว๊านพะเยา เพื่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งตายายคู่นี้ใช้เวลา สร้างถึง 33 ปี (พ.ศ. 2034 – 2067) และกาลต่อมาเรียกว่า “พระเจ้าองค์หลวง” ในปัจจุบันพระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรลานนาไทยด้วย ในเดือนพฤษภาคม จะมีงานนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเป็นประจำปี เรียกว่า “งานประเพณีนมัสการ พระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง”
ขอขอบคุณ http://www.mots.go.th/
ข้อมูลท่องเที่ยววัดศรีโคมคำ-กว๊านพะเยา
กว๊าน แปลตามภาษาพื้นเมืองล้านนา แปลว่า บึง เมื่อนำมารวมกับคำว่าพะเยาก็น่าจะหมายถึงบึงในจังหวัดพะเยา กว๊านพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ในอำเภอเมือง เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก และเป็นจุดรวมของน้ำที่ไหลมาจากห้วย 18 สาย ปัจจุบันกว๊านพะเยาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด บริเวณริมกว๊านมี่ร้านอาหารและเป็นสวนสาธารณะ สามารถชมพระอาทิตย์ตกดินที่กว๊านพะเยาได้
ที่อยู่ติดกับกว๊านพะเยาจะเป็น วัดศรีโคมคำ(คนท้องถิ่นเรียกวัดพระเจ้าตนหลวง) เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 ต่อมาเมืองล้านนาถูกพม่ารุกรานเข้ามา และเป็นเมืองขึ้นของพม่า ประชาชนหนีเข้าไปในป่า บ้านเมืองก็รกร้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเ้จ้าอยู่หัว (ร.3) ได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ และได้บูรณะเรื่อยๆมา ได้อาราธนา พระคุณเจ้าครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มาเป็นประธานในการก่อสร้างพระวิหารหลวงใหม่ และได้ก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2466
วัดศรีโคมคำ เมืองพะเยา
วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 – 2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชามีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเป็นประจำทุกปีเรียกว่างานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง บริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดย อาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ
ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/
วัดศรีโคมคำ พระอารามหลวงชั้นตรี
วัดศรีโคมคำ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และวัดพัฒนาตัวอย่าง ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าตนหลวง โดยสร้างขึ้นในระหว่างปีพุทธศักราช 2034-2067 พระเจ้าตนหลวงเป็นพระประธานเก่าแก่ในพระวิหารหลวง ศิลปะเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา มีขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร และสูง 16 เมตร สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2034 โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น เจ้าอาวาสรูปแรกที่ปรากฏในตำนาน คือ พระธรรมปาล ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่
มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมือง ที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอารามจึงรกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้มีการสถาปนาเมืองพะเยาขึ้น ทั้งบ้านเมืองและวัดวาอารามต่างก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ จนถึงปีพุทธศักราช 2465 พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีพระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา เป็นฝ่ายบ้านเมือง ได้ร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยจากจังหวัดลำพูน มาเป็นประธาน ในการสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จนสำเร็จบริบูรณ์ กระทั่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง นอกจากนี้ ยังมี พระอุโบสถกลางน้ำ ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งมวลจากทั่วประเทศ
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ
สถานที่จัดแสดงวัตถุโบราณ รวมถึงเอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้านในจังหวัดพะเยา เป็นเวลากว่า 43 ปี ที่หลวงพ่อพระธรรมวิมลโมลีได้พบซากปรักหักพังและประติมากรรมในยุคหินทรายของเมืองพะเยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) อันเป็นที่มาที่ทำให้หลวงพ่อได้เริ่มเก็บรักษาสมบัติของชาติเหล่านี้ไว้ ณ วัดศรีอุโมงค์คำ จนย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ
ในปีพ.ศ.2512 จึงย้ายโบราณวัตถุทั้งหมดมาเก็บรักษาต่อ ณ วัดแห่งนี้ นับตั้งแต่การเริ่มต้นเก็บรวบรวมวัตถุโบราณ ตลอดจนการกลั่นกลองจนกลายเป็นหอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ ต้องใช้ระยะเวลากว่า 32 ปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2539 หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำได้รับการออกแบบด้วยศิลปะล้านนาประยุกต์ ด้านหลังตัวอาคารติดกับกว๊านพะเยาจึงมีภูมิทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ ภายในอาคาร 2 ชั้น ประกอบด้วยห้องจัดแสดง 5 ห้อง แต่ละห้องแบ่งเป็นส่วนๆ รวมทั้งหมดเป็น 13 ส่วน ได้แก่
วัดศรีโคมคำ
วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าองค์หลวง” หรือ “วัดพระเจ้าตนหลวง” ครับ มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุด ในลานนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร มีประวัติกล่าวถึงอย่าง พิสดารว่า มีพญานาคนำทองคำมาให้ตายายคู่หนึ่ง ที่ตั้งบ้านอยู่ริมกว๊านพะเยา เพื่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งตายายคู่นี้ใช้เวลา สร้างถึง 33 ปี (พ.ศ. 2034 – 2067) และกาลต่อมาเรียกว่า “พระเจ้าองค์หลวง” ในปัจจุบันพระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรลานนาไทยด้วย ในเดือนพฤษภาคม จะมีงานนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเป็นประจำปี เรียกว่า “งานประเพณีนมัสการ พระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง” จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก และ สำหรับคนต่างถิ่นจะถือเป็นประเพณี เมื่อไปถึงเมืองพะเยาแล้ว สิ่งแรกนั้นก็คือ การไปนมัสการพระเจ้าองค์หลวงของเมืองพะเยาเสียก่อน มิฉะนั้น จะถือว่าไม่ได้ไปถึงเมืองพะเยาเลย นอกจากนั้นยังมีศิลาจารึกเก่าแก่โบราณอีกมากมายที่น่าไปเที่ยวชม
ขอขอบคุณ http://travel.sanook.com/
วัดศรีโคมคำ ( วัดพระเจ้าตนหลวง )
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา โทร.054-431053 ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า”วัดพระเจ้าตนหลวง” เป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ทสุดี่ในล้านนาไทยขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตi ใช้เวลาก่อสร้างถึง 33 ปี (พ.ศ.2034-2067) และต่อมาเรียกว่า”พระเจ้าองค์หลวง”ซึ่งถือว่าพระเจ้าองค์หลวงเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาและคู่เมืองอาณาจักรล้านนาด้วยในเดือนหก(ประมาณเดือนพฤษภาคม) จะมีงานนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเป็นประจำทุกปี เรียกว่า”งานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือน แปดเป็ง”มีประชาชนจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ภายใน บริเวณวัดยังมี พระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังลาย วิจิตรสวยงาม วาดโดยอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ
ขอขอบคุณ http://www.m-culture.go.th/