วัดพระนารายณ์มหาราช จ.นครราชสีมา

1488265_583421171723550_1020554139_n

วัดพระนารายณ์ เป็นวัดที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดฯให้สร้างขึ้น ในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่ชาวเมืองนครราชสีมา เรียกว่า วัดกลาง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางใจเมือง ติดกลับศาลหลักเมือง วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร หรือ วัดกลาง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ในสมัยก่อนมีพิธีอย่างหนึ่งคือ พิธีที่ข้าราชการทุกแผนก จะต้องสาบานตนว่าตนจะต้องรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต พิธีนี้เรียกว่า พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ราชการได้ใช้วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ทำพิธีสวดเศกน้ำพระพุทธมนต์ถวายในงานพระราชพิธีเสวยราชสมบัติ
ตามหนังสือนำทัศนาจร กรมศาสนาได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้ทรงสร้าง ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในปัจจุบันวัดกลาง ยังมีศิลปะวัตถุพร้อมทั้งแบบสถาปัตยกรรมของสมัยกรุงศรีอยุธยาเหลือให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม อันได้แก่ พระอุโบสถกลางน้ำ พระวิหารหลวงและเทวรูปพระนารายณ์สี่กร จำหลักด้วยหินทรายฝีมือขอมโบราณ อันเป็นสัญลักษณ์แสดงพระนามผู้สร้างวัด
ในสมัย พ.อ.พระยาประสิทธิศิลการ ( สะอาด สิงหเสนี ) มาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมา ได้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุท่านท้าวสุรนารี ไว้ในวัดพระนารายณ์มหาราชทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีศิลาจารึกเรื่องราวไว้เป็นหลักฐาน และบอกไว้ว่าสร้างเสร็จ ณ วันที่ 7 มิถุนายน ร.ศ.118 อันเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่สำหรับการสร้างอนุสาวรีย์ต่อมาภายหลัง

ขอขอบคุณ https://www.facebook.com/

วัดกลาง หรือ วัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช … วัดเก่าแก่คู่เมืองโคราช

วัดกลางเป็นหนึ่งในหกวัดที่สร้างมาพร้อมกับเมืองโคราช ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

1288170527
ตรงกลางเมือง จะมีศาลหลักเมือง

DSCN3950

Read more »

วัดพระนารายณ์มหาราช

วัดพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ภายในตัวเมืองนครราชสีมา
โดยอยู่ระหว่างถนนอัษฏางค์และถนนจอมพล สภาพถนนภายในตัวเมืองเป็นถนนลาดยางอยู่ในสภาพดี
การคมนาคมสะดวกและปลอดภัยมีรถประจำทาง รถรับจ้าง และสามล้อบริการอย่างสะดวกและรวดเร็ว
เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและเคย
เป็นที่ประดิษฐานอัฐิของท้าวสุรนารี มุมวัดด้านถนนจอมพลเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ประดิษฐานหลักเมืองนครราชสีมา
ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวเมืองนครราชสีมาเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดกลาง เป็นวัดกลางเมืองนครราชสีมาเดิม
ซึ่งมีความหมายอีกอย่างหนึ่งคือ การเป็นวัดศูนย์กลางของเมืองนครราชสีมามาแต่เดิม นอกจากนี้ภายในบริเวณ
วัดพระนารายณ์มหาราช มีศาลพระนารายณ์มหาราชเป็นที่ตั้งเทวรูปพระนารายณ์สี่กร อยู่ในท่ายืน สูง 17 นิ้ว
สร้างด้วยหินทรายฝีมือขอม เป็นเทวรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครราชสีมามาช้านาน
มีประตูทางเข้าวัดได้ 4 ทาง คือ ด้านติดถนนอัษฏางค์ ถนนจอมพล ถนนประจักษ์ และทางด้านถนนจอมพลที่ติดกับตลาด
อันเป็นทางเข้าศาลพระนารายณ์ ภายในวัดพระนารายณ์มหาราชมีพระอุโบสถอยู่กลางสระน้ำ ส่วนตรงข้ามเป็นพระวิหาร
ด้านขวามือของวิหารเป็นศาลา ส่วนด้านซ้ายมือของวิหาร เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมซึ่งจะมีสอนพุทธศาสนาแก่เด็กนักเรียน
Read more »

พระทศพลญาณประทานบารมี หรือ “หลวงพ่อใหญ่” พระประธานในพระวิหาร วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร หรือวัดกลางนคร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

_paragraph__16_108

“นครราชสีมา” หรือที่เรียกว่า “โคราช” เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ผู้มาเยือนจะได้เพลิดเพลินกับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งเดินป่าศึกษาธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจริมอ่างเก็บน้ำ ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ และเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน

คำว่า นครราชสีมา เกิดจากการรวมชื่อเมืองโบราณสองเมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโนนสูง นครราชสีมา เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยที่มีการเผยแพร่ของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาในดินแดนแถบนี้

เคยมีฐานะเป็นเมือง “เจ้าพระยามหานคร” เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในอีสานหลายแห่ง

จนมาถึงปัจจุบันยังคงความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านคมนาคม เศรษฐกิจของภาคอีสาน

นคราชสีมา มีวัดวาอารามและโบราณสถานมากมาย ให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญไหว้พระเสริมความเป็นสิริมงคล เริ่มต้นจากวัดกลางเมืองโคราช คือ วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร

Read more »

พระคู่บ้านคู่เมือง – หลวงพ่อใหญ่ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร จ.นครราชสีมา

ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างเมืองนครราชสีมาขึ้นพร้อมกับให้สร้างวัด เรียกว่า วัดกลาง วัดกลางหรือวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหารสร้างขึ้นเมื่อ 300 กว่าปีก่อน พระประธานในวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร คือหลวงพ่อใหญ่หรือพระทศพลญาณประทานบารมีปางมารวิชัย พุทธลักษณะคล้ายพระพุทธชินราช หน้าตักกว้าง 4 เมตร ความสูงถึงยอดพระรัศมี 5 เมตร 30 เซนติเมตร หลวงพ่อใหญ่ถือเป็นพระประธานองค์แรกของจังหวัดนครราชสีมา สวยงามใหญ่โตเป็นอันดับต้นๆของภาคอีสาน หลวงพ่อใหญ่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนเลื่อมใสศรัทธา เปิดให้เข้าสักการะเฉพาะวันสำคัญ วันพระ คนมากที่สุดในวันพระใหญ่

ขอขอบคุณ http://www.bugaboo.tv/

วัดพระนารายณ์มหาราช

customLogo

วัดพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ภายในตัวเมืองนครราชสีมา โดยอยู่ระหว่างถนนอัษฏางค์และถนนจอมพล สภาพถนนภายในตัวเมืองเป็นถนนราดยางอยู่ในสภาพดี การคมนาคมสะดวกและปลอดภัยมีรถประจำทาง รถรับจ้าง และสามล้อบริการอย่างสะดวกและรวดเร็ว

เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและเคย เป็นที่ประดิษฐานอัฐิของท้าวสุระนารี มุมวัดด้านถนนจอมพลเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ประดิษฐานหลักเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวเมืองนครราชสีมา

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดกลาง เป็นวัดกลางเมืองนครราชสีมาเดิม ซึ่งมีความหมายอีกอย่างหนึ่งคือ การเป็นวัดศูนย์กลางของเมืองนครราชสีมามาแต่เดิม นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราช มีศาลพระนารายณ์มหาราชเป็นที่ตั้งเทวรูปพระนารายณ์สี่กร อยู่ในท่ายืน สูง 17 นิ้ว สร้างด้วยหินทรายฝีมือขอม เป็นเทวรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครราชสีมามาช้านาน

มีประตูทางเข้าวัดได้ 4 ทาง คือ ด้านติดถนนอัษฏางค์ ถนนจอมพล ถนนประจักษ์ และทางด้านถนนจอมพลที่ติดกับตลาดอันเป็นทางเข้าศาลพระนารายณ์ ภายในวัดพระนารายณ์มหาราชมีพระอุโบสถอยู่กลางสระน้ำ ส่วนตรงข้ามเป็นพระวิหาร ด้านขวามือของวิหารเป็นศาลา ส่วนด้านซ้ายมือของวิหาร เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมซึ่งจะมีสอนพุทธศาสนาแก่เด็กนักเรียนในวัน อาทิตย์เป็นประจำ บริเวณใจกลางวัด มีต้นโพธิ์ใหญ่ล้อมรอบ ด้วยลานสนามหญ้า ด้านหลังพระวิหารเป็นเขตสังฆาวาสซึ่งมีต้นไม้เรียงอยู่เป็นทิวแถว สภาพศาลพระนารายณ์มหาราช มีลักษณะเป็นศาลกว้าง ภายในเต็มไปด้วยดอกไม้ของบูชามากมาย และมีควันธูปเทียนลอยอบอวลไปทั่วบริเวณ และเนื่องจากอยู่ติดกับตลาดจึงทำให้ จอแจเป็นพิเศษ รอบ ๆ บริเวณวัดพระนารายณ์มหาราชเป็นตึกแถวอาคารพาณิชย์และตลาด แล้วยังอยู่ย่านใจกลางเมือง จึงทำให้เกิดเสียงรบกวนเข้ามาในวัดเป็นประจำ

ขอขอบคุณ https://sites.google.com/

วัดพระนารายณ์มหาราช พระอารามหลวง ชั้นตรี

watphranarai1

วัดพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ภายในตัวเมืองนครราชสีมา โดยอยู่ระหว่างถนนอัษฏางค์และถนนจอมพล สภาพถนนภายในตัวเมืองเป็นถนนราดยางอยู่ในสภาพดี การคมนาคมสะดวกและปลอดภัยมีรถประจำทาง รถรับจ้าง และสามล้อบริการอย่างสะดวกและรวดเร็ว

เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและเคย เป็นที่ประดิษฐานอัฐิของท้าวสุระนารี มุมวัดด้านถนนจอมพลเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ประดิษฐานหลักเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวเมืองนครราชสีมา

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดกลาง เป็นวัดกลางเมืองนครราชสีมาเดิม ซึ่งมีความหมายอีกอย่างหนึ่งคือ การเป็นวัดศูนย์กลางของเมืองนครราชสีมามาแต่เดิม นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราช มีศาลพระนารายณ์มหาราชเป็นที่ตั้งเทวรูปพระนารายณ์สี่กร อยู่ในท่ายืน สูง 17 นิ้ว สร้างด้วยหินทรายฝีมือขอม เป็นเทวรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครราชสีมามาช้านาน

Read more »

วัดพระนารายณ์มหาราช

วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร วัดพระนารายณ์มหาราช หรือ วัดกลาง ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร  อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 11

วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางใจเมือง ติดกลับศาลหลักเมือง เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า “วัดกลาง” หรือ”วัดกลางนคร” โดยถือเอาสถานที่ตั้งเป็นสำคัญ แล้วเรียกชื่อวัดอื่น ๆ ตามที่ตั้งอยู่ทิศต่าง ๆ ตามชื่อทิศ เช่น วัดบูรพ์(บูรพา) วัดอิสาน วัดพายัพ และวัดบึง วัดสระแก้ว รวม 6 วัด ที่ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง โดยถือเอาวัดพระนารายณ์เป็นจุดศูนย์กลาง

วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร หรือ วัดกลาง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นผู้ทรงสร้างตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ในสมัยก่อนมีพิธีอย่างหนึ่งคือ พิธีที่ข้าราชการทุกแผนก จะต้องสาบานตนว่าตนจะต้องรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต พิธีนี้เรียกว่า พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ทางราชการได้ใช้วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ทำพิธีสวดเศกน้ำพระพุทธมนต์ถวายในงานพระราชพิธีเสวยราชสมบัติ

เคยเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารี ตรงมุมทิศพายัพของวัด ต่อมา พ.ศ. 2477 จึงได้ย้ายออกจากวัดไปประดิษฐานที่ประตูชุมพล จนทุกวันนี้

ในปัจจุบันวัดพระนารยณ์ ยังมีศิลปะวัตถุ พร้อมทั้งแบบสถาปัตยกรรมของสมัยกรุงศรีอยุธยา และปูชนียสถานภายในวัดประกอบด้วย พระอุโบสถที่ตั้งอยู่เกาะกลางสระบัวทิศตะวันออกของวัด พระวิหารหลวงและเทวรูปพระนารายณ์สี่กร จำหลักด้วยหินทรายฝีมือขอมโบราณ อันเป็นสัญลักษณ์แสดงพระนามผู้สร้างวัด

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

เชิญชวนชาวนครราชสีมา ร่วมทำบุญถวายกฐินพระราชทาน ณ วัดพายัพ ในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2557

ศาสตราจารย์ ดร.พุทธพร แข็งแรง ประธานศูนย์ส่งเสริมศิลปะศิลปินไทย เปิดเผยว่า เชิญชวนชาวนครราชสีมา ร่วมทำบุญถวายกฐินพระราชทาน ณ วัดพายัพ ในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2557 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้พันเอกอนันต์กฤตย์ ดวงอมพร ศูนย์ประสานงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดนนทบุรี นำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดพายัพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2557 โดยกำหนดการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานประจำปี พ.ศ. 2557 มีดังนี้ วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เปิดรับบริจาคทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศลในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน เวลา 18.00 น. พิธีฉลองผ้ากฐินพระราชทาน ตั้งองค์ผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ พระอุโบสถ เวลา 19.00 น. มีการสมโภชผ้าพระกฐินพระราชทาน วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2557 เวลา 10.00 น. มีพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน

ขอขอบคุณ http://region1.prd.go.th/

วัดพายัพ นครราชสีมา

0939540001346210558

วัดพายัพ ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโคราชในอดีต โดยมีเสาหลักเมืองเป็นจุดศูนย์กลาง ตามชื่อที่ตั้งขึ้น ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางของเมืองนครราชสีมา ภาย ในวัดแบ่งเป็นเขตพุทธาวาส 2 ไร่, เขตธรรมาวาส 2 ไร่ เขตสังฆาวาส ถนน สนามหญ้า 3 ไร่ เขตที่จัดประโยชน์ให้เช่าอยู่อาศัย 5 ไร่ และปลูกต้นไม้ 3 ไร่ รวมเนื้อที่วัดพายัพ 15 ไร่ 69 ตารางวา

วัดพายัพ เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนครราชสีมา สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งพระองค์ทรงครองราชย์อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงเลือกสถานที่ในการสร้างเมืองนครราชสีมา จึงให้ช่างฝรั่งเศสเขียนแบบแปลนก่อสร้าง เป็นรูปเหลี่ยม มีคูคลองน้ำรอบกั้นข้าศึก มีกำแพงประตูเมือง 4 มุมเมือง และได้ทรงสร้างวัดขึ้นภายในกำแพงเมืองจำนวน 6 วัด คือ วัดพระนารายณ์ (วัดกลาง) วัดบึง วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดสระแก้ว และวัดพายัพ

สิ่งก่อสร้างภายในวัดพายัพ มีอุโบสถทรงเรือสำเภา สมัยอยุธยาตอนปลาย 1 หลัง หอไตรทรงไทยไม้สองชั้น 1 หลัง กุฏิทรงไทยไม้ชั้นเดียว 1 หลัง นอกจากนี้ยังมี อุโบสถหินอ่อน อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง งบประมาณ 40 ล้านบาท ลักษณะศิลปะทรงเรือสำเภาสมัยอยุธยาที่มุ่งสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นปริศนาธรรมดุจเรือสำเภาขนส่งสรรพสัตว์ข้ามห้วงทะเล คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปให้ถึงฝั่งพระนิพพาน โบสถ์หลังนี้ สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้ทรงสถาปนาสร้างเมืองนครราชสีมา พิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2530 โดยมีนายสมบูรณ์ ไทยวัชรามาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธาน

Read more »

วัดพายัพ

วัดพายัพ” ถ.ชุมพล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางเมืองนครราชสีมา

ทางทิศพายัพของเสาหลักเมือง จึงตั้งชื่อวัดตามทิศว่า “วัดพายัพ”

ภายในวัดแบ่งเป็นเขตพุทธาวาส 2 ไร่, เขตธรรมาวาส 2 ไร่ เขตสังฆาวาส ถนน สนามหญ้า 3 ไร่

เขตที่จัดประโยชน์ให้เช่าอยู่อาศัย 5 ไร่ และปลูกต้นไม้ 3 ไร่ รวมเนื้อที่วัดพายัพ 15 ไร่ 69 ตารางวา

วัดพายัพ เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนครราชสีมา สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เมื่อครั้งพระองค์ทรงครองราชย์อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงเลือกสถานที่ในการสร้างเมืองนครราชสีมา

จึงให้ช่างฝรั่งเศสเขียนแบบแปลนก่อสร้าง เป็นรูปเหลี่ยม มีคูคลองน้ำรอบกั้นข้าศึก มีกำแพงประตูเมือง 4 มุมเมือง
ขอขอบคุณ http://pirun.ku.ac.th/

วัดพายัพ นครราชสีมา

ที่ตั้ง: ถนนชุมพล, ตำบลในเมือง, อำเภอเมือง, จังหวัดนครราชสีมา, 30000
โทรศัพท์: 044 253-712, 044-342-308
รายละเอียด : สิ่งที่น่าสนใจในวัดพายัพ คือ ถ้ำหินงอกหินย้อย โดยพระราชวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดพายัพได้ไปพบหินงอกหินย้อยที่ชาวบ้านเขาวง จ.สระบุรี นำมาตั้งขายไว้ ซึ่งหินเหล่านี้มีหินงอกหินย้อยสีสันสวยงามจำนวนมาก หลวงพ่อเจ้าคุณวัดพายัพ จึงคิดหาวิธีเก็บรักษาหินงอกหินย้อยเหล่านี้ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูโดยสร้างกุฏิวายุภักษ์สำนักงานเจ้าอาวาสขึ้น ทำชั้นล่างให้เป็นถ้ำหินงอก หินย้อย ซึ่งได้ออกแบบเขียนแปลนและควบคุมการก่อสร้างเองทุกขั้นตอน ภายในถ้ำหินงอกหินย้อย จะมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หลายองค์เป็นหินทรายแกะสลัก ลงรักปิดทอง สร้างในสมัยทวาราวดี ลพบุรี อยุธยา อายุกว่า 300 ปี เดิมอยู่ในอุโบสถหลังเก่าวัดพายัพ นำมาประดิษฐานไว้ให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา

ขอขอบคุณ http://www.zeekway.com/

วัดพายัพ (พระอารามหลวง) เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครราชสีมา

ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือทิศพายัพของเสาหลักเมือง

1294553794

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองนครราชสีมา ในปี พ.ศ.2220

มีทั้งหมด 6 วัด คือ วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร), วัดบึง, วัดพายัพ, วัดอิสาน, วัดบูรพ์, และวัดสระแก้ว

พระอุโบสถหลังเก่า

ลักษณะทรงเรือสำเภา ศิลปะอยุธยา

ก่ออิฐถือปูนหลังคาไม้ อายุกว่า ๓๐๐ ปี

ลูกนิมิตเป็นใบเสมาคู่รอบพระอุโบสถ

Read more »

ถ้ำที่วัดพายัพ นครราชสีมา

cave

วัดพายัพ เป็นวัดที่ตั้งอยู่รอบๆสวนสาธารณะ ของอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ถ้าคุณขับรถไปทางย่าโมจะอยู่บนถนนหลังย่าโม

“เป็นถ้ำที่น่าสนใจมากในโคราช” จะมีป้ายบอกทาง ซึ่งคุณสามารถเดินตามป้ายบอกทางไปยังถ้ำได้เลย

ถ้ำหินงอก หินย้อย แห่งนี้ พระราชวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดพายัพได้ไปนำหินที่ใช้ทำลูกนิมิต หินปะดับสวน และ หินอ่อนอุโบสถซึ่งไปพบหินงอกหินย้อยที่ชาวบ้านเขาวง ต.หน้าพระลาน อ. พระพุทธบาท จ. สระบุรี นำมาตั้งขายโดยหินเหล่านี้ได้มาจากการระเบิดหินภูเขา ซึ่งรัฐบาลให้สัมปทาน แก่บริษัทโรงงานโม่หินผลิตปูน ซึ่งภายในมีหินงอกหินย้อยสีสันสวยงามจำนวนมาก หลวงพ่อเจ้าคุณวัดพายัพ จึงคิดหาวิธีเก็บรักษาหินงอกหินย้อยเหล่านี้ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูโดยสร้างกุฏิวายุภักษ์สำนักงานเจ้าอาวาสขึ้น ทำชั้นล่างให้เป็นถ้ำหินงอก หินย้อย ซึ่งได้ออกแบบเขียนแปลนและควบคุมการก่อสร้างเองทุกขั้นตอน

พระภิกษุสงฆ์พบหินที่สวยงามเหล่านี้ เก็บสะสม และทำความสะอาดเป็นอย่างดี ประมาณ ในช่วงปี 2533-2536 จากความชวยเหลือจากประชาชนชาวบ้าน จึงได้มีการก่อสร้างนำหินเหล่านี้มาวางต่อๆกันจนเป็นถ้ำที่สวยงาม

Read more »

ถ้ำหินงอก หินย้อย วัดพายัพ

2010_11_05_130403_rhct6j35

ถ้ำหินงอก หินย้อย แห่งนี้ พระราชวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดพายัพได้ไปนำหินที่ใช้ทำลูกนิมิต หินปะดับสวน และ หินอ่อนอุโบสถซึ่งไปพบหินงอกหินย้อยที่ชาวบ้านเขาวง ต.หน้าพระลาน อ. พระพุทธบาท จ.
สระบุรี นำมาตั้งขายโดยหินเหล่านี้ได้มาจากการระเบิดหินภูเขาซึ่งรัฐบาลให้สัมปทาน แก่บริษัทโรงงานโม่หินผลิตปูน ซึ่งภายในมีหินงอกหินย้อยสีสันสวยงามจำนวนมาก
หลวงพ่อเจ้าคุณวัดพายัพ จึงคิดหาวิธีเก็บรักษาหินงอกหินย้อยเหล่านี้ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูโดยสร้างกุฏิวายุภักษ์สำนักงานเจ้าอาวาสขึ้น ทำชั้นล่างให้เป็นถ้ำหินงอก หินย้อย ซึ่งได้ออกแบบเขียนแปลนและควบคุมการก่อสร้างเองทุกขั้นตอน

ต่อมาในปี 2533 – 2536 จึงได้นำหินมาคัดแยกกลุ่ม ประเภทสีล้างทำความสะอาด ใช้สว่างเจาะหินทุกก้อนใส่กาว ฝังเหล็ก รองรับตามขนาดน้ำหนักหิน ใช้คนงานและพระเณรช่วยกันติดตั้งเกาะแขวนห้อย
เชื่อมด้วยไฟฟ้า อัดปูนชีเมนต์ เสริมตกแต่งรอยต่อหินก้อนเล็ก ๆ จนเต็มพื้นที่ ทั้งเสา เพดาน ฝาพนัง แต่งฐานแท่นที่ตั้งองค์พระพุทธรูปโบราณต่าง ๆ และได้คัดเลือกหินที่เป็นแก้วสีใสสวยงามส่วนหนึ่งใส่ไว้ในตู้กระจก

ขนาดพื้นที่ถ้ำมีความกว้าง 12 เมตร ยาว 16 เมตร สูง 3 เมตร เป็นกุฏิทรงไทย 2 ชั้นครึ่ง ชั้นบนเป็นที่ทำงานของเจ้าอาวาส สร้างปี 2533 เสร็จปี 2536 รวมมูลค่าหินงอก หินย้อย
และอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหลัง ประมาณ 4,730,000 บาท และเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2536 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศนฯ เสด็จเยี่ยมชม

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .