วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชั้นวรวิหาร เป็นวัดรามัญมาตั้งแต่เดิม สร้างขึ้นในสมันรัชกาลที่ 2 โดยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์) ทรงสร้างพร้อมกับการสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ มีกุฎิ และพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝายกกระดาน เมื่อปี พ.ศ. 2357 – 2358 อยู่ห่างจากฝั่งเจ้าพระยาประมาณ 2 เส้น
หลังจากกรมพระยาบวรสถานมงคล เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2360 สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ เป็นแม่กองสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เพิ่มเติม ได้สร้างป้อมขึ้นใหม่ คือ “ป้อมเพชรหึงษ์” โดยใช้บริเวณวัดทรงธรรม จึงโปรดเกล้าให้ย้ายวัดทรงธรรมมมาอยู่ในกำแพงป้อม ทำให้ได้กุฎิเป็น 3 คณะ
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าวัดชำรุดทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าให้พระยาดำรงด์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฎิทั้ง 3 คณะ มาสร้างรวมเป็นหมู่เดียวกัน
ครั้นขึ้นปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 (จ.ศ. 1217) เป็นปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนชื่อวัดทรงธรรม เมืองนครเขื่อนขันธ์ว่า “วัดดำรงด์ราชธรรม” ต่อมาภายหลังกลับมาใช้ชื่อ “วัดทรงธรรม” เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน
เจดีย์ตามแบบรามัญ เป็นแบบ 3 ชั้น ชั้นบนห้าวงสตรีขึ้นไปศักการะ ไม่ได้ถามไถ่ถึงเหตุผล แต่เห็นได้ในหลายๆวัดที่เคร่งครัด
แต่ละชั้นมีพระพุทธรูบปางต่างๆประดับประดาอยู่ ไม่ทราบถึงความเชื่อว่าแต่ละชั้นมีความหมายอย่างไร
แบล็คกราวสะพานแขวน ดูแปลกตา ส่งให้เจดีย์และพระพุทธรูปงามเด่น
พระพุทธรูปปางต่างๆ เรียงรายอยู่รอบๆเจดีย์ ไม่ขาดดอกไม้ ธูป เทียน และเตรื่องศักการะ จากผู้ศรัทธา
ชุมชนแถบนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวมอญในอดีต ซึ่งมีวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับวัดและความเชื่อทางศาสนาอย่างเหนียวแน่นมาช้านาน วัดจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนคนมอญและไทยมายาวนานนับหลายชั่วอายุคน
ภานในโบสถ์ในแบบรามัญ สวยแปลกตา พระประธานอยู่ภายในกรอบไม้แกะสลักแบบพม่า .. ศรัทธาในวัฒนธรรมและประเพณีของชาวรามัญ ที่คงอยู่อย่างเหนียวแน่น
ด้านบนมีภาพเขียนแบบมอญประดับ 2 ภาพ
พระประธาน และพระพุทธรูปด้านหน้าพระประธาน เป็นพุทธศิลป์ที่งดงาม รู้สึกได้ถึงความนิ่ง และความสุขสงบภายในจิตใจ ยามก้มลงกราบพระ และซึมซับกลิ่นอายของศิลปไทยผสมพม่าที่ปรากฎอยู่ในหลายสิ่งภายในพระอุโบสถ ยามเมื่อกวาดสายตาไปรอบๆ
พระพุทธรูปประจำวันเกิด ให้กราบไหว้บูชาเพื่อเป็นศิริมงคลแห่งชีวิต และพระพุทธรูปปางต่างๆในพระอุโบสถ
ภาพเขียนประดับด้านต่างๆของโบสถ์ รวมถึงภาพพุทธประวัติ และภาพวาดของนิทานชาดก เรื่องพระเวสสันดรภาคต่างๆ
พระพุทธรูปภายในวัด และพระราหู
ระฆังรอบพระอุโบสถ … ศาลาการเปรียญ
ชื่นชมกับความงดงามของวัด เจดีย์มอญ และพุทธศิลป์ที่งดงามอีกครั้ง … ก่อนจะเข้าไปกราบลาพระประธานในพระอุโบสถ
ขอขอบคุณ http://www.oknation.net/