วัดลำปางหลวงเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาที่หาดูได้ยาก แตกต่างจากวัดทางภาคเหนือโดยทั่วไป พร้อมกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของวัด ที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เป็นจุดเริ่มต้นของตระกูล ทิพย์ช้าง หรือตระกูล “ เชื้อเจ็ดตน ” อันเป็นต้นตระกูลของเชื้อเจ้า่ปกครองภาคเหนือ
” เหตุการณ์สร้างวีระบุรุษ ” คำกล่าวที่มักใช้กันอยู่บ่อยๆในปัจจุบัน แต่ในอดีตนั้นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็ได้ สร้างวีระบุรุษมากมายมาแล้วเช่นกัน
” เจ้าทิพย์ช้าง “ เจ้าผู้ครองเขลางค์นคร หรือนครลำปาง อดีตนั้นเป็นเพียงแค่พรานป่าหรือพรานหนุ่ม ผู้ถูกร้องขอจากขุนนางเมืองในสมัยนั้น ให้ช่วยกอบกู้เมืองลำปางที่ตกอยู่ในการครอบครองของพม่า และพรานป่าผู้กล้านี้ก็ได้ทำสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2275 โดยปลอมตัวเข้าไปในเขตชั้นในที่พม่าใช้วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นที่ตั้งมั่น แล้วลอบฆ่าแม่ทัพพม่าจนเสียชีวิต ซึ่งรอยกระสุนจากการสู้รบ และร่องรอยการหลบหนี ยังปรากฏอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงมาจนถึงทุกวันนี้
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เหตุการณ์ได้สร้างวีระบุรุษในยุคอาณาจักรล้านนา ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายก่อนที่จะรวมกับไทยภาคกลางหรือ กรุงศรีอยุธยา ให้เป็นอาณาจักรไทยผืนแผ่นเดียวกัน
ปัจจุบัน หากใครมีโอกาสไปเที่ยววัดพระธาตุลำปางหลวง ก็คงมองหารอยกระสุนที่ว่านี้ได้ไม่ยากนัก เพราะอยู่บริเวณหน้า พระธาตุเจดีย์ ตรงรั้วทองเหลือง ซึ่งมีป้ายบอกไว้ชัดเจน รูกระสุน 2 รู เบ่อเร่อ คงทำให้คนรุ่นปัจจุบันอดไม่ได้ที่จะคิดถึง อาวุธสงครามในสมัยนั้น ในยุค ที่ยังใช้ดาบ ใช้หอก เป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้ข้าศึกศัตรู
กระสุนอะไรทำไมรุนแรงถึงขนาดทะลุเหล็กทองเหลืองของรั้ว ทั้งๆที่เมื่อสมัยสองร้อยกว่าปีก่อนยังเป็นยุคใช้ปืนแก๊ป
ต้องอัดดินปืน ต้องอัดหัวกระสุนเหล็ก กว่าจะยิงแต่ละนัดก็ใช้เวลานาน แต่ปืนแก๊ปสมัยนั้นก็มีอานุภาพ ยิงทะลุรั้วทองเหลืองได้ เป็นสิ่งที่ผู้คนยุคนี้อดทึ่งไม่ได้ ใครไปเที่ยววัดพระธาตุลำปางหลวงก็ไม่ควรพลาดชมในจุดนี้
ต้นขะจาว เป็นต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัดลำปาง ถ้าหากจะพูดถึงต้นขะจาวตามตำนานพระธาตุลำปางหลวงแล้ว มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต้นขะจาว หรือไม้ขะจาวดังว่า…
ไม้ขะจาว ปลูกครั้งพุทธกาล เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ที่ครั้งหนึ่งได้มีมีชาวลัวะคนหนึ่งได้นำ กิ่งขะจาวทำเป็นไม้คานหาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าวและมะตูม มาถวายพระพุทธองค์ซึ่งประทับอยู่ ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง ภายหลังอธิษฐานนำไม้ขะจาว โดยใช้ทางปลายปักลงไม่นานไม้คานที่ปักไว้ ก็แตกกิ่งก้านเจริญเติบโตเกิดเป็นกิ่งก้านสาขาขึ้นมา สร้างความแปลกใจให้ชาวบ้าน และชาวบ้านเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้นำเอารากไม้ขะจาวไปบูชาหรือนำไปเป็นเครื่องรางของขลังห้อยคอเช่นเดียวกับ ตระกุดผ้ายันต์
ตำนานต้นขะจาว เป็นเรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมาช้านาน เป็นตำนานและเป็นสิ่งสำคัญที่มี หลักฐานคงอยู่ให้ผู้ที่ได้ไปเที่ยวชมวัดพระธาตุลำปางหลวง ได้แวะชม ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงนี้มีตำนานเล่าเรื่องต้นขะจาวดังข้างต้น เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยังคงมีต้นขะจาวที่เห็นลักษณะลำต้นที่มีส่วนปลายปักอยู่บนพื้นดิน และส่วนลำต้นนั้นมีกิ่งก้านงอกออกมาเต็มไปหมด แต่กิ่งก้านนั้นจะชี้ลงดิน พอนานไปลำต้นเดิม ก็แห้งพุพังจนไม่เห็นซากเดิมของต้นขะจาว มีแต่ต้นที่งอกออกมาตรงส่วนเดิมของต้นขะจาวนั้นเป็นพุ่มใหญ่ บางส่วนสูงมองดูไกล ๆ เหมือนต้นโพธิ์
ในบริเวณวัดพระธาตุลำปางหลวงเมื่อขึ้นบันไดวัดด้านหน้า จะมีต้นขะจาว ขึ้นอยู่ทางด้านซ้ายมือ ทางวัดได้บูรณะวัดและได้ก่อปูนซีเมนต์ล้อมรอบบริเวณ ต้นขะจาว ซึ่งเมื่อก่อนนั้นต้นขะจาว จะปรากฏอยู่อย่างเป็นธรรมชาติ ยังเห็นซากเดิมของต้นขะจาวที่เล่ากล่าวขาน กันอยู่ แต่เดี๋ยวนี้ก็จะเห็นต้นขะจาวปราก
ขอขอบคุณ http://www.lampang.go.th/