Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคเหนือ’ Category

วัดพระธาตุหริภุญชัย–ยุครัตนโกสินทร์สู่ปัจจุบัน

ยุครัตนโกสินทร์
ในช่วงก่อนหน้านั้น วัดกลายเป็นวัดร้างไปชั่วระยะหนึ่งเนื่องจากกษัตริย์ในยุคนั้น ๆ มัวยุ่งอยู่กับการทำศึกกับพม่า และล้านนาไทยก็เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกพม่าและมอญ ร่วม 200 กว่าปี

จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2317 พระเจ้ากาวิละ ได้ยึดอาณาจักรล้านนาไทยกลับคืนมาจากพม่า และในปี พ.ศ. 2348 พระเจ้ากาวิละ ได้ทรงสถาปนา พระอนุชาของพระองค์ทั้ง 2 คือ คำฟั่นและบุญมา ขึ้นเป็นพระยาคำฟั่น ครองเมืองลำพูนเป็นองค์แรก ส่วนองค์เล็กเป็นเจ้าบุญมาทำหน้าที่เป็นพระอุปราช และเจ้าทั้งสองได้ช่วยกันบูรณะและพัฒนาวัดพระธาตุหริภุญชัยให้เจริญและมั่นคง

องค์พระบรมธาตุหริภุญชัยมีรั้วทองเหลืองล้อมรอบ ๒ ชั้นทั้งสี่ด้าน รั้วดั้งเดิมนั้น พระเมืองแก้วโปรดให้นำมาจากเมืองเชียงแสน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระเจ้ากาวิละได้มา บูรณะใหม่พร้อมกับให้ สร้างฉัตรหลวงตั้งไว้ที่มุมทั้งสี่ของรั้วที่ล้อมองค์พระธาตุ

ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ พระเจ้ากาวิละได้พร้อมใจกับน้องของท่านทุกคนได้ร่วมกันสร้าง หอยอประจำทิศทั้ง ๔ ด้าน และได้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหาร ด้านเหนือพระธาตุเป็นพระ พุทธรูปปางอุ้มบาตรให้ชื่อว่า พระละโว้

Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–สมัยนครหริภุญชัย

จากเขตพระราชฐานเป็นเขตพุทธาวาส

กาลเวลาล่วงมาจนถึงปีจุลศักราช 238 พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ 1,420 ปี ณ อาณาบริเวณที่เป็นวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ในปัจจุบันนี้ เมื่อครั้งนั้น เป็นเขตพระราชฐานแห่งพระเจ้าอาทิตยราชองค์ที่ 30 กษัตริย์ผู้ครองเมืองหริภุญชัยในสมัยนั้น พระองค์โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรเป็นที่ประทับ ครั้นเสร็จแล้วพระองค์ก็เข้าประทับอยู่ภายในปราสาทราชมณเฑียรแห่งนั้น วันหนึ่งพระองค์จะเสด็จไปสู่วสัญชนฐาน(ห้องน้ำ) ปรากฏมีกาตัวหนึ่งได้บินโฉบลงมาเป็นทำนองกันไม่ให้พระองค์เข้าไปถึงฐานนั้นได้ ด้วยความกริ้วพระองค์จึงต้องย้ายไปใช้ฐานอื่น และทรงมีกระแสรับสั่งให้จับกาตัวการนั้นมาฆ่าเสีย แต่เทวดาได้ดลใจให้อำมาตย์ ผู้หนึ่งทัดทานไว้เพราะสงสัยในพฤติการณ์ของกานั่นเอง คืนนั้นยามใกล้รุ่ง เทวดาผู้รักษาพระเกสธาตุได้สำแดงฤทธิ์มาในพระสุบินถวายคำแนะนำให้พระองค์นำทารกมาอยู่กับกา ๗ วัน และอยู่กับคน ๗ วัน เป็นเวลา ๗ ปี เมื่อถึงเวลานั้นเด็กก็จะสามารถแปลภาษากาให้คนได้รับทราบเหตุการณ์อันเป็นปริศนานั้นได้โดยชัดแจ้ง
พระเจ้าอาทิตยราชจึงทรงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระเกสธาตุโดยละเอียด พระเจ้าอาทิตยราชจึงโปรดให้เชิญ พระยากาเผือกมาสู่ ปราสาทแห่งพระองค์ โดยพระองค์โปรดให้จัดสถานที่สำหรับต้อนรับพระยากาเผือกอย่างสมฐานะพระยาแห่งกาทั้งปวง พระยากาเผือกจึงเล่า ความเป็นมาถวายทุกประการ พระเจ้าอาทิตยราชทรงมีพระราชหฤทัยอภิรมย์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้รื้อ ราชมณเฑียรทั้งปวงออกไป จากสถานที่แห่งนั้นจนหมดสิ้น แล้วโปรดให้ปรับพื้นที่อันเป็นมงคลนั้นให้เรียบงามตา พระองค์โปรดให้ พระสงฆ์สวดพระปริตตมงคล เพื่ออาราธนาพระบรมธาตุให้ออกมาปรากฏ พระธาตุเจ้าจึงสำแดงฤทธาภินิหารโผล่ขึ้นมาพ้นแผ่นดิน ทั้งโกศแก้วลอยขึ้นไปในอากาศ สูงเท่าต้นตาล พระบรมธาตุได้เปล่งฉัพพัณรังสีเจิดจ้าไปทั่วนครหริภุญชัยเป็นเวลา ๗ เวลา ๗ คืน แล้วจึงลอยลงมาประดิษฐานบนแผ่นดิน ดังเดิม พระเจ้าอาทิตยราชโปรดให้ขุดเอาโกศบรรจุพระธาตุขึ้นมา แต่ทว่ายิ่งขุดโกศนั้นก็ยิ่งจมลงไป พระองค์จึงต้องบูชาอาราธนาพระธาตุ จึงได้ยอมลอยขึ้นมาสูงจากพื้นดินถึง ๓ ศอก พระองค์จึงให้สั่งรื้อถอนปราสาทราชมณเฑียรทั้งหมดออกไปตั้งราชสำนัก ณ ที่อื่น Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–สมัยพระพุทธกาล

พระดำรัสพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า

ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาบิณฑบาตยังชัยภูมิแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวเม็ง หรือ มอญ เมื่อรับบิณฑบาตแล้ว ก็ได้เสด็จ เลียบฝั่งแม่น้ำระมิงค์ขึ้นมาทางทิศเหนือจนถึงสถานที่แห่งหนึ่งพระพุทธเจ้าจึงทรงหยุดพัก ประทับอยู่บนหินก้อนหนึ่ง และทรงวางบาตรไว้ด้านข้าง ขณะนั้นมี พญาชมพูนาคราชและพญากาเผือก ได้มาปรนนิบัติและอุปฐากพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด และได้มีชาวลั๊วะผู้หนึ่งได้นำเอาลูกสมอมาถวายพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ได้เสวยลูกสมอนั้นแล้ว จึงทรงทิ้งขว้างเมล็ดลูกสมอเหล่านั้นลงบนพื้นดินพร้อมกับตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “ สถานที่แห่งนี้ต่อไปภาคหน้า หลังจากเราตถาคตได้นิพพานไปแล้ว จะเป็นที่ตั้งของหริภุญชัยนคร และยังจะเป็นที่ประดิษฐานของพระสุวรรณเจดีย์อีกด้วย”
พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า

เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จ ดับขันธ์นิพพานไปได้ 218 ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้พบพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสอยากจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุเหล่านั้นให้ได้ 84,000 แห่ง จึงมอบให้พระเถระทั้งหลายอัญเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุในเจดีย์ยังเมืองต่าง ๆ ทั่วแคว้นชมพูทวีป สันนิษฐานว่าประเทศไทยเราก็คงได้รับส่วนแบ่งพระบรมธาตุในครั้งนั้นด้วยและตำนานท้องถิ่นบางแห่งยังบอกว่า พระกุมาระกัสสะปะเถระ และ พระเมฆิยะเถระ เป็นผู้อัญเชิญพระบรมธาตุจากพระยาศรีธรรมาโศกราช มาไว้ที่ลัมภะกัปปะนคร และหริภุญชัยนคร

*** ซี่งในกาลต่อมาพระเจ้าอาทิตยราชได้มาบูรณะพระธาตุหริภุญชัย และ พระเจ้าจันทะเทวะราช มาบูรณะพระธาตุลัมภะกัปปะนคร ปัจจุบันคือวัดพระธาตุลำปางหลวง Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ

ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยมาจากชื่อของเมืองหริภุญชัย ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จมาบิณฑบาตในสมัยพระพุทธกาลและได้แวะรับและฉันลูกสมอ ที่ชาวลั๊วะนำมาถวาย โดยได้ทรงพยากรณ์ไว้ตอนนั้นว่า สถานที่แห่งจะมีผู้มาสร้างเมืองและตั้งชื่อว่า “หริภุญชัยนคร” และในกาลต่อมาก็มี ฤาษี 2 องค์ ชื่อว่า วาสุเทพ และ สุกกทันตะ ได้ร่วมกันสร้างเมือง ณ สถานที่แห่งนี้ และให้ชื่อเมืองว่า หริภุญชัยนคร ในปี พ.ศ. 1204 สมจริงตามคำพยากรณ์ของพระพุทธองค์ทุกประการ

หริภุญชัยนคร แปลว่าเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ (หริ แปลว่า สมอ, ภุญชัย แปลว่า เสวย, นคร แปลว่า เมือง)
ส่วนพระบรมธาตุนั้น แต่เดิมเก็บรักษาไว้ในกระบอกไม้รวกและใส่ไว้ในโกศแก้วอีกชั้นหนึ่ง ต่อมากษัตริย์ผู้ครองนครลำพูนทุกพระองค์ก็ได้บูรณะและพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยเปลี่ยนจากโกศแก้วเป็นโกศทองและเปลี่ยนเป็นมณฑป ในที่สุดเป็นเจดีย์และมีการขยายขนาดของเจดีย์และมีการขยายขนาดเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสูงถึง 25 วาครึ่ง กว้าง 12 วาครึ่ง ดังปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้และเรียกชื่อว่า “วัดพระธาตุหริภุญชัย”

ขอขอบคุณ http://www.hariphunchaitemple.org

วัดพระธาตุแช่แห้ง–ประวัติส่วนตัวพระครูวิสิฐนันทวุฒิ

opopop2

ชื่อ พระครูวิสิฐนันทวุฒิ (ศิระ ณ น่าน) ฉายา จรณธัมโม อายุ ๓๘ ปี ๑๖ พรรษา
วัน เดือน ปี เกิด วันอาทิตย์ ที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒
บิดา นายสราญ
มารดา นางสร้อยไข่มุข
ที่อยู่ปัจจุบัน วัดพระธาตุแช่แห้ง ตำบลม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐

บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดพญาภู พระอารามหลวง
พระเดชพระคุณพระเทพนันทาจารย์ (บุญชู ธัมมสารมหาเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านพระครูสิริธรรมภาณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ท่านพระครูอาทรนันทกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง–พระประวัติเจ้าหลวงท้าวขาก่าน

DSC04016

ในปีพุทธศักราช ๒๐๑๙ พระเจ้าติโลกราชได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าหลวงท้าวขามาปกครองนครน่าน ในบันทึกตามพงศาวดารได้บรรยายรูปร่างลักษณะเจ้าหลวงท้าวขาก่านไว้ว่า มีผิวกายสีดำแดง สักยันต์เป็นรูปพญานาคราชตั้งแต่ขาจนถึงน่อง ยามเดินคล่องแคล่ว ว่องไวนัก เจ้าหลวงปกครองนครน่านได้ระยะหนึ่ง จึงได้ใช้ให้หมื่นคำไปถวายเครื่องบรรณาการแด่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และไปได้ตำนานพระธาตุแช่แห้งมาจากพระคุณเจ้ามหาเถรวชิรโพธิ์ที่ได้มาจากเมืองลังกา เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้า และชาวเมืองทั้งหลายได้พากันแผ้วถางบริเวณดอยภูเพียงแช่แห้งซึ่งขณะนั้นถูกปกคลุมด้วยป่าไผ่เครือเถาวัลย์ จนเจอจอมปลวกใหญ่ลูกหนึ่งก็พากันทำการสักการบูชา ครั้นถึงเวลากลางคืนบริเวณจอมปลวกก็ปรากฏดวงพระธาตุเจ้าแสดงปาฏิหาริย์เปล่งรัศมีรุ่งเรืองนัก จึงได้พากันขุดบริเวณจอมปลวกดู ขุดได้ลึก ๑ วาก็เจอก้อนศิลากลมเกลี้ยงลูกหนึ่งเจ้าหลวงท้าวขาก่านจึงให้ชีปะขาวเชียงโดมวัดใต้ ทุบให้แตกก็พบ ผอบทองคำมีฝาปิดสนิท เมื่อเปิดออกดูก็พบ พระธาตุเจ้า ๗ องค์ พระพิมพ์คำ ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ ที่พญาการเมืองได้มาจากเมืองสุโขทัยและนำมาประดิษฐานไว้ แล้วเจ้าหลวงท้าวขาก่านได้นำพระธาตุรวมทั้งพระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำที่ขุดได้ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่หอคำและได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าติโลกราชทราบ พระเจ้าติโลกราชทรงมีรับสั่งว่าเมื่อขุดได้ที่ใดก็ให้เก็บไว้ ณ ที่นั้น เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้า ท้าวพระยาทั้งหลายก็พร้อมใจกันนำ พระบรมสาริกธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำมาประดิษฐานไว้ ณ บนดอยภูเพียงแช่แห้งตามเดิม และก่อเจดีย์ สูง ๖ วาคร่อมไว้ Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง–บ่อน้ำทิพย์

IMG_4025

พระยาอนุมานราชธนนักปราชญ์สำคัญของบ้านเรา ได้กล่าวถึงการ อาบน้ำว่าหากจะแปลกันตรงๆ ก็คือ “การชำระมลทินของร่างกายด้วยน้ำ” เป็นที่สังเกตว่านับแต่โบราณกาลมาแหล่งอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองล้วนอยู่มีบ่อเกิดอยู่บริเวณที่มี แหล่งน้ำทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ น้ำ จึงเป็นสิ่งที่ใช้ในพิธีต่างๆทั้งพิธี มงคลและอวมงคล
โดยเฉพาะการอาบน้ำในพิธีก็มีกันในหลายชาติหลายภาษา พิธีกรรมสำคัญๆ ที่ต้องมีน้ำเป็นส่วนประกอบก็มีหลายพิธี เช่น พระราชพิธีบรม ราชาภิเษก ต้องมีการอัญเชิญน้ำมูรธาภิเษก (น้ำที่จะใช้รดพระเศียรพระเจ้า แผ่นดิน) ที่จะสรงจากสถานที่ต่างๆ อันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในราชอาณาจักรมาทำ พิธี ซึ่งเมื่อทรงสรงด้วยน้ำนี้แล้วก็ถือว่าได้แปรสภาพองค์เข้าสู่ความเป็น กษัตริย์เป็นขั้นแรก ก่อนจะมีพิธีอื่นๆ ต่อไป
อย่างไรก็ตามในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา๖ รอบ กระทรวงมหาดไทย ได้ให้จังหวัดทุกจังหวัดเตรียมการประกอบพิธี พลีกรรมตักน้ำและเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยใช้แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชน เคารพเลื่อมใส Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง–พระพุทธไสยยาสน์

DSC08481

พระประธานในวิหารพระพุทธไสยยาสน์ประดิษฐานบนฐานชุกชี สร้างด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทอง ยาว 14 เมตร สูง 2 เมตร พร้อมด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานบนฐานชุกชี สร้างด้วยอิฐถือปูน หน้าตัก 70 เซนติเมตร สูง 100 เซนติเมตร สร้างในสมัยพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม (พ.ศ.2129) โดย มหาอุบาสิกานามว่านางแสนพาลาประกอบด้วยศรัทธาสร้างพระนอนไว้เป็นที่สักการบูชาแก่คนทั้งหลาย

ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th

วัดพระธาตุแช่แห้ง–อัฏฐพญานาคราช

CHAEHAENG 07

พญานาคราช ถือเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่พระพุทธศาสนานับมาแต่โบราณกาล ถือเป็นเทพองค์เดียวที่มีบุญบารมี ได้บวชในพระพุทธศาสนา และได้ปกปักษ์รักษาคุ้มครองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พ้นจากพญามารทั้งหลาย ที่มาขัดขวางการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธองค์ไม่ให้บรรลุพระสัมมาโพธิญาณ
อัฏฐพญานาคราช หมายถึง พญานาคราช 8 ตัว แบ่งเป็น 4 คู่ คู่ที่ 1 2 3 ใช้ส่วนหางเกี้ยวกวัดรัดกันเป็นบ่วง คู่ละ 3 บ่วง ส่วนคู่ที่ 4 เกี้ยวกวัดรัดกันเป็นบ่วง 4 บ่วง รวมแล้ว 4 ชั้น
พญานาคราช ที่เกี้ยวกวัดรัดกันทั้ง 8 ตัวนั้น เมื่อเพ่งพินิจให้ดี จะปรากฏเป็นรูปเจดีย์และรูปองค์พระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิ และมีช่อดอกบัวตูม 7 ดอก โผล่พุ่งขึ้นมาด้านข้าง ซึ่งมีนัยที่แฝงด้วยพุทธปรัชญา คือ
พญานาคราช 8 ตัว แทนพระธรรมคัมภีร์ อริยมรรแปด เป็นเส้นทาง 8 เส้นทางที่พระตถาคตทรงใช้สอนพุทธศาสนิกชนให้เดินสู่ความหลุดพ้น
ส่วนหางพญานาคราชคู่ที่ 1 2 3 เกี้ยวกวัดรัดกันเป็นบ่วงสามบ่วง สามชั้นนั้นแทนองค์สาม ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไตรลักษณ์ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่คู่ที่ 4 อยู่ด้านบนสุดนั้นเกี้ยวกวัดรัดกันเป็นสี่บ่วง แทนอริยสัจสี่ คือ ความจริงที่พระอริยเจ้าตรัสไว้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จำนวนชั้นทั้งสี่ชั้น หมายถึง สูญญตา
ดอกบัว 7 ดอก แทนอภิธรรมา 7 คัมภีร์ หรือหลักธรรม สัปปุริสัทธรรม 7 ประการ โภชชงค์ 7 ดังนั้น อัฏฐพญานาคราช ที่เกี้ยวกวัดรัดกันที่ปรากฏดังในรูปนี้ ก็หมายถึง พระธรรมคัมภีร์ 84,000 พระธรรมขันธ์ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th

วัดพระธาตุแช่แห้ง–พระเจ้าก๋าคิง

DSC08058

จารึกฐานพระพุทธรูปไม้ปางมารวิชัย
รายละเอียดเกี่ยวกับพระพุทธรูป
พุทธลักษณะ
พระพุทธรูปไม้ปางมารวิชัย ส่วนฐานด้านหน้าจำหลักรูปสิงห์ (หน้ากาล) อยู่ตรงกลางและรูปช้างสามเศียร (ช้างเอราวัณ) อยู่ตรงมุมทั้ง ๒ ด้านหลังเป็นจารึกอักษรธรรมล้านนา จำนวน ๘ บรรทัด
ขนาดพระพุทธรูป
สูง ๑๒๕ ซม. หน้าตักกว้าง ๖๖ ซม.
ขนาดของฐาน
สูง ๔๖ ซม. กว้าง ๖๗ ซม.
วัสดุที่ใช้
ใช้ไม้มาแกะสลักและลงรักปิดทอง
สภาพปัจจุบัน
อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์เพียงแต่องค์พระพุทธรูปด้านข้างชำรุดแหว่งหายไปบางส่วนเพราะถูกปลวกกินและเม็ดพระศกที่อยู่ด้านหลังของพระเศียรหลุดร่วงไปบางส่วน
ผู้สร้างพระพุทธรูป
ข้อความในจารึกที่ฐานระบุว่าพระเจ้าอัทธวรวงสา (เจ้าอัตถวรปัญโญ) พร้อมด้วยพระราชบิดา พระราชมารดา พระอัคคชายา ราชโอรส ราชธิดา เป็นมูลศรัทธาโปรดให้หมื่นศรีสรรพช่าง เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปในพุทธศักราช ๒๓๓๓ Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง–แมงหมาเต๊า

DSC08091

ตำนานแมงหมาเต๊า
ความตอนหนึ่งว่า……เมื่อนั้นยังมีพราหมณ์ผู้นึ่งลุกแต่ห้วยไคร้มากัยด้วยข้าชายแห่งตนผู้นึ่ง ก็หันพระเจ้ากับมหาอานนท์นั่งอยู่เค้าไม้สำโรงที่นั้น พราหมณ์ผู้นั้นก็รู้จักว่าเป็นพระเจ้ามานั่งอยู่ที่นั่น ท่านพราหมณ์ก็จิ่งใช้ข้าชายตนนั้นไป เมือเอาหมากสมอแช่ไว้ยังบ้านห้วยไคร้นั้นมาทานแก่พระพุทธเจ้า ข้าชายไปก็เป็นอันนานมากนัก ท่านพราหมณ์จิ่งกล่าวว่า “มึงสังนานมายิ่งนักจา” ข้าชายผู้นั้นกล่าวว่า “หมากสมอแช่น้ำไว้แห้งเสียนาว่าอั้น” ทีนั้นท่านพราหมณ์ก็เอาหมากสมอน้อมหื้อเป็นทานแก่พระพุทธเจ้าหั้นแล ในขณะนั้นยังมีหมาเต๊าตัวนึ่งออกมาสู่ง มาน้อมแทบบาทพระพุทธเจ้าหั้นแล พระก็แย้มใคร่หัวแล เมื่อนั้นพระมหาอานนท์จิ่งไหว้ว่า “พระพุทธเจ้าแย้มใคร่หัวเหตุใดชาว่าอั้น” พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “ดูราอานนท์ในเมื่อตถาคนนิพพานแล้ว ธาตุดูกตถาคตจักมาตั้งอยู่ที่นี่ ตราบต่อเท่า 5,000 พระวสาชแล บ้านห้วยไคร้จักเป็นเมืองอันนึ่งชื่อว่าเมืองนาน ในที่นี้จักได้ชื่อว่าแช่แห้ง แมงหมาเต๊าตักนี้จักได้เป็นพระยาตนนึ่งกินเมืองอันนี้ชื่อว่า “ท้าวขาก่าน” เหตุมีลายด้วยน้ำหมึกแล ท้าวตนนั้นจักได้เลิกศาสนาพระตถาคตเมื่อซ้อย ท่านพราหมณ์ผู้นี้จักได้เกิดมาเป็นอุบาสกผู้นึ่ง จักได้โชฎกศาสนากูชแล ท้าวขาก่านจักได้สร้างศาสนากูหื้อรุ่งเรืองเมื่อซ้อยหมื่นชแล”
ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th/

วัดพระธาตุแช่แห้ง–พระวิหารหลวง

DSC_6427

พระวิหารหลวงวัดพระธาตุแช่แห้งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาแต่ในสมัยพญาการเมือง พุทธศักราช ๑๙๐๒ หลังจากที่ได้ย้ายเมืองจากเมืองวรนครมาสร้างเมืองอยู่ที่เมืองภูเพียงแช่แห้ง นับได้ว่าในสมัยนั้นเวียงภูเพียงแช่แห้งคือศูนย์รวมของอารยธรรม วัฒนธรรม ความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้นวัดพระธาตุแช่แห้งก็ถือได้ว่าเป็นวัดหลวงของอาณาจักรแห่งนี้ ย่อมมีสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นสถานที่ที่จะประกอบพิธีกรรม หนึ่งในนั้นก็คือพระวิหารหลวงแห่งนี้ เพราะในพงศาวดารพระธาตุแช่แห้งฉบับพระสมุหพรหมได้มีบันทึกไว้ว่า ในสมัยพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ปีวอกพุทธศักราช ๒๑๒๗ เดือน ๖ แรม ๑๒ ค่ำ ได้ทำการรื้อวิหารหลังเก่า และในปีเดียวกันก็ได้ทำการสร้างขึ้นใหม่ ในเดือน ๗ แรม ๕ ค่ำ และเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ต่อๆมาก็ได้สร้างบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา Read more »

วัดพระธาตุแช่แห้ง–พระเจ้าทันใจ

DSC08074

พระเจ้าทันใจ
พระเจ้าทันใจ ไม่ปรากฏในพงศาวดารว่าสร้างในสมัยไหน แต่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพญาการเมือง จ.ศ. 715 (พ.ศ.1896) สร้างขึ้นพร้อมกับองค์พระธาตุแช่แห้ง เมื่อครั้งที่ พญาการเมืองย้ายเมืองจากเมืองปัวมาตั้งอยู่เวียงภูเพียงแช่แห้ง
ลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าทันใจ ก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดหน้าตัก 70 ซ.ม. สูง 1 เมตร

พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าทันใจ ก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดหน้าตัก 50 ซ.ม. สูง 80 ซ.ม.

พระพุทธรูปปางสมาธิ
ลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าทันใจ ก่อด้วยอิฐถือปูน หน้าตัก 50 ซ.ม. สูง 70 ซ.ม.

วิหารพระเจ้าทันใจ
ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้าง แต่ที่มีบันทึกในพงศาวดารไว้ในสมัยพญาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ในปี พ.ศ. 2103 บูรณะในปี พ.ศ. 2103 และในสมัยพระเจ้าอัตถวรปัญโญ พ.ศ. 2336 และในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พ.ศ. 2448

ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th/

องค์ประกอบที่สำคัญโดยรอบวัดพระธาตุแช่แห้ง

บริเวณวัด ประกอบไปด้วย : พระอุโบสถ พระธาตุชเวดากองจำลอง สร้างสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ โปรดให้สล่าน้อยยอด คนเมืองลำพูนมาก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ.2451 เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีมะเมีย
พระวิหารพุทธไสยยาสน์ : สร้างเมื่อง พ.ศ.2129 โดยนางแสดพลัว ชายาของพระยาหน่อเสถียรไชยสงครามเมืองน่าน (พ.ศ.2103-2134)
ศาลเจ้าหลวงท้าวขาก่าน : เป็นขุนนางที่พระเจ้าติโลกราชส่งมาปกครองเมืองน่าน เป็นขุนนางที่มีความสามารถในการรบ สามารถชนะพวกแกวที่มารุกรานเมืองน่านได้อย่างเด็ดขาด เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองน่าน
บ่อน้ำทิพย์ : ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ โดยมีเล่า่ต่อกันมาว่า “ในสมัยก่อนมีพระธุดงค์มาปฏิบัติธรรมและไม่มีน้ำดื่ม พระธุดงธ์จึงขุดบ่อน้ำขึ้น ซึ่งก่อนนั้น ชาวบ้านเรียกว่า “บ่อตุ๊ป่่่า (ตุ๊ป่า คือ พระธุดงด์)
ต้นไม้สำคัญ : ต้นไม้สำคัญที่มีอายุนับร้อยปี ดังเช่นต้นโพธิ์ต้นใหญ่ที่อยู่บริเวณลานหน้าวัด ต้นพิกุลที่อยู่บริเวณบันไดนาค ต้นมะม่วง ต้นตาลและต้นไม้สำคัญอื่นๆ บริเวณด้านหลังของวัดยังปรากฎร่องรอยของแนวคูน้ำคันดินลึกประมาณ 3 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร Read more »

ตำนานพระธาตุแช่แห้ง…พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดน่าน

คำพูดที่ว่า “ ใครมาเยือน แล้วไม่ได้มานมัสการพระธาตุแช่แห้ง ก็เหมือนไม่ได้มาเมืองน่าน” ไม่ได้เป็นคำพูดที่เกินความจริงเลย เพราะว่า พระธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานสำคัญ ศักดิ์สิทธิคู่บ้านคู่เมืองน่าน มานานกว่า 600 ปี

เรื่องราวตามตำนานและประวัติศาสตร์การสร้างพระธาตุแช่แห้ง มีหลากหลายซึ่งล้วนแต่เชื่อมโยงกับวิวัฒนาการของเมืองน่านมาตั้งแต่อดีต

ในพงศาวดารเมืองน่าน เล่าว่า ในสมัยเจ้าพระยาการเมือง ครองเมืองน่านอยู่ ก็ได้มี พระยาโสปัตตกันทิ เจ้าเมืองสุโขทัย ได้มาเชิญพระยาการเมือง ไปสร้างวัดหลวงอุทัยถึงสุโขทัย ซึ่งพระยาการเมืองก็ไปช่วย จนเสร็จสมบูรณ์ ด้วยความดีความชอบ ที่พระยาการเมือง ได้ช่วยพระยาโสปัตกันทิ สร้างวัดหลวงอุทัย ทำให้พระยาโสปัตกันทิ มีความชื่นชอบพระยาการเมืองเป็นอันมาก ก่อนจะกลับเมืองน่าน ก็ได้มอบพระธาตุเจ้า 7 องค์ เพื่อตอบแทนที่พระยาการเมือง ได้มาสร้างคุณงามความดีให้แก่สุโขทัย Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .