วัดพระธาตุจอมปิง

3

วัดพระธาตุจอมปิง ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 บ้านจอมปิง ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา อยู่ห่างจากอำเภอเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 26 กิโลเมตร ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาไทย วัดพระธาตุจอมปิงเป็นวัดโบราณ วัดนี้มีความมหัศจรรย์ของการเกิดเงาสะท้อนเป็นภาพสีธรรมชาติขององค์พระธาตุ ผ่านรูเล็กบนหน้าต่างมาปรากฏบนพื้นภายในพระอุโบสถตลอดเวลาที่มีแสงสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน

วัดพระธาตุจอมปิง บนเส้นทางจากตัวเมืองลำปางถึงอำเภอเกาะคาแล้วเลี้ยวซ้ายไปยังบ้านจอมปิง อีกประมาณ 13 กิโลเมตร ก็จะถึงยังบริเวณ วัดพระธาตุจอมปิง จะเห็นองค์พระธาตุสีทองตั้งเด่นอยู่ เข้าไปนมัสการองค์พระประธานในพระวิหารก่อน จากนั้นก็เดินไปยังโบสถ์หลังเก่าซึ่งตั้งขนานอยู่กับองค์พระธาตุ ตลอดเวลา ที่มีแสงอาทิตย์เมื่อเข้าไปยังโบสถ์หลังเก่า จะมีคุณลุงคอยบริการทุกท่านอยู่ ค่อยๆปิดประตูโบสถ์ความมืดเข้ามาแทนที่ สักพักเมื่อสายตาท่านปรับสภาพ เข้ากับความมืดได้แล้ว มองบนกระดานผ้าขาวที่คุณลุงปูไว้ ท่านก็จะเห็น เงาพระธาตุที่ผ่านมาทางรอยแตก จากบานหน้าต่างของโบสถ์ เงาพระธาตุสีทองเห็นเด่นชัดบนผ้าขาวน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ประวัติวัดพระธาตุจอมปิง วัดพระธาตุจอมปิง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 บ้านจอมปิง ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จากตัวเมืองลำปางไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะทาง 26 กิโลเมตร พระนางจามเทวี ขณะมาสร้างวัดพระธาตุลำปางหลวงเสร็จแล้วก็ได้มา สร้างวัดพระธาตุจอมปิงอีก จากนั้นวัดก็ร้างไป Read more »

วัดสบปุง จ.ลำปาง

266349

วัดสบปุง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔๖ บ้านสบปุง หมู่ที่ ๑๑ ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๕๑ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือ ประมาณ ๖๓ เมตร จดถนน ทิศใต้ ประมาณ ๖๓ เมตร จดถนน ทิศตะวันออก ประมาณ ๕๔ เมตร จดสวนเอกชน ทิศตะวันตก ประมาณ ๖๐ เมตร จดถนน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ วิหาร ปูชนียวัตถุ มีพระประธานทองสำริด พระพุทธรูปปูนปั้นและ เจดีย์

วัดสบปุง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๒ เมตร การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาส จำนวน ๑๐ รูป ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๓ –๒๔๕๓ พระอธิการอินต๊ะ พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๐ พระอธิการยะ พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๖๗ พระอธิการบุญธรรม พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๗๕ พระอธิการปุก พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๘ พระอธิการผัด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๖ พระอธิการเป็ง พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๕๒๑ พระอธิการบุญมา พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๕ พระประสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๒๕-๒๕๒๖ พระอินแก้ว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๖ พระจำปา คนฺธวํโส เป็นเจ้าอาวาส การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดศาลาหม้อ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

วัดศาลาหม้อเดิมตั้งอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำวังก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ 2385-2390 โดยใช้ชื่อว่า”วัดบ้านหม้อคามวาสี”หรือ”วัดบ้านหม้อแก้วกว้างท่าต๊าง”หรือ”วัดเงินหม้อ”จากการค้นคว้าเอกสารโบราณที่มีอยู่ในวัดบ้านหม้อนี้เป็นหน้าคัมภีร์ใบลานต่างๆพบนามเจ้าอาวาสปรากฎชื่อ”ครูบาเจ้าพิมพิสาร”หรือบางเล่มปรากฎชื่อว่า”พระมหาพิมพิสารัสสะสาลาคบุตโต”ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นศิษย์ของท่านครูบาเจ้าญาณสมุทร สำนักวัดศาลาหลวงนั่นเอง ช่วงสมัยที่ครูบาเจ้าพิมพิสารเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาหม้อนั้น ท่านก็ได้ก่อสร้างอาคารเสนาสนะต่างๆขึ้นมาใหม่เช่น พระวิหาร เจดีย์ น่าเสียดายที่องค์เจดีย์เก่าถูกลักลอบขุดโค่นล้มลงเมื่อราวหลายร้อยปีที่ผ่านมา เจ้าอาวาสวัดบ้านหม้อรูปที่ 2 คือครูบาเจ้าอภิวงศ์(อภิวังโสภิกขุ)ผู้ที่มีความรู้แตกฉานมากมายทั้งในทางโลกและทางธรรมแต่ทางเราไม่พอทราบประวัติของท่านมากนักจึงขออภัยทุกท่านที่อ่านด้วย เจ้าอาวาสวัดบ้านหม้อรูปต่อมาคือ ครูบาคันธะวัง(ครูบาจั๋นคำ คนฺธวํโส)ช่วงครูบาจั๋นคำเป็นช่วงสำคัญมากเพราะมีเหตุต้องย้ายวัดเนื่องจากวัดบ้านหม้อเดิมนั้นได้ถูกกระแสน้ำวังเชี่ยวพัดพาอย่างแรงทำให้วัดจมลงไปใต้น้ำ ครูบาจึงต้องสั่งย้ายมาสร้างวัดใหม่ ณ ที่ปัจจุบันนี้ห่างจากแม่น้ำวังประมาณ 300 เมตรซึ่งมีหลักฐานการตั้งวัดศาลาหม้อใหม่ตามจารึกในแผ่นไม้เก่าความว่า”ตั้งวัด…ปีเถาะเดือนสี่เหนือ ขึ้น7 ค่ำ จ.ศ.1291 พ.ศ.2469 สร้างวิหาร พ.ศ.2478 สร้างพระเจ้า พ.ศ. 2484 หมายมีครูบากันธวังเป๋นเก๊าพร้อมด้วยศิษย์ทุกองค์ หนปายนอกหมายมีพ่อหนานต๋า พร้อมด้วยเฒ่าแก่ทุกคนพากั๋นคิดสร้าง….นิพานํปรมํสุขํ..” ครูบาจั๋นคำมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2487 ชาวบ้านได้ร่วมกันส่งสการครูบาในเดือนเกี๋ยง(หลังออกพรรษา)ปีนั้นเอง ต่อมาก็ได้นิมนต์พระเสาร์(ตุ๊เจ้าเสาร์)มาอยู่รักษาการอยู่ไม่นานก็ย้ายไปที่อื่น ช่วงนั้นเองก็มีพระบุญมีได้มาจำพรรษาโดยมีบันทึกเขียนไว้ว่า”ข้าพเจ้าพระบุญมี มาอยู่วัดศาลาหม้อเมื่อเดือนยี่พร่ำว่าได้วันพุธปี 2495″ หลังจากนั้นพระบุญมีอยู่ได้ ๒-๓ พรรษาก็ลาไปวัดอื่น ต่อมาชาวบ้านก็ได้กราบอาราธนานิมนต์ตุ๊เจ้าจัยหรือท่านพระอธิการศรีชัย ญาณวโร Read more »

วัดบ้านใหม่ จ.ลำปาง

270370

วัดบ้านใหม่ ตำบลวังเหนือ จังหวัดลำปางมีเนื้อที่และธรณีสงฆ์รวม ๑๑ ไร่ ๑ งาน สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๐ โดยการนำของครูบาชินะ พ่อเท้าก๋าและศรัทธา๑๕ ครอบครัว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๙๒ ฝังลูกนิมิต ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๔๙๖

มีส่วนช่วยฟื้นฟูงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมเช่น งานประเพณี งานวันสำคัญทางศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา ส่งเสริมงานทางด้านคุณธรรมจริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียนตลอดจนประชาชนทั่วไป ปัจจุบันมีพระครูวรธรรมานุสิฐ เป็นเจ้าอาวาสวัด

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดนางแตน จ.ลำปาง

266358

วัดนางแตน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๑ บ้านนางแตน หมู่ที่ ๑ ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๑๕ ตารางวา ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๕๓ อาณาเขต ทิศเหนือ ประมาณ ๓ เส้น จดบ้านราษฎร ทิศใต้ ประมาณ ๒ เส้น ๑๕ วา จดสวนเอกชน ทิศตะวันออก ประมาณ ๑ เส้น ๑๑ วา จดสวนเอกชน ทิศตะวันตก ประมาณ ๑ เส้น ๑๑ วา จดทางสาธารณะ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ กุฏิ วิหาร และหอฉัน ปูชนียวัตถุ มีพระประธานก่อด้วยอิฐปางสมาธิ

วัดนางแตน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ เดิมใช้ชื่อว่า วัดเศรษฐีนางแตน การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาส จำนวน ๑๐ รูป ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒๘ –๒๔๓๗ พระวงค์ธรรมจา พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๕๐ พระดวงแก้ว พรหมเสน พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๔๕๘ พระอินปัน มังกร พ.ศ. ๒๔๕๙-๒๔๖๒ พระมูล พยอม พ.ศ. ๒๔๖๓-๒๔๖๘ พระผัด รังสรรค์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๗๕ พระเทียน อ่อนหวาน พ.ศ. ๒๔๗๖-๒๕๗๙ พระหมื่น สุภาวดี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๕ พระมูล สุภาวดี พ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๙๗ พระหล้า กันทะวัง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๙ พระอธิการชรัต อริโย เป็นเจ้าอาวาส

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัอท่าช้าง จ.ลำปาง

วัดท่าช้าง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๐ บ้านท่าช้าง หมู่ที่ ๘ ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา

266285

จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑ ไร่ ๑๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือ จดถนนสาธารณะ ทิศใต้ จดถนนสาธาณะ ทิศตะวันออก จดที่ธรณีสงฆ์ ทิศตะวันตก จดถนนสาธารณะ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ วิหาร และ กุฏิ

วัดท่าช้าง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาส จำนวน ๖ รูป ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒๔ –๒๔๓๖ พระอินทจักร อินทจักโก พ.ศ. ๒๔๔๑-๒๔๕๓ พระกนช กนชวงฺโส พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๕๘๕ พระเสาร อุตฺตโม พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๙๑ พระเขียว ปภสฺสโร พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๕ พระคำ ฌานุตฺตโม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ พระอธิการอุดม อุตฺตโม เป็นเจ้าอาวาส

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดหนองหล่าย

309773

วัดหนองหล่าย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑ บ้านหนองหล่าย หมู่ที่ ๗ ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคาจังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒ งาน ๖๔ ตารางวา น.ส.๓เลขที่ ๓๙ อาณาเขต ทิศเหนือ จดลำเหมือง ทิศใต้จดหมู่บ้าน ทิศตะวันออก จดหมู่บ้าน ทิศตะวันตก จดแม่น้ำ ที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๓ งาน น.ส. ๓ เลขที่ ๒๙,๓๐อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ และ กุฏิ ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปโบราณ และพระบรมสารีริกธาตุ

วัดหนองหล่าย สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ ระหว่าง พ.ศ.๒๓๕๘-๒๔๐๐ พระถาวร ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒๔ –๒๔๔๔ พระวรรณ พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๔๕๐ พระวิชัย พ.ศ.๒๔๕๑-๒๔๕๕ พระชมพู พ.ศ. ๒๔๕๖ พระปัญญา พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๔๖๖ พระมงคลญาณ วิลาโส พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๑๑ พระอธิการบุตร กัลป์ยาณธมฺโม พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๖ พระประหยัด พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๐ พระอินสม พ.ศ. ๒๕๒๑ พระสุเทพ พ.ศ. ๒๕๒๒ พระเกรียงศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๒๓ พระบุญเย็น พ.ศ. ๒๕๒๓ พระครูอนุกูล คณารักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ พระอธิการสิทธิชัย จิตวิโร เป็นเจ้าอาวาส

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดสันทุ่งแฮ่ม

296959

วัดสันทุ่งแฮ่ม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๘ บ้านทุ่งเจริญ หมู่ที่ ๗ ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคาจังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๑๓ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๕๐ เมตร จดลำเหมือง ทิศใต้ประมาณ ๑๔๐ เมตร จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออก ประมาณ ๓๑๗ เมตร จดลำเหมือง ทิศตะวันตกประมาณ ๔๐๐ เมตร จดไร่นาประชาชน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ กุฏิ ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูป ธรรมมาสน์ และเจดีย์

วัดสันทุ่งแฮ่ม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม จำนวน ๑๐ รูป คือ พระอาจารย์ จันทร์ตุ้ย พระใจ๋ พระโอน พระบุญมา พระวงศ์ เตชวโร พระล้วน ถาวโร ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๓ –๒๕๒๓ พระสว่าง กลฺยาโณ พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๔ พระวิเชียร พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๗ พระบุญส่ง ปัญญาวชิโร และพระสมคิด ปริปุณโณ

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดม่อนศรีบุญโยง

309733

วัดม่อนศรีบุญโยง ตั้งอยู่เลขที่ ๙๔ บ้านหัวแต หมู่ที่ ๒ ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ๑ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๕๑ วา ๑ ศอก จดลำเหมือง ทิศใต้ประมาณ ๖๗ วา ๓ ศอก จดที่ดินของโรงเรียน ทิศตะวันออกประมาณ ๒๔ วา ๓ ศอก จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ ๕๔ วา จดที่สวนเอกชน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฎิ หอฉัน หอระฆัง และศาลาบาตร ปูชนียวัตถุ มี พระพุทธรูป ก่ออิฐถือปูน ศิลปะสุโขทัย เจดีย์และพระพุทธรูปองค์เล็ก

วัดม่อนศรีบุญโยง สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๖ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม จำนวน ๑๗ รูป คือ พระปัญญา พระแท่น พระมา พระอิ่นแก้ว พระอ๊อด พระตุ่น พระนา พระสุคำ พระสุนทร พระอิ่นคำ พระติ๊บ พระเจริญ พระบุญมี พระปัญญา พระสุนทร พระสมบูรณ์ พระจันทร์ และปัจจุบัน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ มีพระครูโสภิตตวงศ์ เป็นเจ้าอาวาส

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดน้ำล้อม จ.ลำปาง

155543
ตั้งอยู่เลขที่ ๕๗ บ้านน้ำล้อม หมู่ที่ ๓ ตำบลหลวงใต้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ๙๖ ตารางวา น.ส ๓ ก. เลขที่ ๙๐๗ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๑ เส้น ๙ วา จดหนองน้ำทิศใต้ประมาณ ๑ เส้น ๙ วา จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันออกประมาณ ๑ เส้น ๔ วา จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตกประมาณ ๑ เส้น ๔ วา จดลำเหมืองสาธารณประโยชน์ที่ ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๒ งาน ๓๗ ตารางวา น.ส ๓ ก. เลขที่ ๙๐๖ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญกุฏิ ศาลากลางน้ำ ศาลาบำเพ็ญกุศล หอระฆังและโรงครัว ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปก่ออิฐทอง ปางมารวิชัยและพระพุทธรูปทองสำริด ปางมารวิชัยและปางสมาธิ
วัดน้ำล้อม สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘ โดยพ่อเมืองแสนศรีสมบัติและครูบามหาวรรณ รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๒
มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร การบริหารแลการปกครองมีเจ้าอาวาสจำนวน ๙ รูป คือ
ครูบามหาวรรณ ครูบาเตจะ ครูบาน้อย ครูบาปัญญา ครูบาวงค์ พระบุญเป็ง พระบุญมา พระครูสารภิวัฒน์(พระอินปัน แก้วปัญญา) และพระมหาบุญปั้น สุภทโท ปัจจุบันมีพระสุรวุทธ สุรวฺโส อายุ ๒๘ ปี พรรษา ๗ รักษาการ เจ้าอาวาสวัด

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดผาท่า จ.ลำปาง

266381

วัดท่าผา ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๑ บ้านท่าผา หมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๔๐ ตารางวา น.ส.๓ ก. เลขที่ ๔๓๒๑ อาณาเขต ทิศเหนือ ประมาณ ๘๓ เมตร จดถนนสาธารณะ ทิศใต้ ประมาณ ๖๐ เมตร จดลำเหมืองสบปุง-สุสาน ทิศตะวันออก ประมาณ ๙๐ เมตร จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตก ประมาณ ๑๐๐ เมตร จดลำเหมืองสบปุง ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๔๘ ตารางวา น.ส.๓ ก. เลขที่ ๔๓๒๐,๔๓๔๙ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิและวิหาร ปูชนียวัตถุ มีพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยเชียงแสน เจดีย์รูปทรงส่วนบนเป็นแปดเหลี่ยมคล้ายดอกจำปา พระพุทธรูปสำริดศิลปะล้านนาสุโขทัย (สุโขทัยตะกวน) พระพุทธรูปสิงห์สามและธรรมาสน์ศิลปะลานนา

วัดท่าผา สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๐๐ เป็นวัดอยู่ริมท่าน้ำและในบริเวณวัดขุดลงไปไม่ถึงเมตรจะพบศิลาซับซ้อนเป็นชั้น ๆ พื้นบ้านเรียกว่า ผา จึงขนามนามว่า วัดท่าผา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.๒๔๐๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๔.๓๐ เมตร ยาว ๑๔.๓๐ เมตรการบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส จำนวน ๗ รูป คือ ครูบามหาป่าเทวะ ครูบามหาป่าธรรมปาละ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๘ –๒๔๘๐ ครูปาปินตา ปินโท พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๙๓ เจ้าอธิการอภิวงศ์ อภิวํโส พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๕ พระอินถา อานนฺโท พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๖ พระอธิการดี ญาณลงกาโร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ พระครูปัญญาศีลวิมล เป็นเจ้าอาวาส การศึกษามีโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอน พ.ศ. ๒๔๗๖

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

 

วัดพระธาตุดอยน้อย จ.ลำปาง

prajd29m1

ในวันอังคารขึ้น 15 ค่ำของทุกเดือนชาวบ้านสันทราย(บ้านทรายคำเดิม) ได้เห็นรัศมีแสงสว่างปรากฏขึ้นที่วัดดอยน้อย ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร ชาวบ้านเห็นเป็นปาฏิหารย์จึงตกลงกันมานิมนต์พระอาโนจัย วัดปงสนุก ขึ้นไปพักที่วัดดอยน้อย เพื่อเตรียมตัวประกาศเชิญชวนแก่ชาวบ้านใกล้เคียง และหมู่บ้านใกล้เคียง จัดหาเครื่องไทยทาน พร้อมทั้งตุงเหล็ก ตุงทอง ตุงเงิน ตุงทราย
ต่อมาในวันพุธ เดือน 8 ขึ้น 8 ค่ำ จุลศักราช 1257 (พ.ศ. 2439) ตรงกับปีมะแม จึงได้เชิญเจ้าแข่ว และเจ้านายที่อยู่ใกล้เคียงให้มาร่วมงาน จากนั้นได้จัดเตรียมเครื่องไทยทาน และตุงทั้ง 4 ถวายแด่ท้าวทั้ง 4 ทิศ (ท้าวจตุโลกบาล) รวมทั้งมหาพรหม ครูบาอาจารย์ และร่วมกันอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ของให้ดลบันดาลให้พวกข้าพเจ้ารู้ที่อยู่แห่งองค์พระธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่ได้อาราธนาเสร็จแล้ว พระอาโนจัยและพระภิกษุทั้งหลายที่ไปร่วมกับเจ้าแข่ว และคุณนายทั้งหลายรวมทั้งชาวบ้านหญิงชายได้ลงมือขุดค้น รื้อถอนรากไม้และเศษอิฐ แล้วนำมาคัดแยกเป็นแต่ละชนิด แล้วนำมารวมกันจดลงทะเบียนแยกเป็นประเภทอิฐ หิน และขุดค้นเรื่อยมาจนถึงวันพุธ แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ชาวบ้านบ้านแม่ปุ้ม ได้ขุดพบขุมยนต์ซึ่งก่อไว้ด้วยคอนกรีตจึงงัดแงะแล้วทุบจนแตกจึงเห็นเป็นเรืออยู่ภายใน ภายในเรือประดิษฐานด้วยเจดีย์ทองคำ(พระธาตุเจ้าองค์คำ)ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มี 6 สี เช่น ขาว เหลือง แสด แดง ชมพู และส้ม ลักษณะเท่าเมล็ดข้าวเปลือกบ้าง เมล็ดข้าวสารหักครึ่งบ้าง เท่าเมล็ดงาหรือเมล็ดผักกาดก็มี นับรวมกันได้ 322,200 เมล็ด (ดวง) จึงได้นำมารวมกันและนำไปเก็บไว้ที่วัดดอยน้อย
ต่อมาในวันรุ่งขึ้น(วันพฤหัสบดี เดือน 8 แรม 8 ค่ำ) พระภิกษุและชาวบ้านได้ร่วมมือสร้างหอประถาเสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ในหอประถาที่สร้างนั้น จึงจัดพิธีสรงน้ำพระธาตุโดยเริ่มตั้งแต่ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 (ภาคเหนือเรียกว่าออก 8 ค่ำ เดือน 8) จนถึงวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 9 ปีฉลู (ภาคเหนือเรียกว่า เดือน 9 ออก 13 ค่ำ วันพุธ ปีเป้า)

Read more »

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเกาะคา จ.ลำปาง

วัดพระธาตุลำปางหลวง

เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย มีความสวยงามและอลังการด้วยศิลปะสถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้น ในแนวกำแพงใหญ่ที่ทอดยาวกั้นทุกอย่าง ไว้ในบริเวณวัด ส่วนบันไดด้านหน้าเป็นนาค สองชั้น หัวนาคชั้นแรกเป็นมังกรคล้ายนาค ตามคตินิยม ทางเหนือ ชั้นที่สองเป็นหัวนาคหัวเดียว เดินขึ้นไปตามบันไดนาคจนถึงประตูซุ้มโค้งหรือประตูโขง ที่ส่วนบนมีลายปูนปั้นเป็นกรองวิมาน มีนาคและหงส์ตามชั้นต่าง ๆ จนถึงยอดดูสวยงามยิ่ง ข้างบน ด้านหน้าจะเป็นพระวิหารหลวง เป็นวิหาร เปิดโล่งขนาดใหญ่ เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรม เก่าแก่ มากมายได้แก่พระธาตุลำปางหลวง, วิหารหลวง, วิหารพระพุทธ, ซุ้มพระบาท, กุฏิพระแก้ว, วิหารพระเจ้าศิลา และพิพิธภัณฑ์ ภายในบริเวณวัด
พระเจ้าล้านทอง อยู่ในวิหารหลวง มีกู่สีทองซึ่งบรรจุพระเจ้าล้านทอง เป็นประธานของพระวิหาร หลังพระวิหารหลวง เป็นเจดีย์ประธานทรงกลมแบบลานนาไทย บนฐานสูงมีกำแพงแก้ว ลูกกรง สำริดยอดดอกบัวล้อมเป็นรูปจัตุรัส ส่วนองค์เจดีย์นั้นบุด้วยแผ่นทองแดงปิดทอง ทางเหนือ เรียกว่า ทองจังโก ตามแผ่นโลหะเหล่่านี้มีลายสลักคนเป็นลวดลายแบบต่าง ๆ เกือบไม่เหมือน กันสักแผ่น เดียว ท่านใดที่มีราศีเกิดกับปีฉลู (ปีวัว) อย่าลืมนำวัวมานมัสการพระธาตุเพื่อ สะเดาะเคราะห์ และขอโชคลาภ

วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้างแต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันไดเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมาร วิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสนและยังปรากกเงาพระธาตุในวิหารอีกด้วย เมื่อหันหน้าเข้าวิหารหลวง ด้านขวามือ คือ วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (“แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2044 เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหนึ่งทางภาคเหนือภายใน เป็้นรูปแบบของถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดานกำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลาย ทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสอง ที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุดและ หลงเหลือเพียง แห่งเดียว ในเมืองไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียน ลบเลือนไปมากและประดิษฐาน พระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร

Read more »

ร่วมบุญสร้างกุฏิทรงไทย วัดกระโดน โคราช-มอบตะกรุดเพ็ชรคง

พระครูสาทรปริยัติคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเสมียนนารี พระอารามหลวง เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยกุฏิวัดกระโดน ต.กระโดน อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นกุฏิที่ก่อสร้างด้วยไม้และมีอายุการใช้งานมานานกว่า 60 ปี ขณะนี้ชำรุดทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา ไม่ปลอดภัยในการให้พระสงฆ์พักจำพรรษา คณะกรรมการวัดหนองกระโดนจึงได้ตัดสินใจรื้อออกทั้งหลัง โดยย้ายพระให้ไปพักที่ศาลาการเปรียญชั่วคราว

พระครูสาทรปริยัติคุณเปิดเผยว่า ในฐานะที่เป็นผู้มีถิ่นฐานบ้านเกิดอยู่ที่ ต.กระโดน อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีส่วนรับผิดชอบในการพัฒนาวัด โดยเมตตาของพระราชศาสนกิจโสภณ เจ้าอาวาสวัดเสมียนนารี อนุญาตและสนับสนุนให้ตนนำคณะสงฆ์และญาติโยมชาววัดเสมียนนารีร่วมก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ เช่น อุโบสถ องค์พระเจดีย์ศรีอนันตสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งในการสร้างกุฏิสงฆ์ครั้งนี้ พระราชศาสนกิจโสภณ ในฐานะเป็นประธานที่ปรึกษาเห็นสมควรว่าควรสร้างเป็นทรงไทย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาว 29.50 เมตร ความกว้าง 28.50 เมตร สูงสองชั้น มียกพื้นหอฉัน หอสวดมนต์ เป็นต้น กำหนดมงคลพิธีวางศิลาฤกษ์

เนื่องในโอกาสอันเป็นมงคลพิธีวางศิลาฤกษ์นี้ ได้รับเมตตาจากหลวงพ่อสุพจน์ จันทูปโม วัดศรีทรงธรรม อ.บรรพตพิสัย จ.นคร สวรรค์ พระเกจิคณาจารย์ชื่อดัง มอบตะกรุดเพ็ชรคง ซึ่งมีจำนวนเพียง 500 ดอก ปลุกเสกพิเศษ 3 วาระ มีพุทธคุณด้านแคล้วคลาดปลอดภัย วัตถุมงคลนี้จะมอบให้กับคณะเจ้าภาพและผู้ไปร่วมพิธีทุกคน พร้อมทั้งแจกเหรียญมงคลนามสามบูรพาจารย์ “คง คูณ ดี” จัดสร้างเมื่อปีพ.ศ.2539 ซึ่งเหลืออยู่ที่วัดจำนวนไม่มาก จึงขอเชิญชวนท่านสาธุชนผู้ใจบุญทั้งหลายได้เป็นเจ้าภาพและสละเวลาไปร่วมพิธีในครั้งนี้ ผู้มีความประสงค์จะร่วมเป็นเจ้าภาพติดต่อสอบถามที่ พระครูสาทรโสภณปริยัติคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเสมียนนารี โทร.0-2954-4832, 09-5940-9199

ขอขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/

พระผงสมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน ปี พ.ศ.2519

สมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน มีพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือมานาน มีประสบการณ์มากมายจากผู้บูชาจนถึงขนาดตั้งเนื้อตั้งตัวกันได้ ยกตัวอย่างประสบการณ์มาบางส่วนที่มีผู้เล่า

” นางพญางิ้วดำ แม้ไม่ใช่คำใหม่สำหรับผมแต่กับของจริงก็ยังไม่เคยได้เห็นสักที ได้ยินแต่เขาเล่ามาตลอดอายุขัย จนวันหนึ่งในปี พ.ศ. 2543 เพื่อนสนิทที่สุดของผมคนหนึ่ง ขออนุญาตเอ่ยนามเลยว่า คุณภิญโญ เขียนสุวรรณ ได้ประสบมรสุมชีวิตลูกใหญ่ที่สุดอย่างไม่เคยเจอมาก่อน ผมไม่เคยเห็นเขาทุกข์ขนาดนี้ ไม่เคยได้ยินคนเก่งที่สู้ชีวิตมาตลอดวัยจะพูดว่า “อยากตาย”

ไม่ต้องเล่าให้ผมฟังหรอกว่าเรื่องคืออะไร แต่คำว่าอยากตายนั่นก็หมายถึงเรื่องต้องไม่ใช่เล็กน้อยจนพอจะแบกไหว ผมเองก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไรเพราะแต่ละเรื่องคือสิ่งที่ผมก็สุดปัญญา โดยเฉพาะหนี้ที่มีเกือบ 3 แสนบาท

เขาเฝ้าอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระสงฆ์ที่เชื่อถือศรัทธามาตลอด 2 ปี ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น จนวันหนึ่งเกิดคิดเบื่อชีวิตสุด ๆ จึงนั่งรถเรื่อยเปื่อยไปลงหมอชิตและต่อรถไปโคราชโดยลำพัง ถึงโคราชก็เกือบสี่ทุ่ม จึงเข้าไปกราบย่าโมแล้วแวะนอนโรงแรมจิ้งหรีดละแวกนั้นคืนละ 150 บาท

ตีสี่กว่าของวันอาทิตย์ก็ลุกขึ้นไปถามหาวัดใหม่บ้านดอนที่ท่ารถ ปรากฏว่าต้องนั่งรถโดยสารย้อนออกจากเมืองเพราะวัดอยู่นอกเมืองห่างไป 13 กิโลเมตร พอได้รถสองแถวใหญ่ก็นั่งย้อนกลับมาจนพบวัดสมใจ

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .