ประวัติวัดราชนัดดารามวรวิหาร–วัดราชนัดดารามวรวิหาร/ Wat Ratchanatdaram

e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b899e0b8b1e0b894e0b894e0b8b2-1

วัดราชนัดดารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนมหาชัยที่ตัดกับถนนราชดำเนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศและป้อมมหากาฬ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับถนนราชดำเนินกลาง จรดลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
หรือศาลารับแขกเมือง และพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทิศใต้ จรดคลองวัดเทพธิดาราม
ทิศตะวันออก จรดถนนมหาชัย ฝั่งตรงข้ามเป็นป้อมมหากาฬ และแนวกำแพง
พระนครเดิม
ทิศตะวันตกจรดถนนซอยวัดราชนัดดาราม ถนนบ้านดินสอ

วิหารนอกเขตวัดด้านทิศเหนือ ถนนราชดำเนินกลาง เป็นบริเวณที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่ง
พระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงปกครองกรุงรัตนโกสินทร์ระหว่างพุทธศักราช ๒๓๖๗-๒๓๙๔ เจริญรุ่งเรืองยิ่งด้วยเศรษฐกิจ การเมือง การปกครองและศิลปวัฒนธรรม ทรงสถาปนาวัดราชนัดดารามวรวิหาร พุทธสถาน โลหะปราสาท ซึ่งปัจจุบันมีเพียงแห่งเดียวในโลก และวัดเทพธิดารามวรวิหาร พระอารามที่ประดิษฐานอยู่เคียงข้างด้านทิศใต้

มูลเหตุการสร้างวัด
ในปี พ.ศ. ๒๓๘๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารถจะ สร้างพระอาราม เพื่อให้ปรากฏเป็นเกียรติยศ แก่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ได้สถาปนาเป็นสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี พระมเหสีองค์แรก ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (บุนนาค ต้นสกุล ยมนาค) อธิบดีกรมนครบาล เลือกหาสถานที่สร้างพระอารามเจ้าพระยายมราชเลือกได ้สวนผลไม้ริมกำแพง พระนคร ด้านตะวันออก ของพระบรมมหาราชวัง เป็นพื้นที่ ๒๕ ไร่เศษ กว้างประมาณ ๕ เส้น ๔ วา ๒ ศอก ยาว ๕ เส้น ๒ ศอก กล่าวว่าพื้นที่ขณะนั้นมีเขตติดต่อกับบ้านของพระ กฤษณุรักษ์ พระรามวิไชย และนางจันทร์ภรรยาหลวงอภัยพิทักษ์ เจ้าพระยายมราชได้ ทำแผนที่ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ปรากฏว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงโปรดเกล้าให้ เจ้าพระยายมราชทำแผนผังสิ่งก่อสร้างในพระอาราม โดยมีพระราชกำหนดว่า ให้มีสิ่งก่อสร้างประกอบไปด้วย พระอุโบสถ พระวิหาร การเปรียญ โลหะปราสาท และกุฏิสงฆ์

ขอขอบคุณ http://www.dooasia.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .