Archive for the ‘วัดในเชียงใหม่’ Category

“วัดท่าใหม่อิ” เมื่อวัดกับสวนสวยเป็นเรื่องเดียวกัน

jdEfyZP

ถ้าพูดถึงวัด หลายคนคงนึกถึงปูชนียสถานต่างๆ ศาลาการเปรียญ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ฯลฯ ที่ตกแต่งสวยงามตามแบบฉบับของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อมองแล้วรู้สึกว่า “วัดนี้สวยดีเนอะ” แต่ใครจะไปคิดว่ามีอยู่วัดหนึ่ง (เท่าที่เคยไปเยี่ยมเยือนมานะคะ) ที่เมื่อแรกพบต้องอุทานว่า “เฮ้ย… นี่วัดจริงๆ เหรอ” เลยอดไม่ได้ที่จะเก็บภาพพร้อมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาฝากเพื่อนๆ “วัดท่าใหม่อิ” ตามไปดูกันเลยเถอะว่าวัดนี้มีดีอะไรบ้าง

วัดท่าใหม่อิ ตั้งอยู่บนถนนวงแหวนรอบนอก เชิงสะพานข้ามแม่น้ำปิง บ้านท่าใหม่อิ ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีอายุมากกว่า 500 ปี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยกทัพขึ้นมารบกับพม่า สันนิษฐานว่าชื่อวัดมีที่มาจากพระนาม “พระนางมณีจันทร์” พระชายาของพระนเรศวร ซึ่งเคยใช้พระนามแฝงว่า “แม่อิ” (เป็นคำขึ้นต้นของบทสวดอิติปิโส) เพื่อความปลอดภัย ชื่อนี้ได้กลายมาเป็นชื่อของวัด “วัดท่าอิ” ต่อมาเพี้ยนเป็น “วัดท่าใหม่อิ” จนถึงปัจจุบัน

พระวิหาร สถาปัตยกรรมล้านนา อาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ หน้าบันประดับด้วยงานแกะสลักไม้พรรณพฤกษาสีทองอร่าม ราวบันไดเป็นมกรคายนาคปากนกแก้วสีขาวสะอาดตา ภายในประดิษฐานหลวงพ่อมงคลพรหมวิหารบันดาลโชค พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระประธาน เสาแต่ละต้นและโครงสร้างของอาคารงดงามด้วยลายคำ ฝาผนังเขียนภาพจิตกรรมเล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดก มีความพิเศษตรงที่ใช้ทองคำเปลวประดับในบางจุดอีกด้วย

Read more »

ไปไหว้พระวัดท่าใหม่อิ

วัดท่าใหม่อิ 01

ไปไหว้พระทำบุญกับแม่ น้องสาวและน้องเขยมาครับ จริงๆไปมานานละแต่เพิ่งมีโอกาสได้เอามาลงบล็อก

สาเหตุที่แม่อยากไปไหว้พระที่วัดนี้ก็เพราะว่า มีญาติท่านนึงเคยไปมาก่อนแล้วมาเล่าให้แม่ฟังถึงความสวยงามร่มรื่น โดยเฉพาะไฮไลท์ที่กล่าวถึงความสวยงามของ “ห้องน้ำ้ลอยฟ้า” ของทางวัด

วัดท่าใหม่อิเป็นวัดเล็กๆ เนื้อที่วัดไม่ใหญ่โตมาก แต่ก็ใช้พื้นที่แต่ละตารางเมตรอย่างคุ้มค่า มีการตกแต่งวัดอย่างร่มรื่นยังกะรีสอร์ท นอกจากได้มาไหว้พระประธานในอุโบสถแล้ว ทั่วบริเวณวัดยังมีสิ่งศักดิื์ให้เคารพสักการะตามจุดต่างๆมากมาย ทั้งต้นโชค พระเจ้าทันใจ พระพิฆเนตร พระราหู พระประจำวันเกิด ฯลฯ
หน้าวัดมีวังมัจฉา มีตู้ปลาสวยงามตั้งโชว์ไว้หลายตู้ด้วยกัน Read more »

วัดท่าใหม่อิ จังหวัดเชียงใหม่

52-11-06-thamaii-88

วัดท่าใหม่อิ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๒ บ้านท่าใหม่อิ หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๙๖ ตารางวา
วัดท่าใหม่อิ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม ดังต่อไปนี้
รูปที่ ๑-๕ ไม่ทราบนามเจ้าอาวาส
รูปที่ ๖ พระหมู
รูปที่ ๗ พระปัญญา วิลงฺโส
รูปที่ ๘ พระบุญมา จิตฺตคุตฺโต
รูปที่ ๙ พระอธิการประพันธ์ ขนฺติโก
รูปที่ ๑๐ พระครูพิพิธธรรมทัต
รูปที่ ๑๑ พระมหาไพศาล ฐานวุฑฺโฒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าใหม่อิ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน

Read more »

วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร

watphrathatdoisuthep1

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์และเป็นวัดท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวไทยโดยทั่วไป ในฐานะที่เป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากวัดหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,053 เมตร อยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

องค์พระเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า ดอยสุเทพ แต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของฤาษี มีนามว่า สุเทวะ เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า เทพเจ้าที่ดี ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า สุเทพ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงได้ ชื่อว่า ดอยสุเทพ ซึ่งมาจากชื่อของฤๅษี คือสุเทวะฤาษี

ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้ากือนา ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพ โดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง 1 ใน 4 ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย (พระอารามหลวงหมายถึง วัดที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเจาอยู่หัวฯ) ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมาก เสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล

 

ในสมัยก่อน การขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากเหลือเกิน เพราะไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบ ต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขาต้องใช้เวลายาวนานถึง 5ชั่วโมงกว่า จนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพ

ในปี พ.ศ.2477 (ค.ศ.1934) ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย มาจากวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น เป็นผู้เริ่มขุดดินด้วยจอบเป็นปฐมฤกษ์ ตรงที่หน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ปัจจุบัน ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกห้วยแก้ว โดยเริ่มสร้างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477

บันใดนาค เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มีความงดงามทางด้านศิลปะที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวผู้มานมัสการพระบรมธาตุ มักจะต้องถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ด้านของบันใดนาค ซึ่งมีทัศนียภาพงดงามและมีเสน่ห์เมื่อมองขึ้นไปตามขั้นใด นักท่องเที่ยวที่มาเยือนครั้งแรก มักจะเดิน ขึ้นหรือเดินลงบันใดนาคเสมอ แต่ส่วนใหญ่มักจะเดินลง ส่วนตอนขึ้นนั้นมักจะขึ้นทางลิฟท์หรือรถรางไฟฟ้า

รถรางไฟฟัาได้นำมาใช้บริการประชาชนผู้สูงอายุมานานกว่า 10 ปี ตอนแรกๆ ก็ใช้เพียงขนของสัมภาระขึ้น-ลงพระธาตุเท่านั้น ต่อมาภายหลังได้ทำการปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ดีขึ้น จึงให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีอายุการใช้งานรถรางไฟฟ้านานมากแล้ว ทางวัดจึงได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาครั้งใหญ่เพื่อจะนำมาเสริมสร้างบริการที่ดี และปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวด้วยความมั่นใจยิ่ง

ขอบพระคุณ http://www.dhammathai.org/watthai/north/watphrathatdoisuthep.php

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ สักการะหลวงพ่อโต หลวงพ่อวัดพระสิงห์เชียงใหม่

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่
สักการะหลวงพ่อโต หลวงพ่อวัดพระสิงห์เชียงใหม่

วัดพระสิงห์ หรือมีชื่อเต็มว่า วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนสามล้าน ต.พระสิงห์ เป็นวัดที่มีนักท่องเที่ยวรู้จักคุ้นชื่อกันดี พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู ซึ่งเป็นพระราชบิดา เดิมชื่อว่า วัดลีเชียงพระ บริเวณหน้าวัดแห่งนี้เคยเป็นกาดมาก่อน ชาวบ้านเรียกว่า กาดลี วัดพระสิงห์มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่ หอไตร สร้างเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่ตัวผนังตึกด้านนอกประดับด้วยทวยเทพปูนปั้นแต่งองค์ทรงเครื่องสวยงาม เป็นฝีมือช่างสมัยพระเมืองแก้ว ต่อมาในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ประมาณ พ.ศ. 2467 ที่ฐานหอไตรปั้นเป็นลายลูกฟักลดบัวภายในประดับด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ และประจำยาม ที่มีลักษณะละม้ายลายสมัยราชวงศ์เหม็งของจีน Read more »

วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ วัดบุปผาราม สักการะพระเจ้าเก้าตื้อ หลวงพ่อวัดสวนดอกเชียงใหม่

วัดสวนดอก วัดบุปผาราม จ.เชียงใหม่
สักการะพระเจ้าเก้าตื้อ หลวงพ่อวัดสวนดอกเชียงใหม่

วัดสวนดอก หรือ วัดบุปผาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันตั้งอยู่บนถนนสุเทพ ตำบลสุเทพอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วัดสวนดอกตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เลขที่ 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากประตูสวนดอกไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร กินเนื้อที่ 35 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา ทิศเหนือยาว 183 เมตร ทิศใต้ยาว 193 เมตร ทิศตะวันออกยาว 176 เมตร และทิศตะวันตกยาว 176 เมตร

วัดสวนดอกในอดีตนั้นป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย โดยในปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น “พระอารามหลวง” เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ “พระมหาเถระสุมน” ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” 1 ใน 2 องค์ ที่ “พระมหาเถระสุมน” อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร) Read more »

วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ สักการะพระธาตุดอยสุเทพ แผนที่ การเดินทาง แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุประจำคนเกิดปีมะแม
สักการะพระธาตุดอยสุเทพ แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่ ขอพรพระธาตุพระเจดีย์ประจำปีมะแม

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .