Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคตะวันออก’ Category

จุดบูชา ขอพรพระพิฆคเนศองค์โต ที่วัดสมาน

4ae61df938dbf9113dab3114262d354e

พระพิฆเนศ ถือเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ ความสำเร็จ เป็นมหาเทพที่คนไทยนับถือมากองค์หนึ่งค่ะ ซึ่งเรามักจะขอพรท่านในด้านต่าง ๆ และพระองค์ย่อมประทานพรให้สมปรารถนาเสมอ เช่น ด้านการศึกษาเล่าเรียน , ตำแหน่งหน้าที่การงาน , การเงิน , ความรัก , ปัดเป่าอุปสรรคทุกข์ภัยหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนขอให้ทุกอย่างประสบผลสำเร็จ เป็นต้น

ดังนั้นวันนี้ จึงถือโอกาสดี พาทุกคนออกเดินทางไปสักการะ ขอพร องค์พระพิฆเนศ ที่มีความพิเศษกว่าปกติ กล่าวคือ เราจะไปกราบไหว้ พระพิฆเนศปางนอนเสวยสุข ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ วัดสมานรัตนาราม จ.ฉะเชิงเทรา ค่ะ

วัดสมานรัตนาราม (ใหม่ขุนสมาน) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง หมู่ที่ 11 ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ค่ะ ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของ วัดสมานรัตนาราม นี้ กล่าวกันว่า…อยู่ในตำแหน่ง ฮวงจุ้ยมงคล หรือเป็นตำแหน่ง ถุงเงินถุงทอง ที่ถือเป็นจุดรับทรัพย์ที่ดีมาก ๆ
ส่วนการก่อสร้างวัดนั้นตามประวัติบอกไว้ว่า วัดนี้สร้างขึ้นจากความต้องการของภรรยาทั้ง 2 ของ ท่านขุนสมานจีนประชา คือ นางทิม สืบสมาน และ นางผ่อง สืบสมาน (เพิ่มนคร ) พร้อมทั้ง นางยี่สุ่น วิริยะพานิช (น้องสาวของขุนสมาน) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ ท่านขุนสมานจีนประชา ภายหลังจากที่ท่านถึงแก่อนิจกรรมค่ะ

Read more »

วัดสมานรัตนราม

E12191195-0

ในคราวที่พระศิวะทรงไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานาน พระแม่ปารวตี ประสงค์ที่จะมีผู้คอยดูแลพระองค์และป้องกันคนภายนอกที่จะเข้ามาก่อความวุ่นวายในพระตำหนักจึงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อน

เมื่อองค์ศิวเทพเสด็จกลับมาและจะเข้าไปพระตำหนักก็ถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นใครและไม่รู้ว่าเด็กหนุ่มเป็นโอรสที่พระแม่ปารวตีได้เสกขึ้นมา เมื่อถูกขัดใจก็ทรงพิโรธและตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้ พลางถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใครเพราะตนกำลังทำตามบัญชาของพระแม่ปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรง ในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของมหาเทพจนสิ้นใจ และศีรษะก็ถูกตัดหายไป

พระแม่ปารวตีถึงกับสิ้นสติเมื่อเห็นร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ และเมื่อได้สติก็ทรงตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำร้ายเด็กได้ลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กนั้นเป็นพระโอรสของพระนางเอง

เมื่อได้ยินพระนางตัดพ้อต่อว่า องค์มหาเทพก็ทรงตรัสว่าจะทำให้เด็กนั้นกลับพื้นขึ้นมาใหม่ แต่หาศีรษะที่หายไปไม่ได้และยิ่งใกล้เวลาเช้า หากดวงอาทิตย์ขึ้น จะไม่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้

Read more »

วัดสมานรัตนาราม

watsaman1

วัดสมานรัตนาราม ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอบางคล้า และอำเภอคลองเขื่อน ริมแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็น วัดที่มีองค์พระพิฆเนศปางนอนเสวยสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สูง 16 เมตร ยาว 22 เมตร เนื้อชมพู เป็นพระพิฆเนศปางนอนเสวยสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลักษณะกึ่งนั่งนอนตะแคง โดยพระหัตถ์ซ้าย ถืองาที่ หัก พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว โดยรอบฐานมีพระพิฆเนศ 32 ปาง ให้ได้ขอพรสักการะความหมาย ของ พระพิฆเนศ ปางนอนเสวยสุข คือ ความสุขสบาย ความสุขบริบูรณ์มั่งคั่งพร้อมทุกด้าน รื่นรมย์ ไร้ทุกข์ ไร้ความ เศร้าหมอง อิ่มหนำสำราญ มีกิน มีโชคลาภ จะนำความความสุขสบายมาสู่ผู้บูชา ถือเป็นมหามงคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่คู่ ประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทราอีกด้วย

บริเวณด้านหน้าพระพิฆเนศ จะมีปูนปั้นรูปหนูอยู่สองตัว ชื่อว่าหนูมุสิกะ ซึ่งเป็นต้นห้องของพระพิฆเนศ ซึ่งจะมี นักท่องเที่ยวต่อแถวยาวยืนกระซิบที่รูปปั้นหนูนั้น เชื่อว่า ถ้าอยากได้สิ่งใด ขอพรสิ่งใดให้สมหวัง ให้ไปกระซิบที่หู หนู แล้วหนูจะนำสิ่งที่เราขอนั้นไปบอกท่านพระพิฆเนศให้ประทานสิ่งที่ต้องการกลับมา และที่สำคัญอย่าลืม ติดสิน บนหนูด้วย โดยการทำบุญใส่ตู้ที่วางไว้ด้านหน้าเขามีเคล็ดลับอีกอย่างในการขอพรคือ เวลาไปกระซิบบอกท่านหนู ให้เราเอามืออีกข้างอ้อมไปปิดรูหูของท่านหนูอีกข้างด้วย ทั้งนี้เพราะป้องกันการฝากขอพรจะไม่เข้าหูซ้าย ทะลุ ออกไปหูขวานั่นเองภายใต้ฐานพระพิฆเนศ เป็นห้องจัดแสดงวัตถุมงคลได้เปิดให้ประชาชนเข้าชม และสำหรับผู้ที่ ต้องการบูชาองค์พระพิฆเนศ

Read more »

วัดเสม็ดเหนือ

497245

วัดเสม็ดเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ 52 บ้านหมู่ใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลเสม็ดเหนือ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

วัดเสม็ดเหนือ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2419 เดิมชื่อ วัดทุ่งเสม็ด เริ่มแรกตั้งวัดมีเนื้อที่เพียง 3 ไร่เศษ ต่อมาปี พ.ศ. 2445 จีนเล็ก งามสง่า ได้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ ดินถวายวัด จำนวน ๘๗ ไร่ และได้ช่วยพัฒนาและอุปถัมภ์วัดมาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระเต่า รูปที่ 2 พระกวย รูปที่ 3 พระจำรัส รูปที่ 4 พระครูบริรักษ์วรเขต พ.ศ. 2487- 2539 รูปที่ 5 พระครูศุภกิจจานุกูล พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน

วัดเสม็ดเหนือ เป็นวัดเก่าแก่ประจำหมู่บ้าน เป็นสถานที่ที่ประชาชนในหมู่ 1 ตำบลเสม็ดเหนือและชุมชนใกล้เคียง ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี พุทธศาสนิกชน นิยมมากกราบไหว้ขอพร ขอโชค ขอลาภกับพระสิวลีและเรือเจ้าแม่ตะเคียนอายุกว่า 492 ปี อีกทั้งชมโบสถ์เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี มีวิหารหลวงพ่อชิต อดีตเจ้าคณะอำเภอบางคล้า ซึ่งเป็นที่เคารพของคนในท้องถิ่น

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดเสม็ดเหนือ (ราษฎร์ยินดี)

วัดเสม็ดเหนือ (ราษฎร์ยินดี)

pc376

เดิมชื่อวัดทุ่งเสม็ด ตั้งอยู่ในตำบลเสม็ดเหนือ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ พุทธศาสนิกชนนิยมมากราบไหว้ขอพร ขอโชคลาภกับพระสิวลี และเรือเจ้าแม่ตะเคียน อายุกว่า ๔๙๒ อีกทั้งชมโบสถ์เก่าอายุ ๑๓๐ ปี

Wat Samet Nuea (Rad Yindee)

The original name this temple was Wat Thoong Samet in Tambol Samet Nuea and was built in 1876.People come to pay respect to Pra Siwalee with 492 years old Takian Wood boat.
โทร./Tel. 0-3858-3054

ขอขอบคุณ http://www.chachoengsao.go.th/

วัดเสม็ดเหนือ, จังหวัด ฉะเชิงเทรา,

106aba0395e54b028b158a6c705ea66a

รายละเอียด : วัดเสม็ดเหนือเดิมมีชื่อว่า “วัดทุ่งเสม็ด” ชมโบสถ์เก่าแก่ที่มีอายุยาวนานมากว่า 130 ปี อักทั้งยังได้กราบไหว้ขอพร ขอโชค ขอลาภ กับพระสิวลีและเรือเจ้าแม่ตะเคียน อายุกว่า 452 ปีอีกด้วย
การเดินทาง : ใช้เส้นทางถนนสาย 304 มุ่งหน้าไปทาง อ.บางคล้า เส้นทางเดียวกับทางไปวัดสมานรัตนาราม ผ่านปาททางเข้าวัดสมานไปประมาณ 7 กิโลเมตร จะเห็นทางเข้าวัดหัวเสม็ดเหนืออยู่ทางขวามือ ให้ชิดขวาเพื่อกลับรถ จากปากซอยเข้าไปประมาณ 700 เมตร จะเห็นวัดอยู่ทางซ้ายมือ

ขอขอบคุณ http://www.zeekway.com/

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์หรือวัดเมือง

20100905005314

วัดนี้ถือว่าเป็นวัดทื่มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคนั้น เพราะนอกจากจะได้รับ
พระราชทานวิสุงคามสีมากว้าง 17 เมตร ยาว 29.50 เมตรแล้ว สังเกตจาก
ศิลปะที่องค์พระปรางค์ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับพระปรางค์อัฐเคราะห์ในะ
วัดพรศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพมหานครมากจึงน่าเชื่อว่าคงจะได้ช่างฝีมือจากเมืองหลวง

รายละเอียด :วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์หรือวัดเมือง
วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์หรือวัดเมืองเป็นโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่สร้างขึ้นเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองของฉะเชิงเทรา
ใน พ.ศ. 2377 เมื่อมีการสร้างกำแพงเมืองเพื่อกำหนดขอบเขตของแปดริ้ว และ ให้เมืองนี้เป็นปราการรักษาพระนคร และชาวบ้านชาวเมืองให้ปลอดภัยจากข้า
ศึกศัตรูนั้น ศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ทำให้มีการสร้างวัดขึ้นมาด้วย เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองและเป็นที่พึ่งทางใจในยามสงคราม เนื่องจากวัดนี้ ตั้งอยู่ในเมือง ชาวบ้านจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ” วัดเมือง ” ต่อมาภายหลังเมื่อพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2451
จึงได้พระราชทานนามวัดว่า ” วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ” ซึ่งมีความหมายว่า
วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินสร้าง”

ขอขอบคุณ http://www.xn--l3cjf8d8bveb.com/

วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)

5458_1

วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์) ต.หน้าเมือง อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดเมือง” เนื่องจากศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นในตัวเมือง ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้านเมือง ต่อมาภายหลังจึงได้รับการพระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทราว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎ์” ความหมายว่า วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง สร้างด้วยสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพมหานคร นั่นคือมีพระปรางค์ย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์

การเดินทาง
ไปตามถนนมหาจักรพรรดิก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงเลี้ยวซ้ายไปตามถนนมรุพงษ์ซึ่งเป็นถนนเลียบแม่น้ำก็จะถึงวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

ขอขอบคุณ http://www.hotelsguidethailand.com/

วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)

วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์) อยู่ตำบลหน้าเมือง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2377 พร้อมๆ กับการสร้างป้อมและกำแพงเมือง โดยช่างฝีมือจากเมืองหลวง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพมหานคร ต่างกันเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น วัดนี้เดิมเรียกว่า วัดเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทราและได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” แปลว่าวัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง

ขอขอบคุณ http://www.annaontour.com/

ลานประหารวัดปิตุลาฯ

news_img_461239_1

ที่หมายปลายทางของผมคราวนี้อยู่ที่วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ หรือวัดหน้าเมืองของคนแปดริ้วนั่นเอง วัดนี้อยู่ริมถนนมรุพงษ์

ในเขตเมืองฝั่งเดียวกับวัดหลวงพ่อโสธร ริมแม่น้ำบางปะกง วัดนี้มีบางอย่างที่น่าสนใจ หนึ่งคือรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ก่อสร้างโบสถ์และวิหาร สองคือเหตุการณ์ที่โบสถ์แห่งนี้ไปเกี่ยวข้อง ในฐานะที่เป็น “ลานประหาร”

ผมไปค้นประวัติวัดแห่งนี้ เขาว่าอย่างนี้ครับ วัดแห่งนี้เป็นผลพวงมาจากการสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งท่านผู้อ่านคงจะเห็นว่าเดี๋ยวนี้เหลือกำแพงเมืองบางส่วนกับป้อมปราการ ซึ่งดูจากรูปทรงก็จะรู้เลยว่าสร้างอย่างแข็งแรง แล้วจะเห็นว่าป้อมเหล่านี้มักอยู่ริมน้ำ ก็เพราะว่าแต่ก่อนการติดต่อค้าขายก็มาจากทางน้ำทั้งนั้น ประเทศเล็กประเทศน้อยทางแถบเอเชียนี่ มีบทเรียนกับการเข้ามาของชาติตะวันตกมาแล้วทั้งนั้น

โดยเฉพาะบทเรียนแสบๆ พวกเล่นเอาเรือปืนแล่นเข้ามาตามแม่น้ำ แล้วหันปากกระบอกปืนขึ้นหาเมือง พร้อมยิงหากไม่ทำตามคำขอ พม่าก็เสียเอกราชให้แก่อังกฤษก็แบบนี้ พระนางศุภยลัต ขึ้นหอสูงกลางวังมัณฑะเลย์ เห็นเรือปืนอังกฤษลอยเต็มแม่น้ำอิระวดี ก็รู้ว่าชะตาสิ้นแล้ว ไทยเราก็โดนฝรั่งเศสมาข่มเหงถึงในบ้านเหมือนกัน (กรณีเหตุการณ์ ร.ศ.12) แต่ป้อมที่ฉะเชิงเทรานี้เพื่อป้องกันภัยจากญวนที่อาจมารุกราน (เพราะไทยกับญวนรบกันยาวนานถึง 15 ปี ในสงครามอันนามสยามยุทธ ในช่วง พ.ศ.2376-2390 ก็มีฝรั่งเศสอีกนั่นแหละมาเอี่ยว)

Read more »

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

pitula

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ หรือ วัดเมืองตั้งอยู่เลขที่ 156 บนถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นวัดเก่าแก่เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ.2377ภายในวัดมีสถานที่สำคัญคือ หอระฆัง เริ่มก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2478 โดยนางปุย กับ นางสาวแฝง ที่ได้รับการบริจาค และเพื่ออุทิศให้พระอินทราสา ซึ่งเป็นอดีตเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา และ ศาลกรมหลวงรักษ์รณเรศ เป็นศาลเจ้าเล็กที่มีศิลปะแบบจีน ที่ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2534 ในวัดมีพระอุโบสถหลังเก่า มี้ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 8 เมตร ในพระอุโบสถ พระอุโบสถได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่ติดกับแม่น้ำบางปะกง ส่วนพระวิหาร มีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร ฐานอยู่สูงกว่าระดับฐานพระอุโบสถประมาณ 0.90 เมตรอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ พระวิหารมีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลด 2 ชั้น ภายในวิหารมีพระประทานและพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอกเศษ จำนวน 4 องค์ และมีรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด มีภาพมงคล 108 หล่อในสมัย รัชกาลที่ 3

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ สร้างโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 และพร้อมๆ กับการสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา โดยฝีมือช่างปั้นจากเมืองหลวง วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพมหานคร วัดเดิมนี้ใช้เรียกว่าวัดเมือง แล้วในปี พ.ศ. 2451 ในสมัย รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระพาสเมืองฉะเชิงเทรา และทำการบูรณะวัดขึ้น ใหม่พระองค์ได้สถาปนาชื่อใหม่ว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” ซึ่งมีความหมายกับชื่อว่า วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง และได้ชื่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

Read more »

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

220774

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่๓๕ไร่๓งาน ๑๐ตารางวา ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๗๗ ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๘๕ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๓๙๕ วิสุงคามสีมากว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๙.๕๐เมตร

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ เดิมชื่อวัดหลักเมือง สร้างขึ้นโดยกรมหลวงรักษ์รณเรศธ์ (หม่อมเกสร) เมื่อครั้งเสด็จมาทรงสร้างป้อมปราการและกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ตามพระบรมราชโองการของพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๗ เนื่องจากวัดนี้สร้างขึ้นพร้อมกับกำแพงเมือง ชาวบ้านจึงเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดเมือง” ในปี พ.ศ. ๒๓๙๑ วัดได้ถูกเผาจากพวกกบฏอั้งยี่ จนกลายเป็นวัดร้างไประยะหนึ่ง และได้มีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยพระยาวิเศษฤาชัย (บัว) เจ้าเมืองฉะเชิงเทราสมัยนั้น

Read more »

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง)

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งตะวันตก บนถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายในบริเวณกำแพงแก้ว มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ มีพระอุโบสถ ๑ หลัง ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำ ด้านหลังมีพระวิหารอีก ๑ หลัง หันหน้าไปทางทิศเหนือ ในเขตกำแพงแก้วเป็นลานยกพื้นเทปูนไว้ พระอุโบสถและพระวิหารล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่และหนา ประกอบด้วยพระปรางค์หลายองค์ ที่บริเวณมุมของกำแพงแก้วมีลักษณะคล้ายกับพระปรางค์ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) จึงเป็นที่ยอมรับเชื่อถือกันว่าคงจะเป็นช่างฝีมือจากเมืองหลวงเป็นผู้ก่อสร้างปัจจุบันกำลังทรุดโทรมมาก

โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร) ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓๓ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ต้นราชกุล “พึ่งบุญ” ประสูติจากเจ้าจอมมารดา “น้อยแก้ว” เป็นแม่กองยกกำลังไปก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการดังกล่าว โดยมีพระอนุชาร่วมพระโสทร พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอภัยทัต หรือ “พระองค์เสือ” เป็นผู้ช่วยคุมงาน ในขณะที่เสด็จในกรมฯ ได้ทรงงานก่อสร้างป้อมปราการอยู่นั้น พระองค์ได้ทรงสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาพร้อมกันอีกด้วย เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับพระราชทานนามวัดอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตามพระฐานันดรศักดิ์ของเสด็จในกรมฯ ซึ่งเป็นอาของพระเจ้าแผ่นดินว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” แปลว่า วัดที่อาของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง (คำว่า ปิตุลา ตามพจนานุกรมแปลว่า ลุง อา (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ) ในที่นี้หมายถึง อา เพราะทรงเป็นพระอนุชาของรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเป็นพระราชบิดาของรัชกาลที่ ๓ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นลุง) แต่เดิมเรียกกันว่า “วัดหลักเมือง” หรือ “วัดหน้าเมือง” เพราะเป็นวัดสำคัญกลางใจเมืองเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดเมือง”

Read more »

เที่ยววัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)

วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)อยู่ตำบลหน้าเมือง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2377 พร้อมๆ กับการสร้างป้อมและกำแพงเมือง โดยช่างฝีมือจากเมืองหลวง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพ มหานคร ต่างกันเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น วัดนี้เดิมเรียกว่า “วัดเมือง” ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทราและได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” แปลว่าวัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง

ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษดิ์(วัดเมือง)

อยู่ตำบลหน้าเมือง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2377 พร้อมๆ กับการสร้างป้อมและกำแพงเมือง โดยช่างฝีมือจากเมืองหลวง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพมหานคร ต่างกันเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น วัดนี้เดิมเรียกว่า “วัดเมือง” ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทราและได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” แปลว่าวัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

. . . . . . .
. . . . . . .